สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
"3. ตังซีขมวดคิ้ว" 东施效颦 ตงซือเสี้ยวผิน
ก่อนอื่นต้องรู้จักกับไซซีก่อน คงจะทราบกันว่า ไซซีเป็นหนึ่งในสี่สาวงามในประวัติศาสตร์จีน
ไว้วันหลังหากมีโอกาสค่อยพามาแนะนำทีละคน แต่ละนางมีฉายาดังนี้
ไซซี มีชีวิตอยู่ช่วง ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ในสมัยชุนชิวได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี”
หวังเจาจวิน มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตกได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา”
เตียวเสี้ยน มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก ได้ฉายาว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา”
หยางกุ้ยเฟย มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง”
ความงามของไซซีร่ำลือกันทั่วทั้งแคว้น ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่าเยื้องย่างกรีดกราย หรือรอยยิ้มพริ้มเพราบนใบหน้า
ทุกอิริยาบถล้วนดึงดูดให้ผู้คนรักใคร่เอ็นดู นางแค่แต่งแต้มใบหน้าเพียงเล็กน้อย สวมใส่เสื้อผ้าเรียบๆ
แต่เดินไปทางไหนไม่มีใครที่จะไม่ตกตะลึงพรึงเพริศในรูปลักษณ์ที่งดงามของนาง
มีกวีได้พรรณาความงามของไซซีเอาไว้ว่า “ได้ยลโฉมนงนุชสุดโสภา แม้มัจฉาตะลึงชมจมวารี”
คือ ไซซีนั้นเดิมเป็นคนฟอกด้าย เมื่อไปฟอกด้ายที่ริมน้ำ ปลาที่กำลังว่ายน้ำอยู่แลเห็นเข้า ก็ถึงขนาดตกตะลึง
เอาแต่จ้องจนลืมว่าย ทำให้จมดิ่งลงในน้ำ จนเป็นที่มาของ “มัจฉาจมวารี” อันลือลั่น
ไซซีสุขภาพอ่อนแอ มีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ มักมีอาการเจ็บปวดที่หน้าอก
เมื่ออาการป่วยของนางกำเริบขึ้น นางจะเอามือกุมที่หน้าอก หน้านิ่วคิ้วขมวด ตามธรรมชาติ
แต่ใครเห็นก็รู้สึกว่าน่ารัก น่าสงสาร น่าทะนุถนอม ชาวเมืองล้วนเบิ่งตาโตจ้องมองไม่วางตา
ในหมู่บ้านเดียวกันนั้น มีหญิงหน้าตาอัปลักษณ์นางหนึ่ง นามว่า “ตังซี” นางไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ไม่ชวนมอง
ทั้งยังขาดการอบรมบ่มนิสัย ประพฤติตัวหยาบกระด้าง พูดจาเอะอะโวยวาย แต่ วันทั้งวันก็เฝ้าฝันว่าตนเป็นหญิงงาม
แต่กระนั้น ก็ยังไม่มีชาวเมืองชมนางว่าสวยสักคน
เมื่อนางเห็นไซซียามป่วยทำท่ายกมือทาบอกและขมวดคิ้ว แล้วผู้คนพากันหลงใหล จึงได้ทำท่าทางดังกล่าวเลียนแบบ
และเดินออกมาที่หน้าหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านเมื่อเห็นนางทำท่าทางที่ทั้งประหลาดและยิ่งไม่น่าดู ก็พากันหลีกห่าง
บ้างก็หนีเข้าบ้านปิดประตูลงกลอน
สุภาษิต “ตงซือเสี้ยวผิน” ใช้เปรียบเทียบกับการพยายามเลียนแบบผู้อื่น แต่สุดท้ายไม่เพียงไม่เหมือน กลับเลวร้ายกว่าต้นแบบ
เพราะไม่รู้จักประมาณตนเอง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับสุภาษิต “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ในภาษาไทยนั่นเอง
วิเคราะห์เปรียบเทียบ
ในประวัติศาสตร์มีสตรีมากมายที่รูปลักษณ์ภายนอกอัปลักษณ์ แต่กลับมีจิตใจงดงาม มีน้ำใจ มีปณิธานรักชาติ
