ตำราที่ว่านี้ ก็ยังคงนำมาจากพระไตรปิฎก ที่แม้จะเป็นตำราเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว แต่เรื่องราวของคลื่นยักษ์ที่ยิ่งกว่าสึนามิ ก็มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เช่นเดียวกัน ปรกติแล้ว เหตุของสึนามิ ก็เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเลเกิน 7 ริกเตอร์ขึ้นไป ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สูง 3 เมตรบ้าง 7 เมตรบ้าง อย่างที่ญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นก็สูงถึง 7 เมตร ทำเอากำแพงกันสึนามิสูง 6 เมตรริมทะเล กั้นไว้ไม่อยู่ เป็นต้น
แต่เรื่องราวการเกิดสึนามิ ในอดีตที่ว่าไว้ตำราจะเป็นอย่างไร ติดตามกันได้ตอนนี้เลยครับ ในอดีต พระราชาพระนามว่า ภุรุ ในแว่นแคว้นภุรุ ครองราชสมบัติอยู่ มีคณะฤาษีหรือเรียกอีกชื่อว่า ดาบส 2 คณะๆ ละ 500 เหาะไปจากเชิงเขาภุรุนครเพื่อจะฉันอาหารรสเค็มและเปรี้ยวบ้าง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากการอยู่ในป่านานๆ และในที่ไม่ไกลพระนครมีต้นไม้อยู่สองต้น คณะฤาษีดาบสที่มาก่อนนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นแรก ส่วนคณะฤาษีดาบสที่มาภายหลังนั่งที่โคนต้นไม้ต้นที่สอง พวกฤาษีดาบสพำนักอยู่ใต้ต้นไม้เช่นนั้น จนเป็นที่พอใจก็เหาะกลับไปยังป่าตามเดิม
เมื่อเวลาผ่านไปนานพอสมควร ต้นไม้ต้นแรกแห้งตาย และพวกดาบสออกจากป่า มาพำนักในเมืองกันรอบใหม่ ดาบสกลุ่มแรกมาถึงเห็นต้นไม้ตนแห้งตาย ก็ไปพำนักยังต้นไม้อีกต้นหนึ่ง ฝ่ายดาบสพวกที่สองมาถึง เห็นดาบสกลุ่มแรกมายึดต้นไม้ของพวกตนก็ไม่พอใจ แต่ดาบสกลุ่มแรกก็ไม่ยอมเพราะพวกตนมาก่อน จึงขับไล่ให้ดาบสกลุ่มที่สองออกไปจากต้นไม้นั้น
ดาบสกลุ่มที่สองจึงคิดว่า ช่างเถิด เราจักให้พวกฤาษีดาบสกลุ่มแรกนั้นเห็นฤทธิ์ของเราบ้าง ว่าแล้วนิรมิตล้อทองคำและเพลาด้วยเงินด้วยฤทธิ์ บันดาลให้หมุนไปยังราชวัง พร้อมกับทูลพระราชา ขอให้พระราชาช่วยไล่พวกฤษีที่มาแย่งต้นไม้ที่เป็นที่นั่งของพวกตนไปด้วยเถิด แล้วจะมอบล้อทองคำ กับเพลาเงินนี้เป็นเครื่องบรรณาการ
พระราชาก็ยินดี สั่งให้ทหารไปขับไล่กลุ่มฤษีที่นั่งอยู่ใต้ต้นไม้นั้นออกไป พวกฤษีใต้ต้นไม้เมื่อถูกขับไล่ ก็ไม่ยอมแพ้ เนรมิตหน้าต่างรถทองคำ แล้วไปถวายพระราชา พร้อมกับขอร้องให้ไล่ พวกฤษีฝ่ายตรงข้ามให้ออกไปเช่นเดียวกัน พระราชาก็มีจิตยินดี ให้ราชบุรุษไปกระทำตามนั้น แต่ทว่า คราวนี้ ดาบสทั้งสองกลุ่มไม่ยินยอมกันและกัน จึงได้ทะเลาะกันอย่างหนัก แต่ทะเลาะกันได้ไม่นาน เพราะด้วยศีลภาวนาที่พวกท่านบำเพ็ญกันมาดีแล้ว ทั้งหมดก็ได้สติคิดว่า เรากระทำกรรมอันไม่สมควรต่อกันเสียแล้ว จึงพากันเหาะกลับไปยังป่าทั้งหมดเลย
