เนื้อหาตำรับตำราที่นำมายกกันในวันนี้ ก็เป็นเนื้อหาตำราจากพระไตรปิฎกครับ แน่นอนว่า เมื่อเอ่ยชื่อนี้ หลายคนรวมทั้งผมด้วย รู้สึกเหมือนยาขมกันเลยทีเดียว ซึ่งเรามันได้ยินชาวพุทธวิชาการ เวลายกพระไตรปิฏก มักพูดคุยแต่เรื่องนิพพานเป็นหลัก
จนพาลคิดไปว่า พระไตรปิฎกน่าจะเหมาะกับผู้ที่ปรารถนาจะไปนิพพานโดยพลัน เช่น พระ หรือนักวิชาการผู้รู้ต่างๆ แต่บรรดาผู้ครองเรือนอย่างเราๆ ท่านๆ คงเหมาะที่จะเก็บพระไตรปิฎกไว้บูชาในตู้จะเหมาะสมกว่า
แต่เมื่อตัวผมได้ลองเข้าไปศึกษาเนื้อหาธรรมะในพระไตรปิฎกดูบ้าง เพราะแม้ว่ายาจะขม แต่ก็เป็นยา ทานแล้วก็ต้องดีต่อร่างกาย ส่วนธรรมะที่ดี แม้ว่าจะดูว่ายาก แต่เมื่อศึกษาแล้ว ก็ต้องดีต่อจิตใจ นั่นแหละครับ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องขอบคุณพระไตรปิฎกออนไลน์ เพราะหากเป็นพระไตรปิฎกในตู้ คงยากที่จะสร้างแรงบันดาลให้ผมเข้าไปอ่าน
เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้ อ่านแล้วผมชอบมากๆ เลย ผมเลยให้ชื่อเรื่องว่า "เทวดาย่อมกีดกัน ความพยายามของลูกผู้ชายไม่ได้"
ย้อนไปในอดีต มีพระราชาครองเมืองกาลิงครัฐ มีบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ มีกองทัพที่เข้มแข็งเกรียงไกรอย่างยิ่ง และพอมีแบบนี้แล้ว ความเพียงพอในใจ ก็หาได้พอเพียงไปด้วยไม่ มีเมืองที่หนึ่ง ก็อยากมีเมืองที่สอง มีเมืองที่สองก็อยากมีเมืองที่สาม ประกอบกับราชาองค์นี้ นิยมชมชอบการรบทัพจับศึก วันๆ ถ้าไม่รบ รู้สึกเหมือนชีวิตจะขาดรสชาด
ดังนั้น จึงใช้อุบายหาเรื่องที่จะให้ได้รบ ด้วยการส่งส่งลูกสาว 4 นาง พร้อมกองกำลังไปลำบากเดินทางรอนแรมไปยังแคว้นต่างๆ เมื่อไปถึงแคว้นไหน ก็ให้กองกำลังไปป่าวประกาศว่า ใครรับตัวลูกสาวทั้ง 4 ของข้าไปในเมืองล่ะก็ ได้รบกันแน่นอน แต่ถ้าไม่คิดรบกับข้า ก็ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กองกำลังของลูกสาวข้าแทน
ซึ่งไม่ว่ากองกำลังของพระเจ้ากาลิงคราช เดินทางไปยังแคว้นไหน บรรดาแคว้นนั้นๆ ก็เกรงกลัวภัย ปิดประตูเมือง แล้วส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปให้หมดสิ้น และแล้วกองกำลังนั้น ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองของพระเอก เอ้ยไม่ใช่ เมืองของพระเจ้าอัสสกะ แคว้นอัสสกรัฐ ซึ่งพระเจ้าอัสสกะ ก็กลัวภัยจากสตรีเช่นเดียวกัน จึงเตรียมจะสั่งให้ปิดประตูเมือง แล้วส่งเครื่องบรรณาการไปให้
แต่เมืองของพระเจ้าอัสสกะ มีกุนซือดีชื่อว่า นันทเสน เขาคิดว่า หากกองกำลังนี้เดินทางไปทั่วทุกแว่นแคว้นแล้วไร้ผู้ต่อต้าน พระเจ้ากาลิงคราชจะสำคัญตนผิดไปเองว่า ตนนั้นไร้เทียมทาน อย่ากระนั้นเลย เรานี่แหละ จะทำให้พระเจ้ากาลิงคราช ได้รู้ว่า กองทัพที่เก่งกล้า ยังมีอยู่นะ จะบอกให้ ว่าแล้ว ก็แนะนำให้นำตัวหญิงสาวผู้เลอโฉมทั้ง 4 เข้าเมืองมา แต่งตั้งเป็นมเหสี ไม่ต้องรอนแรมต่อไปอีกแล้ว แล้วบอกให้พระราชาอัสสกะวางใจ ตนจะทำให้เจ้านายรบชนะได้ อย่างแน่นอน
ฝ่ายกองกำลังที่เหลือ ก็รีบถอยทัพกลับไปบอกเจ้านายคือ พระเจ้ากาลิงคราชว่า ลูกสาวท่าน ถูกยึดไปเรียบร้อยแล้ว เท่านั้นแหละ เป็นคนอื่นย่อมเสียใจ