บ้างก็มีสติปัญญา สร้างสรรค์ผลงาน ทำให้ได้รับการจารึกชื่อเสียง
ผู้ที่งามทั้งภายในภายนอกย่อมได้รับการชื่นชม
ส่วนคนไม่เข้าใจ คิดเลียนแบบผู้อื่นอย่างไร้แก่นสาร โดยไม่เข้าใจเนื้อแท้ มีแต่ทำให้แย่ลง
จะเห็นว่าบางพรรคการเมือง อยู่มาหลายสิบปี เรื่องดีไม่เคยทำ แทนที่จะไปพัฒนาตัวเอง กลับเอาเวลามาอิจฉาคนอื่น
คิดเลียนแบบคนอื่น แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อให้ใช้นโยบายเดียวกัน ทีมงานเดียวกัน แต่ถ้าไม่เข้าใจแก่นแท้ คิดเพียงฉาบฉวยภายนอก
ไม่เพียงผู้คนไม่ศรัทธาชื่นชม แต่ยังจะยิ่งทำลายตัวเองให้ชาวบ้านสมเพชใจยิ่งขึ้นเท่านั้น
ก่อนอื่นต้องรู้จักกับไซซีก่อน คงจะทราบกันว่า ไซซีเป็นหนึ่งในสี่สาวงามในประวัติศาสตร์จีน
ไว้วันหลังหากมีโอกาสค่อยพามาแนะนำทีละคน แต่ละนางมีฉายาดังนี้
ไซซี มีชีวิตอยู่ช่วง ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ในสมัยชุนชิวได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี”
หวังเจาจวิน มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตกได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา”
เตียวเสี้ยน มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก ได้ฉายาว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา”
หยางกุ้ยเฟย มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง”
ความงามของไซซีร่ำลือกันทั่วทั้งแคว้น ไม่ว่าจะเป็นท่วงท่าเยื้องย่างกรีดกราย หรือรอยยิ้มพริ้มเพราบนใบหน้า
ทุกอิริยาบถล้วนดึงดูดให้ผู้คนรักใคร่เอ็นดู นางแค่แต่งแต้มใบหน้าเพียงเล็กน้อย สวมใส่เสื้อผ้าเรียบๆ
แต่เดินไปทางไหนไม่มีใครที่จะไม่ตกตะลึงพรึงเพริศในรูปลักษณ์ที่งดงามของนาง
มีกวีได้พรรณาความงามของไซซีเอาไว้ว่า “ได้ยลโฉมนงนุชสุดโสภา แม้มัจฉาตะลึงชมจมวารี”
คือ ไซซีนั้นเดิมเป็นคนฟอกด้าย เมื่อไปฟอกด้ายที่ริมน้ำ ปลาที่กำลังว่ายน้ำอยู่แลเห็นเข้า ก็ถึงขนาดตกตะลึง
เอาแต่จ้องจนลืมว่าย ทำให้จมดิ่งลงในน้ำ จนเป็นที่มาของ “มัจฉาจมวารี” อันลือลั่น
ไซซีสุขภาพอ่อนแอ มีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ มักมีอาการเจ็บปวดที่หน้าอก
เมื่ออาการป่วยของนางกำเริบขึ้น นางจะเอามือกุมที่หน้าอก หน้านิ่วคิ้วขมวด ตามธรรมชาติ
แต่ใครเห็นก็รู้สึกว่าน่ารัก น่าสงสาร น่าทะนุถนอม ชาวเมืองล้วนเบิ่งตาโตจ้องมองไม่วางตา
ในหมู่บ้านเดียวกันนั้น มีหญิงหน้าตาอัปลักษณ์นางหนึ่ง นามว่า “ตังซี” นางไม่เพียงแต่รูปลักษณ์ไม่ชวนมอง
ทั้งยังขาดการอบรมบ่มนิสัย ประพฤติตัวหยาบกระด้าง พูดจาเอะอะโวยวาย แต่ วันทั้งวันก็เฝ้าฝันว่าตนเป็นหญิงงาม
แต่กระนั้น ก็ยังไม่มีชาวเมืองชมนางว่าสวยสักคน
เมื่อนางเห็นไซซียามป่วยทำท่ายกมือทาบอกและขมวดคิ้ว แล้วผู้คนพากันหลงใหล จึงได้ทำท่าทางดังกล่าวเลียนแบบ
และเดินออกมาที่หน้าหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านเมื่อเห็นนางทำท่าทางที่ทั้งประหลาดและยิ่งไม่น่าดู ก็พากันหลีกห่าง
บ้างก็หนีเข้าบ้านปิดประตูลงกลอน
