ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และอัฟริกา 26 ประเทศ 74 วัน ตอนที่ 15 จาก Flores ไป อุทยานแห่งชาติ Semuc Champey กัวเตมาลา
(ตอนอยู่ตปท. ภาพนิ่งล้นไอโฟน จึงลบออกหลังโพสต์เพจแล้ว ส่วนพันทิปโหลดหน้ารีวิวไม่ได้ ต้องกลับมาทำใทย ตอนนี้ขอให้ชมยูทูปไปก่อน ถ้ารีบชมภาพนิ่ง ให้ไปที่เพจ ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก)
https://www.youtube.com/watch?v=oe9RNZPClIo&index=17&list=PLNNEpgjidh3oCKG68o2D1556PUm4cZ-IN
https://www.youtube.com/watch?v=B_4026a-twU&index=18&list=PLNNEpgjidh3oCKG68o2D1556PUm4cZ-IN
เย็นวันที่ 2 บนเกาะฟลอเรส เราออกไปหาอาหารพื้นเมืองที่เดิม พระอาทิตย์ใกล้ตกน้ำ สวยงามมาก ได้แป้งพันผัก ราดน้ำจิ้มวาซาบิ กับซัลซ่า
ลุงเกิดอาการงก ให้ป้าตักเครื่องเคียงประเภทของดอง และน้ำจิ้มที่เป็นหอมดอง หัวบีทรูท และปาปริก้าสีเขียวแดงไปเยอะๆ แต่ปรากฏว่า ลุงกินไม่ได้ เพราะมันเผ็ด ป้าให้ลุงกินแป้ง แต่ป้ากินเครื่องเคียง มันเผ็ดมาก จนป้าอยู่ที่ริมน้ำชมวิวไม่ไหว เพราะน้ำมูก น้ำตา มากันเป็นกองทัพ แม้จะดูดน้ำมะนาวหวาน เย็น ก็ไม่ช่วย อีกอย่างต้องใช้มือกินเหมือนคนอื่นๆ เนื่องจากลืมเอาช้อน ส้อม กับทิชชุ ออกไปด้วย ต้องรีบกลับห้อง ไปตัดงา ก่อนเข้าโรงแรมลุงเงยหน้าบอกป้าว่า เห็นช่างกำลังซ่อมหลังคาชั่นสาม เดินนำหน้าเข้าไปก่อน ทันใดนั้น ปูนแผ่นยาวครึ่งเมตรก็หล่นลงมา เฉียดหัวป้านิดเดียว เกือบไม่ได้เที่ยวต่อเสียแล้ว !!!
เงินที่แลกไว้เกือบหมดแล้ว ขอแลกจากหนุ่มตัวเล็กลูกเจ้าของโรงแรม ก็มีปํญหา ทุกใบมีลายเซ็นปธ.แบงค์ชาติ เขาบอกว่าเป็นเงินแปลกๆ ทั้งๆ ที่เราใช้ในสหรัฐอเมริกา และที่อื่นๆ ไม่เคยมีปัญหา เมื่อวานเขาก็ให้เราแลก ก่อนแลกก็เอาเข้าเครื่องส่อง ส่องแล้วส่องอีก พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์ ธนาคารก็ไม่เปิดเอางัยดีล่ะเรา?วันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. รถมารับเราหน้าโรงแรม 08.00 น. กว่าจะออกได้ก็ 8.40 น. เราได้นั่งหน้ากับคนขับ เข้าล็อคเรา 😄 แต่ดูเหมือนว่า มันเป็นรถที่ออกแบบมาให้ชาวกัวเตมาลาโดยแท้ ขนาดขาเราไม่ยาวมาก ยังเมื่อยไปหมด ที่พิงหลังก็เตี้ยมาก ตอนขึ้นรถ ยุงเป็นล้าน 😞
