เศรษฐกิจโลกปี 60 ผันผวนหนัก ผวา “ทรัมป์” ก่อสงครามการค้าป้องขาดดุล ผู้ส่งออกฟันธงกีดกันการค้ารุนแรง สหรัฐฯ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นงัดสารพัดมาตรการสกัดนำเข้า
สถานการณ์ส่งออกของไทย ปี 2560 ยังเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้า ล่าสุด 12ประเทศอยู่ระหว่างเปิดไต่สวนใช้มาตรการเอดี-เซฟการ์ดสินค้าไทยถึง 17 รายการ
กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการส่งออกในปี 2560 ในเบื้องต้นจะขยายตัวได้ที่ 3% ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ค่าเงินของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มจะผันผวนเพิ่มขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่อีกด้านหนึ่งมาตรการกีดกันการค้าของประเทศต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปี 2560 มีแนวโน้มที่ประเทศคู่ค้าต่างๆ ของไทยจะออกมาตรการกีดกันการค้ามากขึ้น เห็นได้จากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธาธิบดีสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณกีดกันการค้าโดยในการหาเสียงได้ประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไปที่ 45% และจะมีการเจรจาเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟต้า)ใหม่ เพื่อขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กเม็กซิโก 35%
ขณะเดียวกันทรัมป์ประกาศจะถอนสหรัฐฯออกจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(ทีพีพี)ที่ 12 ประเทศสมาชิกได้ลงนามความตกลงไปแล้ว ต้องจับตาว่าหลังทรัมป์รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2560 ท่าทีในเรื่องต่างๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร
ทรัมป์จ้องตั้งกำแพงการค้า
“ทรัมป์ไม่นิยมทำการค้าเสรีแบบพหุภาคีหลายประเทศ แต่จะทำความตกลงแบบทวิภาคีหรือ 2 ประเทศมากกว่า ส่งสัญญาณว่าจากนี้ไปสหรัฐฯจะกีดกันการค้าประเทศคู่ค้ามากขึ้นโดยการขึ้นภาษี การคุมเข้มมาตรฐานสินค้าเข้าสหรัฐฯ จะมากขึ้น โดยล่าสุดสหรัฐฯ มีแผนตั้งออฟฟิศเอฟดีเอ หรือ อย.ของสหรัฐฯในต่างประเทศเพื่อคุมมาตรฐานสินค้าในประเทศต้นทางมากขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าการกีดกัดการค้าที่มิใช่ภาษีในปีหน้าจะเข้มข้นขึ้น เป้าส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ 3% คงเป็นโจทย์หินพอสมสมควร”
สอดคล้องกับนายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า แนวโน้มการกีดกันการค้าปี 2560 จะรุนแรง เพราะเศรษฐกิจของเกือบทุกประเทศยกเว้นสหรัฐฯจะยังไม่ค่อยดี ดังนั้นทุกประเทศจะมีมาตรการกีดกันนำเข้ามากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม และแรงงานในประเทศ
งัดมาตรการสุขอนามัยป้องตลาด
มาตรการที่นิยมมาใช้ได้แก่ มาตรการด้านสุขอนามัย การให้ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้า การกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าที่ไม่รับรองการตรวจสอบของกันและกัน การออกระเบียบฉลากสินค้า การจำกัดโควตาการนำเข้า มาตรการต่างๆ เหล่านี้พบใช้มากในกลุ่มอาเซียน และอาเซียน +6 (อาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ซึ่งในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ของทั้ง 16 ประเทศควรเร่งเจรจาเรื่องการลดมาตรการกีดกันการค้าให้หมดไปก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วแม้หากเปิดเสรีการค้าสินค้า และการค้าบริการก็คงไม่เกิดประโยชน์มาก เพราะอุปสรรคจากการกีดกันจะยังมีอยู่จำนวนมาก
