สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 54
เพราะเหตุว่า
คนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ;
เพราะเหตุนั้น
คนพาลจึงเป็นผู้เข้าถึงกาย เพราะการแตกทำลายแห่งกาย.
คนพาลนั้น เป็นผู้เข้าถึงกายอยู่
ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้
คนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ;
เพราะเหตุนั้น
คนพาลจึงเป็นผู้เข้าถึงกาย เพราะการแตกทำลายแห่งกาย.
คนพาลนั้น เป็นผู้เข้าถึงกายอยู่
ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
เรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้
เพราะ เหตุปัจจัยอะไรหนอ .
...คนพาลจึงเป็นผู้เข้าถึงกาย เพราะการแตกทำลายแห่งกาย > คนพาลนั้น เป็นผู้เข้าถึงกายอยู่
...คนพาลจึงเป็นผู้เข้าถึงกาย เพราะการแตกทำลายแห่งกาย > คนพาลนั้น เป็นผู้เข้าถึงกายอยู่
^^^
^^
^^
การเข้าถึงกายของคนพาล คืออย่างไรหนอ ?
ความคิดเห็นที่ 3
ส่วนเดียรถีย์บางพวก ที่ไม่เชื่อว่า มีวิญญาณขณะปฏิสนธิ ก็เลี่ยงบาลี เป็น เชื้อบิดา หรือ อสุจิ แทน
การกล่าวตู่ปฏิจจสมุปบาทธรรมของท่านพุทธทาส
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chalermsakm&month=11-2010&date=21&group=1&gblog=3
" หรือว่ามารดาบิดาอยู่ร่วมกันมีระดูแล้ว แต่ถ้าคันธัพพะไม่เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะมันก็ไม่เกิดเหมือนกัน แล้วก็คันธัพพะ ซึ่งไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไรในภาษาไทย ก็เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ถ้าพูดอย่างวิชาการสมัยนี้ก็ว่าคันธัพพะนี้ก็หมายถึงเชื้อของฝ่ายบิดาแล้วมันเข้าไปตั้งอยู่ในเฉพาะในไข่ของมารดา"
!
!
ส่วนเด็กทารกที่เพิ่งโตเล่นของเล่น ดินทรายอย่างเด็กเล่น
ยังเฉยอยู่ จนกระทั่งโตเป็นขนาดกุมารได้รับการบำเรอทางรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส แล้วเกิดความยินดียินร้าย นี่แหละปฏิจจสมุปบาทจึงจะตั้งต้น
การกล่าวตู่ปฏิจจสมุปบาทธรรมของท่านพุทธทาส
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chalermsakm&month=11-2010&date=21&group=1&gblog=3
" หรือว่ามารดาบิดาอยู่ร่วมกันมีระดูแล้ว แต่ถ้าคันธัพพะไม่เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะมันก็ไม่เกิดเหมือนกัน แล้วก็คันธัพพะ ซึ่งไม่รู้ว่าจะแปลว่าอะไรในภาษาไทย ก็เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะ ถ้าพูดอย่างวิชาการสมัยนี้ก็ว่าคันธัพพะนี้ก็หมายถึงเชื้อของฝ่ายบิดาแล้วมันเข้าไปตั้งอยู่ในเฉพาะในไข่ของมารดา"
!
!
