คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
เท่าที่ผมศึกษาข้อมูลจากหลายๆ ทฤษฎี แล้วนำมายำกันนะครับ
ถ้าเป็นการใช้กล้ามเนื้อแบบ aerobic เมื่อกล้ามเนื้อบีบรัด มันจะดูดกลูโคสจากเลือด แล้วใช้กลูโคส + กรดไขมัน (การเคลื่อนไหวปกติ)
ถ้ากลูโคสไปไม่ทัน มันจะใช้ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ + กรดไขมัน (การออกกำลังกาย)
แต่ต้องแยกออกระหว่าง กรดไขมันในเลือด กับไขมันในเนื้อเยื่อนะครับ
ถ้าจะนำไขมันในเนื้อเยื่อมาใช้ ต้องอาศัยฮอร์โมน "กลูคากอน"
กลูคากอนจะถูกปล่อยเมื่อระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
กลูคากอนจะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยกลูโคสจากไกลโคเจนในตับ
และกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อให้ปล่อยกรดอะมิโนจากโปรตีน และกระตุ้นเซลล์ไขมันให้ปล่อยกรดไขมันจากไขมัน
เพื่อส่งให้ตับไปสร้างเป็นกลูโคสปล่อยสู่เลือด
แต่กลูคากอนจะไปเอาไกลโคเจนในตับมาใช้ก่อนเพราะอยู่ใกล้ที่สุด
เมื่อไกลโคเจนจากตับเหลือน้อยลง กลูคากอนจะกระจายไปทั่วร่างเพื่อเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานสำรอง
ซึ่งก็คือโปรตีนในเซลล์ และไขมันในเนื้อเยื่อ
ดังนั้น การที่จะเอาไขมันออกจากเนื้อเยื่อได้ จึงต้องทำให้ระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
ด้วยการ "อดอาหาร" หรือ "ออกกำลังกาย"
ถ้าเลือกวิธีอดอาหาร ร่างกายจะทรุดโทรมอย่างหนัก เพราะร่างกายจะหลั่งสาระพัดกรดออกมา และแน่นอน กลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีน และไขมัน
ถ้าเลือกวิธีออกกำลังกาย ก็จะมี 2 เทคนิคย่อยๆ อีก
1. ออกกำลังกายเบาๆ ติดต่อกันนานๆ (วิ่งเหยาะๆ)
- ใช้เวลานาน (กลูโคสจากเลือดค่อยๆ ถูกใช้ จนไกลโคเจนจากตับเหลือน้อย) ไขมันจากเนื้อเยื่อค่อยๆ สลายออกมาตามระยะเวลาที่ออก ยิ่งออกนานก็ยิ่งเยอะ แต่โปรตีนก็จะถูกสลายด้วย (เพราะกลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีนและไขมัน)
2. ออกกำลังกายแบบกระชากแล้วผ่อน (hiit)
- ใช้เวลาน้อย (กลูโคสจากเลือดจะถูกกระชากออกไปเป็นช่วงๆ) ไขมันจากเนื้อเยื่อสลายมาก แต่โปรตีนก็ถูกสลายมากเหมือนกัน (เพราะกลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีนและไขมัน)
ถ้าเป็นไปตามตรรกนี้ ไม่ว่าวิธีไหน โปรตีนก็ถูกสลายทั้งนั้น นั่นหมายถึง ถ้าจะเอาไขมันออกจากเนื้อเยื่อได้ ต้องแลกด้วยโปรตีน
จึงควรมีการเล่นเวทด้วย เพื่อเสริมโปรตีนที่หายไปในขณะออกกำลังกาย
แล้วต้องกินทั้งคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนควบคู่กันไป
หากใช้วิธี hiit ต้องกินโปรตีนมากหน่อย เพื่อไปเสริมโปรตีนที่หายไป
