คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นมหากาพย์ดราม่ามานานสำหรับพืชท้องถิ่นดั้งเดิมที่กินกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายกับกฏหมายไทย จริงๆแล้วใบกระท่อมมีสรรพคุณทางยาหลายอย่างครับ แต่เมื่อกินไปนานๆก็จะเกิดอาการเสพติดขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าปลุกแค่บ้านละต้นและนำมาใช้ประโยชน์ทางยาจริงดังที่กระทู้ว่าผมเองก็สนับสนุนและรับได้ แต่เราจะควบคุมมันได้หรือนั่นคือประเด็นที่เราต้องการคำตอบ เพราะมีการนำมาทำส่วนผสมอย่างอื่นที่ไม่เน้นทางยาแล้ว แต่เน้นทำเป็นสารกระตุ้น และสารเสพติดแทนอย่างที่เห็นๆก็คือเจ้าสี่คูณร้อยนี่แหละครับ
สารเสพติดชนิด 4 คูณ 100 ประกอบด้วย ใบกระท่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงและน้ำอัดลม วิธีผสมยา คือ นำเอาใบกระท่อมมาต้มแล้วผสมกับยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงชนิดขด และน้ำอัดลม จนต่อมามีการพัฒนาสูตรเพิ่มสารฟลูออเรสเซนต์เป็นยาเสพติดสูตร 5 คูณ 100
สูตรของยาสี่คูณร้อย
ตัวประกอบมีห้าชนิดด้วยกัน คือ
1.ยาแก้ไอ ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นยาควบคุมการใช้ ที่ผู้ขายต้องมีใบอนุญาต และผู้ซื้อต้องซื้อตามใบสั่งของแพทย์ (แต่มีการลักลอบนำมาขายเป็นประจำในหมู่นักเสพ)
2.น้ำใบกระท่อม นำใบกระท่อมมาต้ม
3.ยากันยุงชนิดขด
4.น้ำอัดลมชนิดหนึ่งหรือยาเเก้ไอ
5.สารฟลูออเรสเซนต์
พิษของยาสี่คูณร้อย
ขึ้นชื่อว่าสิ่งเสพติดไม่มีคำว่าดีต่อสุขภาพอยู่เเล้ว ถึงเเม้ยาสี่คูณร้อยจะมีส่วนผสมของใบกระท่อม เเละยิ่งมีสูตรใหม่ที่มีการนำเอาสารฟลูออเรสเซนต์ เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วยเเล้วยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ สารชนิดนี้เมื่อโดนบาดแผลของเรา หรือเราโดนเศษแก้วจากหลอดไฟที่มีสารชนิดนี้บาด จะเป็นบาดแผลที่รักษาได้ยากมาก เเละหากเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร อาจจะถึงตายได้ โดยเฉพาะการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด เนื่องจากสารฟลูออเรสเซนต์ในหลอดไฟ รวมถึงสารในยากันยุงและกัมม็อกโซน มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือจะเป็นตัวเร่งให้สารเสพติดเข้าสู่กระแสเลือดและเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น จนส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมาได้ในไม่ช้า
เมื่อไม่กี่วันมานี้ก็พึ่งเกิดกรณีหนึ่งที่หน้ารามครับ วัยรุ่นเมายาสี่คูณร้อยแล้วปีนเข้าห้องสาวข้างห้องจากทางระเบียงหลังเพื่อหวังข่มขืน ผมว่าบวกลบคูณหารดูแล้วยังไงก็ยังขอสนับสนุนข้อกฏหมายไว้ก่อน ในส่วนของเจ้าหน้าที่หากพบเห็นชาวบ้านที่แค่เคี้ยวใบกระท่อมเพื่อไปกรีดยางหรือทำงานอื่นหนักๆ ผมก็คิดว่าเจ้าหน้าที่เขาดูออกครับว่าใครใช้เพื่อเป็นยาเป็นพืชสมุนไพรอาจมรการอะลุ่มอะหล่วยให้ตรงนี้อยู่แล้ว ส่วนใครที่ใช้เพื่อการเสพติดโดยเอามาผสมอะไรเข้าไปเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่เขาก็ดูออกไม่ยากครับ
ขออภัยที่ไม่ลงรูปประกอบให้ครับผม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสารเสพติด
สารเสพติดชนิด 4 คูณ 100 ประกอบด้วย ใบกระท่อม ยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงและน้ำอัดลม วิธีผสมยา คือ นำเอาใบกระท่อมมาต้มแล้วผสมกับยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงชนิดขด และน้ำอัดลม จนต่อมามีการพัฒนาสูตรเพิ่มสารฟลูออเรสเซนต์เป็นยาเสพติดสูตร 5 คูณ 100
สูตรของยาสี่คูณร้อย
ตัวประกอบมีห้าชนิดด้วยกัน คือ
1.ยาแก้ไอ ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นยาควบคุมการใช้ ที่ผู้ขายต้องมีใบอนุญาต และผู้ซื้อต้องซื้อตามใบสั่งของแพทย์ (แต่มีการลักลอบนำมาขายเป็นประจำในหมู่นักเสพ)
2.น้ำใบกระท่อม นำใบกระท่อมมาต้ม
3.ยากันยุงชนิดขด
4.น้ำอัดลมชนิดหนึ่งหรือยาเเก้ไอ
5.สารฟลูออเรสเซนต์
พิษของยาสี่คูณร้อย
ขึ้นชื่อว่าสิ่งเสพติดไม่มีคำว่าดีต่อสุขภาพอยู่เเล้ว ถึงเเม้ยาสี่คูณร้อยจะมีส่วนผสมของใบกระท่อม เเละยิ่งมีสูตรใหม่ที่มีการนำเอาสารฟลูออเรสเซนต์ เข้ามาเป็นส่วนผสมด้วยเเล้วยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่ สารชนิดนี้เมื่อโดนบาดแผลของเรา หรือเราโดนเศษแก้วจากหลอดไฟที่มีสารชนิดนี้บาด จะเป็นบาดแผลที่รักษาได้ยากมาก เเละหากเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร อาจจะถึงตายได้ โดยเฉพาะการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในเม็ดเลือด เนื่องจากสารฟลูออเรสเซนต์ในหลอดไฟ รวมถึงสารในยากันยุงและกัมม็อกโซน มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือจะเป็นตัวเร่งให้สารเสพติดเข้าสู่กระแสเลือดและเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น จนส่งผลให้ผู้เสพเกิดอาการมึนเมาได้ในไม่ช้า
เมื่อไม่กี่วันมานี้ก็พึ่งเกิดกรณีหนึ่งที่หน้ารามครับ วัยรุ่นเมายาสี่คูณร้อยแล้วปีนเข้าห้องสาวข้างห้องจากทางระเบียงหลังเพื่อหวังข่มขืน ผมว่าบวกลบคูณหารดูแล้วยังไงก็ยังขอสนับสนุนข้อกฏหมายไว้ก่อน ในส่วนของเจ้าหน้าที่หากพบเห็นชาวบ้านที่แค่เคี้ยวใบกระท่อมเพื่อไปกรีดยางหรือทำงานอื่นหนักๆ ผมก็คิดว่าเจ้าหน้าที่เขาดูออกครับว่าใครใช้เพื่อเป็นยาเป็นพืชสมุนไพรอาจมรการอะลุ่มอะหล่วยให้ตรงนี้อยู่แล้ว ส่วนใครที่ใช้เพื่อการเสพติดโดยเอามาผสมอะไรเข้าไปเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่เขาก็ดูออกไม่ยากครับ
ขออภัยที่ไม่ลงรูปประกอบให้ครับผม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสารเสพติด
แสดงความคิดเห็น
พืชกระท่อม ทำไม ? ถึงรวมอยู่กับ กัญชา,ฝิ่น,เห็ดขี้ควาย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด พ.ศ.2522 ยาเสพติดให้โทษ(มาตรา 7) ประเภท 5
ในส่วนของ ต้นยาสูบ(พืช)หรือบุหรี่ สุรา และ หมากพลู
คุณคิดว่ามีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหรือไม่ ?
ถึงไม่เขียนระบุกำหนดกฎหมายไว้อย่างชัดเจนยกให้อยู่ใน พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ตาม(มาตรา 7) ประเภท 5 ครับ! และชอบเอาพืชกระท่อมไปยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับยาเสพติดให้โทษประเภทอื่นเช่น ยาบ้า,ยาไอช์ ฯลฯ ซึ่งออกฤทธิ์ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจร้ายแรงกว่ามากและเอามาเปรียบเทียบกันไม่ได้สักนิดเลย?
