ราคาข้าวที่ตกต่ำเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้ชาวนาอยู่ไม่ได้ และควรทำอย่างไร เพื่อให้อย่างน้อยชาวนามีชีวิตอยู่ได้ (นอกจากการอุดหนุนโดยให้แต่เงินโดยรัฐ) ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้
1.) ชาวนาไม่ได้ใช้เวลาทุกวัน และทั้งวัน ไปกับการปลูกข้าว ดังนั้นหากเพียงแต่หวังรายได้ที่มาจากการขายข้าวอย่างเดียวคงไม่ถูกนัก อย่างน้อยขั้นต่ำต่อวันที่ควรจะหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพโดยชอบควรจะมีมูลค่า เท่ากับ ค่าแรงขั้นต่ำ นั่นคือ 300 บาท
ถามว่า แล้วชาวนาจะทำอะไรหละ เพื่อให้มีรายได้ นอกจากเวลาที่จะไปทำนา สมัยก่อนเคยมีโครงการ OTOP ที่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ไม่ทำอุตสาหกรรมชุมชน แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้มันหายไปไหน ไปเห็นมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หากทำโดยไม่หยุดพักและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ผ่านมา 10 กว่าปี น่าจะดีกว่านี้ ทั้งการพัฒนาการสร้างการตลาด การสร้าง story ของผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริม OTOP ให้ยิ่งใหญ่อลังการควรกลับมาอีกครั้ง และอย่างต่อเนื่อง (ลูกหลานชาวนายุคใหม่มีการศึกษา มีความรู้ --- นอกจากขายข้าวผ่านเน็ต ควรมาช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการ backup การใช้เวลาจากการทำนาเพิ่มด้วย) รวมถึงเป็นการลดความเสี่ยงไปในตัว
2.) ประเทศไทย ภูมิใจ กับความเชื่อที่ว่า ข้าวของเราดีกว่าข้าวของชาติอื่น โดนพ่อค้าส่งออกมักง่ายเป่าหูว่าของเราดี แต่กลับนำข้าวของเราที่ว่าดีกว่า ไปขายตัดราคากับข้าวที่ราคาถูกกว่า (สันดานพ่อค้า)
หากยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างของข้าวของเราได้ ผมเห็นควรว่า เราควรจะช่วยส่งเสริมให้สามารถผลิตข้าวคุณภาพต่ำ ราคาถูกเพื่อการแข่งขันสักส่วนหนึ่ง ทำไมต้องทำของถูกหละ สาเหตุก็เพราะเราต้องสร้างทางเลือกให้กับลูกค้า ให้กับตลาดได้ เราไม่สามารถบอกว่าของเราดีและ ราคาสูงได้หรอก หากเราไม่มีของอีกเกรดหนึ่งและราคาถูกกว่ามานำเสนอ (การเปรียบเทียบราคา ควรอยู่บนพื้นฐานของคุณภาพที่เท่ากัน ไม่ใช่เอาแอปเปิ้ล มาเปรียบเทียบกับส้ม)
3.) การส่งเสริมปัจจัยการผลิตโดยรัฐ ด้วยการแจกเงินนั้น ควรจะเลิกซักที เพราะมันไม่ได้ยั่งยืนอะไร ควรส่งเสริมการผลิตปัจจัยการผลิตให้มีราคาต่ำลงมากกว่า ปัจจัยการผลิตสามารถหาได้จากทั่วโลก ทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดการเลิกการผูกขาด และทำให้ชาวนาสามารถซื้อปัจจัยการผลิต ที่มีการนำมาเสนอขาย และแข่งขันการขายราคาถูก ๆ เหมือนกับที่ชาวนาขายข้าวบ้างหละ (ไม่เคยได้ยินข่าวว่า คนที่ขายปัจจัยการผลิตจะขาดทุน เพราะถูกชาวนากดราคารับซื้อเลย มีแต่ชาวนาถูกกดราคาจากพ่อค้าข้าว) ด้งนั้น ควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการ supply ปัจจัยการผลิตให้ชาวนาได้เลือก ได้ซื้อ เพื่อเป็นการลดต้นทุน (ปัจจัยการผลิต ควรมีมาตราฐาน มอก ที่ควบคุมอย่างชัดเจน เพื่อกันการลดคุณภาพจากการแข่งขัน)