หนุ่มสาวที่นั่งหลังเราพูดภาษาอังกฤษ บ่นกันว่า ที่ว่างไม่พอวางขา ดีใจกันใหญ่ที่ตบยุงตาย 1 ตัว 🙂
พอรถวิ่งไปได้ 5 นาที คนขับทำสัญญาณให้หมุนกระจกลง ลุงรีบควักหมวกขึ้นมาใส่ รักษาทรงผมไว้ก่อน 😅 สองข้างทางเป็นป่าโปร่ง เขาหัวโล้น ไร่ กาแฟ โกโก้ ต้นปาล์มน้ำมัน ดงมะพร้าว ไร่ข้าวโพด ทุ่งเลี้ยงวัว มีแกะอยู่บ้างเหมือนกัน ตอนผ่านชุมชนมีโรงเรียนและโบสถ์เล็กๆ
รถแวะเข้ารับพัสดุจากโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ล้อมรอบด้วยรั้วสวย เป็นสิ่งก่อสร้างสวยงามที่เดียวที่มีหลังจากออกนอกเมืองด้วย ถนนที่มีรถวิ่งสวนกัน มีร่อง หรือ คลื่นลดความเร็วของรถเป็นระยะ
ผู้คนตัวไม่สูง ความสูงเฉลี่ยชาย 155 หญิงไม่เกิน 150 ซม. ไม่มีเอวทั้งชายและหญิง เหมือนรูปปั้นคนที่ปั้นหัวก่อน แข็งก่อน ปั้นตัวตามทีหลัง พอปั้นเสร็จก็กดหัวลงทำให้คอหด ตัวสั้น เอวหาย ผู้หญิงไว้ผมยาว รวบ แล้วปล่อยลงไป หรือ ม้วนเป็นมวยไว้ท้ายทอย
วันนี้วันอาทิตย์ แต่ละครอบครัวไปโบสถ์กัน ผู้ชายเกือบ 100% สวมกางเกงยีนส์ เสื้อเชิ้ตแขนยาวบ้าง เสื้อยืดบ้าง ส่วนผู้หญิงทุกวัยนิยมสวมเสือลูกไม้ตัวสั้น โปร่ง ส่วนใหญ่สีเข้ม หรือ ลาย มีซับใน เรียกว่า Chiche กระโปรงผ้าฝ้ายทอ หรือ พริ้วมีลายเฉพาะ เอวรูดกรอมเท้า แต่ไม่แนบตัว เรียกว่า Robe
ผู้หญิงขนย้ายสิ่งของโดยใช้กะละมังวางบนหัว มืออุ้มลูก เขาเดินไปโบสถ์ ท่ามกลางแสงแดด ขึ้น ลง เขา เหมือนคนชนบทไทย เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ไม่ว่าจะไปไหนก็เดิน รถจักรยานมีใช้กันน้อยมาก รถยนต์ที่ใช้รับส่งคนในหมู่บ้านเป็นรถตู้ นิยมใช้รถโตโยต้า กับ ฮอนด้า วางสัมภาระไว้บนหลังคา เอาพลาสติกคลุมแล้วมัดเชือก
หญิงส่วนใหญ่หน้ารูปไข่ ตาคมโต จมูกโด่ง แหลม ส่วนชายตอนเด็กหน้าเรียว พอวัยเปลี่ยนรูปหน้าเปลี่ยนเป็รกลมตรงกลาง ข้างบนเหลี่ยม คางแหลม
เด็ก และ วัยรุ่นชาย นิยมเล่นฟุตบอลกันมาก ที่บนเขาเป็นก้อนหิน ไม่มีสนาม พวกเขาใช้ถนนหลวงเป็นสนาม โกยโคลนทำเป็นเส้นกั้นเขตประตู
บ้านเรือนชั้นเดียวติดดิน เป็นไม้บ้าง อิฐบล็อคบ้าง ปูนบ้างหลังคามุงด้วยใบปาล์ม หญ้าคายักษ์ หรือสังกะสิ ยกมุมป้านบ้าง สูงบ้าง ไม้ฝาส่วนใหญ่วางเรียงต่อกันปล่อยให้มีรู ไม่ทับซ้อนเพื่อกันลม หรือ น้ำ เหมือนในเม็กซิโก ไม่ทาสี ทั้งปูน และไม้ ไม้ฝาไม่มีการไสกบให้เรียบ เลื่อยไม้แผ่นใหญ่มาก็ใช้เลย
