มีเพื่อน ๆ ผมหลายคนที่มีเงินจำนวนไม่น้อย
แต่นำเงินนั้นไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ
และพอมีคนชวนไปลงทุนในหุ้น
หลายคนส่ายหน้า แล้วก็ตอบว่า “มันเสี่ยง”
เดี๋ยวก็หมดตัวหรอก
จริง ๆ ก็ไม่ผิดหรอกนะครับ
คำว่า “เสี่ยง” ของแต่ละคนมีความหมายที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่กำลังจะบอกคือให้เราระวังการตัดสินใจในลักษณะนี้ให้ดีครับ
คือคนเราโดยทั่วไปนั้น ชอบตัดสินใจทำในสิ่งที่
เราทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
มากกว่าสิ่งที่เราไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Ambiguity effect ครับ
ซึ่งคำนี้ได้รับการค้นพบตั้งแต่ปี 1961
โดย Daniel Ellsberg ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการตัดสินใจ
และเคยทำงานให้กับกองทัพของสหรัฐอเมริกา
คราวนี้ Ambiguity effect คืออะไรกันแน่
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ
คนที่ชอบฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก็เพราะว่า การฝากเงินนั้น เราทราบความน่าจะเป็นว่าในที่สุดแล้วเราก็ได้ดอกเบี้ยแน่ ๆ
(เกือบจะ 100% ถ้าธนาคารไม่เจ๊งไปซะก่อน ซึ่งคงเกิดยากมาก)
แต่พอลงทุนในตลาดหุ้น
เราไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
ถึงแม้ว่ามีสถิติหลายอย่างยืนยันว่า ในระยะยาวแล้วนั้น
การลงทุนตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
การฝากเงินกับธนาคารก็ตาม
แต่อย่างที่บอกแหละครับ
คนส่วนใหญ่กลัวความไม่ชัดเจน (Ambiguity)
จึงอาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆ ไป
จริงความเสี่ยงมันไม่ได้เกิดจากตัวหุ้นหรอกครับ
ความเสี่ยงมันเกิดจากความไม่รู้ของเรามากกว่า
ถ้าอยากไม่ให้เกิด Ambiguity effect
เราก็ต้องศึกษาให้เยอะ
เราจะได้ไม่มองข้ามโอกาสดี ๆ ไปไงครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง www.facebook.com/DataAnalysisForDecisionMaking
เล่นหุ้นทำไม มันเสี่ยงออก (Ambiguity Effect)
แต่นำเงินนั้นไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ
และพอมีคนชวนไปลงทุนในหุ้น
หลายคนส่ายหน้า แล้วก็ตอบว่า “มันเสี่ยง”
เดี๋ยวก็หมดตัวหรอก
จริง ๆ ก็ไม่ผิดหรอกนะครับ
คำว่า “เสี่ยง” ของแต่ละคนมีความหมายที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่กำลังจะบอกคือให้เราระวังการตัดสินใจในลักษณะนี้ให้ดีครับ
คือคนเราโดยทั่วไปนั้น ชอบตัดสินใจทำในสิ่งที่
เราทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
มากกว่าสิ่งที่เราไม่ทราบความน่าจะเป็นของผลลัพธ์
เราเรียกสิ่งนี้ว่า Ambiguity effect ครับ
ซึ่งคำนี้ได้รับการค้นพบตั้งแต่ปี 1961
โดย Daniel Ellsberg ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการตัดสินใจ
และเคยทำงานให้กับกองทัพของสหรัฐอเมริกา
คราวนี้ Ambiguity effect คืออะไรกันแน่
ลองมาดูตัวอย่างกันครับ
คนที่ชอบฝากเงินไว้กับธนาคาร
ก็เพราะว่า การฝากเงินนั้น เราทราบความน่าจะเป็นว่าในที่สุดแล้วเราก็ได้ดอกเบี้ยแน่ ๆ
(เกือบจะ 100% ถ้าธนาคารไม่เจ๊งไปซะก่อน ซึ่งคงเกิดยากมาก)
แต่พอลงทุนในตลาดหุ้น
เราไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนเท่าไร
ถึงแม้ว่ามีสถิติหลายอย่างยืนยันว่า ในระยะยาวแล้วนั้น
การลงทุนตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่า
การฝากเงินกับธนาคารก็ตาม
แต่อย่างที่บอกแหละครับ
คนส่วนใหญ่กลัวความไม่ชัดเจน (Ambiguity)
จึงอาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆ ไป
จริงความเสี่ยงมันไม่ได้เกิดจากตัวหุ้นหรอกครับ
ความเสี่ยงมันเกิดจากความไม่รู้ของเรามากกว่า
ถ้าอยากไม่ให้เกิด Ambiguity effect
เราก็ต้องศึกษาให้เยอะ
เราจะได้ไม่มองข้ามโอกาสดี ๆ ไปไงครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง www.facebook.com/DataAnalysisForDecisionMaking