การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อไว้กิน ทำยังไงไม่ให้เน่า

กระทู้คำถาม

ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยายไซ-ไฟ ... นักวิทยาศาสตร์ดัตช์พร้อมเสิร์ฟเบอร์เกอร์เนื้อวัวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ในแล็บ ชี้ใช้พลังงานน้อย ใช้พื้นที่น้อยกว่า แล้วยังปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าวิถีเลี้ยงวัวแบบเดิมๆ บีบีซีนิวส์รายงานว่ากำหนดแถลงข่าวที่ลอนดอนในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นของทีมนักวิทยาศาสตร์จากเนเธอร์แลนด์ที่เพาะเลี้ยงเนื้อวัวในห้องปฏิบัติการจะเสิร์ฟเบอร์เกอร์จากเนื้อดังกล่าวให้ชิมเป็นครั้งแรกของโลก พร้อมกันนี้สำนักข่าวอังกฤษยังส่งผู้ข่าวไปเยือนถึงห้องแล็บดังกล่าว งานวิจัยนี้นำโดย ศ.มาร์ค โพสต์ (Prof. Mark Post) จากมหาวิทยาลัยมาสทริคท์ (Maastricht University) ภายใต้โครงการมูลค่านับ 10 ล้านบาท ซึ่งได้นำเอาเซลล์จากวัวแล้วเปลี่ยนให้เป็นริ้วกล้ามเนื้อซึ่งนำมารวมกันเป็นก้อนเนื้อได้ ทีมวิจัยกล่าวว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นหนทางที่ยั่งยืนเมื่อเผชิญความต้องการเนื้อสัตว์ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่นักวิจารณ์โต้แย้งว่า การกินเนื้อให้น้อยลงเป็นวิธีง่ายกว่าในการรับมือการขาดแคลนอาหารตามที่คาดการณ์กันไว้ "เรากำลังจะแสดงให้โลกเห็นแฮมเบอร์เกอร์ชิ้นแรกที่ผลิตขึ้นจากเซลล์ในห้องแล็บ เราทำเรื่องนี้เพราะการผลิตปศุสัตว์ไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม มันไม่อาจตอบสนองความต้องการเนื้อของโลกได้ และก็ไม่ดีสำหรับสัตว์" ศ.โพสต์กล่าว ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์และสถาบันอื่นๆ ขวนขวายที่ผลิตเนื้อเยื่อมนุษย์จากสเต็มเซลล์เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหร่อในร่างกาย แต่ ศ.โพสต์กลับปรารถนาในสิ่งที่แตกต่าง เขาใช้เทคนิคคล้ายๆ กันเพื่อเพาะเลี้ยงกล้ามเนื้อและไขมัน สำหรับผลิตเป็นอาหาร เขาเริ่มจากสกัดเอาสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อวัว และในห้องปฏิบัติการเซลล์เหล่านี้ได้รับการเพาะเลี้ยงด้วยสารอาหารเคมีเพื่อช่วยให้เซลล์เติบโตและเพิ่มจำนวน สามอาทิตย์หลังจากนั้นก็มีสเต็มเซลล์เป็นล้านเซลล์ ซึ่งจะถูกนำไปใส่ในจานเพาะเลี้ยงเล็กๆ ที่เซลล์เชื่อมติดกันกลายเป็นริ้วกล้ามเนื้อประมาณ 1 เซ็นติเมตร และหนาไม่กี่มิลลิเมตร จากนั้นริ้วกล้ามเนื้อจะถูกรวมเข้าในถาดหลุมที่ถูกแช่แข็ง เมื่อได้จำนวนที่มากพอ ก็จะถูกนำมาละลายและอัดเป็นก้อนเนื้อก่อนที่จะถูกนำไปปรุงอาหารต่อไป นักวิทยาศาสตร์พยายามผลิตเนื้อดังกล่าวให้เหมือนเนื้อจริงมากที่สุด แม้ในเบื้องต้นพวกเขาจะได้เนื้อที่เป็นสีขาว เฮเลน บรีวูด (Helen Breewood) ซึ่งทำงานร่วมกับ ศ.โพสต์ ได้ทำให้กล้ามเนื้อเพาะเลี้ยงมีสีแดง ด้วยการเติม "ไมโอโกลบิน" (myoglobin) สารประกอบที่เกิดตามธรรมชาติ ที่มีอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อของสัตว์มีระดูกสันหลัง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป โดยเธอบอกว่าหากทำไม่เหมือน และรสชาติไม่คล้ายเนื้อวัว ก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่จะมาแทนที่ได้ ทว่าในมุมของ ศ.ทารา การ์เนตต์ (Prof.Tara Garnett) หัวหน้าเครือข่ายวิจัยนโยบายอาหาร มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) กล่าวว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจควรจะอะไรให้ไกลกว่าการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี โดยเธอบอกว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ที่คนในโลก 1.4 พันล้านคนมีปัญหาน้ำหนักเกินและเป็นเบาหวาน ขณะเดียวกันก็มีประชาชทั่วโลกอีกนับพันล้านคนที่เข้านอนพร้อมความหิวโหย "เทคโนโลยีนี้เป็นแค่ของแปลกและยอมรับไม่ได้ การแก้ปัญหาไม่ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานการผลิตอาหารให้มากขึ้น แต่ควรเปลี่ยนระบบแจกจ่ายและการเข้าถึงอาหาร และความสามารถในการจัดหาอาหารไม่ใช่เพียงเพื่อให้ได้อาหารมากขึ้น แต่ต้องจัดหาอาหารที่ดีแก่ผู้ที่ต้องการมัน" ศ.การ์เนตต์กล่าว