สุภาษิต “ตงซือเสี้ยวผิน” ใช้เปรียบเทียบกับการพยายามเลียนแบบผู้อื่น แต่สุดท้ายไม่เพียงไม่เหมือน กลับเลวร้ายกว่าต้นแบบ
เพราะไม่รู้จักประมาณตนเอง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับสุภาษิต “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ในภาษาไทยนั่นเอง
วิเคราะห์เปรียบเทียบ
ในประวัติศาสตร์มีสตรีมากมายที่รูปลักษณ์ภายนอกอัปลักษณ์ แต่กลับมีจิตใจงดงาม มีน้ำใจ มีปณิธานรักชาติ
บ้างก็มีสติปัญญา สร้างสรรค์ผลงาน ทำให้ได้รับการจารึกชื่อเสียง
ผู้ที่งามทั้งภายในภายนอกย่อมได้รับการชื่นชม
ส่วนคนไม่เข้าใจ คิดเลียนแบบผู้อื่นอย่างไร้แก่นสาร โดยไม่เข้าใจเนื้อแท้ มีแต่ทำให้แย่ลง
จะเห็นว่าบางพรรคการเมือง อยู่มาหลายสิบปี เรื่องดีไม่เคยทำ แทนที่จะไปพัฒนาตัวเอง กลับเอาเวลามาอิจฉาคนอื่น
คิดเลียนแบบคนอื่น แต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อให้ใช้นโยบายเดียวกัน ทีมงานเดียวกัน แต่ถ้าไม่เข้าใจแก่นแท้ คิดเพียงฉาบฉวยภายนอก
ไม่เพียงผู้คนไม่ศรัทธาชื่นชม แต่ยังจะยิ่งทำลายตัวเองให้ชาวบ้านสมเพชใจยิ่งขึ้นเท่านั้น
ความคิดเห็นที่ 4
ขอบคุณชุนเทียนที่เขียนเรื่องราวดีๆมาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่าน เรื่องของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ นักรบรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เก่งกล้าเรื่องการรบเป็นอย่างมากจนบางสำนักให้ฉายาเป็นถึงเทพเจ้าแห่งสงคราม การบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร จึงทำให้ไพร่พลและประชาราษฎร์ให้ความนิยมชมชอบในตัวหลิวปังมากกว่า
ช่วงที่เซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention , 楚汉战争) เริ่มแรกเซี่ยงอวี่ได้เปรียบ แต่เนื่องจากลักษณะเฉพาะและสติปัญญาที่ต่างกันของเซี่ยงอวี่กับหลิวปังทำให้คนเก่งๆหันกลับมาช่วยหลิวปังเป็นจำนวนมากจนฝ่ายฮั่นกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบกว่าแทน ก่อนจะถึงว่าระสุดท้ายขณะที่เซี่ยงอวี่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด ก็เป็นบทเรียนไว้ตามที่วิเคราะห์ไว้จริงๆว่าไม่ประเมินสถานการณ์ใดๆ อยากเอาชนะเพียงแค่อคติบังตาเท่านั้น ท้ายสุดก็ต้องแพ้ภัยเพราะนิสัยส่วนตัวของตัวเอง
ช่วงที่เซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention , 楚汉战争) เริ่มแรกเซี่ยงอวี่ได้เปรียบ แต่เนื่องจากลักษณะเฉพาะและสติปัญญาที่ต่างกันของเซี่ยงอวี่กับหลิวปังทำให้คนเก่งๆหันกลับมาช่วยหลิวปังเป็นจำนวนมากจนฝ่ายฮั่นกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบกว่าแทน ก่อนจะถึงว่าระสุดท้ายขณะที่เซี่ยงอวี่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด ก็เป็นบทเรียนไว้ตามที่วิเคราะห์ไว้จริงๆว่าไม่ประเมินสถานการณ์ใดๆ อยากเอาชนะเพียงแค่อคติบังตาเท่านั้น ท้ายสุดก็ต้องแพ้ภัยเพราะนิสัยส่วนตัวของตัวเอง
ความคิดเห็นที่ 1
2. "ลากุ้ยโจวก็ได้แค่นี้" 黔驴技穷 เชียน ลวี่ จี้ ฉ๋วง .