โบสถ์เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมู่บ้าน เป็นโบสถ์ปูน ทั้งเล็กและใหญ่หลังคาหลังเต่า มีกระบังหน้าเหมือนสวมมงกุฎ ตรงกลางเป็นรูปไม้กางเขน
โรงเรียนสร้างด้วยปูน ชั้นเดียว มีสนามหญ้าและต้นไม้ร่มรื่น
ตามปั๊มน้ำมันมีที่รับล้างรถอยู่ข้างกัน ใช้ไดนาโมดูดน้ำออกจากบ่อ ผ่านหัวฉีด ใช้ม้อพถูบ้านถู แล้วฉีดน้ำ
รถข้ามคลองที่เป็นสะพานเหล็กที่สวนกันกันไม่ได้ 1 ครั้ง ก่อนเปลี่ยนถนน
วิ่งไปได้ประมาณครึ่งชม. ลงโป๊ะแพขนานยนต์ช้ามแม่น้ำลาซิยอง เข้าสู่เมือง Paraxche ผ่านตลาดที่มีอาคารบ้านเรือนมีสีสัน
เวลา 11.15 น. จอดพักรับประทานอาหาร และเข้าห้องน้ำฟรีที่ปั๊ม Texaco ซื้อมันฝรั่งทอดกรอบเป็นครั้งแรกใน Foodmart De La Ceibeta ราคาถุงละ 24 Q
รถผ่านเมือง Chisec เป็นชุมชนสวยงามท่ามกลางหุบเขา อีกเมืองหนึ่ง ชื่อ Coban ก็เช่นเดียวกัน ถนนด้านหนึ่งเป็นเขา อีกด้านหนึ่งเป็นเชิงเขา คล้ายๆ กับทางสายเพชรบูรณ์ เขาค้อ แคมป์สน ภูทับเบิก แต่แคบและขรุขระกว่า ต้นไม้ก็ไม่มากเท่า และมีเขาหัวโล้น กับปริมาณหินมากกว่าหลายเท่า
รถจอดอีกครั้งที่ Coban เป็นร้านแม็คโดนัลด์ คนเดินทางเข้าคิวยาว ทั้งซื้ออาหาร และเข้าห้องน้ำ มีเน็ตฟรีให้ใช้ด้วย เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจดี มีโรงแรมมากมาย มีโบสถ์สวยงาม เติมน้ำมันเสร็จแล้ว คนขับบอกว่า อีก 2 ชม. ก็ถึง ตอนนั้นเวลา 15.15 น.
พอออกจากโคบาน ก็เจอถนนสภาพเหมือนการทำถนนตามโครงการถนนไร้ฝุ่น ของพรรคภูมิใจไทย ที่ทำเพื่อเอาเงินทอน ปุปะ หวะเหวอะตลอดสาย
เวลา 16.40 น. เลี้ยวขวาลงเขาเข้าสู่ถนนหิน วิ่งโขยก โขกสับ สะบัดสะบิ้งตลอดทาง มีคนเอาเชือกที่ตัดถุงพลาสติกต่อๆ กัน กับ เชือกรัดกล่องส่งของทางไกลต่อกัน กั้นถนนเพื่อเก็บตังค์อ้างว่า ต้องขุดดินถมถนนที่สึก โดยทำเป็นถืออีปิก ไว้ในมือ แต่คนขับใจแข็งไม่ให้ พวกเขาก็ปล่อยเชือกให้ผ่านไป
ถนนแคบ ด้านหนึ่งเป็นภูเขาหิน อีกด้านหนึ่งเป็นเหว เวลารถสวนกัน คันหนึ่งต้องจอด เพื่อความปลอดภัย แต่ก็ยังมีคนขับรถเก๋งเข้าไปด้วย ในหมู่บ้านมีรถตุ๊กๆ และ รถปิ๊กอัพคันใหญ่วิ่งรับ ส่งคน และขนพืชไร่. กว่าจะไปถึงจุดรับ ส่งนักท่องเที่ยวก็ 17.25 น. เราต้องรอรถโรงแรมไปรับอีก 20 นาที ป้าข้ามถนนไปซื้อกล้วยหอม 3 ลูกๆ ละ 1 Q ดีที่ตัดสินใจซื้อ เพราะที่พักอยู่ในป่า ไม่มีของขาย
