ควรแล้วหรือ ที่หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข ยังมีการจ้างแรงงานที่เป็นบุคคลธรรมดาคนไทยแบบจ้างเหมาบริการ

ยังคงรู้สึกขัดแย้งในใจลึกๆ กับงานบริการในโรงพยาบาลที่ทำอยู่
      หลายๆครั้งเรา concern เกี่ยวกับสิทธิ์ ของแต่ละคนที่มารับบริการที่โรงพยาบาล
แต่เราและทีมงานเราเองใช่ว่าจะได้รับสิทธิ์อันชอบธรรมตามกฏหมายแรงงาน
สำหรับการมาใช้แรงงานเพื่อแลกกับค่าตอบแทนที่เป็นเงินเดือน ในสถานที่ราชการอันทรงเกียร์ติแห่งนี้เลย  
พ่อแม่เราทุกๆคนคาดหวังว่าลูกๆ โชคดีได้มาทำงานในโรงพยาบาล เพราะนอกจากการได้มีส่วนร่วมกับข้าราชการ
นักวิชาการผู้ทรงเกียร์ติทั้งหลายได้ทำบุญกับคนไข้ กับคนป่วย ที่มารับการรักษาที่นี่ แล้ว เรายังอยู่ในสถานที่ที่เป็นเสมือนโรงบำบัดทุกข์บำรุงสุข

แต่พวกเรารู้สึกทุกข์เหลือเกิน ที่สถานที่แห่งนี้ไม่ได้หวงแสนสิทธิ์ ปกป้องสิทธิ์ หรือส่งเสริมสิทธิขั้นพื้นฐานของการใช้แรงงานของพวกเราเลย
แถมยังผลักไสให้พวกเราออกจากความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม ริดรอนสิทธิที่พวกเราพึงจะได้รับ ในฐานะแรงงานไทย

หลายๆครั้งเราเรียกร้องสิทธิ  เรียกร้องให้นำกฏหมายแรงงานมาคุ้มครองการใช้แรงงานของพวกเรา
แต่ก็ถูกเพิกเฉย มันน่าหดหู่ใจยิ่งนัก กับหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ที่มียุทธศาสตร์สำคัญในการดูแลส่งเสริมทุกกลุ่มวัย #วัยเด็ก #วัยแม่และเด็ก #วัยทำงาน #วัยสูงอายุ
ดูเหมือนยุทธศาสตร์จะทะลุเป้าประสงค์ทุกประการได้รับรางวัล โล่ห์เกียร์ติยศเชิดชูสง่างามเป็นประจักษ์แก่คนทั้งประเทศ  
แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เราว่าสถานที่อันทรงเกียร์ติแห่งนี้สมควรที่จะตกประเมิน ด้วยเหตุผลเพียงข้อเดียว คือ
คุณบกพร่องต่อยุทธศาสตร์ของกรมฯ  กล่าวคือ ขณะที่ยุทธศาสตร์หลักขององค์กร คือ การส่งเสริมสุขภาพของทุกกลุ่ม
แต่กลุ่มวัยทำงาน ที่มีมากถึง 40ชีวิต (ถ้ารวมทุกหน่วยงานในสังกัดในหน่วยงานที่กระจายทั่วทั้งประเทศ น่าจะมีมากถึง 300-500คน )ที่คอยขับเคลื่อนงานให้องค์กร กลับถูกคุณริดรอนสิทธิ์
นำกฏหมายและระเบียบที่ไม่เป็นธรรมกับพวกเขา มาใช้กับพวกเขา ทั้งๆที่องค์กรนี้มีนิติกรที่รู้กฏหมาย มีนักวิชาการ มีแพทย์ ที่รู้ทั้งกฏหมายและระเบียบต่างๆ  ทุกๆครั้งที่พวกเราเรียกร้องสิทธิ์พื้นฐานมักจะถูกเพิกเฉย แล้วอ้างว่าระเบียบไม่เอื้อต่อสิทธิ์

แม้เราจะยกเหตุและผล และเรียกร้องให้ใช้กฏหมายแรงงานและพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน
ก็ไม่ได้รับการตอบสนองเปลี่ยนแปลง แก้ไขใดๆ ให้พวกเราเลย

