http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636999
ตั้ง 'พระสังฆราช' มีทางออก
คัดลอก URL แบบย่อ
http://bit.ly/1PRQDMp
ถ้าฟังจาก สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ร่วมกับวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้ร่วมกันหาทางออก เกี่ยวกับปัญหา การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ที่จะใช้รูปแบบพูดคุยกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดูเหมือนอาจต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร กว่าจะได้ข้อสรุปว่าจะเอาอย่างไร
ท่ามกลางกระแสข่าวอีกด้านหนึ่ง มีการพูดถึงค่อนข้างมากเกี่ยวกับ กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้มูลความผิดคดีรถหรู หรือการนำเข้ารถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ ทะเบียน ขม 99 กทม. ที่อยู่ในความครอบครองของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ สมเด็จฯช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงสุด ที่อยู่ในข่ายได้รับการเสนอชื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในเวลานี้ด้วย
ยิ่งทำให้ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช มีทั้ง “หนุน-ต้าน” อย่างเข้มข้นขึ้น
ความจริง ถ้าจะว่าไปแล้วปัญหาไม่เพียงเรื่องรถหรูนี้เท่านั้น หากแต่เรื่องยังโยงไปถึง กรณีสมเด็จฯช่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่โดยเฉพาะพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย ก็ถูกโจมตีอยู่แล้วว่าบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าหลายเรื่อง จนมีความขัดแย้งสั่งสมเรื่อยมา กระทั่งมีปัญหา มติมหาเถรสมาคม(มส.) ไม่ทำตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน กรณีชี้ให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกอีก
นี่เอง ทำให้ความเห็นของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ น่ารับฟังอย่างยิ่ง
พระไพศาล กล่าวกับ มติชนออนไลน์ ตอนหนึ่งว่า ประเด็นที่พระสงฆ์เรียกร้องให้รัฐบาลสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช หรือประเด็นของพระลิขิตที่ชี้ว่าพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย ต้องอาบัติปาราชิก ผู้ชุมนุมคงเข้าใจว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล มส.และฝ่ายหนุน กับฝ่ายต้าน
แต่ที่จริงแล้ว เป็นความขัดแย้งระหว่างกระแสสังคมกับ มส.มากกว่า
สืบเนื่องจากที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงมติของพระธัมมชโย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่าเรื่องคดีของพระธัมมชโย สิ้นสุดไปนานแล้ว และยังมีเรื่องของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่มีข้อกังขาอยู่หลายเรื่อง อาทิ เรื่องรถหรู เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาขึ้น
โดยผู้ที่มาชุมนุมไม่ได้คิดแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมศรัทธา และไม่คิดหาวิธีเรียกศรัทธาให้สังคมกลับมายอมรับ มส.หรือยอมรับในการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมัวแต่มุ่งกดดันรัฐบาลมากเกินไป จนลืมนึกถึงศรัทธาของประชาชน และภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่มาชุมนุม กลับเพิ่มความเสื่อมศรัทธาพระสงฆ์ในวงกว้าง และ มส.มากขึ้นไปอีก
“หากรัฐบาลยอมทำตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน และสมมติว่าท่านได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพราะประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธาใน มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ไปแล้ว”
พระไพศาล เสนอทางออกว่า มส.ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องพระธรรมวินัย ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะในกรณีของพระธัมมชโย ไม่ใช่ใช้วิธีเตะลูกออก โดยอ้างเหตุผลข้อผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ปกป้องพระธรรมวินัยที่จะทำเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องทำให้กระจ่างชัดว่าความจริงเป็นอย่างไร ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด ไม่ใช่เลี่ยงด้วยข้อโต้แย้ง
หากทำเรื่องนี้ให้กระจ่างได้ จะกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ ในทางกลับกันหากไม่ดำเนินการใดๆ ภาพลักษณ์จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
“ทางออกของเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง ผู้ที่จะปลดล็อคชนวนความขัดแย้งนี้ได้ คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หากท่านกล้าที่จะทำ เพราะผู้นำคณะสงฆ์ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่การนิ่งเฉยของท่านขณะนี้ จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น”
หวังว่าผู้นำการชุมนุมของพระสงฆ์ที่เอาแต่กดดันรัฐบาล อย่าง พระเมธีธรรมาจารย์ และพระผู้ใหญ่ใน มส.จะรับฟังข้อเสนอของพระไพศาลบ้าง อย่างน้อยก็มีสติยั้งคิดและทบทวนหาทางออกที่ดีที่สุด ก่อนที่จะสายเกินไป