แต่พระเจ้ากาลิงคราชดีใจ ตรูรอมานานแล้ว ที่จะได้รบพุ่งกัน วันนี้สมหวังเสียที พรางคิดในใจว่า "เจ้าอัสสกะเอ๋ย ชะรอยเจ้าจะไม่รู้กำลังของเรา" ว่าแล้ว
ก็ยกกองทัพใหญ่บุกไปแคว้นอัสสกะในทันที ส่วนพระเจ้าอัสสกะ ก็ยกกองทัพออกมาเตรียมประจันบาน เช่นเดียวกัน
ทัพทั้งสอง มาประจันกันที่แนวตะเข็บชายแดน ซึ่งพระเจ้ากาลิงคราช ยังมีดีอยู่บ้าง คือ รู้จักเข้าหาผู้มีศีลมีธรรม โดยเห็นว่า แนวชายแดนมีอาศรมของดาบสท่านหนึ่ง จึงคิดว่า นักบวชผู้มีรู้มีญาณ ย่อมหยั่งรู้อนาคต อย่ากระนั้นเลย เราไปสอบถามท่านดาบสนี่ดีกว่า ว่าแล้ว ท่านก็เข้าไปกราบดาบส แล้วถามว่า ตัวข้า คือ พระเจ้ากาลิงคราช และศัตรูคือพระเจ้าอัสสกะเตรียมจะรบกัน ท่านดาบสเห็นว่า ใครจะเป็นผู้ชนะ ใครจะเป็นผู้พ่ายแพ้
ท่านดาบสจึงตอบว่า "อาตมาไม่ทราบหรอกว่า ใครจะชนะใครจะพ่ายแพ้ แต่อีกสักพัก พระอินทร์จะมาเยี่ยมพบอาตมาที่นี่ เดี๋ยวอาตมาจะถามให้ ท่านก็
มาฟังคำตอบพรุ่งนี้เถิด" หลังจากพระราชากลับไป พอผ่านไปสักพัก พระอินทร์ก็มาเยี่ยมพบดาบส ดาบสก็ได้ถามคำถามนี้ไป พระอินทร์จึงบอกว่า
นิมิตปรากฏแล้ว ฝ่ายพระเจ้ากาลิงคราชจะมีชัย ฝ่ายตรงข้ามจะปราชัย
ครั้นวันรุ่งขึ้น พระเจ้ากาลิงคราชมาถามตามสัญญา ดาบสก็บอกตามจริงว่า พระองค์จะชนะแน่นอน เทวดาบอกไว้ พระเจ้ากาลิงคราชดีใจ ไม่ถามราย
ละเอียดใดๆ ต่ออีก รีบกล่าวไปบอกไพล่พล เฮ้ พวกเจ้า เราชนะแน่นอน 555 เทวดาบอกไว้ ทำนองนี้ จากนั้นในชั่วไม่กี่อึดใจ แม้ไม่มี Social Network
ไม่มี Facebook Line และ Pantip ข่าวก็แพร่ไปถึงกองทัพของพระเจ้าอัสสกะอย่างรวดเร็วว่า พระองค์แพ้แน่ๆ
พระเจ้าอัสสกะเรียกประชุมทีมว่า ทำไงดี เราแพ้แน่ๆ เทวดาบอกไว้ ฝ่ายพระเอก กุนซือนันทเสนะ ปลอบใจว่า อนาคตยังไม่แน่นอนหรอก อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ อย่าไปกังวลถึงอนาคตเลย ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเถิด เดี๋ยวข้าจะช่วยพระราชาเอง ว่าแล้วก็เข้าไปกราบดาบสบ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ดาบสก็ยังยืนยันตามเดิมว่า ฝ่ายพระเอก คือ ฝ่ายนันทเสนะจะแพ้ แต่อีกฝ่ายจะชนะ นิมิตได้บอกไว้อย่างนี้แล้ว
แต่พระเอกเสียอย่างไม่ยอมปราชัยง่ายๆ แบบนั้น นันทเสนะจึงสอบถามดาบสต่อว่า นิมิตที่ว่านั้นเป็นอย่างไร ดาบสก็ไม่ปิดบังอำพราง บอกเขาไปว่า นิมิตของผู้ชนะจะเป็นวัวสีขาวทั้งตัว ส่วนนิมิตของผู้แพ้จะเป็นวัวสีดำทั้งตัว วัวนิมิตทั้งสองจะเข้ามาสู้กัน และวัวดำจะพ่ายแพ้ พอนันทเสนะได้ฟังเช่นนั้น คิดทันทีว่า อย่างนี้พอมีทางชนะแล้ว
ว่าแล้วก็ลากลับค่ายทหาร แล้วพาทหารสนิทที่จงรักภักดีต่อพระราชา ชนิดยอมตายถวายชีวิตไม่ว่า พระราชาจะสั่งให้ทำสิ่งใด ขึ้นไปบนภูเขา แล้วถามทหารเหล่านั้นว่ายินดีพลีชีพเพื่อพระราชา โดยการกำลังตามคำสั่งทุกๆ คำสั่งเลยหรือไม่ ทหารทั้งพันบอกว่า ยินดี
นันทเสนะ จึงทดสอบทหารโดยบอกว่า งั้นพวกท่านทั้งหมด โดดลงไปในเหวนี้ เหล่าทหารทั้งหมด ก็เตรียมที่จะโดดเหวทันที โดยไม่ถามเหตุผลใดๆ
ทั้งสิ้น นันทเสนะเห็นเช่นนั้นก็ห้ามไว้ บอกว่า อย่าโดดเหวเลย ให้พวกท่านรบเพื่อพระราชาเถิด ทุกคนก็รับคำทั้งหมด