รถโรงแรมเป็นรถปิ๊กอัพสูง ปีนขึ้นไปยืน ต้องเกาะ 2 มือ รถจอดรับ ส่งคนตลอดทาง เวลารถขึ้นเขาที่เป็นหินสูงชัน เราต้องลุ้นกันตลอด กลัวมันไถลลง ช่วงสุดท้ายมีปูนช่วย 2 ข้างที่เป็นล้อรถ เวลารถสวน รถขาลงต้องหลบให้รถขาขึ้นผ่านไปก่อน นึกถึงตอนเป็นเด็กต้องเอาโซ่พันรอบล้อรถ กันลื่น
ระหว่างทางไปที่พัก เราคุ้นเคยกับสภาพป่า ที่เหมือนทางไปสวนผลไม้บ้านเรา ตอนที่เราเป็นเด็ก เหมือนเรามาเก็บอดีต มีป่ากล้วยเครือยาวๆ ไม่เอาหัวปลีออก ลึกลงไปเป็นลำธาร ไหลเลาะตามเชิงเขา มีน้ำขังบนถนนหิน
มีน้องจากบราซิล ชื่อ Celise กับ Felipe ไปพักโรงแรมเดียวกับเราด้วย พวกเขาพัก 3 คืน เราพัก 2 คืน น้อง Celise เคยสอนที่อำเภอเพ็ญเพ็ญ อุดรธานี ส่วน Felipe ชอบเมืองไทย โดยเฉพาะเชียงใหม่ พวกเขาเที่ยวยาว 11 เดือน โดยขายบ้าน ขายรถ ลาออกจากงานแล้วออกเดินทางท่องเที่ยว
เงินหมดก็รับจ้างสอน เหมือนฝรั่งหลายคนที่เราเคยรู้จัก พวกเขาเจอกันเที่ยวด้วยกัน ศึกษากัน ยังไม่แต่งงานกัน จนกว่าจะใช่
เดือนธันวาคม Felipe จะไปสอนที่ออสเตรเลีย เขามีโครงการเปิดบริษัทท่องเที่ยว และทำร้านอาหาร เพราะเขาชอบทำอาหาร เขาชอบอาหารไทยหลายอย่าง แต่ไม่รู้ว่า ใส่อะไรบ้าง ป้าเลยบอกว่า ไว้มีเน็ตเมื่อไร เราค่อยแอดกัน แล้วอยากทำอาหารอะไร ป้ายินดีบอกสูตรให้
เราได้นอนบ้านไม้ 2 ชั้น เรานอนชั้นสอง ใต้หลังคาสังกะสีทรงสูง ตอนกลางวันที่มีแดด คงร้อนน่าดู เป็นห้องนอนรวม 8 เตียง
ห้องน้ำอยู่ข้างล่าง มีลานตากผ้าคั่นอยู่ ไม่มีเครื่องอาบน้ำ หรือ ผ้าเช็ดตัว มีแต่กระดาษชำระ ฝนตกเปาะแปะ แต่พวกเขาตากผ้าปูที่นอนไว้เต็มลาน ระหว่างเรือนนอน กับ ห้องน้ำ มีแมลงเม่าบินเข้าห้องมาเล่นไฟด้วย มุ้งลวดมีไว้กันแมว กันยุงและแมลงไม่ได้ แต่ก็ไม่มียุง
ที่พักซุกอยู่ในป่า มีไฟฟ้าใช้ แต่ไม่มี wifi ไม่สามารถสื่อสารทางไกลได้ แม้แต่คุยกับคนที่โรงแรม ก็พูดคนละภาษา สั่งอาหารก็ไม่เป็น
พรุ่งนี้คงไปเที่ยวแบบมะงุมมะงาหรา เพราะไม่รู้จะถามอย่างไร คนขายทัวร์บอกเราว่า ไม่มีค่าเข้าชม และค่าไกด์ เราก็ได้แต่หวังว่า จะเป็นเช่นนั้น เพราะเรายังไม่มีที่แลกเงิน ต้องประหยัด