ส่วนเด็กทารกที่เพิ่งโตเล่นของเล่น ดินทรายอย่างเด็กเล่น
ยังเฉยอยู่ จนกระทั่งโตเป็นขนาดกุมารได้รับการบำเรอทางรูป เสียง กลิ่นรส สัมผัส แล้วเกิดความยินดียินร้าย นี่แหละปฏิจจสมุปบาทจึงจะตั้งต้น
ความคิดเห็นที่ 2
ทำแท้งบาปหรือไม่ ในทรรศนะพระพุทธศาสนา พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
กำเนิดมนุษย์ ท่านว่าไว้อย่างไร
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-prayuth/lp-prayuth-17-01.htm
ต่อไปนี้ก็มาดูเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์ตามความในพระไตรปิฎกให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ที่กล่าวไปแล้วเป็นพระวินัย คราวนี้เราไปดูในพระสูตรบ้าง เพื่อจะโยงหาเนื้อหาความสัมพันธ์กัน ที่จะช่วยให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น มีพระสูตรที่ตรัสถึงเรื่องกำเนิดของชีวิตมนุษย์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะการประชุมพร้อมแห่งองค์ประกอบ 3 ประการ ย่อมมีการหยั่งลงแห่งครรภ์”
การหยั่งลงแห่งครรภ์ หมายความว่ามีการเกิดขึ้นของสัตว์ที่เกิดในท้องมารดา ดูพุทธพจน์ต่อไปว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน 1 มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) 1 และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว 1 เพราะประชุมองค์ประกอบ 3 ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์” (ม.มู.12/452/287)
นี่ก็หมายความว่า องค์ประกอบฝ่ายมารดากับบิดาประจวบกัน 1 และมารดาก็อยู่ในระยะที่มีไข่สุก 1 อีกทั้งคันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่ 1 นี่เป็นจุดเริ่มต้นกำเนิดชีวิต ทีนี้ก็มีข้อสงสัยว่า คันธัพพะคืออะไร
คันธัพพะนี่ตามปกติที่เป็นศัพท์ทั่วไปก็แปลว่า คนธรรพ์ คนธรรพ์นี่ก็อยู่ในจำพวกเทวดาอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป ดังที่รู้จักกันในวงวรรณคดี เป็นพวกเทพบุตร ประเภทนักดนตรี ตามหลักท่านจัดเป็นเทวดาชั้นต่ำ เป็นบริวารของท้าวธตรฐ ซึ่งเป็นโลกบาลประจำทิศตะวันออก ในสวรรค์ชั้นต้น ที่เรียกว่า จาตุมหาราชิกาหรือท้าวโลกบาล 4 แต่เราอย่าไปหลงกับศัพท์นั้น เพราะศัพท์ต่างๆ มีความหมายได้หลายนัย ไม่ใช่ว่าศัพท์เดียวจะมีความหมายได้อย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในภาษาทั้งหลาย อย่างในภาษาไทยของเรานี้ คำว่า ชาย อาจหมายถึงคนผู้ชายก็ได้ หมายถึงริม เช่น ชายผ้าก็ได้ หมายถึงคล้อยไป เช่น ตะวันชายบ่ายคล้อยก็มี
สำหรับคันธัพพะที่ท่านก็อธิบายต่อไป แต่คำอธิบายนี้ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎกให้แต่ตัวศัพท์ไว้ คำอธิบายมาในอรรถกถา ท่านบอกว่า “คันธัพพะ คือ สัตว์ที่เข้าไปที่นั้น” ท่านใช้คำสั้นนิดเดียวว่า ตตฺรูปคสตฺโต สัตว์ผู้เข้าไปที่นั้น และอธิบายต่อไปอีก เป็นคำอธิบายของอรรถกถาและทั้งฎีกาด้วย มีสาระสำคัญว่า คันธัพพะ ก็คือ สัตว์ผู้ไปเกิด ซึ่งตอนนั้นถือได้ว่าอยู่ในภพก่อน วิญญาณ หรือจิตสุดท้าย จะมุ่งหน้ามาสู่กำเนิดโดยมี คตินิมิต เป็นตัวนำ (1 ม.อ.2/408/218;วินย.ฎีกา 2/10/20)
