อธิบดีกรมการแพทย์ เผย 5 โรคตาที่ควรระวัง และพบมากในคนไทย "ต้อกระจก" เยอะสุด ขอดูแลสุขภาพตาด้วย
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 คาดว่าจะมีสูงอายุร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด โดยที่ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ และที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นเกือบร้อยละ 15 ผลกระทบสุขภาพของผู้สูงอายุนอกจากโรคเรื้อรังสุดฮิตทั้งอันดับต้นๆ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม แล้วยังพบว่ามีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอด ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ซึ่งโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. ต้อกระจก พบได้บ่อยที่สุดและเป็นทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น 2. ต้อหิน พบได้น้อยกว่าต้อกระจก แต่เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนมีการทำลายประสาท 3.จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ เกิดจากปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสงUV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิต 4.ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงตามวัยในระบบต่างๆ ของร่างกายรวมถึงระบบการมองเห็นที่อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากโรคตา เช่น ต้อกระจกผ่าตัดรักษาได้ บางโรคถ้าดูแลรักษาในระยะแรกและต่อเนื่องจะสามารถชะลอความเสื่อมได้
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=723983
สธ.เผย 5โรคเกี่ยวกับตา ในคนไทย - ต้อกระจก มากสุด
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในปี 2568 คาดว่าจะมีสูงอายุร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด โดยที่ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ และที่ต้องพึ่งพิงคนอื่นเกือบร้อยละ 15 ผลกระทบสุขภาพของผู้สูงอายุนอกจากโรคเรื้อรังสุดฮิตทั้งอันดับต้นๆ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง และโรคข้อเสื่อม แล้วยังพบว่ามีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอด ถ้าไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก ซึ่งโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. ต้อกระจก พบได้บ่อยที่สุดและเป็นทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น 2. ต้อหิน พบได้น้อยกว่าต้อกระจก แต่เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนมีการทำลายประสาท 3.จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง โดยที่บริเวณรอบข้างยังเห็นได้เป็นปกติ เกิดจากปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะสูงวัย แสงUV การสูบบุหรี่ และความดันโลหิต 4.ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่าง ๆ รั่วซึมออกมา เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงตามวัยในระบบต่างๆ ของร่างกายรวมถึงระบบการมองเห็นที่อาจจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแต่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากโรคตา เช่น ต้อกระจกผ่าตัดรักษาได้ บางโรคถ้าดูแลรักษาในระยะแรกและต่อเนื่องจะสามารถชะลอความเสื่อมได้
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=723983