หากเล่นเวท ต้องกินโปรตีนมากขึ้น เพื่อไปซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อที่ฉีกขาด
แต่ต้องกินคาร์โบไฮเดรตด้วย เพราะการที่กรดอะมิโนจะเข้าเซลล์ได้ต้องอาศัยฮอร์โมน "อินซูลิน" ซึ่งจะถูกปล่อยเมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูง
จะเห็นว่า การที่จะเอาไขมันในเนื้อเยื่อออกนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยสารพัดเทคนิค เพราะไขมันในเนื้อเยื่อถูกสร้างมาเพื่อเป็นพลังงานสำรองยามเมื่อร่างกายขาดอาหาร
ถ้าอ้างอิงทฤษฎีธรรมชาติคัดเลือก ก็อาจเป็นไปได้ที่ว่าครั้งหนึ่งโลกเคยเข้าสู่ยุคน้ำแข็งคลุมโลก แล้วมนุษย์ต้องจำศีลเป็นเวลานาน
มนุษย์ที่มีระบบสะสมไขมันในร่างกายได้ดีกว่าจะรอด ส่วนมนุษย์ตัวผอมๆ จะสูญพันธุ์ไปหมด (นั่นหมายถึงบรรพบุรุษเราเป็นมนุษย์อ้วน เราถึงอ้วนกันง่าย อ้วนกันจริง 55)
แต่ยุคนี้อาหารเหลือเฟือ ไขมันในเนื้อเยื่อจึงไม่ถูกนำมาใช้เสียที เราจึงต้องแบกอะไรที่ไม่ได้ใช้ไปทั้งชีวิต คิดแล้วเซ็ง
ถ้าเป็นการใช้กล้ามเนื้อแบบ aerobic เมื่อกล้ามเนื้อบีบรัด มันจะดูดกลูโคสจากเลือด แล้วใช้กลูโคส + กรดไขมัน (การเคลื่อนไหวปกติ)
ถ้ากลูโคสไปไม่ทัน มันจะใช้ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ + กรดไขมัน (การออกกำลังกาย)
แต่ต้องแยกออกระหว่าง กรดไขมันในเลือด กับไขมันในเนื้อเยื่อนะครับ
ถ้าจะนำไขมันในเนื้อเยื่อมาใช้ ต้องอาศัยฮอร์โมน "กลูคากอน"
กลูคากอนจะถูกปล่อยเมื่อระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
กลูคากอนจะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยกลูโคสจากไกลโคเจนในตับ
และกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อให้ปล่อยกรดอะมิโนจากโปรตีน และกระตุ้นเซลล์ไขมันให้ปล่อยกรดไขมันจากไขมัน
เพื่อส่งให้ตับไปสร้างเป็นกลูโคสปล่อยสู่เลือด
แต่กลูคากอนจะไปเอาไกลโคเจนในตับมาใช้ก่อนเพราะอยู่ใกล้ที่สุด
เมื่อไกลโคเจนจากตับเหลือน้อยลง กลูคากอนจะกระจายไปทั่วร่างเพื่อเสาะแสวงหาแหล่งพลังงานสำรอง
ซึ่งก็คือโปรตีนในเซลล์ และไขมันในเนื้อเยื่อ
ดังนั้น การที่จะเอาไขมันออกจากเนื้อเยื่อได้ จึงต้องทำให้ระดับกลูโคสในเลือดลดต่ำลง
ด้วยการ "อดอาหาร" หรือ "ออกกำลังกาย"
ถ้าเลือกวิธีอดอาหาร ร่างกายจะทรุดโทรมอย่างหนัก เพราะร่างกายจะหลั่งสาระพัดกรดออกมา และแน่นอน กลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีน และไขมัน
ถ้าเลือกวิธีออกกำลังกาย ก็จะมี 2 เทคนิคย่อยๆ อีก
1. ออกกำลังกายเบาๆ ติดต่อกันนานๆ (วิ่งเหยาะๆ)
