"งานเลี้ยงหงเหมิน" จุดเปลี่ยนชะตาสงคราม--- ฉู่-ฮั่น--- (นิยายการเมือง)

กระทู้คำถาม
“งานเลี้ยงที่หงเหมิน”...เรื่องนี้เป็นอีกตำนานอันเลื่องลือเกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ฉิน ราวปี 221 ก่อนคริสต์ศักราช ...เป็นราชวงศ์แรกที่รวมก๊กต่างๆเข้าเป็นเอกภาพ

แต่เนื่องจากระบบการปกครองราชวงศ์ฉินไม่คำนึงถึงประโยชน์ของราษฎร จึงขูดรีดราษฎรอย่างทารุณ ทำให้เดือดร้อน ตกทุกข์ได้ยาก จึงพากันลุกขึ้นก่อกบฏ...





หลิวปัง (ฮั่นอู่ตี้ ปฐมกษัตริย์ ราชวงฮั่น)



ในขบวนการลุกขึ้นสู้มีหลายกองกำลัง แต่มี 2 ทัพที่ขยายตัวรวดเร็ว กองทัพหนึ่งนำโดย “เซี่ยงหยี่” หรือ “ฌ้อปาอ๋อง”...เป็นนายพลส่วนภูมิภาค อีกทัพหนึ่งนำโดย “หลิวปัง” หรือ “เล่าปัง”...เป็นขุนนางระดับล่างก๊กฉิน





เซี่ยงหยี่ ( ฉ้อปาอ๋อง )



“เซี่ยงหยี่” เป็นคนที่มีนิสัยใจคอเย่อหยิ่งจองหอง แข็งกร้าวไม่ยอมฟังความเห็นคนอื่น แต่เป็นคนกล้าหาญ สู้รบเก่ง ชนะสงครามบ่อยครั้ง สร้างชื่อเสียงในสมรภูมิ ส่วน “หลิวปัง” เป็นคนเจ้าเล่ห์...เข้าใจใช้สมองของผู้คนรอบตัวในการก่อกบฏต่อต้านการปกครองราชวงศ์ฉิน

น่าสนใจว่า...สองกองทัพร่วมมือเป็นพันธมิตรกัน สนับสนุนกัน และกัน สร้างอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีข้อตกลงกันอีกว่า “ถ้ากองทัพใครบุกตีเมืองเสียนหยางราชธานีก๊กฉินได้ก่อน ก็ให้ผู้นั้นเป็นกษัตริย์”

ปี 207 ก่อนคริสต์ศักราช เซี่ยงหยี่เอาชนะกองทัพหลักราชวงศ์ฉินที่เมืองจวี้ลู่ ขณะที่หลิวปังนำกองทัพบุกเข้าตีเมืองเสียนหยางแล้ว จัดวางกำลังทหารไว้ที่ชานเมือง สั่งการให้ปิดล้อมสถานที่ราชการสำคัญ และยังสั่งให้ทหารพยายามช่วยเหลือประชาชน ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า หลิวปังเป็นคนที่มีเมตตากรุณา และกองทัพมีระเบียบวินัยเคร่งครัด...ต่างก็ยินดีให้เป็นกษัตริย์

เซี่ยงหยี่รู้ข่าวรู้สึกโกรธ จึงนำทหาร 4 แสนคนหวังยึดเมืองเสียนหยางคืน ฟั่นเจิงเสนาบดีเตือนว่า “เมื่อก่อนหลิวปังเป็นคนโลภมาก เจ้าชู้ แต่หลังตีเมืองเสียนหยางได้กลับไม่สนใจเงินทอง ทรัพย์สิน นางงามก็ไม่เหลียวแล แสดงว่าตั้งเป้าหมายไกล เราต้องถือโอกาสที่ยังไม่ทันพัฒนาเติบใหญ่ รีบลงมือสังหารเสียก่อน”

ข่าวนี้รู้ถึงหูฝ่ายหลิวปัง “จางเหลียง”...เสนาธิการเห็นว่าขณะนี้หลิวปังมีกำลังพลเพียง 1 แสนคน สู้กำลังเซี่ยงหยี่ 4 แสนคนไม่ไหว แน่ หลิวปังพร้อมจางเหลียงและนายพลฝานไขว้จึงพากันเดินทางไปเข้าพบเซี่ยงหยี่ เพื่ออธิบายว่า ทหารของเขาไม่ได้เข้าตัวเมืองเสียนหยาง เพียงแต่เฝ้าดูแลที่ชานเมืองเท่านั้น เพื่อรอคอยให้ “เซี่ยงหยี่” ...มาเป็นกษัตริย์