อธิบายว่าเวลาคนจะตาย ท่านบอกว่า จะมีกรรมนิมิต อันได้แก่ภาพของกรรม คือประสบการณ์ต่างๆ ที่ตนได้กระทำไว้ในอดีตของชีวิตมาฉายให้เห็น พอกรรมนิมิต คือภาพตัวแทนของสิ่งที่ตนได้กระทำมา ผ่านไปแล้ว ก็มีคตินิมิต คือภาพของภพที่ตนจะไปเกิดปรากฏให้เห็น คตินิมิตที่ปรากฏนี้ก็เป็นไปตามกรรม ที่เป็นตัวนำให้ไปเกิด กรรมนั้นแสดงออกโดยมีคตินิมิตเป็นเครื่องหมาย แล้วกรรมก็เป็นตัวชักพาไป วิญญาณเก่าดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกรรมที่สะสมไว้และวิญญาณนั้นชื่อว่าเป็น คันธัพพะ
ฉะนั้น คำว่า คันธัพพะ ตามมติของอรรถกถาก็หมายถึง ตัวสัตว์ผู้ไปเกิด เป็นศัพท์ที่เรียกคลุมๆ เพราะถ้าจะเรียกเป็นจิตเป็นวิญญาณก็จะเป็นการพูดศัพท์ลึกแบบอภิธรรมมากไป จึงพูดเป็นตัวสัตว์หยาบๆ ไปเลย หมายถึงผู้ที่จะไปเกิด ท่านแสดงไว้ในความหมายว่าอย่างนั้น พระอาจารย์ที่อธิบายท่านเรียกว่า อุปฺปชฺชนกสตฺโต
เป็นอันว่า มติของคัมภีร์ทั้งหลายแสดงไว้ชัดแล้ว ว่าท่านมุ่งเอาแค่ไหน คันธัพพะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเกิดของคนก็หมายถึงคนที่จะมาเกิด หรือสัตว์ที่มาเกิดในกรณีนั้น
กำเนิดมนุษย์ ท่านว่าไว้อย่างไร
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp-prayuth/lp-prayuth-17-01.htm
ต่อไปนี้ก็มาดูเรื่องเกี่ยวกับกำเนิดมนุษย์ตามความในพระไตรปิฎกให้ชัดเจนขึ้นไปอีก ที่กล่าวไปแล้วเป็นพระวินัย คราวนี้เราไปดูในพระสูตรบ้าง เพื่อจะโยงหาเนื้อหาความสัมพันธ์กัน ที่จะช่วยให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น มีพระสูตรที่ตรัสถึงเรื่องกำเนิดของชีวิตมนุษย์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะการประชุมพร้อมแห่งองค์ประกอบ 3 ประการ ย่อมมีการหยั่งลงแห่งครรภ์”
การหยั่งลงแห่งครรภ์ หมายความว่ามีการเกิดขึ้นของสัตว์ที่เกิดในท้องมารดา ดูพุทธพจน์ต่อไปว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด มารดาบิดาร่วมกัน 1 มารดาอยู่ในฤดู (ช่วงเวลาไข่สุก) 1 และคันธัพพะเข้าไปตั้งอยู่แล้ว 1 เพราะประชุมองค์ประกอบ 3 ประการอย่างนี้ ก็มีการก้าวลงแห่งครรภ์” (ม.มู.12/452/287)
นี่ก็หมายความว่า องค์ประกอบฝ่ายมารดากับบิดาประจวบกัน 1 และมารดาก็อยู่ในระยะที่มีไข่สุก 1 อีกทั้งคันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่ 1 นี่เป็นจุดเริ่มต้นกำเนิดชีวิต ทีนี้ก็มีข้อสงสัยว่า คันธัพพะคืออะไร