จากนั้น ก็บอกทหารทั้งพันว่า พรุ่งนี้ไม่ว่า พระราชาจะทำอะไร จะใช้หอกแทงไปไหน ให้พวกท่านทั้งหมด แทงหอกทั้งพันเล่มตามพระราชาไปในที่นั้น ไม่ว่าพวกท่านจะเห็นเป้าหมายใดๆ หรือไม่เห็นเลยก็ตาม ทำได้ไหม ทหารทุกคนก็รับคำว่า ทำได้
พอวันรุ่งมาถึง กองทัพทั้งสองฝ่ายมาประจับหน้ากัน พระเจ้ากาลิงคราชมั่นใจว่าชนะเห็นๆ เลยประมาท เมื่อหัวคือผู้นำประมาท ผู้ตามก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ ประมาทตาม กองทัพก็ไม่ได้อยู่ในระเบียบวินัย ไม่จัดให้เข้าขบวนเป็นแถวเป็นแนว แยกเป็นกองย่อยกองเล็กกองน้อย ไม่รวมกันเป็นหนึ่ง ดูสะเปะสะปะไปหมด
ฝ่ายพระราชาทั้งสู้ ก็ขี่ม้าเข้าหากัน เตรียมสั่งลุย เวลานั้นเองนิมิตฝ่ายพระเจ้ากาลิงคราช เป็นวัวสีขาว กับฝ่ายพระเจ้าอัสสกะที่เป็น วัวสีดำ ก็พุ่งเข้าต่อสู้กันเช่นเดียวกัน ซึ่งนิมิตของทั้งสองฝ่ายนี้ มีเพียงพระราชาทั้งสองที่แลเห็น แต่กองทหารต่างๆ จะไม่อาจมองเห็นได้เลย
กุนซือนันทเสนะถามพระราชาตนเอง เห็นนิมิตกำลังสู้กันแล้วหรือยัง เมื่อพระราชาบอกว่า เห็นแล้ว พระเอกก็รีบบอกให้พระราชาเข้าไปช่วยนิมิตวัวดำรบ ด้วยการเอาหอกไปช่วยทิ่มแทงนิมิตวัวขาว พระราชาก็ทำตามนั้น
ฝ่ายทหารสนิทพันคน เห็นพระราชากระทำเช่นนั้น ก็วิ่งตาม พระราชาเอาหอกไปทิ่มแทงทุกๆตำแหน่งที่พระราชาทิ่มแทง ทั้งๆที่พวกเขาทั้งพันคน มองไม่เห็นเป้าหมายอันใด เห็นแต่ความว่างเปล่าทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นที่ขบขันของเหล่าทหารฝ่ายผู้ร้ายยิ่งนัก ว่าพวกพระเอกมันกล้วแพ้จนเพ้อแล้วหรือไร ถึงพากันเอาหอกไปทิ่มแทงอากาศธาตุ เช่นนั้น
แต่แล้วในที่สุด วัวขาวที่เดิมจะต้องชนะ ก็ถูกหอกและพระราชาและทหารทั้งพันคนปักใส่จนพ่ายแพ้ไปแทน พระราชาฝ่ายพระเอกเห็นเช่นนั้น กำลังใจก็มาทันที สั่งทหารบุกตะลุย เหล่าทหารก็บุกตะลุยอย่างมีวินัย สักพักก็สามารถจัดการทหารของพระเจ้ากาลิงคราชที่ประมาทและไร้ระเบียบวินัยแตกพ่ายกันไป
ทั้งหมด
พระเจ้ากาลิงคราชเห็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมายเช่นนั้น ก็รีบหนีไปทันที แต่ก่อนหนีกลับเมือง ก็ขอแวะไปต่อว่า ดาบส เสียหน่อย บอกว่า เจ้าดาบสโกง จอมหลอกลวง ไหนเจ้าบอกว่า กองทัพข้าจะชนะ ทำไมกลายเป็นกองพันข้าถึงพ่ายแพ้ยับเยิน เจ้ารับสินบน จากพระราชาศัตรู ให้มาพูดจาหลอกลวงข้าใช่มั้ย ว่าแล้วก็รีบหนีไป
ครั้นเวลาผ่านไป 2-3 วัน พระอินทร์ก็ได้มาเยี่ยมพบปะพูดคุยกับดาบสอีกครั้ง ดาบสจึงต่อว่า พระอินทร์บ้างเหมือนกันว่า "ท่านเป็นถึงจอมเทพ เป็น
หัวหน้าของเหล่าเทวดาบนสวรรค์ เหตุใดจึงมีพฤติกรรมกล่าววาจาหลอกลวงผู้คนเช่นนี้ ทำเอาเราดาบส โดนด่าไปด้วยเลย"
พระอินทร์จึงบอกว่า "ช้าก่อนท่านดาบส ท่านไม่เคยได้ยินสุภาษิตในกาลก่อนหรือ ที่มีว่า
เทวดาทั้งหลาย ย่อมกีดกันความพยายามของลูกผู้ชายไม่ได้
ความอดทนข่มใจ ความตั้งใจแน่วแน่ ความไม่แตกสามัคคีกัน ความไม่แก่งแย่งกัน การรุกในกาลควรรุก ความเพียรมั่นคง และความบากบั่นของ
ลูกผู้ชายย่อมทำให้พวกเขาได้รับชัยชนะจนได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ชัยชนะจึงมีแก่พวกพระเจ้าอัสสกะ