เชียน 黔 =ชื่อย่อของมณฑล กุ้ยโจว (แต่ละมณฑลของจีน ส่วนใหญ่จะมีชื่อย่อ)
ลวี่ 驴 = ลา จี้ 技 = ความสามารถ ฉ๋วง 穷 = สิ้นสุด หมด
สำนวนนี้มีที่มาดังนี้
สมัยก่อน บริเวณมณฑล กุ้ยโจว ไม่มี ลา ต่อมามีคนๆหนึ่งไปซื้อ ลา มาจากต่างเมือง แต่พอซื้อมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่เป็น
จึงนำมาปล่อยไว้ที่ตีนเขา ซึ่งที่แห่งนี้มีเสือเจ้าถิ่นอยู่ตัวหนึ่ง
ครั้งแรกที่เสือเห็นลา ก็รู้สึกกลัวเหมือนกันเนื่องจาก ลา ตัวใหญ่ วันแรกๆ เสือ จึงไม่กล้าเข้าใกล้
อยู่มาวันหนึ่ง ลา ได้ส่งเสียงร้องดังขึ้นมา เสือ ได้ยินเสียง ลา ครั้งแรกตกใจกลัวมาก
คิดว่า "ลา จะมาทำร้ายข้าแน่ๆ" เท้าไวเท่าความคิด เสือโกยแน่บไม่คิดชีวิต
แต่พอวิ่งจนเหนื่อยหอบ หันกลับไปดู ไม่เห็น ลา วิ่งตามมา ก็เบาใจ
วันที่ 2 เสือ เริ่มเฝ้ามองทุกอริยาบทของ ลา และเริ่มคุ้นกับเสียงร้องของ ลา
จึงเริ่มเข้าไปใกล้ แต่ยังไม่กล้าเสี่ยงไปแหย่ ลา
วันที่ 3 เสือ เริ่มเข้าใกล้ ลา มากขึ้น แล้วเริ่มเอาเท้าไปสะกิด ลา
ลา โมโหจึงเอาเท้าไปเตะเสือ เสือ เมื่อโดน ลา เตะ ก็หัวเราะด้วยความดีใจและคิดว่า
"ที่แท้ไอ้นี่ ก็มีความสามารถแค่นี้ " ว่าแล้วก็จับ ลา กิน เป็นอาหาร
สำนวนนี้ จึงมีความหมาย ว่าความสามารถมีจำกัด ทำได้แค่นี้ เช่น ลา ในนิทานมีความสามารถแค่ส่งเสียงร้อง กับ ยกเท้าเตะ
ดูนิทานประกอบสุภาษิต 黔驴技穷
https://www.youtube.com/watch?v=6Thbu3NCDwY
วิเคราะห์เปรียบเทียบ
จะเห็นได้ว่าบางพรรคการเมืองมีความสามารถแค่ลากุ้ยโจว 黔驴技穷 อย่าไปหวังอะไรจากพรรคนั้นเลย
คนบางคนสร้างภาพประโคมโหมให้ตัวเองดูดี แรกๆ คนก็อาจยำเกรง แต่พอนานไป ภาพหลุด
สุดท้ายคนก็รู้เห็นถึงธาตุแท้ สติปัญญา ความสามารถ ก็ทำใจเถอะนะ เป็นได้แค่ลากุ้ยโจว
เชียน 黔 =ชื่อย่อของมณฑล กุ้ยโจว (แต่ละมณฑลของจีน ส่วนใหญ่จะมีชื่อย่อ)
ลวี่ 驴 = ลา จี้ 技 = ความสามารถ ฉ๋วง 穷 = สิ้นสุด หมด
สำนวนนี้มีที่มาดังนี้
สมัยก่อน บริเวณมณฑล กุ้ยโจว ไม่มี ลา ต่อมามีคนๆหนึ่งไปซื้อ ลา มาจากต่างเมือง แต่พอซื้อมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่เป็น
จึงนำมาปล่อยไว้ที่ตีนเขา ซึ่งที่แห่งนี้มีเสือเจ้าถิ่นอยู่ตัวหนึ่ง
ครั้งแรกที่เสือเห็นลา ก็รู้สึกกลัวเหมือนกันเนื่องจาก ลา ตัวใหญ่ วันแรกๆ เสือ จึงไม่กล้าเข้าใกล้
อยู่มาวันหนึ่ง ลา ได้ส่งเสียงร้องดังขึ้นมา เสือ ได้ยินเสียง ลา ครั้งแรกตกใจกลัวมาก