คันธัพพะนี่ตามปกติที่เป็นศัพท์ทั่วไปก็แปลว่า คนธรรพ์ คนธรรพ์นี่ก็อยู่ในจำพวกเทวดาอย่างที่เข้าใจกันทั่วไป ดังที่รู้จักกันในวงวรรณคดี เป็นพวกเทพบุตร ประเภทนักดนตรี ตามหลักท่านจัดเป็นเทวดาชั้นต่ำ เป็นบริวารของท้าวธตรฐ ซึ่งเป็นโลกบาลประจำทิศตะวันออก ในสวรรค์ชั้นต้น ที่เรียกว่า จาตุมหาราชิกาหรือท้าวโลกบาล 4 แต่เราอย่าไปหลงกับศัพท์นั้น เพราะศัพท์ต่างๆ มีความหมายได้หลายนัย ไม่ใช่ว่าศัพท์เดียวจะมีความหมายได้อย่างเดียว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในภาษาทั้งหลาย อย่างในภาษาไทยของเรานี้ คำว่า ชาย อาจหมายถึงคนผู้ชายก็ได้ หมายถึงริม เช่น ชายผ้าก็ได้ หมายถึงคล้อยไป เช่น ตะวันชายบ่ายคล้อยก็มี
สำหรับคันธัพพะที่ท่านก็อธิบายต่อไป แต่คำอธิบายนี้ไม่ได้อยู่ในพระไตรปิฎกให้แต่ตัวศัพท์ไว้ คำอธิบายมาในอรรถกถา ท่านบอกว่า “คันธัพพะ คือ สัตว์ที่เข้าไปที่นั้น” ท่านใช้คำสั้นนิดเดียวว่า ตตฺรูปคสตฺโต สัตว์ผู้เข้าไปที่นั้น และอธิบายต่อไปอีก เป็นคำอธิบายของอรรถกถาและทั้งฎีกาด้วย มีสาระสำคัญว่า คันธัพพะ ก็คือ สัตว์ผู้ไปเกิด ซึ่งตอนนั้นถือได้ว่าอยู่ในภพก่อน วิญญาณ หรือจิตสุดท้าย จะมุ่งหน้ามาสู่กำเนิดโดยมี คตินิมิต เป็นตัวนำ (1 ม.อ.2/408/218;วินย.ฎีกา 2/10/20)
อธิบายว่าเวลาคนจะตาย ท่านบอกว่า จะมีกรรมนิมิต อันได้แก่ภาพของกรรม คือประสบการณ์ต่างๆ ที่ตนได้กระทำไว้ในอดีตของชีวิตมาฉายให้เห็น พอกรรมนิมิต คือภาพตัวแทนของสิ่งที่ตนได้กระทำมา ผ่านไปแล้ว ก็มีคตินิมิต คือภาพของภพที่ตนจะไปเกิดปรากฏให้เห็น คตินิมิตที่ปรากฏนี้ก็เป็นไปตามกรรม ที่เป็นตัวนำให้ไปเกิด กรรมนั้นแสดงออกโดยมีคตินิมิตเป็นเครื่องหมาย แล้วกรรมก็เป็นตัวชักพาไป วิญญาณเก่าดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้นสืบต่อกรรมที่สะสมไว้และวิญญาณนั้นชื่อว่าเป็น คันธัพพะ
ฉะนั้น คำว่า คันธัพพะ ตามมติของอรรถกถาก็หมายถึง ตัวสัตว์ผู้ไปเกิด เป็นศัพท์ที่เรียกคลุมๆ เพราะถ้าจะเรียกเป็นจิตเป็นวิญญาณก็จะเป็นการพูดศัพท์ลึกแบบอภิธรรมมากไป จึงพูดเป็นตัวสัตว์หยาบๆ ไปเลย หมายถึงผู้ที่จะไปเกิด ท่านแสดงไว้ในความหมายว่าอย่างนั้น พระอาจารย์ที่อธิบายท่านเรียกว่า อุปฺปชฺชนกสตฺโต
เป็นอันว่า มติของคัมภีร์ทั้งหลายแสดงไว้ชัดแล้ว ว่าท่านมุ่งเอาแค่ไหน คันธัพพะ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการเกิดของคนก็หมายถึงคนที่จะมาเกิด หรือสัตว์ที่มาเกิดในกรณีนั้น
แสดงความคิดเห็น
คันธัพพะ (สัตว์ทีจะปฏิสนธิในครรภ์) , คำถาม :เหตุปัจจัยให้เกิดคันธัพพะ คือ ?
สรรพสิ่งที่ปรากฎขึ้นนั้น ล้วนเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัย ว่าโดยย่อคือ เพราะสิ่งนี้มี อีกสิ่งนี้ จึงมี
ไม่มีอะไรที่จะเกิดปรากฎขึ้นมาลอย ๆ โดยไร้เหตุปัจจัย
ได้อ่านพบคำแปลจากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๙ และ ๑๕๐
ได้กล่าวถึง คันธัพพะ (สัตว์ที่จะปฏิสนธิในครรภ์)