4.) ข้อที่ 4 คือการยอมรับความจริงที่ว่า อาชีพชาวนานั้นควรจะมีผลตอบแทนขั้นต่ำที่พออยู่ได้ เท่าไหร่ต่อคนต่อไร่ หากมีทีนาน้อยแต่มีคนในครอบครัวมาก มันเหมือนกับบริษัท จ้างคนมากเกินไปในการประกอบการ สุดท้ายอย่างไร บริษัทก็ไปไม่รอดหลอก ชาวนาก็เหมือนกัน หากมีที่นาน้อยแต่ต้องเลี้ยงหลายชีวิตหละก็ อย่างไรมันก็ไม่เพียงพอหรอกครับ การที่รัฐมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ควรมีการคำนวณจำนวนคนที่ต้องใช้นาในการประกอบอาชีพไปด้วย เอะอะก็ 15 ไร่ อะไรก็ 15 ไร่ ไม่ได้ดูเลยว่าเค้าต้องเลี้ยงกันกี่คน ชาวนาก็เหมือนกันหากมีที่นาน้อยแล้วต้องเลี้ยงคนเยอะ ก็ควรระลึกไว้ว่ามันต้องเจ๊งแน่ ๆ (โครงการประกันสุขภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และค่าครอบชีพคนชรา และสวัสดิการโดยรัฐก็มีมากขึ้นแล้ว ควรเอาเข้ามาคำนวณด้วย)
5.) ให้ไอ้พวกนักวิชาการเลือกข้าง สื่อมวลชนเลือกข้าง นักการเมืองเลือกข้าง เลิกบ้ากันซักที โดยเฉพาะไอ้หมอบ้าคนนึง กับไอ้โฆษกบ้าคนนึ่ง ให้มันมีกาละเทศะบ้าง ใครมาเป็นผู้บริหารตอนนี้ผมก็ให้กำลังใจ (แต่ขอเลือกเองจะดีกว่า จะตายก็ขอให้ตายด้วยมือตัวเอง) อย่าหูเบา หนักแน่น และมุ่งมั่น
ชาวนาอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่เฉพาะสาเหตุจากราคาข้าว เพียงอย่างเดียว
1.) ชาวนาไม่ได้ใช้เวลาทุกวัน และทั้งวัน ไปกับการปลูกข้าว ดังนั้นหากเพียงแต่หวังรายได้ที่มาจากการขายข้าวอย่างเดียวคงไม่ถูกนัก อย่างน้อยขั้นต่ำต่อวันที่ควรจะหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพโดยชอบควรจะมีมูลค่า เท่ากับ ค่าแรงขั้นต่ำ นั่นคือ 300 บาท
ถามว่า แล้วชาวนาจะทำอะไรหละ เพื่อให้มีรายได้ นอกจากเวลาที่จะไปทำนา สมัยก่อนเคยมีโครงการ OTOP ที่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ไม่ทำอุตสาหกรรมชุมชน แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้มันหายไปไหน ไปเห็นมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง หากทำโดยไม่หยุดพักและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ผ่านมา 10 กว่าปี น่าจะดีกว่านี้ ทั้งการพัฒนาการสร้างการตลาด การสร้าง story ของผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริม OTOP ให้ยิ่งใหญ่อลังการควรกลับมาอีกครั้ง และอย่างต่อเนื่อง (ลูกหลานชาวนายุคใหม่มีการศึกษา มีความรู้ --- นอกจากขายข้าวผ่านเน็ต ควรมาช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการ backup การใช้เวลาจากการทำนาเพิ่มด้วย) รวมถึงเป็นการลดความเสี่ยงไปในตัว