ท่านครับท่านทราบหรือไม่ว่า #ระเบียบพัสดุ ไม่ได้คุ้มครองความเป็นมนุษย์ ไม่ได้คุ้มครองสิทธิการใช้แรงงานของพวกเราเลย
พวกเราไม่ได้เรียกร้องให้โรงพยาบาลหรือกรมฯหรือกระทรวงสาธารณสุขดูแลพวกเราเป็นพิเศษที่มาทำงานในสถานพยาบาลรัฐบาล
แต่พวกเราต้องการความคุ้มครองจากกฏหมายแรงงาน ให้พวกเรามีวันหยุด วันลา ตามสิทธิ์ของแรงงานไทย
เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองดูแลจาก ประกันสังคม ตามสิทธิที่พวกเราพึงจะได้รับ ท่านคือนายจ้างของพวกเรา
เป็นนายจ้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ท่านก็เป็นข้าราชการที่ปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนไม่ใช่หรือ
ท่านเอาธรรมะมาปฏิบัติในองค์กร ท่านเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาในองค์กร นั่นคือ การนำองค์พระสัมมาพุทธเจ้าและแนวทางวิถีพุทธมาใช้ในองค์กร ซึ่งทุกๆครั้งเรามักจะได้ยินคำกล่าวที่ท่านพูดเสมอๆว่า องค์กรเราเป็นองค์กรธรรมาภิบาล

เป็นธรรมแล้วหรือ ที่ใช้ระเบียบพัสดุ ระเบียบซึ่งใช้กับคน สัตว์ สิ่งของ ที่เป็นเอกชน เป็นห้างหุ้นส่วน เป็นนิติบุคคล
ซึ่ง แรงงานที่อยู่ในเอกชน ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลเหล่านั้นถูกคุ้มครองภายใต้กฏหมายแรงงานอยู่แล้ว


มันน่าหดหู่ใจยิ่งนัก เพราะ 40ชีวิตไม่ได้มีสิทธ์ใดๆแม้จะทำงานในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่ขณะที่แม่บ้านทำความสะอาดแรงงานต่างด้าวได้รับสิทธิความคุ้มครองจากกฏหมายแรงงาน ภายใต้การประกันสังคมที่นายจ้างต้องสมทบเพื่อสิทธิพื้นฐานของแรงงาน  แต่ทำไมท่านเป็นนายจ้างพวกเรา ท่านไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้เลยย

อ้าวเฮ้ย...แบบนี้ก็ได้หรอ???? หน่วยงานราชการทำแบบนี้ก็ได้หราาา? จะเล่าให้ฟ้งคร่าวๆ
เมื่อ 10ปีที่แล้ว มีนโยบายลดภาระงานหน่วยงานราชการ โดยให้ #เอกชน เข้ามาดำเนินการแทน ex.งานทำความสะอาด งานตัดแต่งกิ่งไม้ งานทาสีโรงพยาบาล ฯ โดยจ้างออกมาในรูปแบบของ การจ้างเหมางาน (จ้างเหมาเอกชนให้มาทำงานเหล่าแทน) เอกชนในที่นี้ หมายถึง บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้า
ทีนี้กลุ่มคนที่ใช้แรงงานกลุ่มหนึ่ง เป็นบุคคลธรรมดาถูกผลักให้เข้าไปอยู่อยู่ในกลุ่มจ้างเหมา ถูกเรียกว่า #จ้างเหมาบริการ ถูกบังคับให้ทำสัญญาโดยใช้ระเบียบพัสดุ  ถูกผลักออกจากความคุ้มครองภายใต้กฏหมายแรงงาน เสียสิทธิ์จาก พรบ.ประกันสังคม
เกิดข้อร้องเรียนต่างๆในหน่วยงานราชการ ทราบถึงระดับกระทรวง ทบวง กรม มีการนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา ทำให้หน่วยงานราชการบางแห่ง รีบทำหนังสือเวียนเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจ้างงาน  โดยในหนังสือเวียนระบุชัดเจน ว่า การจ้างงานต้องชัดเจน ใช้แรงงานก็ต้องจ้างด้วยระเบียบกฏหมายแรงงาน  

จากหนังสือเวียน สธ 0201.034/ว 60 วันที่ 23 สิงหาคม 2553
เรื่อง  การจ้างการเอกชนดําเนินงาน
เรียน อธิบดีกรมทุกกรม  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการสํานัก  
        ผู้อํานวยการกลุ่ม  ผู้อํานวยการกองทุกแห่งในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
          