- ใช้เวลานาน (กลูโคสจากเลือดค่อยๆ ถูกใช้ จนไกลโคเจนจากตับเหลือน้อย) ไขมันจากเนื้อเยื่อค่อยๆ สลายออกมาตามระยะเวลาที่ออก ยิ่งออกนานก็ยิ่งเยอะ แต่โปรตีนก็จะถูกสลายด้วย (เพราะกลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีนและไขมัน)
2. ออกกำลังกายแบบกระชากแล้วผ่อน (hiit)
- ใช้เวลาน้อย (กลูโคสจากเลือดจะถูกกระชากออกไปเป็นช่วงๆ) ไขมันจากเนื้อเยื่อสลายมาก แต่โปรตีนก็ถูกสลายมากเหมือนกัน (เพราะกลูคากอนจะสลายทั้งโปรตีนและไขมัน)
ถ้าเป็นไปตามตรรกนี้ ไม่ว่าวิธีไหน โปรตีนก็ถูกสลายทั้งนั้น นั่นหมายถึง ถ้าจะเอาไขมันออกจากเนื้อเยื่อได้ ต้องแลกด้วยโปรตีน
จึงควรมีการเล่นเวทด้วย เพื่อเสริมโปรตีนที่หายไปในขณะออกกำลังกาย
แล้วต้องกินทั้งคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนควบคู่กันไป
หากใช้วิธี hiit ต้องกินโปรตีนมากหน่อย เพื่อไปเสริมโปรตีนที่หายไป
หากเล่นเวท ต้องกินโปรตีนมากขึ้น เพื่อไปซ่อมแซมเซลล์กล้ามเนื้อที่ฉีกขาด
แต่ต้องกินคาร์โบไฮเดรตด้วย เพราะการที่กรดอะมิโนจะเข้าเซลล์ได้ต้องอาศัยฮอร์โมน "อินซูลิน" ซึ่งจะถูกปล่อยเมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูง
จะเห็นว่า การที่จะเอาไขมันในเนื้อเยื่อออกนี่ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยสารพัดเทคนิค เพราะไขมันในเนื้อเยื่อถูกสร้างมาเพื่อเป็นพลังงานสำรองยามเมื่อร่างกายขาดอาหาร
ถ้าอ้างอิงทฤษฎีธรรมชาติคัดเลือก ก็อาจเป็นไปได้ที่ว่าครั้งหนึ่งโลกเคยเข้าสู่ยุคน้ำแข็งคลุมโลก แล้วมนุษย์ต้องจำศีลเป็นเวลานาน
มนุษย์ที่มีระบบสะสมไขมันในร่างกายได้ดีกว่าจะรอด ส่วนมนุษย์ตัวผอมๆ จะสูญพันธุ์ไปหมด (นั่นหมายถึงบรรพบุรุษเราเป็นมนุษย์อ้วน เราถึงอ้วนกันง่าย อ้วนกันจริง 55)
แต่ยุคนี้อาหารเหลือเฟือ ไขมันในเนื้อเยื่อจึงไม่ถูกนำมาใช้เสียที เราจึงต้องแบกอะไรที่ไม่ได้ใช้ไปทั้งชีวิต คิดแล้วเซ็ง
แสดงความคิดเห็น
เรื่อง ลำดับการนำพลังงานมาใช้ในชีวิตประจำวันของสารอาหาร3อย่าง คือ คาร์โบ โปรตีน ไขมัน อันใหนก่อน
แต่พออ.เคมีสอนบอกว่า คาร์โบ โปรตีน ไขมัน คือตอนนี้อยู่ปี3ล่ะ เริ่มลืมๆ สรุบยังไงกันแน่ครับ
เอ่อๆ แล้วก็คือถ้าผมอยากเอาไขมันออกจากร่างกายให้เหลือซัก10%อ่ะครับ ผมควรออกกำลังกายประมานใหนอ่ะครับ ตอนนี้คิดไว้ว่าจะวิ่งซัก2กิโลต่อวันแล้วมา ซิดอัพซัก3ยก ยกล่ะ30 ที ซิกเพกมันจะขึ้นไหมอ่ะครับ ตอนนี้หนัก 62 สูง 159 (อ้วนจัง) ไม่ได้อยากตัวใหญ่อ่ะครับ แค่อยากหุ่นดีๆเฉยๆ คือ คิดว่าจะหักดิบตัวเองโดยการไม่กินข้าวเลยกินแต่โปรตีน แล้วออกกำลังกายตามที่บอก กับ กินเยอะๆเน้นโปรตีนกับคาร์โบ แล้วออกกำลังกายเท่าเดิม อันใหนจะดีกว่ากันอ่ะครับ แล้วมีวิธีใหนหรือทางเลือกใหนแนะนำอีกไหมอ่ะครับ