คิดว่า "ลา จะมาทำร้ายข้าแน่ๆ" เท้าไวเท่าความคิด เสือโกยแน่บไม่คิดชีวิต
แต่พอวิ่งจนเหนื่อยหอบ หันกลับไปดู ไม่เห็น ลา วิ่งตามมา ก็เบาใจ
วันที่ 2 เสือ เริ่มเฝ้ามองทุกอริยาบทของ ลา และเริ่มคุ้นกับเสียงร้องของ ลา
จึงเริ่มเข้าไปใกล้ แต่ยังไม่กล้าเสี่ยงไปแหย่ ลา
วันที่ 3 เสือ เริ่มเข้าใกล้ ลา มากขึ้น แล้วเริ่มเอาเท้าไปสะกิด ลา
ลา โมโหจึงเอาเท้าไปเตะเสือ เสือ เมื่อโดน ลา เตะ ก็หัวเราะด้วยความดีใจและคิดว่า
"ที่แท้ไอ้นี่ ก็มีความสามารถแค่นี้ " ว่าแล้วก็จับ ลา กิน เป็นอาหาร
สำนวนนี้ จึงมีความหมาย ว่าความสามารถมีจำกัด ทำได้แค่นี้ เช่น ลา ในนิทานมีความสามารถแค่ส่งเสียงร้อง กับ ยกเท้าเตะ
ดูนิทานประกอบสุภาษิต 黔驴技穷
https://www.youtube.com/watch?v=6Thbu3NCDwY
วิเคราะห์เปรียบเทียบ
จะเห็นได้ว่าบางพรรคการเมืองมีความสามารถแค่ลากุ้ยโจว 黔驴技穷 อย่าไปหวังอะไรจากพรรคนั้นเลย
คนบางคนสร้างภาพประโคมโหมให้ตัวเองดูดี แรกๆ คนก็อาจยำเกรง แต่พอนานไป ภาพหลุด
สุดท้ายคนก็รู้เห็นถึงธาตุแท้ สติปัญญา ความสามารถ ก็ทำใจเถอะนะ เป็นได้แค่ลากุ้ยโจว
ความคิดเห็นที่ 5
อ่านเรื่องลากุ้ยโจวจบแล้วเห็นด้วยกับตรงที่สรุปมากๆ ขออนุญาตเอานิทานสั้นๆเรื่องลามาแจมด้วยสักเรื่อง เพราะบทสรุปก็มาแนวคล้ายๆกัน
กาลครั้งหนึ่งมีลาอยู่ตัวหนึ่งเผอิญไปพบเข้ากับหนังสิงโต มันจึงนึกอะไรสนุกๆ ขึ้นมา แล้วหยิบเอาหนังสิงโตขึ้นมาห่มคลุมตัวจากนั้นก็มุ่งตรงไปยังฝูงแกะ เมื่อเหล่าฝูงแกะเห็นลาที่คลุมด้วยหนังสิงโตอยู่ก็ตกใจคิดว่าเป็นสิงโตจริงๆ ต่างก็พากันวิ่งหนีไปอย่างแตกตื่น สร้างความขบขันให้แก่ลาเป็นอย่างมาก
จากนั้นเจ้าลาในคราบสิงโตก็ใช้วิธีเดิมเข้าไปหลอกฝูงวัวที่กำลังกินหญ้ากันอยู่ พอฝูงวัวเห็นเข้าก็แตกตื่นและรีบพากันวิ่งหนีกันอย่างอลหม่าน ทำให้ลารู้สึกฮึกเหิมเป็นทวีคูณจึงเดินเข้าไปในหมู่บ้านหวังจะหลอกให้ผู้คนแตกตื่นเหมือนที่เคยเป็น
วันนี้มันพยายามเดินอย่างองอาจพร้อมกับร้องคำรามด้วยเสียงที่คิดว่าน่ากลัวน่าเกรงขามที่สุดในชีวิตของมัน แต่เมื่อผู้คนสังเกตเห็นว่าหูของมันยาวผิดปกติ ทุกคนจึงรู้ว่ามันไม่ใช่สิงโตอย่างที่ใครๆ เข้าใจ ชายผู้หนึ่งจึงเอ่ยกับลาว่า “ถึงเจ้าจะซ่อนอยู่ภายใต้หนังของท่านเจ้าป่า แต่หูของเจ้าก็ยังคงโผล่ออกมาให้พวกข้าเห็นอยู่ดี และเสียงของเจ้าก็แสดงตัวตนที่แท้จริงว่าเจ้าก็เป็นแค่เพียงลาโง่ตัวหนึ่งเท่านั้น”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนเราไม่สามารถปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้