เดิมทีเนื้อที่เพาะเลี้ยงได้มีสีขาว จึงต้องเติมสีแดงด้วยไมโอโกลบิน

ภาพเปรียบเทียบการเลี้ยงวัวแบบดั้งเดิม กับการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เนื้อวัวจากห้องแล็บ

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติแถลงว่าปริมาณความต้องการเนื้อสัตว์ของประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ใน 3 ของปัจจุบัน ในอีก 40 ปีข้างหน้า หากวิถีการผลิตในแบบปัจจุบันนั้นไม่สามารถนำไปสู่ความยั่งยืนได้ และอาหารในอนาคตมีแนวโน้มจะมีราคาแพงขึ้น หากเรายังไม่มีทางเลือกอื่นๆ เข้ามาทดแทน การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นสาเหตุของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างมีเธน รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ ไนตรัสออกไซด์ และเมื่อมีการผลิตอาหารเนื้อสัตว์มากขึ้น ก็เท่ากับว่าสภาพแวดล้อมก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่จะเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ เช่นกัน ราวปีที่แล้ว มีการผลิตเนื้อเบอร์เกอร์เทียมขึ้นในห้องแล็บ และผู้ทดลองลิ้มชิมรสก็ระบุว่ารสชาติของมันไม่ได้แย่มาก วอร์เรน รูเดอร์ ศาสตราจารย์ด้านพันธุวิศวกรรม จากเวอร์จิเนียร์เทค (Virginia Tech) บอกว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อเทียมได้ในห้องแล็บมานับทศวรรษแล้ว ตอนนี้เขาจึงเห็นว่าเทคโนโลยีลักษณะเดียวกันนั้นพร้อมแล้วสำหรับการสร้างเนื้อเทียมเป็นอาหาร แต่ปัญหาใหญ่ก็คือ ราคาของนวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาตินี้ในรูปเนื้อเบอร์เกอร์ (In Vitro Burger) คือ 385,000 ดอลลาร์ต่อแผ่น

ปี 2013 นักวิจัยในยุโรปสามารถคิดค้นเทคนิคที่สามารถผลิตเนื้อในระดับอุตสาหกรรมได้แล้วกับ ‘แฮมเบอร์เกอร์หลอดแก้ว’ ของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาสทริคต์ในฮอลแลนด์โดย มาร์ค โพสต์ นักสรีรวิทยา ที่สามารถสร้างเนื้อแผ่นได้จากสเต็มเซลล์วัว ซึ่งวิทยาการนี้ วารสาร Science Now เชื่อว่าเป็นการปฏิวัติวงการเกษตรกรรมครั้งใหญ่นับตั้งแต่เริ่มมีการทำปศุสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เนื้อเทียมผลิตจากการเก็บเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์จากกล้ามเนื้อของสัตว์ที่ยังมีชีวิต หลังจากนั้นจะนำเซลล์ดังกล่าวไปเพาะเลี้ยงให้แบ่งตัวทวีคูณ จนกลายเป็นเนื้อเยื่อซ้อนทับกันคล้ายเซลล์กล้ามเนื้อสัตว์เมื่อชิ้นส่วนของแผ่นเซลล์เรียงตัวกันเป็นชั้นเกลียวของกล้ามเนื้อถึง 20,000 มัด ก็จะได้เนื้อเบอร์เกอร์ออกมา 5 ออนซ์ หรือราว 30 กรัม