กรุงเทพธุรกิจ: ตั้ง 'พระสังฆราช' มีทางออก
ตั้ง 'พระสังฆราช' มีทางออก
คัดลอก URL แบบย่อ
http://bit.ly/1PRQDMp
ถ้าฟังจาก สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ร่วมกับวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้ร่วมกันหาทางออก เกี่ยวกับปัญหา การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ที่จะใช้รูปแบบพูดคุยกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดูเหมือนอาจต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร กว่าจะได้ข้อสรุปว่าจะเอาอย่างไร
ท่ามกลางกระแสข่าวอีกด้านหนึ่ง มีการพูดถึงค่อนข้างมากเกี่ยวกับ กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ชี้มูลความผิดคดีรถหรู หรือการนำเข้ารถยนต์เมอร์เซเดส เบนซ์ ทะเบียน ขม 99 กทม. ที่อยู่ในความครอบครองของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ สมเด็จฯช่วง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงสุด ที่อยู่ในข่ายได้รับการเสนอชื่อเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ในเวลานี้ด้วย
ยิ่งทำให้ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช มีทั้ง “หนุน-ต้าน” อย่างเข้มข้นขึ้น
ความจริง ถ้าจะว่าไปแล้วปัญหาไม่เพียงเรื่องรถหรูนี้เท่านั้น หากแต่เรื่องยังโยงไปถึง กรณีสมเด็จฯช่วง เป็นพระอุปัชฌาย์ของ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่โดยเฉพาะพระธัมมชโย และวัดพระธรรมกาย ก็ถูกโจมตีอยู่แล้วว่าบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าหลายเรื่อง จนมีความขัดแย้งสั่งสมเรื่อยมา กระทั่งมีปัญหา มติมหาเถรสมาคม(มส.) ไม่ทำตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อน กรณีชี้ให้พระธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิกอีก
นี่เอง ทำให้ความเห็นของพระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ น่ารับฟังอย่างยิ่ง
พระไพศาล กล่าวกับ มติชนออนไลน์ ตอนหนึ่งว่า ประเด็นที่พระสงฆ์เรียกร้องให้รัฐบาลสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช หรือประเด็นของพระลิขิตที่ชี้ว่าพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย ต้องอาบัติปาราชิก ผู้ชุมนุมคงเข้าใจว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล มส.และฝ่ายหนุน กับฝ่ายต้าน แต่ที่จริงแล้ว เป็นความขัดแย้งระหว่างกระแสสังคมกับ มส.มากกว่า
สืบเนื่องจากที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงมติของพระธัมมชโย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่าเรื่องคดีของพระธัมมชโย สิ้นสุดไปนานแล้ว และยังมีเรื่องของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่มีข้อกังขาอยู่หลายเรื่อง อาทิ เรื่องรถหรู เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาขึ้น
โดยผู้ที่มาชุมนุมไม่ได้คิดแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมศรัทธา และไม่คิดหาวิธีเรียกศรัทธาให้สังคมกลับมายอมรับ มส.หรือยอมรับในการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมัวแต่มุ่งกดดันรัฐบาลมากเกินไป จนลืมนึกถึงศรัทธาของประชาชน และภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่มาชุมนุม กลับเพิ่มความเสื่อมศรัทธาพระสงฆ์ในวงกว้าง และ มส.มากขึ้นไปอีก
“หากรัฐบาลยอมทำตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน และสมมติว่าท่านได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพราะประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธาใน มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ไปแล้ว”
พระไพศาล เสนอทางออกว่า มส.ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องพระธรรมวินัย ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะในกรณีของพระธัมมชโย ไม่ใช่ใช้วิธีเตะลูกออก โดยอ้างเหตุผลข้อผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ปกป้องพระธรรมวินัยที่จะทำเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องทำให้กระจ่างชัดว่าความจริงเป็นอย่างไร ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด ไม่ใช่เลี่ยงด้วยข้อโต้แย้ง หากทำเรื่องนี้ให้กระจ่างได้ จะกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ ในทางกลับกันหากไม่ดำเนินการใดๆ ภาพลักษณ์จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
“ทางออกของเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง ผู้ที่จะปลดล็อคชนวนความขัดแย้งนี้ได้ คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หากท่านกล้าที่จะทำ เพราะผู้นำคณะสงฆ์ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่การนิ่งเฉยของท่านขณะนี้ จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น”
หวังว่าผู้นำการชุมนุมของพระสงฆ์ที่เอาแต่กดดันรัฐบาล อย่าง พระเมธีธรรมาจารย์ และพระผู้ใหญ่ใน มส.จะรับฟังข้อเสนอของพระไพศาลบ้าง อย่างน้อยก็มีสติยั้งคิดและทบทวนหาทางออกที่ดีที่สุด ก่อนที่จะสายเกินไป