สุดท้าย พระไตรปิฎกบอกต่อว่า ดาบส ในชาตินั้น ได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนนันทเสนะ ได้มาเป็นพระสารีบุตร สาวกผู้เลิศด้วยปัญญา นั่นเอง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=270502
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้
1. ตามบทสรุปของเรื่องเลยครับว่า ความเพียรพยายามของมนุษย์ เทพเทวา ย่อมกีดกันไม่ได้ หากมนุษย์มีความอดทนข่มใจ ตั้งใจแน่วแน่ สมัครสมาน
สามัคคี ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน ลงมือทำในจังหวะที่ควรลงมือทำ มีความพากเพียร ย่อมทำให้ได้รับความสำเร็จทุกประการ
2. วิสัยคนพาล ย่อมไม่เพียงพอ ดังเช่น พระเจ้ากาลิงคราชที่เป็นใหญ่ในเมืองแล้วก็ยังไม่เพียงพอ ยังปรารถนาทรัพย์สมบัติของเมืองอื่นๆ อีกไม่จบสิ้น
3. คนพาลไม่มีคำว่าญาติมิตรพวกพ้อง ดังเช่น พระเจ้ากาลิงคราชที่เอาลูกสาวเป็นเครื่องมือยึดทรัพย์สินของเมืองอื่น ถ้าไม่ยอมก็ตรงเข้าแย่งด้วยกำลัง
โดยไม่สนใจว่า ลูกสาวตัวเองจะไปประสบพบเจอเภทภัยใดๆ นี่ดีว่าเจอคนดี หากเจอคนไม่ดี ลูกสาวพระองค์อาจย่ำแย่ไม่มีชิ้นดีเลยก็ได้
4. ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตายเสมอ ตัวอย่างล่าสุดที่เหมือนกันเลย คือ การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐที่ผ่านมา ที่บรรดาโพลทั้งหลายบอกว่า ฝ่ายหญิงจะได้เป็นประธานาธิบดีแน่นอน โดยเฉพาะรัฐนั้นนั้น ของตายเลย นั่นก็เลยทำให้นางไม่ไปหาเสียงในรัฐนั้นๆ ในขณะที่ฝ่ายชายตระเวณไปหาเสียงถ้วนทั่ว ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็น
5. กำลังใจ และความไม่วิตกกังวลกับเหตุการณ์ในอนาคต แต่ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่รักษาใจให้เยือกเย็น และแก้ไขปัญหาจน
ประสบผลสำเร็จจนได้ในที่สุด
6. สุดท้ายเลย ผมชอบข้อนี้ที่สุด คือ ผู้นำที่ดี หากเรามั่นใจว่า เราเจอผู้นำที่ดี แม้หลายครั้ง คำสั่งนี้ อาจรู้สึกว่า ดูไร้เหตุผล ทำไปทำไม ทำไปก็ไม่เห็นช่วยอะไร แต่ขอให้ทำตาม แล้วสุดท้ายส่วนรวมก็จะประสบผลสำเร็จ
ซึ่งผมก็เจอบ่อยครั้ง กับเจ้านายญี่ปุ่น เพราะข้อจำกัดเรื่องภาษา ซึ่งทำให้เรา(ผมกับเจ้านาย)ปรกติ ก็จะคุยกันไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว พอเขาสั่งอะไรมา หลายครั้งเราก็ไม่เข้าใจถ่องแท้ ไม่เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำตามคำสั่งนั้น แต่เราก็ทำไปตามคำสั่ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ก็บังเกิดผลสำเร็จตามที่เจ้านายสั่งแทบทุกประการ
เช่น เขาบอกว่า ให้หมั่นตรวจตราลูกน้องให้ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานให้เป็นนิสัย แล้วรอยตำหนิในชิ้นงานจะค่อยๆ ลดลง ผมฟังแล้ว รู้สึกในใจว่า ตลกอ่ะ รอยตำหนิในชิ้นงาน ก็ต้องไปหาสาเหตุแล้วแก้ที่เครื่องจักร ไปทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน มันจะไปแก้รอยตำหนิในชิ้นงานได้อย่างไร
แต่ไม่น่าเชื่อ เมื่อกวดขันให้ลูกน้องหมั่นทำความสะอาดที่ทำงานอย่างจริง จนดูสะอาดตาพาสะอาดใจ ลูกน้องหรือทุกคนเห็นแล้วสบายใจ การทำงานก็ออกมาดี รอยตำหนิในชิ้นงานก็ลดลงได้จริงอย่างไม่น่าเชื่อเลย นี่เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมที่อยู่ในพระพุทธศาสนา จากพระไตรปิฎก โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน สาธุ