ในตอนนั้นเอง เทวดาที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็โกรธมากว่า "พระราชานี้ ทำไมทำแบบนี้ รับสินบนจากมือของคณะดาบสทั้งสองคณะ เป็นเหตุให้ดาบสทั้งสองคณะต้องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ว่าแล้ว จึงบันดาลให้น้ำในมหาสมุทรอันมหาศาล ไหลเข้าท่วมแว่นแคว้นของพระราชา ที่มีอาณาเขตแม้พันโยชน์ จนหมดสิ้น แว้นแคว้นนั้นก็ถึงกาลพินาศลง ด้วยเหตุนี้"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1481
ลองคิดๆ ดู การที่คลื่นยักษ์สามารถท่วมแว่นแคว้นอาณาเขตพันโยชน์ให้พินาศได้จนหมดสิ้น แสดงว่าตัวคลื่นจะต้องสูงขนาดท่วมเขาหิมาลัย เหมือนแบบที่เคยชมในภาพยนตร์กันได้เลย จึงจะทำให้ขนาดนั้น ผลกรรมที่ไปเบียดเบียดผู้ทรงศีล จึงหนักหนาสาหัสถึงเพียงนี้
ข้อคิดจากตำรา
1. การเบียดเบียนสมณะผู้ทรงศีล เป็นกรรมหนัก ดังเช่น ผู้ครองแคว้นภุรุ ทำให้เทวดาที่เลื่อมใสในสมณะผู้ทรงศีล ซึ่งปรกเทวดาก็จะได้บุญจากการอนุโมทนาบุญในศีลธรรมที่ท่านประพฤติปฏิบัติ ทีนี้ พอไปเบียดเบียนท่าน เทวดาที่คอยอนุโมทนาบุญกับท่าน ก็พลอยต้องเสื่อมจากบุญ ดังนั้น เทวดาก็ย่อมจะโกรธ (เพราะยังมีกิเลส) แล้วบันดาลด้วยฤทธิ์ ให้เกิดความวิบัติ แก่ผู้กระทำเหตุนั้น ต่างๆ นาๆ ขึ้นกับบุญกรรมและอานุภาพของเทวดา
2. ตอนนี้ มีข่าวคราว ก็เตรียมจะเบียดเบียนพระผู้ทรงศีลของวัดพระธรรมกาย ก็มีกระแสสื่อชี้นำให้กลายเป็นพระผู้ทุศีล แต่เทวดาที่ท่านเฝ้าอนุโมทนาบุญกับการประพฤติปฏิบัติธรรมของพระผู้ทรงศีลอยู่ ย่อมเห็นชัดเจนว่า ฝ่ายไหนมีศีล ฝ่ายไหนทุศีล และหากไปเบียดเบียนจนเป็นกรรมหนักขึ้นมาแล้วล่ะก็ ขอบอกได้คำเดียวว่า "รักษาตัวให้ดีกันนะครับ เรื่องเคยมีปรากฏมาแล้วในอดีต ด้วยความปรารถนาดี"
ของดีจากตำรา หนึ่งในที่มาของ สึนามิ
แต่เรื่องราวการเกิดสึนามิ ในอดีตที่ว่าไว้ตำราจะเป็นอย่างไร ติดตามกันได้ตอนนี้เลยครับ ในอดีต พระราชาพระนามว่า ภุรุ ในแว่นแคว้นภุรุ ครองราชสมบัติอยู่ มีคณะฤาษีหรือเรียกอีกชื่อว่า ดาบส 2 คณะๆ ละ 500 เหาะไปจากเชิงเขาภุรุนครเพื่อจะฉันอาหารรสเค็มและเปรี้ยวบ้าง เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศจากการอยู่ในป่านานๆ และในที่ไม่ไกลพระนครมีต้นไม้อยู่สองต้น คณะฤาษีดาบสที่มาก่อนนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นแรก ส่วนคณะฤาษีดาบสที่มาภายหลังนั่งที่โคนต้นไม้ต้นที่สอง พวกฤาษีดาบสพำนักอยู่ใต้ต้นไม้เช่นนั้น จนเป็นที่พอใจก็เหาะกลับไปยังป่าตามเดิม
เมื่อเวลาผ่านไปนานพอสมควร ต้นไม้ต้นแรกแห้งตาย และพวกดาบสออกจากป่า มาพำนักในเมืองกันรอบใหม่ ดาบสกลุ่มแรกมาถึงเห็นต้นไม้ตนแห้งตาย ก็ไปพำนักยังต้นไม้อีกต้นหนึ่ง ฝ่ายดาบสพวกที่สองมาถึง เห็นดาบสกลุ่มแรกมายึดต้นไม้ของพวกตนก็ไม่พอใจ แต่ดาบสกลุ่มแรกก็ไม่ยอมเพราะพวกตนมาก่อน จึงขับไล่ให้ดาบสกลุ่มที่สองออกไปจากต้นไม้นั้น