กาลครั้งหนึ่งมีลาอยู่ตัวหนึ่งเผอิญไปพบเข้ากับหนังสิงโต มันจึงนึกอะไรสนุกๆ ขึ้นมา แล้วหยิบเอาหนังสิงโตขึ้นมาห่มคลุมตัวจากนั้นก็มุ่งตรงไปยังฝูงแกะ เมื่อเหล่าฝูงแกะเห็นลาที่คลุมด้วยหนังสิงโตอยู่ก็ตกใจคิดว่าเป็นสิงโตจริงๆ ต่างก็พากันวิ่งหนีไปอย่างแตกตื่น สร้างความขบขันให้แก่ลาเป็นอย่างมาก
จากนั้นเจ้าลาในคราบสิงโตก็ใช้วิธีเดิมเข้าไปหลอกฝูงวัวที่กำลังกินหญ้ากันอยู่ พอฝูงวัวเห็นเข้าก็แตกตื่นและรีบพากันวิ่งหนีกันอย่างอลหม่าน ทำให้ลารู้สึกฮึกเหิมเป็นทวีคูณจึงเดินเข้าไปในหมู่บ้านหวังจะหลอกให้ผู้คนแตกตื่นเหมือนที่เคยเป็น
วันนี้มันพยายามเดินอย่างองอาจพร้อมกับร้องคำรามด้วยเสียงที่คิดว่าน่ากลัวน่าเกรงขามที่สุดในชีวิตของมัน แต่เมื่อผู้คนสังเกตเห็นว่าหูของมันยาวผิดปกติ ทุกคนจึงรู้ว่ามันไม่ใช่สิงโตอย่างที่ใครๆ เข้าใจ ชายผู้หนึ่งจึงเอ่ยกับลาว่า “ถึงเจ้าจะซ่อนอยู่ภายใต้หนังของท่านเจ้าป่า แต่หูของเจ้าก็ยังคงโผล่ออกมาให้พวกข้าเห็นอยู่ดี และเสียงของเจ้าก็แสดงตัวตนที่แท้จริงว่าเจ้าก็เป็นแค่เพียงลาโง่ตัวหนึ่งเท่านั้น”
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คนเราไม่สามารถปกปิดตัวตนที่แท้จริงได้
แสดงความคิดเห็น
**ห้องเรียน คนรากหญ้า: “ภาษิตจีน ตอนที่ 1" ปัญหารุมเร้า ความสามารถที่จำกัด การเลียนแบบที่ไร้แก่นสาร** (ชุนเทียน)
มาเปลี่ยนความคิดเห็นและพูดคุยกัน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลและภาพประกอบ ขอบคุณ WM และขอบคุณเพื่อนๆ ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน
ไม่ว่าจะแสดงตัวหรือไม่ ขอบคุณทุกๆ กำลังใจ ทุกๆ ความคิดเห็นค่ะ
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ มีรากเหง้าวัฒนธรรมมายาวนาน การที่เราได้เรียนรู้เรื่องราว เกร็ดความรู้ต่างๆ ของจีน
ย่อมมีประโยชน์นำมาเป็นบทเรียนหรือวิเคราะห์กับสถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังถือเป็นความรู้เสริมติดตัว
เมื่อเราได้พบปะพูดคุย ติดต่อ หรือทำการค้ากับชาวจีน ก็จะทำให้อีกฝ่ายชื่นชม ให้ความเป็นกันเองได้ด้วย
ขอขอบคุณ