2.) ประเทศไทย ภูมิใจ กับความเชื่อที่ว่า ข้าวของเราดีกว่าข้าวของชาติอื่น โดนพ่อค้าส่งออกมักง่ายเป่าหูว่าของเราดี แต่กลับนำข้าวของเราที่ว่าดีกว่า ไปขายตัดราคากับข้าวที่ราคาถูกกว่า (สันดานพ่อค้า)
หากยังไม่สามารถสร้างความแตกต่างของข้าวของเราได้ ผมเห็นควรว่า เราควรจะช่วยส่งเสริมให้สามารถผลิตข้าวคุณภาพต่ำ ราคาถูกเพื่อการแข่งขันสักส่วนหนึ่ง ทำไมต้องทำของถูกหละ สาเหตุก็เพราะเราต้องสร้างทางเลือกให้กับลูกค้า ให้กับตลาดได้ เราไม่สามารถบอกว่าของเราดีและ ราคาสูงได้หรอก หากเราไม่มีของอีกเกรดหนึ่งและราคาถูกกว่ามานำเสนอ (การเปรียบเทียบราคา ควรอยู่บนพื้นฐานของคุณภาพที่เท่ากัน ไม่ใช่เอาแอปเปิ้ล มาเปรียบเทียบกับส้ม)
3.) การส่งเสริมปัจจัยการผลิตโดยรัฐ ด้วยการแจกเงินนั้น ควรจะเลิกซักที เพราะมันไม่ได้ยั่งยืนอะไร ควรส่งเสริมการผลิตปัจจัยการผลิตให้มีราคาต่ำลงมากกว่า ปัจจัยการผลิตสามารถหาได้จากทั่วโลก ทำอย่างไรถึงจะทำให้เกิดการเลิกการผูกขาด และทำให้ชาวนาสามารถซื้อปัจจัยการผลิต ที่มีการนำมาเสนอขาย และแข่งขันการขายราคาถูก ๆ เหมือนกับที่ชาวนาขายข้าวบ้างหละ (ไม่เคยได้ยินข่าวว่า คนที่ขายปัจจัยการผลิตจะขาดทุน เพราะถูกชาวนากดราคารับซื้อเลย มีแต่ชาวนาถูกกดราคาจากพ่อค้าข้าว) ด้งนั้น ควรส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการ supply ปัจจัยการผลิตให้ชาวนาได้เลือก ได้ซื้อ เพื่อเป็นการลดต้นทุน (ปัจจัยการผลิต ควรมีมาตราฐาน มอก ที่ควบคุมอย่างชัดเจน เพื่อกันการลดคุณภาพจากการแข่งขัน)
4.) ข้อที่ 4 คือการยอมรับความจริงที่ว่า อาชีพชาวนานั้นควรจะมีผลตอบแทนขั้นต่ำที่พออยู่ได้ เท่าไหร่ต่อคนต่อไร่ หากมีทีนาน้อยแต่มีคนในครอบครัวมาก มันเหมือนกับบริษัท จ้างคนมากเกินไปในการประกอบการ สุดท้ายอย่างไร บริษัทก็ไปไม่รอดหลอก ชาวนาก็เหมือนกัน หากมีที่นาน้อยแต่ต้องเลี้ยงหลายชีวิตหละก็ อย่างไรมันก็ไม่เพียงพอหรอกครับ การที่รัฐมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ควรมีการคำนวณจำนวนคนที่ต้องใช้นาในการประกอบอาชีพไปด้วย เอะอะก็ 15 ไร่ อะไรก็ 15 ไร่ ไม่ได้ดูเลยว่าเค้าต้องเลี้ยงกันกี่คน ชาวนาก็เหมือนกันหากมีที่นาน้อยแล้วต้องเลี้ยงคนเยอะ ก็ควรระลึกไว้ว่ามันต้องเจ๊งแน่ ๆ (โครงการประกันสุขภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และค่าครอบชีพคนชรา และสวัสดิการโดยรัฐก็มีมากขึ้นแล้ว ควรเอาเข้ามาคำนวณด้วย)
5.) ให้ไอ้พวกนักวิชาการเลือกข้าง สื่อมวลชนเลือกข้าง นักการเมืองเลือกข้าง เลิกบ้ากันซักที โดยเฉพาะไอ้หมอบ้าคนนึง กับไอ้โฆษกบ้าคนนึ่ง ให้มันมีกาละเทศะบ้าง ใครมาเป็นผู้บริหารตอนนี้ผมก็ให้กำลังใจ (แต่ขอเลือกเองจะดีกว่า จะตายก็ขอให้ตายด้วยมือตัวเอง) อย่าหูเบา หนักแน่น และมุ่งมั่น