ของดีจากตำรา เทวดาย่อมไม่อาจกีดกันความพยายามของลูกผู้ชาย
จนพาลคิดไปว่า พระไตรปิฎกน่าจะเหมาะกับผู้ที่ปรารถนาจะไปนิพพานโดยพลัน เช่น พระ หรือนักวิชาการผู้รู้ต่างๆ แต่บรรดาผู้ครองเรือนอย่างเราๆ ท่านๆ คงเหมาะที่จะเก็บพระไตรปิฎกไว้บูชาในตู้จะเหมาะสมกว่า
แต่เมื่อตัวผมได้ลองเข้าไปศึกษาเนื้อหาธรรมะในพระไตรปิฎกดูบ้าง เพราะแม้ว่ายาจะขม แต่ก็เป็นยา ทานแล้วก็ต้องดีต่อร่างกาย ส่วนธรรมะที่ดี แม้ว่าจะดูว่ายาก แต่เมื่อศึกษาแล้ว ก็ต้องดีต่อจิตใจ นั่นแหละครับ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องขอบคุณพระไตรปิฎกออนไลน์ เพราะหากเป็นพระไตรปิฎกในตู้ คงยากที่จะสร้างแรงบันดาลให้ผมเข้าไปอ่าน
เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า เรื่องที่นำมาเล่าในวันนี้ อ่านแล้วผมชอบมากๆ เลย ผมเลยให้ชื่อเรื่องว่า "เทวดาย่อมกีดกัน ความพยายามของลูกผู้ชายไม่ได้"
ย้อนไปในอดีต มีพระราชาครองเมืองกาลิงครัฐ มีบ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ มีกองทัพที่เข้มแข็งเกรียงไกรอย่างยิ่ง และพอมีแบบนี้แล้ว ความเพียงพอในใจ ก็หาได้พอเพียงไปด้วยไม่ มีเมืองที่หนึ่ง ก็อยากมีเมืองที่สอง มีเมืองที่สองก็อยากมีเมืองที่สาม ประกอบกับราชาองค์นี้ นิยมชมชอบการรบทัพจับศึก วันๆ ถ้าไม่รบ รู้สึกเหมือนชีวิตจะขาดรสชาด
ดังนั้น จึงใช้อุบายหาเรื่องที่จะให้ได้รบ ด้วยการส่งส่งลูกสาว 4 นาง พร้อมกองกำลังไปลำบากเดินทางรอนแรมไปยังแคว้นต่างๆ เมื่อไปถึงแคว้นไหน ก็ให้กองกำลังไปป่าวประกาศว่า ใครรับตัวลูกสาวทั้ง 4 ของข้าไปในเมืองล่ะก็ ได้รบกันแน่นอน แต่ถ้าไม่คิดรบกับข้า ก็ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการให้กองกำลังของลูกสาวข้าแทน
ซึ่งไม่ว่ากองกำลังของพระเจ้ากาลิงคราช เดินทางไปยังแคว้นไหน บรรดาแคว้นนั้นๆ ก็เกรงกลัวภัย ปิดประตูเมือง แล้วส่งเครื่องราชบรรณาการ ไปให้หมดสิ้น และแล้วกองกำลังนั้น ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองของพระเอก เอ้ยไม่ใช่ เมืองของพระเจ้าอัสสกะ แคว้นอัสสกรัฐ ซึ่งพระเจ้าอัสสกะ ก็กลัวภัยจากสตรีเช่นเดียวกัน จึงเตรียมจะสั่งให้ปิดประตูเมือง แล้วส่งเครื่องบรรณาการไปให้
แต่เมืองของพระเจ้าอัสสกะ มีกุนซือดีชื่อว่า นันทเสน เขาคิดว่า หากกองกำลังนี้เดินทางไปทั่วทุกแว่นแคว้นแล้วไร้ผู้ต่อต้าน พระเจ้ากาลิงคราชจะสำคัญตนผิดไปเองว่า ตนนั้นไร้เทียมทาน อย่ากระนั้นเลย เรานี่แหละ จะทำให้พระเจ้ากาลิงคราช ได้รู้ว่า กองทัพที่เก่งกล้า ยังมีอยู่นะ จะบอกให้ ว่าแล้ว ก็แนะนำให้นำตัวหญิงสาวผู้เลอโฉมทั้ง 4 เข้าเมืองมา แต่งตั้งเป็นมเหสี ไม่ต้องรอนแรมต่อไปอีกแล้ว แล้วบอกให้พระราชาอัสสกะวางใจ ตนจะทำให้เจ้านายรบชนะได้ อย่างแน่นอน
ฝ่ายกองกำลังที่เหลือ ก็รีบถอยทัพกลับไปบอกเจ้านายคือ พระเจ้ากาลิงคราชว่า ลูกสาวท่าน ถูกยึดไปเรียบร้อยแล้ว เท่านั้นแหละ เป็นคนอื่นย่อมเสียใจ