[CR] ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยสหรัฐ เม็กฯ เมกากลาง เมกาใต้ อัฟริกา 26ประเทศ 74วัน ตอน 15 ไปอุทยาน Semuc Champey กัวเตมาลา
(ตอนอยู่ตปท. ภาพนิ่งล้นไอโฟน จึงลบออกหลังโพสต์เพจแล้ว ส่วนพันทิปโหลดหน้ารีวิวไม่ได้ ต้องกลับมาทำใทย ตอนนี้ขอให้ชมยูทูปไปก่อน ถ้ารีบชมภาพนิ่ง ให้ไปที่เพจ ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก)
https://www.youtube.com/watch?v=oe9RNZPClIo&index=17&list=PLNNEpgjidh3oCKG68o2D1556PUm4cZ-IN
https://www.youtube.com/watch?v=B_4026a-twU&index=18&list=PLNNEpgjidh3oCKG68o2D1556PUm4cZ-IN
เย็นวันที่ 2 บนเกาะฟลอเรส เราออกไปหาอาหารพื้นเมืองที่เดิม พระอาทิตย์ใกล้ตกน้ำ สวยงามมาก ได้แป้งพันผัก ราดน้ำจิ้มวาซาบิ กับซัลซ่า
ลุงเกิดอาการงก ให้ป้าตักเครื่องเคียงประเภทของดอง และน้ำจิ้มที่เป็นหอมดอง หัวบีทรูท และปาปริก้าสีเขียวแดงไปเยอะๆ แต่ปรากฏว่า ลุงกินไม่ได้ เพราะมันเผ็ด ป้าให้ลุงกินแป้ง แต่ป้ากินเครื่องเคียง มันเผ็ดมาก จนป้าอยู่ที่ริมน้ำชมวิวไม่ไหว เพราะน้ำมูก น้ำตา มากันเป็นกองทัพ แม้จะดูดน้ำมะนาวหวาน เย็น ก็ไม่ช่วย อีกอย่างต้องใช้มือกินเหมือนคนอื่นๆ เนื่องจากลืมเอาช้อน ส้อม กับทิชชุ ออกไปด้วย ต้องรีบกลับห้อง ไปตัดงา ก่อนเข้าโรงแรมลุงเงยหน้าบอกป้าว่า เห็นช่างกำลังซ่อมหลังคาชั่นสาม เดินนำหน้าเข้าไปก่อน ทันใดนั้น ปูนแผ่นยาวครึ่งเมตรก็หล่นลงมา เฉียดหัวป้านิดเดียว เกือบไม่ได้เที่ยวต่อเสียแล้ว !!!
เงินที่แลกไว้เกือบหมดแล้ว ขอแลกจากหนุ่มตัวเล็กลูกเจ้าของโรงแรม ก็มีปํญหา ทุกใบมีลายเซ็นปธ.แบงค์ชาติ เขาบอกว่าเป็นเงินแปลกๆ ทั้งๆ ที่เราใช้ในสหรัฐอเมริกา และที่อื่นๆ ไม่เคยมีปัญหา เมื่อวานเขาก็ให้เราแลก ก่อนแลกก็เอาเข้าเครื่องส่อง ส่องแล้วส่องอีก พรุ่งนี้เป็นวันอาทิตย์ ธนาคารก็ไม่เปิดเอางัยดีล่ะเรา?วันอาทิตย์ที่ 26 มิ.ย. รถมารับเราหน้าโรงแรม 08.00 น. กว่าจะออกได้ก็ 8.40 น. เราได้นั่งหน้ากับคนขับ เข้าล็อคเรา 😄 แต่ดูเหมือนว่า มันเป็นรถที่ออกแบบมาให้ชาวกัวเตมาลาโดยแท้ ขนาดขาเราไม่ยาวมาก ยังเมื่อยไปหมด ที่พิงหลังก็เตี้ยมาก ตอนขึ้นรถ ยุงเป็นล้าน 😞
หนุ่มสาวที่นั่งหลังเราพูดภาษาอังกฤษ บ่นกันว่า ที่ว่างไม่พอวางขา ดีใจกันใหญ่ที่ตบยุงตาย 1 ตัว 🙂