นายบัณฑูร ยังได้ยกตัวอย่างอุปสรรคจากการถูกกีดกันการส่งออกของไทยเพียงแค่สินค้ามันสำปะหลัง อาทิ ญี่ปุ่นได้จัดสรรโควตาให้ผู้ซื้อในประเทศนำเข้าแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงภายใต้พิกัด HS.CODE 3505 จากไทยปีละไม่เกิน 2 แสนตัน อัตราภาษี 0% ส่วนเกินโควตาเก็บภาษี 6.8%, อินเดียกำหนดให้มีการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพสินค้าแป้งมันสำปะหลัง ก่อให้เกิดความล่าช้าในการนำเข้าสินค้าของผู้ซื้อ, มาเลเซียไม่ออกใบอนุญาตนำเข้าแป้งที่ทำจากข้าว เป็นต้น
12 คู่ค้างัดเอดี-เซฟการ์ดไทย
ขณะที่จากการตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบปัจจุบันมีคู่ค้า 12 ประเทศอยู่ระหว่างการเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น(เซฟการ์ด) กับสินค้าจากไทย ได้แก่ ตุรกี ปากีสถาน ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย แอฟริกาใต้ ตูนิเซีย กลุ่ม GCC(ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน คูเวต โอมาน การ์ตา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) จอร์แดน แซมเบีย และอินเดีย ในสินค้า 17 รายการ อาทิ กระดาษA4 น้ำตาล เม็ดพลาสติกพีพี เหล็กเสริมคอนกรีต แผ่นยิปซัม ไฟเบอร์บอร์ด ขวดแก้ว กระเบื้องเซรามิก อลูมิเนียมแท่ง เป็นต้น
ส่วนองค์การการค้าโลก (WTO) รายงานว่าในครึ่งแรกของปี 2559 กลุ่มประเทศG20 (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 23 ประเทศซึ่งรวมทั้งไทย) มีการดำเนินมาตรการกีดกันการค้า 1,583 มาตรการ ในจำนวนนี้เป็นมาตรการใหม่ถึง 145 รายการ
ผวาอียูยืดเอดีข้าวโพดหวาน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีสมาชิกเกือบ 200 บริษัท กล่าวว่า จากแศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในภาพรวมปี 2560 ที่คาดว่าจะยังชะลอตัว จะส่งผลให้ประเทศคู่ค้านำมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบใหม่ ๆ ที่มิใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น ทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ มาตรการคุมเข้มเรื่องสารตกค้าง มาตรฐานการผลิต และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในและป้องกันสินค้านำเข้าไม่ให้เข้าไปขยายตลาดภายในมากเกินไป รวมถึงเพื่อลดการขาดดุลการค้า
ทั้งนี้ที่ทางสมาคมจับตามองคือในสินค้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องที่สินค้าไทยถูกสหภาพยุโรป (อียู) เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) มาครบ 5 ปีในรอบที่2 ซึ่งจะครบรอบการทบทวนในปีหน้าว่าอียูจะมีการต่ออายุภาษีเอดีที่ปัจจุบันสินค้าไทยถูกเรียกเก็บที่อัตรา 11-14% อีกหรือไม่ จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่สินค้าไทยถูกใช้มาตรการยอดส่งออกได้หายไปกว่าครึ่ง
นางอุไรวรรณ บุนนาค นายกสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย ซึ่งมีตลาดหลักที่สหรัฐอเมริกาสัดส่วนประมาณ 30% กล่าวว่า ทางสมาชิกสมาคมประมาณ 120 รายต้องเผชิญกับมาตรการนำเข้าของสหรัฐฯที่เข้มงวดขึ้นทุกปี เฉพาะอย่างยิ่งมาตรการควบคุมความปลอดภัยเรื่องสารเคมีตกค้างในของเล่นที่สหรัฐฯจะแจ้งการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งต้องปฏิบัติตาม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ก็ปรับตัวได้ แม้จะมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นก็ตาม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,218 วันที่ 15-17 ธันวาคม 255
