เวทีดีเบตร่างรธน.แพร่ถึงกร่อย! สั่งจัดแบบปิด ห้ามทำข่าว-อัดเสียง จำกัดคน เจอวอล์กเอาต์จนโหรงเหรง
https://www.yaklai.com/news/politic/debate-at-phrae-work-out/
วันที่ 2 สิงหาคม เมื่อเวลา 09.00 น. นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติและประเด็นคำถามเพิ่มเติมประจำจังหวัดแพร่ที่ห้องประชุมมเหสักข์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ หลังจากนั้นปลัดจังหวัดแพร่ ในฐานะครู ก. ได้ขึ้นกล่าวนำเข้าสู่การพูดคุยเรื่องรัฐธรรมนูญโดยได้กล่าวถึงการเปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้รัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ และได้เปิดวีดีทัศน์คำพูดของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ ท่ามกลางประชาชนที่ได้รับเชิญเข้าฟังไม่ถึง 100 คน จนทางผู้จัดเวทีต้องเกณฑ์นักศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคแพร่เข้ามานั่งแทนเพื่อให้เวทีไม่น่าเกลียดจนเกินไป
รายงานระบุว่า ก่อนที่จะเริ่มเวทีแสดงความคิดเห็นซึ่งมี อาจารย์อุบลวรรณ สุภาแสน อาจารย์ปัญจพร คำโย และ อาจารย์ธนวัฒน์ ปินตา จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ดำเนินรายการ กับผู้ปภิปรายที่เป็นฝ่ายสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ และ คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเวทีพร้อมกัน ในช่วงนั้นเอง เจ้าหน้าที่คณะกรรมการออกเสียงประชามติ จ.แพร่ ได้ประกาศในที่ประชุม ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนทำข่าว และไม่อนุญาตให้บันทึกเสียง เนื่องจากผู้อภิปรายได้ขอสงวนสิทธิ ทำให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจรับฟังและจะนำไปเผยแพร่ต่อต่างแสดงความไม่พอใจ และพากันออกจากห้องประชุมไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทางคณะกรรมการออกเสียงเลือกตั้งประจำจังหวัดแพร่ ที่ได้ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ทำการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดไว้นอกหอประชุมเพื่อให้ประชาชนที่ไม่มีสิทธิเข้าฟังได้รับฟังทางโทรทัศน์วงจรปิด แต่เวลา 10.00 น. คณะกรรมการออกเสียงประชามติได้สั่งให้ปิดโทรทัศน์วงจรปิดทั้งหมดห้ามเผยแพร่ข้อมูล การจัดเวทีท่ามกลางการตรวจค้นร่างกายโดยละเอียดก่อนเข้าที่ประชุมเพื่อรักษาความปลอดภัยและใช้กำลังตำรวจกว่า 40 นายรักษาความปลอดภัยนั้น ประชาชนที่เข้าไปในห้องประชุมรู้สึกอึดอัดใจที่จะมารู้เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นเข้าถึงยากมาก
นายอำนวย พลหล้า เลขานุการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดแพร่ กล่าวว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่เป็นครู ก.ไปร่วมอบรมกับฝ่ายราชการที่แต่งตั้งไป 5 คน แต่กลับมาก็ไม่ได้รับความร่วมมือให้ออกไปร่วมให้ข้อมูลรัฐธรรมนูญ และวันนี้ได้เข้ามาที่ประชุมก็พบว่าไม่มีรายชื่อไม่สามารถเข้าที่ประชุมได้
นายอำนวย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการปิดกั้นความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญที่จะลงถึงประชาชน ถ้าประชาชนมาร่วมฟังเต็ม 300 แล้วเป็นเวทีปิดก็ยังถือว่าปิดกั้น แต่นี่มีการจำกัดคนแต่กลับไม่มีคนมาฟัง แถมยังไม่ให้ใครที่สนใจได้ฟังอีก สถานที่จัดเป็นสถานศึกษา ถ้ามีโทรทัศน์วงจรปิดถือว่าเป็นโอกาสดีที่เยาวชนจะได้ร่วมรับฟัง แต่การปิดโทรทัศน์วงจรปิด จำกัดคนเข้าฟัง แล้วจะไปจัดเวทีดีเบตให้เสียงบประมาณทำไม
เวทีดีเบตร่างรธน. จ.แพร่ ห้ามทำข่าว อัดเสียง จำกัดคน..
