ที่มา มติชนรายวัน
พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่องค์กรเครือข่ายชาวพุทธรวมตัวกันชุมนุมที่พุทธมณฑลกว่า 1 หมื่นรูป/คน เพื่อแสดงพลัง และยื่นสังฆมติ 5 ข้อไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะออกมาเคลื่อนไหวอีก โดยระหว่างการชุมนุมได้เกิดการปะทะระหว่างพระสงฆ์ และทหารหลายครั้ง โดยพระสงฆ์ได้เข้ายื้อยุดฉุดกระชาก ผลัก และล็อกคอทหาร จนทำเกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อคณะสงฆ์ และเกิดวิกฤตเสื่อมศรัทธาขึ้น ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งบอกว่าพระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน รวมถึง มีความขัดแย้งภายในคณะสงฆ์ระหว่างธรรมยุติกนิกาย และมหานิกาย ที่อาจซาลงไปบ้างแล้ว แต่ยังมีการแบ่งสีระหว่างพระสงฆ์ด้วย ซึ่งปัญหาที่เกิดในขณะนี้ เป็นการซ้อนทับในความขัดแย้งเดิมๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อผลประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ย่อมเกิดความไม่พอใจ และออกมาชุมนุม
“ประเด็นหลักที่เครือข่ายพระสงฆ์ออกมาชุมนุมจะอยู่ในสังฆมติที่เรียกร้องต่อรัฐบาลในข้อ 1-4 คือ 1.ห้ามหน่วยงานภาครัฐเข้ามาก้าวก่ายเรื่องทางสงฆ์ 2.ขอให้รัฐบาลยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามที่กระทำสืบกันมา คือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ ทางรัฐบาลต้องปรึกษา และได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม (มส.) ก่อน 3.ขอให้นายกรัฐมนตรียึดถือดำเนินการตามมติ มส.ที่เสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และ 4.ขอให้รัฐบาลสั่งเป็นนโยบายให้หน่วยราชการปฏิบัติต่อคณะสงฆ์ด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อ ไม่ข่มขู่คุกคามคณะสงฆ์ ด้วยการใช้กฎหมาย ส่วนข้อที่ 5 ที่ระบุว่าขอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการเรียกหาแนวร่วม หรือคนที่สนับสนุนในวงกว้างมากขึ้น” พระไพศาลกล่าว
พระไพศาลกล่าวต่อว่า ประเด็นที่พระสงฆ์เรียกร้องให้รัฐบาลสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช หรือประเด็นของพระลิขิตที่ชี้ว่าพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิก ผู้ชุมนุมคงเข้าใจว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล มส.และฝ่ายหนุน กับฝ่ายต้าน แต่ที่จริงแล้วเป็นความขัดแย้งระหว่างกระแสสังคมกับ มส.มากกว่า สืบเนื่องจากที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงมติของพระธัมมชโย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่าเรื่องคดีของพระธัมมชโยสิ้นสุดไปนานแล้ว และยังมีเรื่องของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่มีข้อกังขาอยู่หลายเรื่อง อาทิ เรื่องรถหรู เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาขึ้น โดยผู้ที่มาชุมนุมไม่ได้คิดแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมศรัทธา และไม่คิดหาวิธีเรียกศรัทธาให้สังคมกลับมายอมรับ มส.หรือยอมรับในการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมัวแต่มุ่งกดดันรัฐบาลมากเกินไป จนลืมนึกถึงศรัทธาของประชาชน และภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่มาชุมนุม กลับเพิ่มความเสื่อมศรัทธาพระสงฆ์ในวงกว้าง และ มส.มากขึ้นไปอีก
“หากรัฐบาลยอมทำตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน และสมมติว่าท่านได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพราะประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธาใน มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ไปแล้ว” พระไพศาลกล่าว
พระไพศาลกล่าวอีกว่า ทางออกของปัญหาคือ มส.ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องพระธรรมวินัย ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะในกรณีที่ของพระธัมมชโย ไม่ใช่ใช้วิธีเตะลูกออก โดยอ้างเหตุผลข้อผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ปกป้องพระธรรมวินัยที่จะทำเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องทำให้กระจ่างชัดว่าความจริงเป็นอย่างไร ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด ไม่ใช่เลี่ยงด้วยข้อโต้แย้ง หากทำเรื่องนี้ให้กระจ่างได้ จะกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ ในทางกลับกันหากไม่ดำเนินการใดๆ ภาพลักษณ์จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
“ทางออกของเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง ผู้ที่จะปลดล็อคชนวนความขัดแย้งนี้ได้ คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หากท่านกล้าที่จะทำ เพราะผู้นำคณะสงฆ์ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่การนิ่งเฉยของท่านขณะนี้ จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น” พระไพศาลกล่าว
พระไพศาล’ แนะ’สมเด็จช่วง’ ปลดล็อคขัดแย้ง ห่วงถึงได้เป็น’สังฆราช’ แต่ปชช.เสื่อมศรัทธา
พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่องค์กรเครือข่ายชาวพุทธรวมตัวกันชุมนุมที่พุทธมณฑลกว่า 1 หมื่นรูป/คน เพื่อแสดงพลัง และยื่นสังฆมติ 5 ข้อไปยังรัฐบาลให้ดำเนินการ ไม่เช่นนั้นจะออกมาเคลื่อนไหวอีก โดยระหว่างการชุมนุมได้เกิดการปะทะระหว่างพระสงฆ์ และทหารหลายครั้ง โดยพระสงฆ์ได้เข้ายื้อยุดฉุดกระชาก ผลัก และล็อกคอทหาร จนทำเกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อคณะสงฆ์ และเกิดวิกฤตเสื่อมศรัทธาขึ้น ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งบอกว่าพระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน รวมถึง มีความขัดแย้งภายในคณะสงฆ์ระหว่างธรรมยุติกนิกาย และมหานิกาย ที่อาจซาลงไปบ้างแล้ว แต่ยังมีการแบ่งสีระหว่างพระสงฆ์ด้วย ซึ่งปัญหาที่เกิดในขณะนี้ เป็นการซ้อนทับในความขัดแย้งเดิมๆ เมื่อมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อผลประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ย่อมเกิดความไม่พอใจ และออกมาชุมนุม
“ประเด็นหลักที่เครือข่ายพระสงฆ์ออกมาชุมนุมจะอยู่ในสังฆมติที่เรียกร้องต่อรัฐบาลในข้อ 1-4 คือ 1.ห้ามหน่วยงานภาครัฐเข้ามาก้าวก่ายเรื่องทางสงฆ์ 2.ขอให้รัฐบาลยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามที่กระทำสืบกันมา คือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ ทางรัฐบาลต้องปรึกษา และได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม (มส.) ก่อน 3.ขอให้นายกรัฐมนตรียึดถือดำเนินการตามมติ มส.ที่เสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช และ 4.ขอให้รัฐบาลสั่งเป็นนโยบายให้หน่วยราชการปฏิบัติต่อคณะสงฆ์ด้วยความเคารพ เอื้อเฟื้อ ไม่ข่มขู่คุกคามคณะสงฆ์ ด้วยการใช้กฎหมาย ส่วนข้อที่ 5 ที่ระบุว่าขอให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการเรียกหาแนวร่วม หรือคนที่สนับสนุนในวงกว้างมากขึ้น” พระไพศาลกล่าว
พระไพศาลกล่าวต่อว่า ประเด็นที่พระสงฆ์เรียกร้องให้รัฐบาลสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช หรือประเด็นของพระลิขิตที่ชี้ว่าพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องอาบัติปาราชิก ผู้ชุมนุมคงเข้าใจว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล มส.และฝ่ายหนุน กับฝ่ายต้าน แต่ที่จริงแล้วเป็นความขัดแย้งระหว่างกระแสสังคมกับ มส.มากกว่า สืบเนื่องจากที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงมติของพระธัมมชโย เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่าเรื่องคดีของพระธัมมชโยสิ้นสุดไปนานแล้ว และยังมีเรื่องของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่มีข้อกังขาอยู่หลายเรื่อง อาทิ เรื่องรถหรู เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธาขึ้น โดยผู้ที่มาชุมนุมไม่ได้คิดแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมศรัทธา และไม่คิดหาวิธีเรียกศรัทธาให้สังคมกลับมายอมรับ มส.หรือยอมรับในการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะมัวแต่มุ่งกดดันรัฐบาลมากเกินไป จนลืมนึกถึงศรัทธาของประชาชน และภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่มาชุมนุม กลับเพิ่มความเสื่อมศรัทธาพระสงฆ์ในวงกว้าง และ มส.มากขึ้นไปอีก
“หากรัฐบาลยอมทำตามคำเรียกร้องของผู้ชุมนุม และเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน และสมมติว่าท่านได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น เพราะประชาชนเกิดความเสื่อมศรัทธาใน มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ไปแล้ว” พระไพศาลกล่าว
พระไพศาลกล่าวอีกว่า ทางออกของปัญหาคือ มส.ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าในฐานะที่เป็นผู้ปกป้องพระธรรมวินัย ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะในกรณีที่ของพระธัมมชโย ไม่ใช่ใช้วิธีเตะลูกออก โดยอ้างเหตุผลข้อผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งไม่ใช่วิสัยของผู้ปกป้องพระธรรมวินัยที่จะทำเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องทำให้กระจ่างชัดว่าความจริงเป็นอย่างไร ถูกว่าไปตามถูก ผิดว่าไปตามผิด ไม่ใช่เลี่ยงด้วยข้อโต้แย้ง หากทำเรื่องนี้ให้กระจ่างได้ จะกู้ศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ มส.และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้ ในทางกลับกันหากไม่ดำเนินการใดๆ ภาพลักษณ์จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ
“ทางออกของเรื่องนี้อีกทางหนึ่ง ผู้ที่จะปลดล็อคชนวนความขัดแย้งนี้ได้ คือสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หากท่านกล้าที่จะทำ เพราะผู้นำคณะสงฆ์ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาเรื่องนี้ แต่การนิ่งเฉยของท่านขณะนี้ จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง และจะทำให้ปัญหาลุกลามมากขึ้น” พระไพศาลกล่าว