JJNY : เศรษฐกิจดี๊ดี...ส่งออกไทยปีหน้าอ่วม คู่ค้าตั้งกำแพงกีดกัน
สถานการณ์ส่งออกของไทย ปี 2560 ยังเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้า ล่าสุด 12ประเทศอยู่ระหว่างเปิดไต่สวนใช้มาตรการเอดี-เซฟการ์ดสินค้าไทยถึง 17 รายการ
กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการส่งออกในปี 2560 ในเบื้องต้นจะขยายตัวได้ที่ 3% ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ค่าเงินของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มจะผันผวนเพิ่มขึ้นหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่อีกด้านหนึ่งมาตรการกีดกันการค้าของประเทศต่างๆ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในปี 2560 มีแนวโน้มที่ประเทศคู่ค้าต่างๆ ของไทยจะออกมาตรการกีดกันการค้ามากขึ้น เห็นได้จากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธาธิบดีสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณกีดกันการค้าโดยในการหาเสียงได้ประกาศจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไปที่ 45% และจะมีการเจรจาเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟต้า)ใหม่ เพื่อขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กเม็กซิโก 35%
ขณะเดียวกันทรัมป์ประกาศจะถอนสหรัฐฯออกจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(ทีพีพี)ที่ 12 ประเทศสมาชิกได้ลงนามความตกลงไปแล้ว ต้องจับตาว่าหลังทรัมป์รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2560 ท่าทีในเรื่องต่างๆ เหล่านี้จะเปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร
ทรัมป์จ้องตั้งกำแพงการค้า
“ทรัมป์ไม่นิยมทำการค้าเสรีแบบพหุภาคีหลายประเทศ แต่จะทำความตกลงแบบทวิภาคีหรือ 2 ประเทศมากกว่า ส่งสัญญาณว่าจากนี้ไปสหรัฐฯจะกีดกันการค้าประเทศคู่ค้ามากขึ้นโดยการขึ้นภาษี การคุมเข้มมาตรฐานสินค้าเข้าสหรัฐฯ จะมากขึ้น โดยล่าสุดสหรัฐฯ มีแผนตั้งออฟฟิศเอฟดีเอ หรือ อย.ของสหรัฐฯในต่างประเทศเพื่อคุมมาตรฐานสินค้าในประเทศต้นทางมากขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าการกีดกัดการค้าที่มิใช่ภาษีในปีหน้าจะเข้มข้นขึ้น เป้าส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่ 3% คงเป็นโจทย์หินพอสมสมควร”
สอดคล้องกับนายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ รองประธานคณะกรรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่กล่าวว่า แนวโน้มการกีดกันการค้าปี 2560 จะรุนแรง เพราะเศรษฐกิจของเกือบทุกประเทศยกเว้นสหรัฐฯจะยังไม่ค่อยดี ดังนั้นทุกประเทศจะมีมาตรการกีดกันนำเข้ามากขึ้นเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม และแรงงานในประเทศ
งัดมาตรการสุขอนามัยป้องตลาด
มาตรการที่นิยมมาใช้ได้แก่ มาตรการด้านสุขอนามัย การให้ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตนำเข้า การกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าที่ไม่รับรองการตรวจสอบของกันและกัน การออกระเบียบฉลากสินค้า การจำกัดโควตาการนำเข้า มาตรการต่างๆ เหล่านี้พบใช้มากในกลุ่มอาเซียน และอาเซียน +6 (อาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ซึ่งในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) ของทั้ง 16 ประเทศควรเร่งเจรจาเรื่องการลดมาตรการกีดกันการค้าให้หมดไปก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วแม้หากเปิดเสรีการค้าสินค้า และการค้าบริการก็คงไม่เกิดประโยชน์มาก เพราะอุปสรรคจากการกีดกันจะยังมีอยู่จำนวนมาก
