ข่าว :พศ.ร้อนนั่งไม่ติดเจอดีเอสไอตามบี้ ปมสึก‘ธัมมชโย’เตรียมแถลง10กพ.
นสพ. แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 06.00 น
นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ว่า พศ. ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในประเด็นเกี่ยวกับลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ในการแก้ไขปัญหากรณีพระธัมมชโยปราชิก แล้ว และก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในส่วนของ พศ.ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชนโดยต้องขอหารือกับคณะทำงานและพระมหาเถระในกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส.ในวันที่ 10ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวทางดีเอสไอ ได้ออกมาระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้วยืนยันว่าพระลิขิตมีผลตามกฎหมาย พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึง พศ.และมส. สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเมื่อหลายวันก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ดีเอสไอระบุว่า พศ.และมส.เป็นเจ้าพนักงานและต้องปฏิบัติตามหน้าที่มิฉะนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ และพศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ ทางนายชยพล กล่าวว่า พศ.ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วแต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่จะต้องมีอำนาจหน้าที่และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆว่าพศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน
ส่วนมส.ก็เช่นกันก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรหากทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว “ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้วโดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่าทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหนเพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ
ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่าพระรูปไหนปาราชิกนั้นก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมายและพระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด”รองผอ.พศ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย ทาง พ.ศ.ได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณี พศ.ในฐานะเลขาธิการ มส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโยซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช
ซึ่งพศ.ได้ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่าได้ตรวจสอบเอกสารรวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว และเรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัดคือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จึงถือว่าพศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้วจะมีความผิดมาตรา 157ได้อย่างไร
ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัดก็มีคำสั่งและเหตุผลระบุไว้แล้วว่าทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบ จึงทำให้กระบวนการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ทางด้าน นายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทองในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.)กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่า พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็นกฎหมาย ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชากับพระลิขิตว่า โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราชที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น
ส่วนพระลิขิตคือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ซึ่งจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่า มส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชจึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส.เพราะกฎมส.ฉบับที่ 11พ.ศ.2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรมซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทยและประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ ได้แบ่งเป็น 3 ศาลเหมือนทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26ระบุว่า การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกาให้เป็นอำนาจของมส. ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่านาย ก. หรือนาย ข. ทำถูกหรือผิด ในขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา
ข่าว :พศ.ร้อนนั่งไม่ติดเจอดีเอสไอตามบี้ ปมสึก‘ธัมมชโย’เตรียมแถลง10กพ.
นสพ. แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 06.00 น
นายชยพล พงษ์สีดา รองผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ว่า พศ. ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ในประเด็นเกี่ยวกับลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ในการแก้ไขปัญหากรณีพระธัมมชโยปราชิก แล้ว และก่อนหน้านี้ก็ได้มีการชี้แจงไปยังดีเอสไอแล้วบางส่วน เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว
อย่างไรก็ตามในส่วนของ พศ.ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่จะเตรียมชี้แจงต่อสาธารณชนโดยต้องขอหารือกับคณะทำงานและพระมหาเถระในกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะยังไม่ขอตอบอะไรในตอนนี้ดาดว่าอาจจะแถลงอย่างเป็นทางการอีกครั้งในช่วงหลังประชุมมส.ในวันที่ 10ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวทางดีเอสไอ ได้ออกมาระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเกี่ยวกับกรณีพระธัมมชโยตามที่มีการร้องเรียนแล้วยืนยันว่าพระลิขิตมีผลตามกฎหมาย พร้อมทั้งได้ทำหนังสือถึง พศ.และมส. สอบถามถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีการร้องเรียนให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกจากคดียักยอกเงินและที่ดินตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเมื่อหลายวันก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ดีเอสไอระบุว่า พศ.และมส.เป็นเจ้าพนักงานและต้องปฏิบัติตามหน้าที่มิฉะนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญาได้ และพศ.จะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ ทางนายชยพล กล่าวว่า พศ.ถือเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วแต่ก็ต้องดูว่า มีอำนาจในเรื่องใด คำว่าละเว้นหรือไม่จะต้องมีอำนาจหน้าที่และไม่ดำเนินการ โดยจะต้องไปดูในเรื่องนั้นๆว่าพศ.มีอำนาจดำเนินการแค่ไหน
ส่วนมส.ก็เช่นกันก็ต้องไปดูอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นแค่ไหน การจะทำอะไรหากทำนอกอำนาจหน้าที่ไม่ได้อยู่แล้ว “ผมได้พูดคุยกับทางดีเอสไอไปบางส่วนแล้วโดยมีการซักถามเพื่อความเข้าใจว่าทางดีเอสไอยังไม่เข้าใจตรงไหนเพื่อที่พศ.จะได้ทำคำชี้แจงไปให้ทราบ
ส่วนกรณีที่หน่วยงานราชการจะชี้ว่าพระรูปไหนปาราชิกนั้นก็ต้องให้ผู้ใช้กฏหมายและพระธรรมวินัยเป็นผู้ชี้คือ คณะสงฆ์ แต่หากหน่วยงานไหนเห็นแย้งก็ทำได้ก็ต้องมาถามผู้ใช้กฎหมายให้เป็นผู้ชี้ขาด”รองผอ.พศ.กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช เกี่ยวกับพระธัมมชโย ทาง พ.ศ.ได้มีการชี้แจงผ่านสื่อมวลชนมาครั้งหนึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม 2558 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีพระพุทธอิสระเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินตรวจสอบกรณี พศ.ในฐานะเลขาธิการ มส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่บรรจุวาระการประชุมเกี่ยวกับการปาราชิกของพระธัมมชโยซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช
ซึ่งพศ.ได้ตอบผู้ตรวจการแผ่นดินไปว่าได้ตรวจสอบเอกสารรวมถึงกระบวนการพิจารณาทั้งหมดแล้ว และเรื่องต่างๆได้ยุติลงตั้งแต่กระบวนการชั้นต้นในระดับจังหวัดคือ คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี จึงไม่มีการแจ้งเรื่องมายังสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม จึงถือว่าพศ.ไม่ได้รับเรื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีแล้วจะมีความผิดมาตรา 157ได้อย่างไร
ส่วนทางเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีก็มีคำวินิจฉัยโดยคณะกรรมการพิจารณานิคหกรรมระดับจังหวัดก็มีคำสั่งและเหตุผลระบุไว้แล้วว่าทำไมถึงยุติเรื่องนี้ เนื่องจากผู้ร้องได้ถอนฟ้องต่อศาลอาญา ศาลจึงมีคำสั่งถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบ จึงทำให้กระบวนการพิจารณาชั้นต้นของเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้สิ้นสุดลงไปด้วย
ทางด้าน นายพิศาฬเมธ แช่มโสภา ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอ่างทองในฐานะอดีตผอ.ส่วนงานมหาเถรสมาคม(มส.)กล่าวว่า จากกรณีที่มีการการกล่าวอ้างว่า พระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเป็นกฎหมาย ที่มส.และคณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้น ตนขอชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องพระบัญชากับพระลิขิตว่า โดยพระบัญชา คือ คำสั่งสมเด็จพระสังฆราชที่คณะสงฆ์ไทยต้องปฏิบัติตาม เช่น พระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะใหญ่ กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น
ส่วนพระลิขิตคือ ข้อเขียนตามพระประสงค์ซึ่งจัดเป็นคำสอน ไม่ใช่คำสั่งจึงไม่เป็นกฎหมายไม่มีผลต่อการปฏิบัติ เช่น พระวรธรรมคติ พระโอวาท เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีการกล่าวอ้างว่า มส.ขัดพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชจึงไม่เป็นความจริง เพราะพระลิขิตที่นำมากล่าวอ้างนั้นขัดกับกฎมส.เพราะกฎมส.ฉบับที่ 11พ.ศ.2521 ว่าด้วยการลงนิคหกรรมซึ่งเกี่ยวกับระบบศาลของคณะสงฆ์ไทยและประกาศใช้เพื่อพิจารณาคดีที่เป็นอาบัติโดยเฉพาะ ได้แบ่งเป็น 3 ศาลเหมือนทางโลก คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา โดยในข้อ 26ระบุว่า การพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมชั้นฏีกาให้เป็นอำนาจของมส. ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานกรรมการมส.โดยตำแหน่ง พระองค์จึงเปรียบเหมือนประธานศาลฎีกา ดังนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประธานศาลฎีกาจะมีคำตัดสินว่านาย ก. หรือนาย ข. ทำถูกหรือผิด ในขณะที่ศาลชั้นต้นยังไม่พิจารณา