ค้าข้าวโลกปี 60 แข่งเดือด หลังผลผลิตข้าวประเทศคู่แข่งทั้งอินเดียดีสุดรอบ 20 ปี เวียดนาม กัมพูชา ไทยคาดเพิ่มขึ้นยกแผง ผสมโรงสต็อกข้าวรัฐยังเหลือกว่า 8 ล้านตัน กดราคาข้าวไทย-ข้าวโลกปีหน้ายังอยู่ในแดนต่ำ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยตั้งเป้าปีระกา 9.5 ล้านตัน ยังเป็นเบอร์ 2 รองจากอินเดีย
นาย
เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งอออกข้าวไทย เปิดเผยกับ
“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ในปีการผลิตข้าว 2559/2560 จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าผลผลิตข้าวของประเทศคู่แข่งขันส่งออกข้าวในหลายประเทศจะมีผลิตเพิ่มขึ้น โดยในส่วนผลผลิตข้าวของอินเดียที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงนี้จะมีผลผลิตที่ดีมากในรอบ 20 ปี ส่วนข้าวของเวียดนามที่จะเก็บเกี่ยวในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ก็จะมีผลผลิตที่ดีและเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลผลิตข้าวของไทยและกัมพูชาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าว(ข้าวเปลือก)ในปีผลิต 2559/2560 (พ.ย.59-ก.ย.60) โดยรวมข้าวนาปี(เก็บเกี่ยวช่วง ต.ค.-ธ.ค.59) และข้าวนาปรังอีก 2 คร็อปที่กำลังจะเพาะปลูกตามมาที่ 25-27 ล้านตัน แต่หากกระทรวงเกษตรฯไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายควบคุมหรือลดพื้นที่ปลูกข้าวได้ คาดในปีผลิต 2559/2560 ไทยจะยังมีผลผลิตข้าวเปลือกสูงถึง 32 ล้านตัน จากเกษตรกรจะมีน้ำทำนามากกว่าในปี 2559
“จากผลผลิตข้าวใหม่ของไทยกับของประเทศคู่แข่งในปี 2559/2560 ที่จะมีเพิ่มขึ้น บวกกับข้าวเก่าในสต็อกรัฐบาลไทยที่ยังมีอยู่ประมาณ 8 ล้านตัน จะส่งผลทำให้มีการแข่งขันด้านราคาของข้าวไทยและของประเทศคู่แข่งขันในปี 2560 อย่างดุเดือด คงขายราคาสูงได้ยาก รวมถึงข้าวในสต๊อกรัฐบาลหากตั้งราคาสูงก็คงขายได้ยากเช่นกัน ไม่ใช่เพราะพวกเราไปกดราคา แต่เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะข้าวใหม่ราคาถูก คุณจะไปขายข้าวเก่าแพงได้อย่างไร ต้องพูดความจริงกัน แต่ทั้งนี้เราก็อยากให้รัฐเร่งหาทางระบายสต็อกข้าวให้หมดไปโดยเร็ว เพื่อให้กลไกตลาดสู่ภาวะปกติเสียที”
อย่างไรก็ดีตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 จากข้อมูลของกรมศุลกากรไทยมีการส่งออกข้าวแล้ว 8.3 ล้านตัน คาดทั้งปีนี้จะส่งออกได้ประมาณ 9.5 ล้านตันตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ในปี 2560 เบื้องต้นทางสมาคมได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 9-9.5 ล้านตัน โดยไทยจะยังเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 รองจากอินเดีย สำหรับปัจจัยบวกต่อการส่งออกข้าวในปีหน้าที่สำคัญคือแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูง ทำให้คู่ค้าข้าวในแอฟริกาที่หลายประเทศเป็นผู้ส่งออกน้ำมันจะมีรายได้มาซื้อข้าวไทยมากขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงก็ยังมีมากทั้งผลผลิตข้าวไทย และข้าวประเทศคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกทั้งด้านปริมาณ และมูลค่าคงไม่ขยายตัวมาก แนวโน้มราคาข้าวส่งออกในปีหน้าคงไม่ดีกว่าปีนี้ และหากไม่แย่ไปกว่าปีนี้ก็ถือว่าพอใจแล้ว
สอดคล้องกับนาย
ชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ที่กล่าวว่า ทางสมาคมตั้งเป้าส่งออกข้าวในปี 2560 ที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งแม้การค้าข้าวโลกจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากผลผลิตข้าวของหลายประเทศจะมีเพิ่มขึ้น แต่ข้าวไทยก็หวังจะแข่งขันได้ดีขึ้นจากราคาที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้กรณีธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และมีแผนจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีหน้าจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลกลับสหรัฐฯ และจะมีผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เงินบาทจะอ่อนค่าลง ราคาข้าวไทยจะถูกลงและจะส่งออกได้ดีขึ้น
ขณะที่ข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่เหลือประมาณ 8 ล้านตันต้องพยายามระบายออกมาให้หมด ทั้งข้าวเสื่อมคุณภาพ 5 ล้านตันสู่อุตสาหกรรมพลังงาน และข้าวที่คาดว่ายังมีคุณภาพดีอีก 3 ล้านตันเพื่อการบริโภคต้องระบายออกมาเช่นกัน แม้ราคาตลาดอาจจะต่ำกว่าปีนี้ก็ตาม แต่ก็ยังมีตลาดรองรับเช่นแอฟริกาที่นิยมรับประทานข้าวเก่า สามารถช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกได้