แต่พระเจ้ากาลิงคราชดีใจ ตรูรอมานานแล้ว ที่จะได้รบพุ่งกัน วันนี้สมหวังเสียที พรางคิดในใจว่า "เจ้าอัสสกะเอ๋ย ชะรอยเจ้าจะไม่รู้กำลังของเรา" ว่าแล้ว
ก็ยกกองทัพใหญ่บุกไปแคว้นอัสสกะในทันที ส่วนพระเจ้าอัสสกะ ก็ยกกองทัพออกมาเตรียมประจันบาน เช่นเดียวกัน
ทัพทั้งสอง มาประจันกันที่แนวตะเข็บชายแดน ซึ่งพระเจ้ากาลิงคราช ยังมีดีอยู่บ้าง คือ รู้จักเข้าหาผู้มีศีลมีธรรม โดยเห็นว่า แนวชายแดนมีอาศรมของดาบสท่านหนึ่ง จึงคิดว่า นักบวชผู้มีรู้มีญาณ ย่อมหยั่งรู้อนาคต อย่ากระนั้นเลย เราไปสอบถามท่านดาบสนี่ดีกว่า ว่าแล้ว ท่านก็เข้าไปกราบดาบส แล้วถามว่า ตัวข้า คือ พระเจ้ากาลิงคราช และศัตรูคือพระเจ้าอัสสกะเตรียมจะรบกัน ท่านดาบสเห็นว่า ใครจะเป็นผู้ชนะ ใครจะเป็นผู้พ่ายแพ้
ท่านดาบสจึงตอบว่า "อาตมาไม่ทราบหรอกว่า ใครจะชนะใครจะพ่ายแพ้ แต่อีกสักพัก พระอินทร์จะมาเยี่ยมพบอาตมาที่นี่ เดี๋ยวอาตมาจะถามให้ ท่านก็
มาฟังคำตอบพรุ่งนี้เถิด" หลังจากพระราชากลับไป พอผ่านไปสักพัก พระอินทร์ก็มาเยี่ยมพบดาบส ดาบสก็ได้ถามคำถามนี้ไป พระอินทร์จึงบอกว่า
นิมิตปรากฏแล้ว ฝ่ายพระเจ้ากาลิงคราชจะมีชัย ฝ่ายตรงข้ามจะปราชัย
ครั้นวันรุ่งขึ้น พระเจ้ากาลิงคราชมาถามตามสัญญา ดาบสก็บอกตามจริงว่า พระองค์จะชนะแน่นอน เทวดาบอกไว้ พระเจ้ากาลิงคราชดีใจ ไม่ถามราย
ละเอียดใดๆ ต่ออีก รีบกล่าวไปบอกไพล่พล เฮ้ พวกเจ้า เราชนะแน่นอน 555 เทวดาบอกไว้ ทำนองนี้ จากนั้นในชั่วไม่กี่อึดใจ แม้ไม่มี Social Network
ไม่มี Facebook Line และ Pantip ข่าวก็แพร่ไปถึงกองทัพของพระเจ้าอัสสกะอย่างรวดเร็วว่า พระองค์แพ้แน่ๆ
พระเจ้าอัสสกะเรียกประชุมทีมว่า ทำไงดี เราแพ้แน่ๆ เทวดาบอกไว้ ฝ่ายพระเอก กุนซือนันทเสนะ ปลอบใจว่า อนาคตยังไม่แน่นอนหรอก อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ อย่าไปกังวลถึงอนาคตเลย ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดเถิด เดี๋ยวข้าจะช่วยพระราชาเอง ว่าแล้วก็เข้าไปกราบดาบสบ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ดาบสก็ยังยืนยันตามเดิมว่า ฝ่ายพระเอก คือ ฝ่ายนันทเสนะจะแพ้ แต่อีกฝ่ายจะชนะ นิมิตได้บอกไว้อย่างนี้แล้ว
แต่พระเอกเสียอย่างไม่ยอมปราชัยง่ายๆ แบบนั้น นันทเสนะจึงสอบถามดาบสต่อว่า นิมิตที่ว่านั้นเป็นอย่างไร ดาบสก็ไม่ปิดบังอำพราง บอกเขาไปว่า นิมิตของผู้ชนะจะเป็นวัวสีขาวทั้งตัว ส่วนนิมิตของผู้แพ้จะเป็นวัวสีดำทั้งตัว วัวนิมิตทั้งสองจะเข้ามาสู้กัน และวัวดำจะพ่ายแพ้ พอนันทเสนะได้ฟังเช่นนั้น คิดทันทีว่า อย่างนี้พอมีทางชนะแล้ว
ว่าแล้วก็ลากลับค่ายทหาร แล้วพาทหารสนิทที่จงรักภักดีต่อพระราชา ชนิดยอมตายถวายชีวิตไม่ว่า พระราชาจะสั่งให้ทำสิ่งใด ขึ้นไปบนภูเขา แล้วถามทหารเหล่านั้นว่ายินดีพลีชีพเพื่อพระราชา โดยการกำลังตามคำสั่งทุกๆ คำสั่งเลยหรือไม่ ทหารทั้งพันบอกว่า ยินดี
นันทเสนะ จึงทดสอบทหารโดยบอกว่า งั้นพวกท่านทั้งหมด โดดลงไปในเหวนี้ เหล่าทหารทั้งหมด ก็เตรียมที่จะโดดเหวทันที โดยไม่ถามเหตุผลใดๆ
ทั้งสิ้น นันทเสนะเห็นเช่นนั้นก็ห้ามไว้ บอกว่า อย่าโดดเหวเลย ให้พวกท่านรบเพื่อพระราชาเถิด ทุกคนก็รับคำทั้งหมด