แต่แนวคิดเรื่องอาหารทดแทนยังคงได้รับความนิยม เช่นเดียวกับความกังวลเรื่องภาวะขาดแคลนอาหาร ท่ามกลางความต้องการของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ คาร์บอนฟุตปรินท์ และมลภาวะจากการทำปศุสัตว์ในระดับอุตสาหกรรม รวมไปถึงโรคติดต่อจากสัตว์ที่เป็นอาหาร ยังมีมากขึ้น ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดให้ข้อมูลว่า การทำเนื้อเทียมใช้พื้นที่น้อยกว่าการทำปศุสัตว์ปกติถึงร้อยละ 99 รวมถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็น้อยกว่าการทำฟาร์มสมัยใหม่มาก ปี 2006 ทีมงานของโพสต์ได้ทดลองสร้างเนื้อหมูเทียมในห้องแล็บ และยังพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ ภายใต้การสนับสนุนจากทุนภายในประเทศ ขณะที่ทางด้านสหรัฐ ก็ได้รับการสนับสนุนจากองค์การนาซ่าเพื่อหาทางให้นักบินอวกาศสามารถสร้างเนื้อเทียมเป็นอาหารขณะอยู่นอกโลกได้ ล่าสุด ทีมนักวิจัยฮอลแลนด์คิดไปไกลถึงขั้นจะสร้างโรงงานผลิตเนื้อเทียมในระดับหมู่บ้านขึ้น ซึ่งเนื้อที่ผลิตนั้นจะเป็นเนื้อวัว ไก่ หมู ‘เทียม’ ทั้งหมด งานศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยวาเกนนินเกน ได้นำเสนอเครื่องมือที่สามารถสร้างเซลล์สัตว์ หรือโรงงานผลิตเนื้อเทียมในระดับชุมชน ทั้งเนื้อวัว หมู และไก่ เพียงพอที่จะเลี้ยงหมู่บ้านที่มีสมาชิก 2,650 คนได้ กระบวนการผลิตเนื้อเทียมนี้ เริ่มจากการนำสเต็มเซลล์ของกล้ามเนื้อวัว หมู ไก่ มาผ่านกระบวนการทางชีวภาพในถังขนาด 20 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเซลล์จะแบ่งตัวทวีคูณอย่างต่อเนื่อง เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้เนื้อ 22 ปอนด์ต่อคนต่อปี แม้จะไม่สามารถทดแทนระบบปศุสัตว์ได้ทั้งหมด แต่เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนได้ แถมยังสามารถสร้างรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อีก โดยโครงการนี้จะพยายามทำให้งบประมาณในการผลิตเนื้อเทียมนั้นลดลงจนสามารถสร้างขึ้นได้จริงในระดับชุมชน

