จีนมักง่ายคิดจะก็อปของไทยวิทยาศาสตร์​จีนพบทุเรียน​ไทคุณ​ค่าสูงกว่าจีน

กระทู้คำถาม
นักวิทยาศาสตร์พบ ทุเรียนจีนมีสารต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าทุเรียนไทยลิบลับ
 
The Opener
23 Dec 2024
 
 
นักวิจัยจีนพบ ทุเรียนที่ปลูกและโตบนเกาะไหหลำของจีน มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่น้อยมาก หรือไม่มีอยู่เลย ขณะที่ทุเรียนนำเข้าจากไทยสมบูรณ์ไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยไห่หนานของจีน ทำการศึกษาโครงสร้างสารอาหารของทุเรียนที่ปลูกและโตบนเกาะไหหลำ พบว่า ทุเรียนที่โตในจีนมีโครงสร้างของสารอาหารที่ต่างไปจากทุเรียนที่โตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบว่า ทุเรียนหมอนทองที่โตในจีน ไม่มี “เควอซิทิน” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่เลย ขณะที่ทุเรียนหมอนทองที่โตในประเทศไทยมีเควอซิทินในปริมาณที่สูงมาก
นักวิจัยพบว่า มีทุเรียนสายพันธุ์เดียวในเกาะไหหลำที่พบว่ามี เควอซิทิน คือ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว แต่พบในปริมาณที่ต่ำกว่าทุเรียนก้านยาวที่นำเข้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 520 เท่า ขณะที่ทุเรียนหมอนทองในเกาะไหหลำ พบว่า มีเควอซิทินต่ำกว่าทุเรียนหมอนทองที่นำเข้าจากไทยถึง 540,000 เท่า
นักวิจัยพบด้วยว่า ไม่พบ “กรดแกลลิก” อยู่ในทุเรียนก้านยาวของจีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติลดอาการอักเสบและต้านมะเร็ง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่มีก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกัน พบว่า ระดับของกรดแกลลิกในทุเรียนหมอนทองของจีน “อยู่ในระดับต่ำกว่ารายงานการศึกษาก่อนหน้านี้อย่างมีนัยสำคัญ”
การศึกษาทุเรียนนำเข้าจากประเทศไทยเมื่อปี 2008 รายงานว่า พบกรดแกลลิก 2,072 ไมโครกรัมต่อทุเรียนหมอนทอง 100 กรัม ซึ่งสูงกว่าทุเรียนหมอนทองที่ปลูกในจีนถึง 906 เท่า ซึ่งพบว่ามีปริมาณกรดแกลลิกเพียง 22.85 นาโนกรัม  
เจิ้ง จิง หัวหน้าทีมวิจัย จากคณะวิทยาศาสตร์การเกษตรไห่หนานกล่าวว่า สาเหตุเกิดจากความแตกต่างของสภาพอากาศ และแร่ธาตุ รวมถึงสารอาหารในดินที่ส่งผลต่อการสะสมสารอาหารต่างๆ ในระหว่างกระบวนการเติบโตของทุเรียน
การศึกษาดังกล่าว เผยแพร่ในวารสารอุตสาหกรรมอาหารเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2024 นักวิจัยกล่าวว่า พบสารต้านอนุมูลอิสระในทุเรียน 3 สายพันธุ์ที่ทำการศึกษา ได้แก่ หมอนทอง ก้านยาว และมูซังคิง ซึ่งนิยมปลูกในมาเลเซีย โดยพบว่ามีโปรไซยานิน บี 1, แคทีชิน และเควอซิทิน
“ผลการศึกษา ชี้ว่า ในบรรดาทุเรียนสามสายพันธุ์ ทุเรียนก้านยาว มีสารต้านอนุมูลอิสระเข้มข้นที่สุด” นักวิจัยกล่าว
จีน เป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยร้อยละ 95 ของผลผลิตทุเรียนที่ส่งออกทั่วโลกถูกซื้อโดยจีน ในปี 2018 จีนจึงเริ่มการปลูกทุเรียนในพื้นที่ขนาดใหญ่บนเกาะไหหลำ ซึ่งเป็นที่แห่งเดียวที่มีสภาพอากาศแบบเขตร้อน ซึ่งสามารถปลูกทุเรียนได้
นักวิจัยกล่าวว่า ทุเรียน เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง รวมถึงโปแทสเซียม ไฟเบอร์ และสารอาหารอื่นๆ แต่ต่างจากผลไม้อื่นๆ เนื่องจากทุเรียนมีไขมันสูง
นอกจากนี้ การศึกษายังมุ่งเป้าไปที่โพลีฟีนอล สารประกอบตามธรรมชาติที่อยู่ในพืช ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
นักวิจัยพบสารประกอบโพลีฟีนอล 26 ชนิดในทุเรียนหมอนทอง ส่วนทุเรียนก้านยาว พบ 19 ชนิด มูซังคิง พบ 22 ชนิด และยังพบสารประกอบอื่นๆ อีก 18 ชนิดที่ต่างกัน
จางกล่าวว่า ผลลัพธ์นี้ยังไม่ใช่ตัวแทนของทุเรียนทั้งหมดที่ปลูกในเกาะไหหลำ และทุเรียนที่นำมาศึกษาเป็นตัวอย่างจากสวนเพียงแห่งเดียว ซึ่งต้องมีการเก็บตัวอย่างของทุเรียนจากพื้นที่อื่นๆ บนเกาะไหหลำมาทำศึกษาเพิ่มเติม
ทีมวิจัยยังตั้งเป้าที่จะระบุถึงสารอาหารที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพ เช่น สารที่จะช่วยบำรุงรังไข่ ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้เผยว่า ทุเรียนสามารถช่วยรักษาอาการเป็นหมันในกลุ่มคนที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบได้

ที่มา
https://theopener.co.th/2024/12/23/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
Scientists find key nutrient missing in China-grown durian
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่