JJNY : แข่งดัมพ์ราคาค้าข้าวโลกปี60 ผลผลิตทุกชาติเพิ่มยกแผง-ไทยคงเป้าส่งออก9.5ล้านตัน
ค้าข้าวโลกปี 60 แข่งเดือด หลังผลผลิตข้าวประเทศคู่แข่งทั้งอินเดียดีสุดรอบ 20 ปี เวียดนาม กัมพูชา ไทยคาดเพิ่มขึ้นยกแผง ผสมโรงสต็อกข้าวรัฐยังเหลือกว่า 8 ล้านตัน กดราคาข้าวไทย-ข้าวโลกปีหน้ายังอยู่ในแดนต่ำ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยตั้งเป้าปีระกา 9.5 ล้านตัน ยังเป็นเบอร์ 2 รองจากอินเดีย
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งอออกข้าวไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ในปีการผลิตข้าว 2559/2560 จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าผลผลิตข้าวของประเทศคู่แข่งขันส่งออกข้าวในหลายประเทศจะมีผลิตเพิ่มขึ้น โดยในส่วนผลผลิตข้าวของอินเดียที่กำลังเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงนี้จะมีผลผลิตที่ดีมากในรอบ 20 ปี ส่วนข้าวของเวียดนามที่จะเก็บเกี่ยวในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ก็จะมีผลผลิตที่ดีและเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผลผลิตข้าวของไทยและกัมพูชาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าว(ข้าวเปลือก)ในปีผลิต 2559/2560 (พ.ย.59-ก.ย.60) โดยรวมข้าวนาปี(เก็บเกี่ยวช่วง ต.ค.-ธ.ค.59) และข้าวนาปรังอีก 2 คร็อปที่กำลังจะเพาะปลูกตามมาที่ 25-27 ล้านตัน แต่หากกระทรวงเกษตรฯไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายควบคุมหรือลดพื้นที่ปลูกข้าวได้ คาดในปีผลิต 2559/2560 ไทยจะยังมีผลผลิตข้าวเปลือกสูงถึง 32 ล้านตัน จากเกษตรกรจะมีน้ำทำนามากกว่าในปี 2559
“จากผลผลิตข้าวใหม่ของไทยกับของประเทศคู่แข่งในปี 2559/2560 ที่จะมีเพิ่มขึ้น บวกกับข้าวเก่าในสต็อกรัฐบาลไทยที่ยังมีอยู่ประมาณ 8 ล้านตัน จะส่งผลทำให้มีการแข่งขันด้านราคาของข้าวไทยและของประเทศคู่แข่งขันในปี 2560 อย่างดุเดือด คงขายราคาสูงได้ยาก รวมถึงข้าวในสต๊อกรัฐบาลหากตั้งราคาสูงก็คงขายได้ยากเช่นกัน ไม่ใช่เพราะพวกเราไปกดราคา แต่เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะข้าวใหม่ราคาถูก คุณจะไปขายข้าวเก่าแพงได้อย่างไร ต้องพูดความจริงกัน แต่ทั้งนี้เราก็อยากให้รัฐเร่งหาทางระบายสต็อกข้าวให้หมดไปโดยเร็ว เพื่อให้กลไกตลาดสู่ภาวะปกติเสียที”
อย่างไรก็ดีตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 จากข้อมูลของกรมศุลกากรไทยมีการส่งออกข้าวแล้ว 8.3 ล้านตัน คาดทั้งปีนี้จะส่งออกได้ประมาณ 9.5 ล้านตันตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ในปี 2560 เบื้องต้นทางสมาคมได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 9-9.5 ล้านตัน โดยไทยจะยังเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 รองจากอินเดีย สำหรับปัจจัยบวกต่อการส่งออกข้าวในปีหน้าที่สำคัญคือแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูง ทำให้คู่ค้าข้าวในแอฟริกาที่หลายประเทศเป็นผู้ส่งออกน้ำมันจะมีรายได้มาซื้อข้าวไทยมากขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงก็ยังมีมากทั้งผลผลิตข้าวไทย และข้าวประเทศคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกทั้งด้านปริมาณ และมูลค่าคงไม่ขยายตัวมาก แนวโน้มราคาข้าวส่งออกในปีหน้าคงไม่ดีกว่าปีนี้ และหากไม่แย่ไปกว่าปีนี้ก็ถือว่าพอใจแล้ว
สอดคล้องกับนายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ที่กล่าวว่า ทางสมาคมตั้งเป้าส่งออกข้าวในปี 2560 ที่ 9.5 ล้านตัน ซึ่งแม้การค้าข้าวโลกจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากผลผลิตข้าวของหลายประเทศจะมีเพิ่มขึ้น แต่ข้าวไทยก็หวังจะแข่งขันได้ดีขึ้นจากราคาที่ปรับตัวลดลง นอกจากนี้กรณีธนาคารกลางสหรัฐฯได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และมีแผนจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในปีหน้าจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลกลับสหรัฐฯ และจะมีผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เงินบาทจะอ่อนค่าลง ราคาข้าวไทยจะถูกลงและจะส่งออกได้ดีขึ้น
ขณะที่ข้าวในสต๊อกรัฐบาลที่เหลือประมาณ 8 ล้านตันต้องพยายามระบายออกมาให้หมด ทั้งข้าวเสื่อมคุณภาพ 5 ล้านตันสู่อุตสาหกรรมพลังงาน และข้าวที่คาดว่ายังมีคุณภาพดีอีก 3 ล้านตันเพื่อการบริโภคต้องระบายออกมาเช่นกัน แม้ราคาตลาดอาจจะต่ำกว่าปีนี้ก็ตาม แต่ก็ยังมีตลาดรองรับเช่นแอฟริกาที่นิยมรับประทานข้าวเก่า สามารถช่วยเพิ่มตัวเลขการส่งออกได้