อธิบดีกรมการศาสนา & มส. สมควรตอบให้ได้ว่า ใครเป็นผู้สมบท "ฤาษีแปลงสาร"



เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า อธิกรณ์สงฆ์กรณีธัมมชโยยักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย เมื่อปี 2542 นั้น  แท้จริงแล้ว  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ท่านได้ทรงวินิจฉัยแล้ว ว่า กรณีดังกล่าวนั้น ในด้านพระธรรมวินัยแล้ว ธัมมชโยนั้นปาราชิก ขาดจากการเป็นพระไปแล้ว  ทั้งนี้  เป็นการเปิดเผยของ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ได้นำหนังสือที่ พ258/2542 ลงวันที่ 29 เมษายน 2542 โดยพระราชรัตนมงคล ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น ที่มีไปถึงอธิบดีกรมการศาสนาในขณะนั้น คือนายพิภพ กาญจนะ เป็นหนังสือนำส่ง "พระวินิจฉัย" การปาราชิกของธัมมชโยไปให้กรมการศาสนา เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม มหาเถรสมาคม  โดยในจดหมายนี้ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า  เอกสารที่ส่งมาด้วยพร้อมกับหนังสือฉบับดังกล่าวนั้น คือ "พระวินิจฉัย" และเนื้อหาในจดหมายดังกล่าว ยังมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า

"ด้วยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีพระวินิจฉัย เรื่องโทษการบิดเบือนพระพุทธธรรมคำทรงสอน และการถือเอาสมบัติของวัดมาเป็นของตนฯ"   แต่ครั้นเมื่อกรมการศาสนาทำหนังสือสรุปผลการประชุมการลงมติ ของมหาเถรสมาคม ที่  193/2542 เพื่อเสนอพระวินิจฉัยการปาราชิกของธัมมชโยเข้าสู่ที่ประชุม มหาเถรสมาคม ครั้งที่ 16/2542 ข้อสังเกต คือ มีการแปลงถ้อยคำจาก "พระวินิจฉัย" เป็น "พระดำริ"  แทน  ซึ่งแต่เดิม ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ ใช้ถ้อยคำว่า "พระวินิจฉัย" ตามหนังสือที่ พ258/2542



กดที่ภาพข้างบน เข้าไปชมคลิป เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับพระวินิจฉัย/พระลิขิต (คลิปสั้นเพียง 5 นาที)
เนื้อหาโดยสรุป



หรือคลิกดูคลิปรายการตอบโจทย์เต็ม ๆ 2 วัน รวม 1 ชั่วโมง จากคลิปข้างล่างนี้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : เคลียร์ "คำวินิจฉัย" ปาราชิก "พระธัมมชโย" (ตอน 1) (22 ก.ค. 58)
.
.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : เคลียร์ "คำวินิจฉัย" ปาราชิก "พระธัมมชโย" (ตอน 2) (23 ก.ค. 58)
.
.
.
อธิบดีกรมการศาสนา และกรรมหาเถรสมาคม สมควรตอบให้ได้ว่า

ใครเป็นผู้สวมมบท "ฤาษีแปลงสาร" แปลงถ้อยคำ "พระวินิจฉัย" เป็น "พระลิขิต" และ "พระดำริ"
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่