ดาบสกลุ่มที่สองจึงคิดว่า ช่างเถิด เราจักให้พวกฤาษีดาบสกลุ่มแรกนั้นเห็นฤทธิ์ของเราบ้าง ว่าแล้วนิรมิตล้อทองคำและเพลาด้วยเงินด้วยฤทธิ์ บันดาลให้หมุนไปยังราชวัง พร้อมกับทูลพระราชา ขอให้พระราชาช่วยไล่พวกฤษีที่มาแย่งต้นไม้ที่เป็นที่นั่งของพวกตนไปด้วยเถิด แล้วจะมอบล้อทองคำ กับเพลาเงินนี้เป็นเครื่องบรรณาการ
พระราชาก็ยินดี สั่งให้ทหารไปขับไล่กลุ่มฤษีที่นั่งอยู่ใต้ต้นไม้นั้นออกไป พวกฤษีใต้ต้นไม้เมื่อถูกขับไล่ ก็ไม่ยอมแพ้ เนรมิตหน้าต่างรถทองคำ แล้วไปถวายพระราชา พร้อมกับขอร้องให้ไล่ พวกฤษีฝ่ายตรงข้ามให้ออกไปเช่นเดียวกัน พระราชาก็มีจิตยินดี ให้ราชบุรุษไปกระทำตามนั้น แต่ทว่า คราวนี้ ดาบสทั้งสองกลุ่มไม่ยินยอมกันและกัน จึงได้ทะเลาะกันอย่างหนัก แต่ทะเลาะกันได้ไม่นาน เพราะด้วยศีลภาวนาที่พวกท่านบำเพ็ญกันมาดีแล้ว ทั้งหมดก็ได้สติคิดว่า เรากระทำกรรมอันไม่สมควรต่อกันเสียแล้ว จึงพากันเหาะกลับไปยังป่าทั้งหมดเลย
ในตอนนั้นเอง เทวดาที่อยู่ ณ ที่นั้น ก็โกรธมากว่า "พระราชานี้ ทำไมทำแบบนี้ รับสินบนจากมือของคณะดาบสทั้งสองคณะ เป็นเหตุให้ดาบสทั้งสองคณะต้องทะเลาะกันอย่างรุนแรง ว่าแล้ว จึงบันดาลให้น้ำในมหาสมุทรอันมหาศาล ไหลเข้าท่วมแว่นแคว้นของพระราชา ที่มีอาณาเขตแม้พันโยชน์ จนหมดสิ้น แว้นแคว้นนั้นก็ถึงกาลพินาศลง ด้วยเหตุนี้"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1481
ลองคิดๆ ดู การที่คลื่นยักษ์สามารถท่วมแว่นแคว้นอาณาเขตพันโยชน์ให้พินาศได้จนหมดสิ้น แสดงว่าตัวคลื่นจะต้องสูงขนาดท่วมเขาหิมาลัย เหมือนแบบที่เคยชมในภาพยนตร์กันได้เลย จึงจะทำให้ขนาดนั้น ผลกรรมที่ไปเบียดเบียดผู้ทรงศีล จึงหนักหนาสาหัสถึงเพียงนี้
ข้อคิดจากตำรา
1. การเบียดเบียนสมณะผู้ทรงศีล เป็นกรรมหนัก ดังเช่น ผู้ครองแคว้นภุรุ ทำให้เทวดาที่เลื่อมใสในสมณะผู้ทรงศีล ซึ่งปรกเทวดาก็จะได้บุญจากการอนุโมทนาบุญในศีลธรรมที่ท่านประพฤติปฏิบัติ ทีนี้ พอไปเบียดเบียนท่าน เทวดาที่คอยอนุโมทนาบุญกับท่าน ก็พลอยต้องเสื่อมจากบุญ ดังนั้น เทวดาก็ย่อมจะโกรธ (เพราะยังมีกิเลส) แล้วบันดาลด้วยฤทธิ์ ให้เกิดความวิบัติ แก่ผู้กระทำเหตุนั้น ต่างๆ นาๆ ขึ้นกับบุญกรรมและอานุภาพของเทวดา
2. ตอนนี้ มีข่าวคราว ก็เตรียมจะเบียดเบียนพระผู้ทรงศีลของวัดพระธรรมกาย ก็มีกระแสสื่อชี้นำให้กลายเป็นพระผู้ทุศีล แต่เทวดาที่ท่านเฝ้าอนุโมทนาบุญกับการประพฤติปฏิบัติธรรมของพระผู้ทรงศีลอยู่ ย่อมเห็นชัดเจนว่า ฝ่ายไหนมีศีล ฝ่ายไหนทุศีล และหากไปเบียดเบียนจนเป็นกรรมหนักขึ้นมาแล้วล่ะก็ ขอบอกได้คำเดียวว่า "รักษาตัวให้ดีกันนะครับ เรื่องเคยมีปรากฏมาแล้วในอดีต ด้วยความปรารถนาดี"