??เนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ??

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

The Strange Science of the Impossible Burger


1.
เนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการไม่ใช่คำตอบ
ในการแก้ไขปัญหาเรื่องโปรตีน

ในโลกที่ยังเต็มไปด้วยโปรตีนทางเลือกมากมาย
เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองห้องปฏิบัติการ
จะคุ้มค่ากับการตอบโจทย์ปัญหานี้หรือไม่

ประมาณการ 14.5% ของภาวะก๊าซเรือนกระจกมาจากการเลี้ยงปศุสัตว์
แต่ถ้ามนุษย์สามารถกินเนื้อเบอร์เกอร์โดยไม่ต้องใช้เนื้อจากแม่วัวพ่อวัวได้จริงหรือไม่

เมื่อตอนที่ Mark Post
ได้สร้างเนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากห้องปฏิบัติการครั้งแรกในปีค.ศ. 2013
เหมือนชิ้นขนมพาย (รสชาติไม่ฉ่ำจากผู้ทดสอบรายหนึ่ง)
แต่มีราคาถึง 330,000 ดอลล่าห์ (9,900,000 บาท)
ขณะที่ราคา Frankenburger เนื้อเกรดพิเศษ
รสชาติอร่อยกว่าราคาอยู่ที่ 12 ดอลลาห์ (360 บาท)

2.
.
แม้ว่าจะมีพวก Startup บางคนจะคุยโวโอ้อวดว่า
เนื้อวัวประดิษฐ์ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมานี้
อีกหน่อย จะวางขายบนชั้นสินค้า
ภายในห้างสรรพสินค้าได้ในเวลาอีกไม่กี่ปี

พืชจะเป็นแหล่งโปรตีนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แต่อย่างน้อยเนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
จะมีความยั่งยืนมากกว่าเนื้อวัวที่ได้จากธรรมชาติได้หรือไม่

แต่น่าจะมีวิธีประมาณการบางอย่าง
ถึงการใช้ประโยชน์ในจาก
ที่ดิน น้ำ ไฟฟ้า และการปล่อยมลพิษ

ขนาดสนามฟุตบอล 1/5

การผลิตเนื้อจากห้องปฏิบัติการจำนวน 1 ต้นใช้เนื้อที่ดินไม่มาก
ตามรายงานวิจัยของ Hanna Tuomisto กับ Avijit Roy
แค่พื้นที่ขนาด 2.6 เท่าที่มากกว่าขนาดสนามฟุตบอล
จะสามารถผลิตโปรตีนจาก Fava Kidney beans
หรือ Black bean ได้เป็นจำนวนมาก
พืชเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน
ด้วยการเก็บกักสารอาหารในดิน
เรียกว่าประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าเดิม

ตู้เย็น 29,239 ตู้

ความต้องการพลังงานในการผลิตเนื้อขนาดหนึ่งตันในห้องปฏิบัติการ
ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเมืองเล็ก ๆ ทั้งเมืองที่ใช้ไฟฟ้าได้ทั้งปี
ซึ่งนำไฟฟ้าไปใช้ในตู้เย็นได้มากถึง 10,000 ตู้
มากกว่าการแช่เย็นเนื้อวัวตามธรรมชาติขนาดหนึ่งตัน

แม้กระทั่งถั่วที่ปลูกขึ้นในไร่นา
ยังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าเนื้อวัวประดิษฐ์
เพียงแค่ใช้ไฟฟ้าจากตู้เย็น
จำนวน 1,500 ตู้เท่านั้นในการรักษาคุณภาพถั่ว

ก๊าซหุงต้ม 409 ถัง

เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
จะเป็นตัวการแข่งขันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งตอนนี้การผลิตเนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการขนาด 1 ตัน
ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า
1 ใน 10 ของเนื้อวัวตามธรรมชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แต่จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับ
การผลิต ถั่วเหลือง หรืออาหารมังสวิรัติ
ในทำนองกลับกันผลิตภัณฑ์  เช่น เต้าหู้
เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ที่นำไปแปรรูปต่อไป
ก็จะเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเช่นกัน

ชักโครกห้องน้ำ 446,000 ครั้ง

เนื้อวัวเพาะเลี้ยงจะต้องใช้น้ำถึง
713,265 แกลลอน (2,700,001.74 ลิตร)
มากกว่าคนทั่วไปใช้น้ำถึง 375 เท่า
เทียบกับคนเราใช้ในห้องน้ำเป็นประจำทุกปี
(คนทั่วไปจะใช้น้ำวันละ 200 ลิตรหรือปีละ 720,000 ลิตร
ถ้าชักโครกก็ราววันละ 20 ลิตรหรือปีละ 7,200 ลิตร)
โปรตีนจากวัวเลี้ยงขนาด 1 ตัน
จะใช้น้ำหมุนเวียนถึง 16 ล้านแกลลอน

การที่แหล่งน้ำมีจำนวนน้อยลง
เพราะการทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่
จะใช้น้ำแบบไม่บันยะบันยัง
เพราะส่วนใหญ่ไม่มีต้นทุน/ค่าน้ำแต่อย่างใด

เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง
จะใช้น้ำคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับการผลิตถั่ว

3.
หมายเหตุ

มีคนตั้งข้อสังเกตว่า การผลิตแมลงเป็นแหล่งโปรตีน
อาจจะช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะและก๊าซเรือนกระจกได้

แต่การผลิตเนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ
อาจจะต้องผลิตจำนวนและปริมาณมากจริง ๆ
จึงจะได้ประหยัดจากขนาด Economique of Scale
แบบการพิมพ์หนังสือจำนวนมาก ผลิตสินค้าจำนวนมาก ๆ
จะดึงค่าใช้จ่ายประจำ/คงที่ลดลง
เหลือแต่ค่าใช้จ่ายแปรผันเพียงส่วนเดียว
แต่ปัญหาในตอนนี้คือ ยังไม่รู้ว่ากำลังผลิตจะต้องมีขนาดไหน
จะทำการตลาดอย่างไร และตั้งราคาขายอย่างไร
จึงจะเหมาะสมและถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วที่สุด

มีผู้รู้บอกว่า ถ้าคืนทุนเร็วจริง
ปานนี้จึนคงจะผลิตขายแล้ว

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2WxvcLz
https://bit.ly/3dJ55qH




4.

5.

6.

7.

8.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่