พอรถวิ่งไปได้ 5 นาที คนขับทำสัญญาณให้หมุนกระจกลง ลุงรีบควักหมวกขึ้นมาใส่ รักษาทรงผมไว้ก่อน 😅 สองข้างทางเป็นป่าโปร่ง เขาหัวโล้น ไร่ กาแฟ โกโก้ ต้นปาล์มน้ำมัน ดงมะพร้าว ไร่ข้าวโพด ทุ่งเลี้ยงวัว มีแกะอยู่บ้างเหมือนกัน ตอนผ่านชุมชนมีโรงเรียนและโบสถ์เล็กๆ
รถแวะเข้ารับพัสดุจากโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ล้อมรอบด้วยรั้วสวย เป็นสิ่งก่อสร้างสวยงามที่เดียวที่มีหลังจากออกนอกเมืองด้วย ถนนที่มีรถวิ่งสวนกัน มีร่อง หรือ คลื่นลดความเร็วของรถเป็นระยะ
ผู้คนตัวไม่สูง ความสูงเฉลี่ยชาย 155 หญิงไม่เกิน 150 ซม. ไม่มีเอวทั้งชายและหญิง เหมือนรูปปั้นคนที่ปั้นหัวก่อน แข็งก่อน ปั้นตัวตามทีหลัง พอปั้นเสร็จก็กดหัวลงทำให้คอหด ตัวสั้น เอวหาย ผู้หญิงไว้ผมยาว รวบ แล้วปล่อยลงไป หรือ ม้วนเป็นมวยไว้ท้ายทอย
วันนี้วันอาทิตย์ แต่ละครอบครัวไปโบสถ์กัน ผู้ชายเกือบ 100% สวมกางเกงยีนส์ เสื้อเชิ้ตแขนยาวบ้าง เสื้อยืดบ้าง ส่วนผู้หญิงทุกวัยนิยมสวมเสือลูกไม้ตัวสั้น โปร่ง ส่วนใหญ่สีเข้ม หรือ ลาย มีซับใน เรียกว่า Chiche กระโปรงผ้าฝ้ายทอ หรือ พริ้วมีลายเฉพาะ เอวรูดกรอมเท้า แต่ไม่แนบตัว เรียกว่า Robe
ผู้หญิงขนย้ายสิ่งของโดยใช้กะละมังวางบนหัว มืออุ้มลูก เขาเดินไปโบสถ์ ท่ามกลางแสงแดด ขึ้น ลง เขา เหมือนคนชนบทไทย เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ไม่ว่าจะไปไหนก็เดิน รถจักรยานมีใช้กันน้อยมาก รถยนต์ที่ใช้รับส่งคนในหมู่บ้านเป็นรถตู้ นิยมใช้รถโตโยต้า กับ ฮอนด้า วางสัมภาระไว้บนหลังคา เอาพลาสติกคลุมแล้วมัดเชือก
หญิงส่วนใหญ่หน้ารูปไข่ ตาคมโต จมูกโด่ง แหลม ส่วนชายตอนเด็กหน้าเรียว พอวัยเปลี่ยนรูปหน้าเปลี่ยนเป็รกลมตรงกลาง ข้างบนเหลี่ยม คางแหลม
เด็ก และ วัยรุ่นชาย นิยมเล่นฟุตบอลกันมาก ที่บนเขาเป็นก้อนหิน ไม่มีสนาม พวกเขาใช้ถนนหลวงเป็นสนาม โกยโคลนทำเป็นเส้นกั้นเขตประตู
บ้านเรือนชั้นเดียวติดดิน เป็นไม้บ้าง อิฐบล็อคบ้าง ปูนบ้างหลังคามุงด้วยใบปาล์ม หญ้าคายักษ์ หรือสังกะสิ ยกมุมป้านบ้าง สูงบ้าง ไม้ฝาส่วนใหญ่วางเรียงต่อกันปล่อยให้มีรู ไม่ทับซ้อนเพื่อกันลม หรือ น้ำ เหมือนในเม็กซิโก ไม่ทาสี ทั้งปูน และไม้ ไม้ฝาไม่มีการไสกบให้เรียบ เลื่อยไม้แผ่นใหญ่มาก็ใช้เลย