1. พี่ cnck ที่ถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนและสุภาษิต ลากุ้ยโจว
2. แหล่งที่มาและภาพประกอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คลังกระทู้เดิม (คลิกที่ลิงค์ชื่อกระทู้ได้เลยค่ะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันนี้จะนำเสนอสัก 3 สำนวนค่ะ คือ เสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่วทั้งสี่ทิศ ลากุ้ยโจวก็ได้แค่นี้ และตังซีขมวดคิ้ว
1. "เสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่วทั้งสี่ทิศ หรือ รอบด้านเพลงฉู่" 四面楚歌 ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ
ในยุคราชวงศ์ฉินมีการขูดรีดราษฎรอย่างทารุณ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ตกทุกข์ได้ยาก จึงมีกองกำลังเกิดขึ้นมากมาย
ที่เด่นๆ ก็คือ “เซี่ยงหยี่” หรือ “ฌ้อปาอ๋อง” กับ “หลิวปัง” หรือ “เล่าปัง”
ทั้งสอง ก็มีจุดเด่นจุดด้อยกันไป
“เซี่ยงหยี่” แคว้นฉู่ เป็นคนที่มีนิสัยใจคอเย่อหยิ่งจองหอง แข็งกร้าวไม่ยอมฟังความเห็นคนอื่น แต่เป็นคนกล้าหาญ สู้รบเก่ง
“หลิวปัง” แคว้นฮั่น เป็นคนอ่อนโยน เจ้าเล่ห์กว่า เข้าใจและรู้จักใช้สมองของผู้คนรอบตัวในการก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน
ทั้งคู่ต่างก็ร่วมมือกันจนสร้างอิทธิพลขึ้นเรื่อยๆ จนภายหลังโค่นทัพฉินลงได้ จากนั้นทั้งคู่จึงรบกัน ทำสงครามฉู่ฮั่นยืดเยื้อนาน 4 ปี
ต่างชิงไหวชิงพริบเพื่อแย่งเป็นกษัตริย์
เซี่ยงหยี่ ได้เปรียบมีกำลังมาก ชนะศึกหลายครั้ง แต่เพราะไม่กวดขันวินัยกองทัพ ปล่อยให้ทหารจุดไฟเผาวัง บ้านเรือนราษฎร
ปล้นทรัพย์สิน ข่มเหงรังแกหญิงชาวบ้าน ทำให้ประชาชนแค้นมาก จึงขาดคนสนับสนุนไปเรื่อยๆ
แต่หลิวปังเอาใจชาวบ้าน ไม่ใช้ความรุนแรงหรือกดขี่ใดๆ รู้จักส่งเสริมคนเก่งให้มีบทบาท จึงเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว
แผ่ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง
ท้ายสุดเซี่ยงหยี่ซึ่งชนะอยู่หลายครั้งแต่มาแพ้ครั้งสำคัญให้หลิวปัง จนทำให้หลิวปังสถาปนาราชวงศ์ฮั่นได้สำเร็จ
ในเรื่องหนักๆ เราจะข้ามไป เอาเป็นว่าจะเล่าแค่ช่วงที่เกี่ยวกับ "เสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่วทั้งสี่ทิศ"
ก่อนอื่นจะแนะนำให้รู้จักกับ แม่นางหยูจี ชายาของเซี่ยงอวี่ บางคนก็หาว่านางเป็นนางงามล่มเมืองเพราะทำให้ฉู่แพ้ฮั่น