จากนั้น ก็บอกทหารทั้งพันว่า พรุ่งนี้ไม่ว่า พระราชาจะทำอะไร จะใช้หอกแทงไปไหน ให้พวกท่านทั้งหมด แทงหอกทั้งพันเล่มตามพระราชาไปในที่นั้น ไม่ว่าพวกท่านจะเห็นเป้าหมายใดๆ หรือไม่เห็นเลยก็ตาม ทำได้ไหม ทหารทุกคนก็รับคำว่า ทำได้
พอวันรุ่งมาถึง กองทัพทั้งสองฝ่ายมาประจับหน้ากัน พระเจ้ากาลิงคราชมั่นใจว่าชนะเห็นๆ เลยประมาท เมื่อหัวคือผู้นำประมาท ผู้ตามก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ ประมาทตาม กองทัพก็ไม่ได้อยู่ในระเบียบวินัย ไม่จัดให้เข้าขบวนเป็นแถวเป็นแนว แยกเป็นกองย่อยกองเล็กกองน้อย ไม่รวมกันเป็นหนึ่ง ดูสะเปะสะปะไปหมด
ฝ่ายพระราชาทั้งสู้ ก็ขี่ม้าเข้าหากัน เตรียมสั่งลุย เวลานั้นเองนิมิตฝ่ายพระเจ้ากาลิงคราช เป็นวัวสีขาว กับฝ่ายพระเจ้าอัสสกะที่เป็น วัวสีดำ ก็พุ่งเข้าต่อสู้กันเช่นเดียวกัน ซึ่งนิมิตของทั้งสองฝ่ายนี้ มีเพียงพระราชาทั้งสองที่แลเห็น แต่กองทหารต่างๆ จะไม่อาจมองเห็นได้เลย
กุนซือนันทเสนะถามพระราชาตนเอง เห็นนิมิตกำลังสู้กันแล้วหรือยัง เมื่อพระราชาบอกว่า เห็นแล้ว พระเอกก็รีบบอกให้พระราชาเข้าไปช่วยนิมิตวัวดำรบ ด้วยการเอาหอกไปช่วยทิ่มแทงนิมิตวัวขาว พระราชาก็ทำตามนั้น
ฝ่ายทหารสนิทพันคน เห็นพระราชากระทำเช่นนั้น ก็วิ่งตาม พระราชาเอาหอกไปทิ่มแทงทุกๆตำแหน่งที่พระราชาทิ่มแทง ทั้งๆที่พวกเขาทั้งพันคน มองไม่เห็นเป้าหมายอันใด เห็นแต่ความว่างเปล่าทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นที่ขบขันของเหล่าทหารฝ่ายผู้ร้ายยิ่งนัก ว่าพวกพระเอกมันกล้วแพ้จนเพ้อแล้วหรือไร ถึงพากันเอาหอกไปทิ่มแทงอากาศธาตุ เช่นนั้น
แต่แล้วในที่สุด วัวขาวที่เดิมจะต้องชนะ ก็ถูกหอกและพระราชาและทหารทั้งพันคนปักใส่จนพ่ายแพ้ไปแทน พระราชาฝ่ายพระเอกเห็นเช่นนั้น กำลังใจก็มาทันที สั่งทหารบุกตะลุย เหล่าทหารก็บุกตะลุยอย่างมีวินัย สักพักก็สามารถจัดการทหารของพระเจ้ากาลิงคราชที่ประมาทและไร้ระเบียบวินัยแตกพ่ายกันไป
ทั้งหมด
พระเจ้ากาลิงคราชเห็นเหตุการณ์เหนือความคาดหมายเช่นนั้น ก็รีบหนีไปทันที แต่ก่อนหนีกลับเมือง ก็ขอแวะไปต่อว่า ดาบส เสียหน่อย บอกว่า เจ้าดาบสโกง จอมหลอกลวง ไหนเจ้าบอกว่า กองทัพข้าจะชนะ ทำไมกลายเป็นกองพันข้าถึงพ่ายแพ้ยับเยิน เจ้ารับสินบน จากพระราชาศัตรู ให้มาพูดจาหลอกลวงข้าใช่มั้ย ว่าแล้วก็รีบหนีไป
ครั้นเวลาผ่านไป 2-3 วัน พระอินทร์ก็ได้มาเยี่ยมพบปะพูดคุยกับดาบสอีกครั้ง ดาบสจึงต่อว่า พระอินทร์บ้างเหมือนกันว่า "ท่านเป็นถึงจอมเทพ เป็น
หัวหน้าของเหล่าเทวดาบนสวรรค์ เหตุใดจึงมีพฤติกรรมกล่าววาจาหลอกลวงผู้คนเช่นนี้ ทำเอาเราดาบส โดนด่าไปด้วยเลย"
พระอินทร์จึงบอกว่า "ช้าก่อนท่านดาบส ท่านไม่เคยได้ยินสุภาษิตในกาลก่อนหรือ ที่มีว่า
เทวดาทั้งหลาย ย่อมกีดกันความพยายามของลูกผู้ชายไม่ได้
ความอดทนข่มใจ ความตั้งใจแน่วแน่ ความไม่แตกสามัคคีกัน ความไม่แก่งแย่งกัน การรุกในกาลควรรุก ความเพียรมั่นคง และความบากบั่นของ
ลูกผู้ชายย่อมทำให้พวกเขาได้รับชัยชนะจนได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ชัยชนะจึงมีแก่พวกพระเจ้าอัสสกะ