โบสถ์เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจหมู่บ้าน เป็นโบสถ์ปูน ทั้งเล็กและใหญ่หลังคาหลังเต่า มีกระบังหน้าเหมือนสวมมงกุฎ ตรงกลางเป็นรูปไม้กางเขน
โรงเรียนสร้างด้วยปูน ชั้นเดียว มีสนามหญ้าและต้นไม้ร่มรื่น
ตามปั๊มน้ำมันมีที่รับล้างรถอยู่ข้างกัน ใช้ไดนาโมดูดน้ำออกจากบ่อ ผ่านหัวฉีด ใช้ม้อพถูบ้านถู แล้วฉีดน้ำ
รถข้ามคลองที่เป็นสะพานเหล็กที่สวนกันกันไม่ได้ 1 ครั้ง ก่อนเปลี่ยนถนน
วิ่งไปได้ประมาณครึ่งชม. ลงโป๊ะแพขนานยนต์ช้ามแม่น้ำลาซิยอง เข้าสู่เมือง Paraxche ผ่านตลาดที่มีอาคารบ้านเรือนมีสีสัน
เวลา 11.15 น. จอดพักรับประทานอาหาร และเข้าห้องน้ำฟรีที่ปั๊ม Texaco ซื้อมันฝรั่งทอดกรอบเป็นครั้งแรกใน Foodmart De La Ceibeta ราคาถุงละ 24 Q
รถผ่านเมือง Chisec เป็นชุมชนสวยงามท่ามกลางหุบเขา อีกเมืองหนึ่ง ชื่อ Coban ก็เช่นเดียวกัน ถนนด้านหนึ่งเป็นเขา อีกด้านหนึ่งเป็นเชิงเขา คล้ายๆ กับทางสายเพชรบูรณ์ เขาค้อ แคมป์สน ภูทับเบิก แต่แคบและขรุขระกว่า ต้นไม้ก็ไม่มากเท่า และมีเขาหัวโล้น กับปริมาณหินมากกว่าหลายเท่า
รถจอดอีกครั้งที่ Coban เป็นร้านแม็คโดนัลด์ คนเดินทางเข้าคิวยาว ทั้งซื้ออาหาร และเข้าห้องน้ำ มีเน็ตฟรีให้ใช้ด้วย เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจดี มีโรงแรมมากมาย มีโบสถ์สวยงาม เติมน้ำมันเสร็จแล้ว คนขับบอกว่า อีก 2 ชม. ก็ถึง ตอนนั้นเวลา 15.15 น.
พอออกจากโคบาน ก็เจอถนนสภาพเหมือนการทำถนนตามโครงการถนนไร้ฝุ่น ของพรรคภูมิใจไทย ที่ทำเพื่อเอาเงินทอน ปุปะ หวะเหวอะตลอดสาย
เวลา 16.40 น. เลี้ยวขวาลงเขาเข้าสู่ถนนหิน วิ่งโขยก โขกสับ สะบัดสะบิ้งตลอดทาง มีคนเอาเชือกที่ตัดถุงพลาสติกต่อๆ กัน กับ เชือกรัดกล่องส่งของทางไกลต่อกัน กั้นถนนเพื่อเก็บตังค์อ้างว่า ต้องขุดดินถมถนนที่สึก โดยทำเป็นถืออีปิก ไว้ในมือ แต่คนขับใจแข็งไม่ให้ พวกเขาก็ปล่อยเชือกให้ผ่านไป
ถนนแคบ ด้านหนึ่งเป็นภูเขาหิน อีกด้านหนึ่งเป็นเหว เวลารถสวนกัน คันหนึ่งต้องจอด เพื่อความปลอดภัย แต่ก็ยังมีคนขับรถเก๋งเข้าไปด้วย ในหมู่บ้านมีรถตุ๊กๆ และ รถปิ๊กอัพคันใหญ่วิ่งรับ ส่งคน และขนพืชไร่. กว่าจะไปถึงจุดรับ ส่งนักท่องเที่ยวก็ 17.25 น. เราต้องรอรถโรงแรมไปรับอีก 20 นาที ป้าข้ามถนนไปซื้อกล้วยหอม 3 ลูกๆ ละ 1 Q ดีที่ตัดสินใจซื้อ เพราะที่พักอยู่ในป่า ไม่มีของขาย
