***ส่องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

กระทู้สนทนา
พระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๓๕[1]




ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน



................................................

“มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”

...............................................

ตามที่ขีดเส้นใต้... พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา ๗ กำหนดว่า"ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

ผู้มีหน้าที่ มีเพียง นายกรัฐมนตรีและมหาเถรสมาคมเท่านั้น พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา๗ ไม่มีส่วนใดที่ระบุว่า "ให้ประชาชน เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

ดังนั้นประชาชนทุกคนควรปฏิบัติตามหน้าที่พลเมือง ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ควรกระทำการก้าวก่าย ชักจูง หรือแทรกแซงกระบวนการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

"สิทธิ"คือสิ่งที่กฏหมายมอบให้แก่ประชาชน "หน้าที่"คือสิ่งที่ประชาชนตอบแทนให้แก่กฏหมาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่