สวัสดีครับวันนี้พวกเราจะมาทำให้เพื่อนๆได้รู้จักกับอักษรธรรมล้านนากัน
อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาจนกระทั่งถูกพม่ายึดครอง ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ภาษาล้านนา” ภาษาล้านนานั้นมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนภาษาล้านนาเป็นภาษาที่มีสัณฐานกลมป้อม คล้ายอักษรมอญมีเสียงสระภายในตัว เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในราชอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ(บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย)ใช้ในการเขียน จดบันทึกเรื่องราวต่างๆในการในชีวิตประจำวัน ในอดีตสิ่งนี้ถูกบันทึกไว้ในใบลาน พับสา ข่อย ศิลาจารึก ฝาผนังภาพโบราณที่ต่าง ๆ และยังได้มีการใช้ภาษาล้านนานี้ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชมหาราช แห่งราชวงศ์มังรายช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคทองของภาษาล้านนาหลังจากที่ทำสังคยานาเสร็จสิ้นได้แจกจ่ายใบลานพระไตรปิฎกเผยแพร่ไปยังที่ต่าง ๆทำให้ภาษาล้านนาได้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างเช่น เมืองสิบสองปันนา(จีนตอนใต้) เมืองหลวงพระบางและหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านนา ทำให้ได้รู้ว่าในสมัยอดีตภาษาล้านนามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้ได้รู้ถึงประเพณีและวัฒนธรรม การดำรงชีวิตอยู่ของคนล้านนาในสมัยอดีต
แต่ในปัจจุบันภาษาล้านนาได้เลือนหายไป ซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา เป็นภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวล้านนา เป็นอักษรแห่งมนต์ขลัง ถือกันมาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธพจน์ จึงเป็นอักษรที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ชาวล้านนาถือว่า “ตั๋วเมือง” เป็นของสูง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันมีค่าสูงยิ่ง จะต้องเก็บไว้ในที่อันควร เช่น บนหิ้ง บนหัวนอน จะไม่มีการทิ้งเรี่ยราด ไม่มีการเหยียบหรือเดินข้ามเป็นอันขาด และสาเหตุที่ทำให้ชาวเหนือรุ่นหลังบางคนไม่รู้จักกับภาษาล้านนาซึ่งเป็นภาษาของบรรพบุรุษ เพราะส่วนใหญ่ภาษาล้านนาจะใช้ในงานพระพุทธศาสนาในภาคเหนือทำให้บุคคลที่สามารถเข้าถึงมีแต่พระสงฆ์เท่านั้น
พวกผมในฐานะในเป็นคนเหนือรุ่นใหม่พวกเราจึงอยากที่จะอนุรักษ์สมบัติของเหล่าบรรพบุรุษเอาไว้เพื่อมิให้มรดกของคนรุ่นก่อนศูนย์หาย พวกเราจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ภาษาล้านนาไว้เพื่อคนรุ่นหลังอย่างพวกเราได้รู้จักกับภาษาล้านนากันนะครับ
กลุ่มอักษรธรรมล้านนา ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 3/1 รายวิชา กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
มารู้จักอักษรล้านนากันเถอะ
อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง พัฒนามาจากอักษรมอญโบราณ เช่นเดียวกับอักษรพม่า อักษรชนิดนี้ใช้ในอาณาจักรล้านนาจนกระทั่งถูกพม่ายึดครอง ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา พบได้ทั่วไปในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ภาษาล้านนา” ภาษาล้านนานั้นมีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนภาษาล้านนาเป็นภาษาที่มีสัณฐานกลมป้อม คล้ายอักษรมอญมีเสียงสระภายในตัว เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในราชอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ(บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย)ใช้ในการเขียน จดบันทึกเรื่องราวต่างๆในการในชีวิตประจำวัน ในอดีตสิ่งนี้ถูกบันทึกไว้ในใบลาน พับสา ข่อย ศิลาจารึก ฝาผนังภาพโบราณที่ต่าง ๆ และยังได้มีการใช้ภาษาล้านนานี้ในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชมหาราช แห่งราชวงศ์มังรายช่วงนั้นถือว่าเป็นยุคทองของภาษาล้านนาหลังจากที่ทำสังคยานาเสร็จสิ้นได้แจกจ่ายใบลานพระไตรปิฎกเผยแพร่ไปยังที่ต่าง ๆทำให้ภาษาล้านนาได้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างเช่น เมืองสิบสองปันนา(จีนตอนใต้) เมืองหลวงพระบางและหัวเมืองต่าง ๆ ของอาณาจักรล้านนา ทำให้ได้รู้ว่าในสมัยอดีตภาษาล้านนามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทำให้ได้รู้ถึงประเพณีและวัฒนธรรม การดำรงชีวิตอยู่ของคนล้านนาในสมัยอดีต
แต่ในปัจจุบันภาษาล้านนาได้เลือนหายไป ซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางอักษรศาสตร์ เป็นศาสตร์อันสูงสุดของชาวล้านนา เป็นภูมิปัญญาของนักปราชญ์ชาวล้านนา เป็นอักษรแห่งมนต์ขลัง ถือกันมาว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ควรแก่การรับรองพระพุทธพจน์ จึงเป็นอักษรที่ใช้เกี่ยวกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ชาวล้านนาถือว่า “ตั๋วเมือง” เป็นของสูง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันมีค่าสูงยิ่ง จะต้องเก็บไว้ในที่อันควร เช่น บนหิ้ง บนหัวนอน จะไม่มีการทิ้งเรี่ยราด ไม่มีการเหยียบหรือเดินข้ามเป็นอันขาด และสาเหตุที่ทำให้ชาวเหนือรุ่นหลังบางคนไม่รู้จักกับภาษาล้านนาซึ่งเป็นภาษาของบรรพบุรุษ เพราะส่วนใหญ่ภาษาล้านนาจะใช้ในงานพระพุทธศาสนาในภาคเหนือทำให้บุคคลที่สามารถเข้าถึงมีแต่พระสงฆ์เท่านั้น
พวกผมในฐานะในเป็นคนเหนือรุ่นใหม่พวกเราจึงอยากที่จะอนุรักษ์สมบัติของเหล่าบรรพบุรุษเอาไว้เพื่อมิให้มรดกของคนรุ่นก่อนศูนย์หาย พวกเราจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ภาษาล้านนาไว้เพื่อคนรุ่นหลังอย่างพวกเราได้รู้จักกับภาษาล้านนากันนะครับ
กลุ่มอักษรธรรมล้านนา ชั้นมัธยศึกษาปีที่ 3/1 รายวิชา กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์