รถโรงแรมเป็นรถปิ๊กอัพสูง ปีนขึ้นไปยืน ต้องเกาะ 2 มือ รถจอดรับ ส่งคนตลอดทาง เวลารถขึ้นเขาที่เป็นหินสูงชัน เราต้องลุ้นกันตลอด กลัวมันไถลลง ช่วงสุดท้ายมีปูนช่วย 2 ข้างที่เป็นล้อรถ เวลารถสวน รถขาลงต้องหลบให้รถขาขึ้นผ่านไปก่อน นึกถึงตอนเป็นเด็กต้องเอาโซ่พันรอบล้อรถ กันลื่น
ระหว่างทางไปที่พัก เราคุ้นเคยกับสภาพป่า ที่เหมือนทางไปสวนผลไม้บ้านเรา ตอนที่เราเป็นเด็ก เหมือนเรามาเก็บอดีต มีป่ากล้วยเครือยาวๆ ไม่เอาหัวปลีออก ลึกลงไปเป็นลำธาร ไหลเลาะตามเชิงเขา มีน้ำขังบนถนนหิน
มีน้องจากบราซิล ชื่อ Celise กับ Felipe ไปพักโรงแรมเดียวกับเราด้วย พวกเขาพัก 3 คืน เราพัก 2 คืน น้อง Celise เคยสอนที่อำเภอเพ็ญเพ็ญ อุดรธานี ส่วน Felipe ชอบเมืองไทย โดยเฉพาะเชียงใหม่ พวกเขาเที่ยวยาว 11 เดือน โดยขายบ้าน ขายรถ ลาออกจากงานแล้วออกเดินทางท่องเที่ยว
เงินหมดก็รับจ้างสอน เหมือนฝรั่งหลายคนที่เราเคยรู้จัก พวกเขาเจอกันเที่ยวด้วยกัน ศึกษากัน ยังไม่แต่งงานกัน จนกว่าจะใช่
เดือนธันวาคม Felipe จะไปสอนที่ออสเตรเลีย เขามีโครงการเปิดบริษัทท่องเที่ยว และทำร้านอาหาร เพราะเขาชอบทำอาหาร เขาชอบอาหารไทยหลายอย่าง แต่ไม่รู้ว่า ใส่อะไรบ้าง ป้าเลยบอกว่า ไว้มีเน็ตเมื่อไร เราค่อยแอดกัน แล้วอยากทำอาหารอะไร ป้ายินดีบอกสูตรให้
เราได้นอนบ้านไม้ 2 ชั้น เรานอนชั้นสอง ใต้หลังคาสังกะสีทรงสูง ตอนกลางวันที่มีแดด คงร้อนน่าดู เป็นห้องนอนรวม 8 เตียง
ห้องน้ำอยู่ข้างล่าง มีลานตากผ้าคั่นอยู่ ไม่มีเครื่องอาบน้ำ หรือ ผ้าเช็ดตัว มีแต่กระดาษชำระ ฝนตกเปาะแปะ แต่พวกเขาตากผ้าปูที่นอนไว้เต็มลาน ระหว่างเรือนนอน กับ ห้องน้ำ มีแมลงเม่าบินเข้าห้องมาเล่นไฟด้วย มุ้งลวดมีไว้กันแมว กันยุงและแมลงไม่ได้ แต่ก็ไม่มียุง
ที่พักซุกอยู่ในป่า มีไฟฟ้าใช้ แต่ไม่มี wifi ไม่สามารถสื่อสารทางไกลได้ แม้แต่คุยกับคนที่โรงแรม ก็พูดคนละภาษา สั่งอาหารก็ไม่เป็น
พรุ่งนี้คงไปเที่ยวแบบมะงุมมะงาหรา เพราะไม่รู้จะถามอย่างไร คนขายทัวร์บอกเราว่า ไม่มีค่าเข้าชม และค่าไกด์ เราก็ได้แต่หวังว่า จะเป็นเช่นนั้น เพราะเรายังไม่มีที่แลกเงิน ต้องประหยัด
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น