เบื้องต้น
ควรศึกษาพระพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกโดยตรง และศึกษาคัมภีร์อธิบายมีอรรถกถา และฎีกา เป็นต้น. ตลอดถึงคัมภีร์นิรุตติศาสตร์ต่างๆ โดยเริ่มเรียนเนื้อหาธรรมอย่างละเอียด จนมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ทรงจําไว้ นํามาสาธยาย อยู่สม่ำเสมอเพื่อมิให้ลืมเลือน แล้วจึงแนะนําส่ังสอน ผู้อื่นให้รู้ตาม
ในท่ามกลาง
ควรประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมท่ีรู้แล้วน้ันจะมากหรือน้อยก็ตามใช้หลักธรรม ดํารงชีวิตให้ามควรแก่ความรู้ความเข้าใจ อาศัยหลักปริยัติที่ได้เรียนมาน้ัน เป็นวิธีการเจริญสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา ให้เกิดปัญญารู้ชัดเจนย่ิงข้ึน
ในที่สุด
จะได้รับอิฏฐผลคือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นความหวังสูงสุดตามหลักธรรม คําสอนในพระพุทธศาสนา
🙏🙏🙏
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรม จงดํารงมั่นตลอดกาล ขอสาธุชนท้ังหลาย จงมีความเคารพในธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงหน้าที่ของพุทธบริษัท โดยทรงเน้นให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้นําใน การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงแห่ง พระสัทธรรม ว่า
ปญฺจิเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม ปญฺจ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขู ธมฺมํ ปริยาปุณนฺติ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถํ อุทานํ อิติวุตฺตกํ ชาตกํ อพฺภูตธมฺมํ เวทลฺลํ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปเรสํ เทเสนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปรํ วาเจนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ เจตสา อนุวิตกฺเกนฺติ อนุวิจาเรนฺติ มนสานุเปกฺขนฺติ.
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลายหน้าที่ ๕ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความดํารงมั่นเพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งพระสัทธรรม หน้าที่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ศึกษาเล่าเรียนธรรม (คือนวังคสัตถุศาสน์ อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ) ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานะ อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ และเวทัลละ
๒. แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง ละเอียดลออ
๓. แนะนําสั่งสอนธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๔. ท่องบ่นสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
๕. ตั้งใจใคร่ครวญเพ่งพินิจพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา
หน้าที่ ๕ ประการนี้ พระภิกษุสามเณรควรตระหนักแก่ใจ ควรกระทําให้ยิ่ง จะสามารถคุ้มครองตน คุ้มครองพุทธบริษัทและพระพุทธศาสนาให้ดํารงมั่นได้ มิฉะน้ัน จักชื่อว่าทําหน้าที่บกพร่องไม่บริบูรณ์
🙏🙏🙏
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา. ขอพระสัทธรรม จงดํารงมั่นตลอดกาล ขอสาธุชนท้ังหลาย จงมีความเคารพในธรรม
ควรศึกษาพระพุทธพจน์จากพระไตรปิฎกโดยตรง และศึกษาคัมภีร์อธิบายมีอรรถกถา และฎีกา เป็นต้น. ตลอดถึงคัมภีร์นิรุตติศาสตร์ต่างๆ โดยเริ่มเรียนเนื้อหาธรรมอย่างละเอียด จนมีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ทรงจําไว้ นํามาสาธยาย อยู่สม่ำเสมอเพื่อมิให้ลืมเลือน แล้วจึงแนะนําส่ังสอน ผู้อื่นให้รู้ตาม
ในท่ามกลาง
ควรประพฤติปฏิบัติตามพระสัทธรรมท่ีรู้แล้วน้ันจะมากหรือน้อยก็ตามใช้หลักธรรม ดํารงชีวิตให้ามควรแก่ความรู้ความเข้าใจ อาศัยหลักปริยัติที่ได้เรียนมาน้ัน เป็นวิธีการเจริญสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา ให้เกิดปัญญารู้ชัดเจนย่ิงข้ึน
ในที่สุด
จะได้รับอิฏฐผลคือการได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นความหวังสูงสุดตามหลักธรรม คําสอนในพระพุทธศาสนา
🙏🙏🙏
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรม จงดํารงมั่นตลอดกาล ขอสาธุชนท้ังหลาย จงมีความเคารพในธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงหน้าที่ของพุทธบริษัท โดยทรงเน้นให้พระภิกษุสามเณรเป็นผู้นําใน การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคงแห่ง พระสัทธรรม ว่า
ปญฺจิเม ภิกฺขเว ธมฺมา สทฺธมฺมสฺส ฐิติยา อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย สํวตฺตนฺติ. กตเม ปญฺจ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขู ธมฺมํ ปริยาปุณนฺติ สุตฺตํ เคยฺยํ เวยฺยากรณํ คาถํ อุทานํ อิติวุตฺตกํ ชาตกํ อพฺภูตธมฺมํ เวทลฺลํ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปเรสํ เทเสนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน ปรํ วาเจนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ วิตฺถาเรน สชฺฌายํ กโรนฺติ. ภิกฺขู ยถาสุตํ ยถาปริตฺตํ ธมฺมํ เจตสา อนุวิตกฺเกนฺติ อนุวิจาเรนฺติ มนสานุเปกฺขนฺติ.
🙏🙏🙏
ภิกษุทั้งหลายหน้าที่ ๕ ประการ เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความดํารงมั่นเพื่อความไม่เสื่อมสูญไปแห่งพระสัทธรรม หน้าที่ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. ศึกษาเล่าเรียนธรรม (คือนวังคสัตถุศาสน์ อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ) ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานะ อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ และเวทัลละ
๒. แสดงธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง ละเอียดลออ
๓. แนะนําสั่งสอนธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
๔. ท่องบ่นสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
๕. ตั้งใจใคร่ครวญเพ่งพินิจพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังได้เล่าเรียนมา
หน้าที่ ๕ ประการนี้ พระภิกษุสามเณรควรตระหนักแก่ใจ ควรกระทําให้ยิ่ง จะสามารถคุ้มครองตน คุ้มครองพุทธบริษัทและพระพุทธศาสนาให้ดํารงมั่นได้ มิฉะน้ัน จักชื่อว่าทําหน้าที่บกพร่องไม่บริบูรณ์
🙏🙏🙏