ปรโยชน์และโทษ ของ พืชกระท่อม
ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท
วิธีการใช้ พืชใบกระท่อม เคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ)
มีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ใบกระท่อมมีการศึกษาหนึ่งสรุปว่า การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลระงับประสาท แต่เมื่อขนาดสูงขึ้น กลับเปลี่ยนเป็นกระตุ้นประสาทแทน แต่จากการศึกษาหลายแห่งสรุปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลกระตุ้นระบบประสาท ส่วนขนาดสูงกดประสาท
จากการศึกษาสารสำคัญในใบกระท่อม พบว่ามีแอลคาลอยด์หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือmitragynine
จำนวนใบกระท่อม 20 ใบ สกัดให้สาร mitragynine ประมาณ 17 มิลลิกรัม สารนี้พบได้เฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น จึงใช้เป็นสารพิสูจน์เอกลักษณ์พืชกระท่อมได้ มีรายงานผลการศึกษาวิจัยสารสกัดจากใบกระท่อมและ mitragynine ในสัตว์ทดลอง พบฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้
1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ จึงมีฤทธิ์ทำให้เกิดการชาเฉพาะที่ได้ และยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางคล้ายโคเคน
2. ฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับมอร์ฟีนในฝิ่น โดยออกฤทธิ์ที่ mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor และฤทธิ์ระงับปวดยังเกี่ยวพันกับฤทธิ์กดการทำงานของ 5-HT2A receptor จึงเป็นสารแก้ปวดที่แตกต่างจากมอร์ฟีนฝิ่น
3. ฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน โดยผ่านกลไกการออกฤทธิ์ที่ opioid receptors ทั้งนี้เชื่อว่า มีความเกี่ยวข้องกับอาการข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เสพใบกระท่อมไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) จึงทำงานได้นานขึ้น
4. ฤทธิ์ลดการบีบตัวลำไส้ โดยออกฤทธิ์ที่ mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor จึงแตกต่างจากสารกลุ่ม opioid อื่นๆ
5. ฤทธิ์ในการลดไข้ โดยทดสอบเปรียบเทียบกับ aminopyrin
"ในส่วนของ เงินสินบนเงินรางวัล หรือ เงินรางวัลนำจับนั้นเอง"
ซึ่งมีอัตราการจ่ายเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ.2537 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
มีข้อสงสัยว่าด้วยในข้อที่ 10.ยาเสพติดอื่น ๆ (ยกเว้นพืชกระท่อม) กรัมละ 3 บาท ทำไม? พืชกระท่อมไม่มีเขียนระบุไว้ในรางวัลนำจับคดียาเสพติด ถ้ามีโทษอย่างที่กล่าวหาตามกฎหมายยาเสพติด นั้นถึงไม่เขียนระบุพืชกระท่อมไว้ด้วยหล่ะครับ
ความคิดเห็นโดยส่วนตัว
ยาเสพติดทุกชนิดที่มีการค้าขายเนื่องจากมีความต้องการของผู้บริโภคก็ต้องมีผู้ผลิตอยู่ดี หากผู้ผลิตอยู่ต่างประเทศก็ไม่มีวันกวาดล้างผู้ผลิตได้
ยกตัวอย่าง เช่น พืชกระท่อม ถ้าหากสามารถปลูกได้บ้านละ 1ต้น การค้าขายก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะจะไม่มีความต้องการของผู้บริโภคที่จะซื้อพืชกระท่อมเพราะทุกบ้านมีไว้ใช้เป็นพืชสมุนไพรประจำบ้าน ปล. (นาย ปริญญา มากแก้ว)
เอกสารอ้างอิง
1.http://nctc.oncb.go.th/new/doc/Mitragyna.pdf
2. http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/Article/08-45/mitragy45.pdf
3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
รายงานการประชุมวิชาการเรื่อง “พืชกระท่อม สมุนไพรหรือยาเสพติด วันที่ 22 สิงหาคม 2546 ” กรุงเทพฯ : สำนักงาน ปปส., 2546