สุดท้าย พระไตรปิฎกบอกต่อว่า ดาบส ในชาตินั้น ได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนนันทเสนะ ได้มาเป็นพระสารีบุตร สาวกผู้เลิศด้วยปัญญา นั่นเอง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=270502
ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้
1. ตามบทสรุปของเรื่องเลยครับว่า ความเพียรพยายามของมนุษย์ เทพเทวา ย่อมกีดกันไม่ได้ หากมนุษย์มีความอดทนข่มใจ ตั้งใจแน่วแน่ สมัครสมาน
สามัคคี ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน ลงมือทำในจังหวะที่ควรลงมือทำ มีความพากเพียร ย่อมทำให้ได้รับความสำเร็จทุกประการ
2. วิสัยคนพาล ย่อมไม่เพียงพอ ดังเช่น พระเจ้ากาลิงคราชที่เป็นใหญ่ในเมืองแล้วก็ยังไม่เพียงพอ ยังปรารถนาทรัพย์สมบัติของเมืองอื่นๆ อีกไม่จบสิ้น
3. คนพาลไม่มีคำว่าญาติมิตรพวกพ้อง ดังเช่น พระเจ้ากาลิงคราชที่เอาลูกสาวเป็นเครื่องมือยึดทรัพย์สินของเมืองอื่น ถ้าไม่ยอมก็ตรงเข้าแย่งด้วยกำลัง
โดยไม่สนใจว่า ลูกสาวตัวเองจะไปประสบพบเจอเภทภัยใดๆ นี่ดีว่าเจอคนดี หากเจอคนไม่ดี ลูกสาวพระองค์อาจย่ำแย่ไม่มีชิ้นดีเลยก็ได้
4. ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตายเสมอ ตัวอย่างล่าสุดที่เหมือนกันเลย คือ การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐที่ผ่านมา ที่บรรดาโพลทั้งหลายบอกว่า ฝ่ายหญิงจะได้เป็นประธานาธิบดีแน่นอน โดยเฉพาะรัฐนั้นนั้น ของตายเลย นั่นก็เลยทำให้นางไม่ไปหาเสียงในรัฐนั้นๆ ในขณะที่ฝ่ายชายตระเวณไปหาเสียงถ้วนทั่ว ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็น
5. กำลังใจ และความไม่วิตกกังวลกับเหตุการณ์ในอนาคต แต่ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่รักษาใจให้เยือกเย็น และแก้ไขปัญหาจน
ประสบผลสำเร็จจนได้ในที่สุด
6. สุดท้ายเลย ผมชอบข้อนี้ที่สุด คือ ผู้นำที่ดี หากเรามั่นใจว่า เราเจอผู้นำที่ดี แม้หลายครั้ง คำสั่งนี้ อาจรู้สึกว่า ดูไร้เหตุผล ทำไปทำไม ทำไปก็ไม่เห็นช่วยอะไร แต่ขอให้ทำตาม แล้วสุดท้ายส่วนรวมก็จะประสบผลสำเร็จ
ซึ่งผมก็เจอบ่อยครั้ง กับเจ้านายญี่ปุ่น เพราะข้อจำกัดเรื่องภาษา ซึ่งทำให้เรา(ผมกับเจ้านาย)ปรกติ ก็จะคุยกันไม่ค่อยจะรู้เรื่องอยู่แล้ว พอเขาสั่งอะไรมา หลายครั้งเราก็ไม่เข้าใจถ่องแท้ ไม่เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำตามคำสั่งนั้น แต่เราก็ทำไปตามคำสั่ง แต่ผลลัพธ์ที่ได้ ก็บังเกิดผลสำเร็จตามที่เจ้านายสั่งแทบทุกประการ
เช่น เขาบอกว่า ให้หมั่นตรวจตราลูกน้องให้ทำความสะอาดพื้นที่ทำงานให้เป็นนิสัย แล้วรอยตำหนิในชิ้นงานจะค่อยๆ ลดลง ผมฟังแล้ว รู้สึกในใจว่า ตลกอ่ะ รอยตำหนิในชิ้นงาน ก็ต้องไปหาสาเหตุแล้วแก้ที่เครื่องจักร ไปทำความสะอาดพื้นที่ทำงาน มันจะไปแก้รอยตำหนิในชิ้นงานได้อย่างไร
แต่ไม่น่าเชื่อ เมื่อกวดขันให้ลูกน้องหมั่นทำความสะอาดที่ทำงานอย่างจริง จนดูสะอาดตาพาสะอาดใจ ลูกน้องหรือทุกคนเห็นแล้วสบายใจ การทำงานก็ออกมาดี รอยตำหนิในชิ้นงานก็ลดลงได้จริงอย่างไม่น่าเชื่อเลย นี่เป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมที่อยู่ในพระพุทธศาสนา จากพระไตรปิฎก โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน สาธุ