มูลนิธิชีววิถี เผย ญี่ปุ่นยื่นขอจดสิทธิบัตรอนุพันธ์ของสารสกัด Mitragynine จากใบกระท่อมของไทย ทั้งการผลิตและการนำไปรักษาในคนและสัตว์เพิ่มทั่วโลกรวมไทยด้วย พร้อมผลกระทบต่อไทย
เป็นเรื่องที่เริ่มตื่นตัวกันมาบ้างแล้ว สำหรับกรณีที่กลุ่มนักวิจัยญี่ปุ่นได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทยศึกษาวิจัยประโยชน์จากใบกระท่อม ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่มีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต โดยจากการวิจัยพบว่าสารกลุ่มอัลคาลอยด์ Mitragynine จากใบกระท่อมมีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวดดีกว่าเมอร์ฟีนเพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งญี่ปุ่นได้ยื่นเสนอจดสิทธิบัตรอนุพันธ์ของสารสกัด Mitragynine จากใบกระท่อมในกระบวนการผลิตยาและการนำไปใช้รักษาโรคในคนและสัตว์ ผ่านสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) เพื่อให้มีผลในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าว 117 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่งผลไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนายานั้น
ล่าสุด (5 กันยา 2559)
เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถี ได้เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรอะไรจากกระท่อมบ้าง โดยจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านใดบ้างดังนี้
1. สิทธิบัตรดังกล่าวจะไม่กระทบกับการปลูกและการนำใบกระท่อมมาใช้ในรูปแบบใบสด หรือ การแปรรูปเบื้องต้น เช่น การตากแห้ง, บด, ป่น และ ต้ม เป็นต้น แต่มีจะมีผลกระทบกับการวิจัยเพื่อต่อยอดการใช้สาร Mitragynine ที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยชิบะและมหาวิทยาลัยโจไซ ของญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรไว้ ทั้งตัวสารและกระบวนการผลิตสารกลุ่มดังกล่าว
2. สิทธิบัตรดังกล่าวจะกระทบในเรื่องการแปรสภาพใบกระท่อมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจมีกลุ่มอนุพันธ์ของ Mitragynine ที่ญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรไว้
3. ผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยหากญี่ปุ่นมิได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่พบว่าขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าวให้มีผลต่อประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกผ่าน PCT
4. แม้สิทธิบัตรนี้ไม่ได้เป็นการจดสิทธิบัตร Mitragynine หรือ 7-hydroxymitragynine ที่สกัดจากใบกระท่อมโดยตรง แต่เป็นการใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยแล้วนำไปต่อยอด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางที่กฎหมายระหว่างประเทศ "อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ" ได้กำหนดไว้ ได้แก่
- การขออนุญาตเข้าถึง (Prior Informed Consent)
- ความตกลงร่วมกัน (Mutually Agreed Terms)
- การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (Access and Benefit Sharing) เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการของกลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่นในกรณีนี้จึงเข้าข่ายการกระทำที่เรียกว่า "โจรสลัดชีวภาพ" ที่ละเมิดความตกลงระหว่างประเทศและจริยธรรมการวิจัยระหว่างประเทศ
อย่างก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรดังกล่าวในสหรัฐฯ และได้มีการอนุมัติแล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ที่ปรึกษาวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา ว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในการการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีแยกส่วนไปอยู่ใน พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2542 พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 โดยเป็นกฎหมายลำดับรอง ไม่มีประสิทธิผลในการบังคับใช้ ดังนั้นปัจจุบันหากใครมารวบรวมทรัพยากรทางชีวภาพไปศึกษาวิจัยก็สามารถทำได้ เราไม่มีกฎหมายบังคับว่าเมื่อศึกษาแล้วนำไปจดสิทธิบัตรไม่ได้
ภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สำนักข่าวอิศรา ,
เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/141742
ตีแผ่ ! ไทยเสียประโยชน์อะไรบ้าง หลังญี่ปุ่นขอจดสิทธิบัตรใบกระท่อมครอบคลุมทั่วโลก