        ด้วยกระทรวงการคลัง   โดยหนังสือด่วนมาก ที่ กค0406.4/ว67 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม2553  ได้แจงหลักเกณฑ์การจ้างเอกชนดําเนินงาน
เพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ   เนื่องจากพบว่ามีส่วนราชการหลายแห่งได้ดําเนินการจ้างเอกชน  ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามาปฏิบัติงานในลักษณะ
เช่นเดียวกับการจ้างแรงงาน  และมีประเด็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของผู้รับจ้างในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ จึงกําหนดหลักเกณฑ์การจ้างเอกชนดําเนินงาน  เพื่อให้ส่วนราชการสามารถดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้อย่างถูกต้อง  ดังรายละเอียดตามหนังสือที่แนบมาพร้อมนี้


                            จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไปด้วยจะเป็นพระคุณ
                                             ลงชื่อ  นายไพจิตร์  นราชิต
                                              ปลัดกระทรวงสาธารณสุข


(จากหนังสือเวียนที่พยายามพิมพ์ มา  เพราะครอปรูป แนบรูป ไม่เป็น)
จะเห็นได้ว่ามีการแทงหนังสือเวียนถึง อธิบดีกรมทุกกรม  เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการสํานัก  ผู้อํานวยการกลุ่ม  ผู้อํานวยการกองทุกแห่งในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
          นั้นหมายถึง เจตนาของหนังสือฉบับนี้ต้องการให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขแก้ไข ปรับปรุง ระเบียบการจ้างให้เหมาะสม การจ้างแบบไหนใช้ระเบียบพัสดุ การจ้างแบบไหนเป็นการจ้างแรงงาน หลายๆหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขได้แก้ไขเพื่อสิทธิของพนักงานและลูกจ้าง แต่ยังมีบางหน่วยงานที่ อ้างเพียงแต่ระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ

อยากให้จะขอพลังโซเชียลช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะ.......
บางคนทำงาน ในนี้ 10 กว่าปีก็ยังไร้สิทธิ์ ไร้ความคุ้มครอง
บางคนต้องถูกผลักให้ออกไปประกันตนเอง ทั้งๆที่ มีโรงพยาบาลเป็นนายจ้าง
บางคนจะคลอดลูกก็ไม่มีสิทธิ์ใดๆควรได้รับความคุ้มครองจาก พรบ.ประกันสังคมในฐานะที่มีโรงพยาบาลเป็นนายจ้างและสมควรสมทบกองทุนประกันสังคมเพื่อสิทธิของพนักงาน
บางคน เป็นบุคคลธรรมดา เงินเดือนเกิน 15000 ก็ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะเสมือนว่าตัวเองเป็นเอกชนมาทำสัญญากับโรงพยาบาลด้วยระเบียบพัสดุ ทั้งๆ บุคคลธรรมดาที่รายได้ไม่ถึง ตามที่รัฐกำหนดก็ไม่ต้องเสียภาษี

 
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เท่าที่จับใจความได้คือ
โรงพยาบาลจ้างเหมาบริษัทเอกชน เข้าไปทำงานบริการบางอย่าง เช่น งานทำความสะอาด ตัดกิ่งไม้ ทาสี ฯลฯ
บริษัทเอกชนส่งลูกจ้าง(ของบริษัท)เข้ามาทำงานที่รับเหมามาจากโรงพยาบาล  
จขกท.เป็นลูกจ้าง(ของบริษัท) ที่มาทำงานในโรงพยาบาล

จขกท.เข้าใจว่าถูกควบคุมโดยระเบียบพัสดุ
.................................................................
ลูกจ้างของโรงพยาบาล(รายวัน ชั่วคราว) จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ข้าราชการ ของโรงพยาบาล ก็เป็นไปตามระเบียบราชการ

จขกท. น่าจะเป็นลูกจ้างของบริษัท ไม่ใช่ลูกจ้างโรงพยาบาล ลูกจ้างจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานทุกประการ
การหักเงินประกันสังคมต่างๆ นายจ้าง(บริษัท) เป็นคนดำเนินการ
การควบคุมการทำงาน ก็เป็นเรื่องของบริษัท ไม่ใช่อำนาจหน้าที่โรงพยาบาล

โรงพยาบาล กับนายจ้าง เท่านั้นที่ผูกพันกันด้วยสัญญาจ้างเหมาบริการ
โรงพยาบาลเท่านั้น ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบพัสดุ  เช่น การจัดหาผู้รับจ้าง จ่ายค่าจ้าง ตรวจรับการจ้าง ฯลฯ
การจ่ายเงินค่าจ้าง โรงพยาบาลต้องจ่ายให้ถูกต้องตามระเบียบพัสดุ เพราะ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดีน จะมาตรวจประจำปีว่าการจ่ายเงินของรัฐ(โรงพยาบาลเป็นไปตามระเบียบหรือไม่)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่