https://www.yaklai.com/news/politic/debate-at-phrae-work-out/
วันที่ 2 สิงหาคม เมื่อเวลา 09.00 น. นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติและประเด็นคำถามเพิ่มเติมประจำจังหวัดแพร่ที่ห้องประชุมมเหสักข์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ หลังจากนั้นปลัดจังหวัดแพร่ ในฐานะครู ก. ได้ขึ้นกล่าวนำเข้าสู่การพูดคุยเรื่องรัฐธรรมนูญโดยได้กล่าวถึงการเปิดกว้างให้ประชาชนได้รับรู้รัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ และได้เปิดวีดีทัศน์คำพูดของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามติ ท่ามกลางประชาชนที่ได้รับเชิญเข้าฟังไม่ถึง 100 คน จนทางผู้จัดเวทีต้องเกณฑ์นักศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคแพร่เข้ามานั่งแทนเพื่อให้เวทีไม่น่าเกลียดจนเกินไป
รายงานระบุว่า ก่อนที่จะเริ่มเวทีแสดงความคิดเห็นซึ่งมี อาจารย์อุบลวรรณ สุภาแสน อาจารย์ปัญจพร คำโย และ อาจารย์ธนวัฒน์ ปินตา จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ดำเนินรายการ กับผู้ปภิปรายที่เป็นฝ่ายสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ และ คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเวทีพร้อมกัน ในช่วงนั้นเอง เจ้าหน้าที่คณะกรรมการออกเสียงประชามติ จ.แพร่ ได้ประกาศในที่ประชุม ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนทำข่าว และไม่อนุญาตให้บันทึกเสียง เนื่องจากผู้อภิปรายได้ขอสงวนสิทธิ ทำให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจรับฟังและจะนำไปเผยแพร่ต่อต่างแสดงความไม่พอใจ และพากันออกจากห้องประชุมไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทางคณะกรรมการออกเสียงเลือกตั้งประจำจังหวัดแพร่ ที่ได้ขอความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ทำการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดไว้นอกหอประชุมเพื่อให้ประชาชนที่ไม่มีสิทธิเข้าฟังได้รับฟังทางโทรทัศน์วงจรปิด แต่เวลา 10.00 น. คณะกรรมการออกเสียงประชามติได้สั่งให้ปิดโทรทัศน์วงจรปิดทั้งหมดห้ามเผยแพร่ข้อมูล การจัดเวทีท่ามกลางการตรวจค้นร่างกายโดยละเอียดก่อนเข้าที่ประชุมเพื่อรักษาความปลอดภัยและใช้กำลังตำรวจกว่า 40 นายรักษาความปลอดภัยนั้น ประชาชนที่เข้าไปในห้องประชุมรู้สึกอึดอัดใจที่จะมารู้เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นเข้าถึงยากมาก
นายอำนวย พลหล้า เลขานุการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดแพร่ กล่าวว่า ตนเป็นผู้หนึ่งที่เป็นครู ก.ไปร่วมอบรมกับฝ่ายราชการที่แต่งตั้งไป 5 คน แต่กลับมาก็ไม่ได้รับความร่วมมือให้ออกไปร่วมให้ข้อมูลรัฐธรรมนูญ และวันนี้ได้เข้ามาที่ประชุมก็พบว่าไม่มีรายชื่อไม่สามารถเข้าที่ประชุมได้
นายอำนวย กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการปิดกั้นความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญที่จะลงถึงประชาชน ถ้าประชาชนมาร่วมฟังเต็ม 300 แล้วเป็นเวทีปิดก็ยังถือว่าปิดกั้น แต่นี่มีการจำกัดคนแต่กลับไม่มีคนมาฟัง แถมยังไม่ให้ใครที่สนใจได้ฟังอีก สถานที่จัดเป็นสถานศึกษา ถ้ามีโทรทัศน์วงจรปิดถือว่าเป็นโอกาสดีที่เยาวชนจะได้ร่วมรับฟัง แต่การปิดโทรทัศน์วงจรปิด จำกัดคนเข้าฟัง แล้วจะไปจัดเวทีดีเบตให้เสียงบประมาณทำไม