มูลนิธิชีววิถี เผย ญี่ปุ่นยื่นขอจดสิทธิบัตรอนุพันธ์ของสารสกัด Mitragynine จากใบกระท่อมของไทย ทั้งการผลิตและการนำไปรักษาในคนและสัตว์เพิ่มทั่วโลกรวมไทยด้วย พร้อมผลกระทบต่อไทย
เป็นเรื่องที่เริ่มตื่นตัวกันมาบ้างแล้ว สำหรับกรณีที่กลุ่มนักวิจัยญี่ปุ่นได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยไทยศึกษาวิจัยประโยชน์จากใบกระท่อม ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่มีการใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีต โดยจากการวิจัยพบว่าสารกลุ่มอัลคาลอยด์ Mitragynine จากใบกระท่อมมีฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวดดีกว่าเมอร์ฟีนเพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ซึ่งญี่ปุ่นได้ยื่นเสนอจดสิทธิบัตรอนุพันธ์ของสารสกัด Mitragynine จากใบกระท่อมในกระบวนการผลิตยาและการนำไปใช้รักษาโรคในคนและสัตว์ ผ่านสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (PCT) เพื่อให้มีผลในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าว 117 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่งผลไทยสูญเสียโอกาสในการพัฒนายานั้น
ล่าสุด (5 กันยา 2559) เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถี ได้เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรอะไรจากกระท่อมบ้าง โดยจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านใดบ้างดังนี้
1. สิทธิบัตรดังกล่าวจะไม่กระทบกับการปลูกและการนำใบกระท่อมมาใช้ในรูปแบบใบสด หรือ การแปรรูปเบื้องต้น เช่น การตากแห้ง, บด, ป่น และ ต้ม เป็นต้น แต่มีจะมีผลกระทบกับการวิจัยเพื่อต่อยอดการใช้สาร Mitragynine ที่นำมาใช้ประโยชน์ทางยาในรูปแบบต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยชิบะและมหาวิทยาลัยโจไซ ของญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรไว้ ทั้งตัวสารและกระบวนการผลิตสารกลุ่มดังกล่าว
2. สิทธิบัตรดังกล่าวจะกระทบในเรื่องการแปรสภาพใบกระท่อมไปใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจมีกลุ่มอนุพันธ์ของ Mitragynine ที่ญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรไว้
3. ผลกระทบจะไม่เกิดขึ้นกับประเทศไทยหากญี่ปุ่นมิได้จดสิทธิบัตรในประเทศไทย แต่พบว่าขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังยื่นขอจดสิทธิบัตรดังกล่าวให้มีผลต่อประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกผ่าน PCT
4. แม้สิทธิบัตรนี้ไม่ได้เป็นการจดสิทธิบัตร Mitragynine หรือ 7-hydroxymitragynine ที่สกัดจากใบกระท่อมโดยตรง แต่เป็นการใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศไทยแล้วนำไปต่อยอด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางที่กฎหมายระหว่างประเทศ "อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ" ได้กำหนดไว้ ได้แก่
- การขออนุญาตเข้าถึง (Prior Informed Consent)
- ความตกลงร่วมกัน (Mutually Agreed Terms)
- การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (Access and Benefit Sharing) เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการของกลุ่มนักวิจัยจากญี่ปุ่นในกรณีนี้จึงเข้าข่ายการกระทำที่เรียกว่า "โจรสลัดชีวภาพ" ที่ละเมิดความตกลงระหว่างประเทศและจริยธรรมการวิจัยระหว่างประเทศ
อย่างก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรดังกล่าวในสหรัฐฯ และได้มีการอนุมัติแล้ว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ควรพจน์ ที่ปรึกษาวิจัย สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา ว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในการการคุ้มครองทรัพยากรชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีแยกส่วนไปอยู่ใน พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2542 พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 โดยเป็นกฎหมายลำดับรอง ไม่มีประสิทธิผลในการบังคับใช้ ดังนั้นปัจจุบันหากใครมารวบรวมทรัพยากรทางชีวภาพไปศึกษาวิจัยก็สามารถทำได้ เราไม่มีกฎหมายบังคับว่าเมื่อศึกษาแล้วนำไปจดสิทธิบัตรไม่ได้
ภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
สำนักข่าวอิศรา , เพจเฟซบุ๊ก BIOTHAI
ข่าวจาก : กระปุกดอทคอม
http://hilight.kapook.com/view/141742