ในวารสาร Trends in Biotechnology ศาสตราจารย์ด้านปรัชญา คอร์ ฟาน เดอร์ วีล เชื่อว่าเนื้อเทียมคือนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ที่จะมาทดแทนอาหารประเภทเนื้อ อย่างไรก็ตามเธอยังเชื่อว่ามีอาหารอื่นๆ ที่เป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอนาคตได้ เช่น อาหารมังสวิรัติ หรือแม้แต่การแปรรูปแมลงบางชนิด เธอเคยเห็นพิพิธภัณฑ์ในฝรั่งเศสทำสเต็กจากเซลล์เนื้อกบที่เพาะเลี้ยงตั้งแต่ปี 2004 ขณะเดียวกัน เมื่อนักปรัชญาผนึกกำลังเขียนงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ คอร์ ฟาน เดอ วีล และ โจฮันส์ แทรมเปอร์ ร่วมกันเสนอรายงานตีพิมพ์ใน Science & Society เห็นด้วยกับเทคโนโลยีผลิตเนื้อดังกล่าว เนื่องจากพวกเขาสนับสนุนสวัสดิภาพสัตว์ ขณะที่สถานการณ์ด้านการผลิตอาหารในรูปแบบปกติมีเสถียรภาพน้อยลง ทั้งยังพิสูจน์แล้วว่าการผลิตเนื้อในแล็บสามารถลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์จริงๆ แต่ปัญหาอาจอยู่ที่ว่า เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้ที่มาของมัน พวกเขาจะยังอยากรับประทานมันอยู่หรือไม่ ฟาน เดอร์ วีล กล่าวว่าเธอเป็นห่วงเรื่องความเป็นธรรมชาติของเนื้อที่ได้หากไม่ได้ผ่านกระบวนการบด แต่เสริมว่าเทคโนโลยีนี้ก็สามารถเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการรายย่อยหรือระดับชุมชนได้ แม้จะถือว่าเป็นเนื้อจริง ไม่ใช่เนื้อสังเคราะห์ แต่ความกระอักกระอ่วนและตะขิดตะขวงใจสำหรับผู้บริโภคอาจเกิดขึ้นทันที หากเนื้อจากห้องแล็บเหล่านี้ไม่ได้ถูกบดหรือแปรรูปมาเป็นอาหารเรียบร้อยแล้ว เพราะเท่าที่ผ่านมา เบอร์เกอร์ที่ทำจากเนื้อเทียมนั้น ถูกปรุงรสด้วยเกลือ ไข่ แป้ง และใช้หญ้าฝรั่นในการแต่งสี ให้ดู ‘คล้าย’ เนื้อจริง
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิจัยด้านเนื้อเยื่อจากมหาวิทยาลัยมาสทริกท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เปิดตัวชิ้นเนื้อ ซึ่งเกิดจากการเพาะเนื้อเยื่อในห้องแล็ปเป็นครั้งแรกของโลก

ศาสตราจารย์มาร์ก โพสต์ และทีมนักวิจัยอธิบายว่า ชิ้นเนื้อนี้เกิดจากการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์จากไขกระดูก ให้กลายเป็นชิ้นเนื้อเล็กขนาดประมาณ 1 เซนติเมตรใช้เวลาราว 3 สัปดาห์ ก่อนจะเอาชิ้นเนื้อเล็กๆนี้มาเรียงกันเป็นเนื้อ ขณะที่เชฟ ริชาร์ด แมคโกวาน ผู้ปรุงเบอร์เกอร์จากเนื้อชิ้นนี้กล่าวว่าเนื้อชิ้นไมได้มีสีแดงธรรมชาติเหมือนชิ้นเนื้อทั่วไป แต่ผสมสีจากบีทรูท แต่งรสชาติด้วยคาราเมล ขนมปังป่น และแซฟฟรอน ก็จะได้รสชาติที่ใกล้เคียงกับเนื้อจริงๆ สำหรับการทดลองเพาะสเต็มเซลล์เนื้อสัตว์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางออกต่อการขาดแคลนอาหารในอนาคต ทั้งยังลดปริมาณการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร อีกทั้งเนื้อที่เพาะขึ้นนี้ ยังปราศจากสารก่อมะเร็งด้วย


พิสูจน์เนื้อสเต็มเซลล์ให้สัมผัสใกล้เคียงของจริง นักวิจัยทดลองปรุงเบอร์เกอร์ด้วยเนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงจากห้องปฏิบัติการ นักวิจารณ์ชิมแล้วได้รสชาติใกล้เคียงเนื้อวัวจริง เนื้อวัวสังเคราะห์นี้ผลิตโดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากวัว ด้วยงบวิจัยถึง 332,000 ดอลลาร์ (ราว 9.9 ล้านบาท) ตลอดระยะเวลา 5 ปี นักวิจัยได้ทดลองนำเนื้อมาปรุงเป็นเบอร์เกอร์ทรงกลมด้วยเครื่องปรุงและส่วนผสมที่ใช้ทั่วไป เมื่อลองให้นักชิมทดลองลิ้มรสต่อหน้านักข่าวก็ได้ความว่าเบอร์เกอร์เนื้อที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้ให้สัมผัสใกล้เคียงของจริง
นักวิจัยยอมรับว่าโครงการนี้อาจต้องใช้เวลาอีกราว 20 ปีกว่าที่จะผลักดันให้เนื้อสเต็มเซลล์สามารถไปวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาหารสำหรับนักบินอวกาศ รวมถึงลดการพึ่งพาเนื้อจากปศุสัตว์ ซึ่งอาจนำไปสู่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจจากการที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์เริ่มเดินมาถึงขีดจำกัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่