แต่เราว่านักประวัติศาสตร์ใจร้ายจริงหากจะเรียกนางงามล่มเมือง เพราะนางไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ฉู่แพ้ฮั่นอย่างสิ้นเชิง
แม่นางหยูจีนอกจากงดงามแล้วยังเป็นสตรีที่ใจเด็ด ติดตามเซี่ยงอวี่ไปในสงครามทุกหนแห่ง เป็นเพื่อนคู่คิด
ไม่ทำตัวน่ารำคาญ เป็นภาระ หรือชวนให้ปวดเศียรเวียนเกล้าเหมือนสตรีทั่วไป
ถึงกับมีคำกล่าวว่า เซี่ยงอวี่ได้ครองของวิเศษอยู่ 2 สิ่ง นั่นคือยอดอาชาแห่งยุค และยอดหญิงงามแห่งยุค
มิหนำซ้ำช่วงสงครามฉู่-ฮั่นที่ยืดเยื้อ เซี่ยงอวี่เป็นคนใจร้อน เจ้าอารมณ์ มักตำหนิ ลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชา
อย่างรุนแรง ก็ได้หยูจีคอยปลุกปลอบให้สงบสติอารมณ์ แต่หลังๆ คงจะไม่ไหว เหล่าขุนศึกจึงพากันหนีไป
เข้ากับหลิวปัง
จนกระทั่งทหารฉู่ถูกทหารฮั่นล้อมอยู่ที่ไก่เซี่ย กำลังทหารเหลือน้อย เสบียงร่อยหรอ ซ้ำร้ายพอตกกลางคืน
ก็จะได้ยินเสียงเพลงฉู่ดังมาจากทั้ง 4 ด้าน ทำให้ทหารฉู่ทั้งหลายคิดถึงบ้านเกิดและหดหู่เสียขวัญเพราะคิดว่า
ฮั่นยึดฉู่ได้แล้วหรือไร ถึงกวาดต้อนเชลยแคว้นฉู่มามากมายร้องเพลงได้ขนาดนี้ ทหารมากมายพากันหนีทัพ
แต่ความจริงแล้วเป็นกลอุบายของทัพฮั่นที่ให้ทหารฮั่นร้องเพลงแคว้นฉู่นั่นเอง ตรงนี้มีสุภาษิตจีนที่ว่า
”ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ” หรือ ”เสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่วทั้งสี่ทิศ” หมายถึงถูกตีโอบทั้งสี่ด้าน หรือประมาณว่าทำการสิ่งใด
แล้วมีอุปสรรคใหญ่หลวง งานเข้าทุกทิศทาง อะไรประมาณนั้น "ตกอยู่ภายใต้อันตรายรอบด้าน ไม่สามารถพึ่งพาใครได้ ต้องถูกโดดเดี่ยว"
จนในที่สุดเกิดเหตุการณ์บทเพลงไก่เซี่ยและชายาหยูจีฆ่าตัวตายเพื่อให้เซี่ยงหยี่ไม่ต้องพะวงเป็นโศกนาฏกรรม
รักในระหว่างรบดังกล่าว
วิเคราะห์เปรียบเทียบ
เราควรประเมินสถานการณ์ต่างๆ ด้วยความเป็นจริงว่าตอนนี้ตกอยู่ในสภาพเสียงเพลงรัฐฉู่ดังทั่วทั้งสี่ทิศแล้วหรือยัง
หรือจะหลอกตัวเองต่อไปว่าชีวิตยังดีอยู่เพียงเพราะความอยากเอาชนะ และอคติบังตา
แต่ไหนแต่ไรมา ทั้งทางการเมืองหรือการทหาร ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร เมื่อสมประโยชน์ก็ร่วมมือกัน เมื่อขัดแย้งก็รบรากัน
ผู้ชนะคือผู้เขียนประวัติศาสตร์ ประชาชนก็เป็นเครื่องมืออยู่เรื่อยไป มาถึงยุคนี้แล้วประชาชนจึงควรจะเป็นผู้ลิขิตอนาคตตนเองได้