ตำแหน่ง พระสังฆราช จากพระไตรปิฎก ...... หมายถึง ข้อความตรงนี้ หรือเปล่าครับ ?

เห็นกระทู้ข้างล่าง กล่าวถึงว่า ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีอยู่ในพระไตรปิฎก หรือไม่ ?
ผมลองไปค้นดูแล้วครับ ช่วยกันพิจารณาดูนะครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

โคปาลกสูตร

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู
บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ
ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้ง
ทั้งในที่ลับ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร
เป็นสังฆปรินายก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ
ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
อย่างนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=8452&Z=8593

{๒๒๔.๑๑}  กถญฺจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  เย  เต  ภิกฺขู เถรา รตฺตญฺู
จิรปพฺพชิตา   สงฺฆปิตโร  สงฺฆปรินายกา  เต  น  อติเรกปูชาย  ปูเชตา
โหติ  อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  เย  เต  ภิกฺขู  เถรา  รตฺตญฺู  จิรปพฺพชิตา
สงฺฆปิตโร   สงฺฆปรินายกา   เตสุ  น  เมตฺตํ  กายกมฺมํ  ปจฺจุปฏฺาเปติ
อาวีเจว  ๔-  รโห  จ  น  เมตฺตํ  วจีกมฺมํ  ...  น  เมตฺตํ มโนกมฺมํ
ปจฺจุปฏฺาเปติ อาวีเจว รโห จ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เย เต ภิกฺขู เถรา
รตฺตญฺู  จิรปพฺพชิตา  สงฺฆปิตโร สงฺฆปรินายกา  เต น ๕-  อติเรกปูชาย
ปูเชตา   โหติ   อิเมหิ  โข  ภิกฺขเว  เอกาทสหิ  ธมฺเมหิ  สมนฺนาคโต    
ภิกฺขุ อภพฺโพ อิมสฺมึ ธมฺมวินเย วุฑฺฒึ วิรูฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชิตุ ฯ

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=24&item=224&Roman=0



เทียบกับ .......



มาตรา 8 สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก ทรงบัญชาการคณะสงฆ์ และทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือ แย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคม



สรุปแล้ว นี่ ใช่สิ่งที่ กำลังถกเถียงกันอยู่หรือเปล่าครับ ?
อนุโมทนา ครับท่าน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ไม่เกี่ยวครับ

เพราะเป็นผู้นำให้สงฆ์ทั้งหลายประพฤติในไตรสิกขาจึงเรียกสังฆปรินายก

แปลว่าเจ้าอาวาสหรือหลวงปู่หลวงพ่อที่นำให้ลูกศิษย์ลูกหาประพฤติชอบในไตรสิกขาก็เป็นสังฆปรินายก เพื่อประโยชน์ในการประพฤติปฏิบัติ

แต่สังฆราชเราเป็นตำแหน่งที่กษัตริย์แต่งตั้งให้เป็นราชาของสงฆ์ เพื่อประโยชน์ในการปกครอง  ทั้งประเทศมีองค์เดียว

คนละเรื่องกัน


   บทว่า เถร ได้แก่ผู้ถึงภาวะความมั่นคง คือประกอบด้วยคุณเครื่องกระทำความเป็นเถระ พระเถระทั้งหลายย่อมรู้ราตรีเป็นอันมาก เหตุนั้นจึงชื่อว่า รัตตัญญู การบวชของภิกษุเหล่านี้สิ้นกาลนานเพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านี้ชื่อว่า จิรปัพพชิตา พระเถระทั้งหลายตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดรแห่งสงฆ์ เหตุนั้นจึงชื่อว่า สังฆบิดร เพราะตั้งอยู่ในฐานะเป็นสังฆบิดร ภิกษุเหล่าใดย่อมนำสงฆ์ คือเป็นหัวหน้าให้ภิกษุทั้งหลายประพฤติในสิกขา ๓ เพราะเหตุนั้น พระเถระเหล่านั้น ชื่อว่า สังฆปริณายก ผู้นำสงฆ์.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่