เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย นำโดย น.ส.มัลลิกา ลุนจักร์ ประธานสหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย , สหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย นำโดยนายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย และตัวแทนภาคีเครือข่ายข้าราชการพลเรือนไทย เดินทางมาตามหมายเรียกของศาลปกครองกลาง เพื่อให้ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง ต่อตุลาการศาลปกครองกลาง ในคดีที่ น.ส.มัลลิกา และพวก 113 ราย ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ผู้รับชอบดำเนินการแทนนายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) กงช. ก.พ. เลขาธิการสำนักงาน ก.พ. คณะกรรมการมาตรฐาน การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ( ก.ถ.) ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-9 เมื่อวันที่ 29 เมษายน เรื่องกระทำการมิชอบ กรณีความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่แตกต่างจากข้าราชการกลุ่มอื่นๆ
โดยผู้ฟ้อง ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง ให้นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1 สั่งการเร่งด่วนเป็นหนังสือราชการ หรือคำสั่งในฐานะหัวหน้า คสช. ที่อาศัยรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 44 แก้ปัญหาระบบค่าตอบแทนของข้าราชการทุกประเภท ตลอดจนจัดระบบเงินเดือน เพดานเงินเดือนและสวัสดิการลูกจ้างภาครัฐทุกประเภทให้เหมาะสมใหม่ทั้งระบบ โดยให้ดำเนินการตาม มติ ครม.วันที่ 20 เมษายน 2558 ภายใน 60 วันโดยให้แล้วเสร็จไม่เกิน 180 วัน
และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือนิติกรรมทางปกครองใดๆ ที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กระทำไป เช่น รายงานการประชุม มติความเห็นชอบ ที่เป็นการใช้ดุลพินิจเลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เกิดความเหลื่อมล้ำเรื่องเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มอื่นๆ รวมทั้งขอให้เพิกถอน กฎ ระเบียบ คำสั่งเกี่ยวกับการปรับบัญชีเงินเดือน การเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับ (ซี) ไปสู่ระบบการจำแนกประเภทตำแหน่ง (แท่ง) ของข้าราชการประเภทต่างๆ ไว้จนกว่าจะมีการออกกฎหมายปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล และได้ข้อยุติเพดานเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภททั้งระบบ
รวมทั้งขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 แต่งตั้งคณะกรรมการกลางอิสระว่าด้วยค่าตอบแทนรัฐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์กร อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐทั้งระบบโดยมีคณะทำงานเครือข่ายข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับผลกระทบเดือดร้อนเสียหายร่วมพิจารณาและดำเนินการ นอกจากนั้นขอศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 ชดใช้เยียวยาความเสียหาย และชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจทางปกครองเลือกปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ฟ้องต้องเสียโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ เป็นรายบุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งในอดีตย้อนไปก่อนปี 2551 และจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตเป็นจำนวนเงินที่คำนวณจากเงินเดือน, ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากการสูญเสียโอกาส พร้อมดอกเบี้ย
นายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางภาคีเครือข่ายข้าราชการพลเรือนไทย ได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของเงินเดือน และเงินตอบแทนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพราะเชื่อว่าศาลปกครองจะให้ความยุติธรรมได้ โดยไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร กลุ่มก็พร้อมยอมรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนวันนี้ เป็นการไต่สวนเพื่อให้ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงจากคู่ความ ประกอบการพิจารณารายละเอียดคำฟ้องและข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมีคำพิพากษาทางคดีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป
ขณะที่วันเดียวกันนี้ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสภาการพยาบาล ผู้ถูกฟ้อง เรื่องละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ กรณีเพิกเฉยไม่พิจารณาคำร้องของสมาชิกพยาบาลวิชาชีพ ที่ขอให้เปิดประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาความเดือดร้อนและปัญหาสมาชิกพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนำสู่การแก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 ตามที่รัฐบาลได้ออก พ.ร.ฎ.การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ.2558ให้ดำเนินการพิจารณา แต่สภาการพยาบาล พิจารณาโดยไม่รับฟังเสียงสมาชิก และละเลยคำร้องขอ ของสมาชิกที่เรียกร้องตาม มาตรา 12 (2
JJNY : ศาลปกครอง ไต่สวน”เครือข่ายข้าราชการ”ยื่นฟ้องนายกฯ ปรับโครงสร้างเงินเดือน
โดยผู้ฟ้อง ขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่ง ให้นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1 สั่งการเร่งด่วนเป็นหนังสือราชการ หรือคำสั่งในฐานะหัวหน้า คสช. ที่อาศัยรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 44 แก้ปัญหาระบบค่าตอบแทนของข้าราชการทุกประเภท ตลอดจนจัดระบบเงินเดือน เพดานเงินเดือนและสวัสดิการลูกจ้างภาครัฐทุกประเภทให้เหมาะสมใหม่ทั้งระบบ โดยให้ดำเนินการตาม มติ ครม.วันที่ 20 เมษายน 2558 ภายใน 60 วันโดยให้แล้วเสร็จไม่เกิน 180 วัน
และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอน กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือนิติกรรมทางปกครองใดๆ ที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้กระทำไป เช่น รายงานการประชุม มติความเห็นชอบ ที่เป็นการใช้ดุลพินิจเลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เกิดความเหลื่อมล้ำเรื่องเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มอื่นๆ รวมทั้งขอให้เพิกถอน กฎ ระเบียบ คำสั่งเกี่ยวกับการปรับบัญชีเงินเดือน การเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลจากระบบจำแนกตำแหน่งตามระดับ (ซี) ไปสู่ระบบการจำแนกประเภทตำแหน่ง (แท่ง) ของข้าราชการประเภทต่างๆ ไว้จนกว่าจะมีการออกกฎหมายปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล และได้ข้อยุติเพดานเงินเดือนของข้าราชการทุกประเภททั้งระบบ
รวมทั้งขอให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 แต่งตั้งคณะกรรมการกลางอิสระว่าด้วยค่าตอบแทนรัฐ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างองค์กร อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐทั้งระบบโดยมีคณะทำงานเครือข่ายข้าราชการพลเรือน ที่ได้รับผลกระทบเดือดร้อนเสียหายร่วมพิจารณาและดำเนินการ นอกจากนั้นขอศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง9 ชดใช้เยียวยาความเสียหาย และชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจทางปกครองเลือกปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ผู้ฟ้องต้องเสียโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ เป็นรายบุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งในอดีตย้อนไปก่อนปี 2551 และจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตเป็นจำนวนเงินที่คำนวณจากเงินเดือน, ค่าตอบแทนและผลประโยชน์จากการสูญเสียโอกาส พร้อมดอกเบี้ย
นายบุญญฤทธิ์ นิปวณิชย์ ประธานสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางภาคีเครือข่ายข้าราชการพลเรือนไทย ได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำของเงินเดือน และเงินตอบแทนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เพราะเชื่อว่าศาลปกครองจะให้ความยุติธรรมได้ โดยไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร กลุ่มก็พร้อมยอมรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การไต่สวนวันนี้ เป็นการไต่สวนเพื่อให้ศาลแสวงหาข้อเท็จจริงจากคู่ความ ประกอบการพิจารณารายละเอียดคำฟ้องและข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมีคำพิพากษาทางคดีอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป
ขณะที่วันเดียวกันนี้ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสภาการพยาบาล ผู้ถูกฟ้อง เรื่องละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ กรณีเพิกเฉยไม่พิจารณาคำร้องของสมาชิกพยาบาลวิชาชีพ ที่ขอให้เปิดประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาความเดือดร้อนและปัญหาสมาชิกพยาบาลวิชาชีพ เพื่อนำสู่การแก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 ตามที่รัฐบาลได้ออก พ.ร.ฎ.การทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ.2558ให้ดำเนินการพิจารณา แต่สภาการพยาบาล พิจารณาโดยไม่รับฟังเสียงสมาชิก และละเลยคำร้องขอ ของสมาชิกที่เรียกร้องตาม มาตรา 12 (2