นายบัณฑูร ยังได้ยกตัวอย่างอุปสรรคจากการถูกกีดกันการส่งออกของไทยเพียงแค่สินค้ามันสำปะหลัง อาทิ ญี่ปุ่นได้จัดสรรโควตาให้ผู้ซื้อในประเทศนำเข้าแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงภายใต้พิกัด HS.CODE 3505 จากไทยปีละไม่เกิน 2 แสนตัน อัตราภาษี 0% ส่วนเกินโควตาเก็บภาษี 6.8%, อินเดียกำหนดให้มีการตรวจสอบมาตรฐานและคุณภาพสินค้าแป้งมันสำปะหลัง ก่อให้เกิดความล่าช้าในการนำเข้าสินค้าของผู้ซื้อ, มาเลเซียไม่ออกใบอนุญาตนำเข้าแป้งที่ทำจากข้าว เป็นต้น
12 คู่ค้างัดเอดี-เซฟการ์ดไทย
ขณะที่จากการตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบปัจจุบันมีคู่ค้า 12 ประเทศอยู่ระหว่างการเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น(เซฟการ์ด) กับสินค้าจากไทย ได้แก่ ตุรกี ปากีสถาน ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย แอฟริกาใต้ ตูนิเซีย กลุ่ม GCC(ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน คูเวต โอมาน การ์ตา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) จอร์แดน แซมเบีย และอินเดีย ในสินค้า 17 รายการ อาทิ กระดาษA4 น้ำตาล เม็ดพลาสติกพีพี เหล็กเสริมคอนกรีต แผ่นยิปซัม ไฟเบอร์บอร์ด ขวดแก้ว กระเบื้องเซรามิก อลูมิเนียมแท่ง เป็นต้น
ส่วนองค์การการค้าโลก (WTO) รายงานว่าในครึ่งแรกของปี 2559 กลุ่มประเทศG20 (กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตร 23 ประเทศซึ่งรวมทั้งไทย) มีการดำเนินมาตรการกีดกันการค้า 1,583 มาตรการ ในจำนวนนี้เป็นมาตรการใหม่ถึง 145 รายการ
ผวาอียูยืดเอดีข้าวโพดหวาน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีสมาชิกเกือบ 200 บริษัท กล่าวว่า จากแศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในภาพรวมปี 2560 ที่คาดว่าจะยังชะลอตัว จะส่งผลให้ประเทศคู่ค้านำมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบใหม่ ๆ ที่มิใช่ภาษีมาใช้มากขึ้น ทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ มาตรการคุมเข้มเรื่องสารตกค้าง มาตรฐานการผลิต และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในและป้องกันสินค้านำเข้าไม่ให้เข้าไปขยายตลาดภายในมากเกินไป รวมถึงเพื่อลดการขาดดุลการค้า
ทั้งนี้ที่ทางสมาคมจับตามองคือในสินค้าข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องที่สินค้าไทยถูกสหภาพยุโรป (อียู) เรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) มาครบ 5 ปีในรอบที่2 ซึ่งจะครบรอบการทบทวนในปีหน้าว่าอียูจะมีการต่ออายุภาษีเอดีที่ปัจจุบันสินค้าไทยถูกเรียกเก็บที่อัตรา 11-14% อีกหรือไม่ จากช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่สินค้าไทยถูกใช้มาตรการยอดส่งออกได้หายไปกว่าครึ่ง
นางอุไรวรรณ บุนนาค นายกสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย ซึ่งมีตลาดหลักที่สหรัฐอเมริกาสัดส่วนประมาณ 30% กล่าวว่า ทางสมาชิกสมาคมประมาณ 120 รายต้องเผชิญกับมาตรการนำเข้าของสหรัฐฯที่เข้มงวดขึ้นทุกปี เฉพาะอย่างยิ่งมาตรการควบคุมความปลอดภัยเรื่องสารเคมีตกค้างในของเล่นที่สหรัฐฯจะแจ้งการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งต้องปฏิบัติตาม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ก็ปรับตัวได้ แม้จะมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นก็ตาม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,218 วันที่ 15-17 ธันวาคม 255