เซี่ยงหยี่เชื่อคำพูดหลิวปัง จัดงานเลี้ยงรับรองอย่างดี ระหว่างกินข้าวกัน นายพลฟั่นเจิงเสนาบดีเซี่ยงหยี่นั่งอยู่ข้างๆ ทำท่าเป็นนัยหลายครั้งว่าให้ลงมือฆ่าหลิวปังเสีย แต่เซี่ยงหยี่ก็แกล้งทำเป็นไม่เห็น ฟั่นเจิงจึงสั่งให้ นายพลเซี่ยงจวางไปรำดาบหน้าโต๊ะอาหาร เพื่อฉวยโอกาสฆ่าหลิวปัง



...ไม่ทันได้ลงมือ จางเหลียงเสนาธิการหลิวปังที่นั่งอยู่ข้างๆเห็นท่าไม่ดีก็รีบออกไปเรียกนายพลฝานไขว้เข้ามาพร้อมดาบและโล่ ประณามเซี่ยงหยี่อย่างไม่ให้เกียรติว่า...

“หลิวปังบุกเข้าเมืองเสียนหยางก่อน แต่เขาไม่ได้ยึดตัวเมืองและตั้งตนเป็นกษัตริย์ กลับไปเฝ้าดูแลชานเมือง รอคอยท่านมาเป็นกษัตริย์ ผู้ที่สร้างคุณงามความดีเช่นนี้และยินยอมเป็นผู้น้อยของท่าน ท่านไม่เพียงแต่ไม่ยกย่องชมเชย กลับเชื่อฟังคำพูดของผู้ที่ต่ำทราม หมายจะฆ่าลูกน้องตัวเอง”

เซี่ยงหยี่ฟังแล้วรู้สึกละอายใจ หลิวปังที่แกล้งทำเป็นเมาสบโอกาสก็ขอปลีกตัวไปเข้าห้องน้ำแล้วรีบเดินทางกลับฐานที่มั่น ฟั่นเจิงเห็นเซี่ยง-หยี่ไม่กล้าตัดสินใจ ปล่อยหลิวปังรอดไปก็รู้สึกพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย พูดด้วยความโกรธขึ้นมาว่า “เซี่ยงหยี่ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่สำเร็จได้ คอยดูต่อไป...ผู้ที่เป็นกษัตริย์จะต้องเป็นหลิวปัง”

“งานเลี้ยงในหงเหมิน” เป็นนิทานที่รู้จักกันโดยทั่วไปในสมัยโบราณของจีน...

เมื่อเซี่ยงหยี่ลำพองใจมาก รู้สึกว่ามีกำลังทหารมาก เข้มแข็งเกรียงไกร ต่อมาก็ตั้งตนเป็น “ฌ้อปาอ๋อง ตะวันตก” และแต่งตั้งหลิวปังเป็นเจ้าเมืองฮั่นในเขตทุรกันดาร ไม่นานนักหลิวปังถือโอกาสที่เซี่ยงหยี่ออกไปรบกับก๊กอื่น ยึดเมืองเสียนหยาง

“เซี่ยงหยี่” กับ “หลิวปัง” ทำสงครามฉู่ฮั่นยืดเยื้อนาน 4 ปี เซี่ยงหยี่ ได้เปรียบมีกำลังมากชนะหลายครั้ง แต่เพราะไม่กวดขันระเบียบวินัยกองทัพ ปล่อยให้ทหารจุดไฟเผาวัง บ้านเรือนราษฎร ปล้นทรัพย์สิน ข่มเหงรังแกหญิงชาวบ้าน ทำให้ประชาชนแค้นมาก...จึงไม่มีใครสนับสนุน

อิทธิพลเซี่ยงหยี่ลดลงเรื่อยๆ ตรงข้ามกับหลิวปังที่เอาใจชาวบ้าน ไม่ใช้ความรุนแรงหรือกดขี่ใดๆ เข้าใจใช้คนผู้เป็นมันสมองให้มีบทบาท จึงเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว แผ่ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง

ที่สุดแล้ว...ปี 202 ก่อนคริสต์ศักราช “หลิวปัง” นำทหารฮั่นเดินทัพไปปิดล้อมทหารฉู่ของเซี่ยงหยี่ แม้ว่าเขาจะตีฝ่าวงล้อมออกมาได้ แต่ก็ถูกทหารฮั่นบุกไล่จนไม่มีทางหนี สุดท้าย...“เซี่ยงหยี่” ต้องฆ่าตัวตายริมแม่น้ำ หลิวปังได้เป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นเป็นราชวงศ์ที่สองที่รวมจีนเป็นเอกภาพ


ก่อนงานเลี้ยงหงเหมิน
ตอนที่ เซี่ยงหยี่ แข่งกับ หลิวปัง ในการยึดนครหลวงเสียนหยางนั้น ตลอดทางที่เซี่ยงหยี่เลือกเข้าไปยึด เล่นทำสงครามหฤโหดมาตลอดทาง ใครขวางแกฆ่าเรียบ

ผิดกับหลิวปัง ที่ใช้ปฎิบัติการจิตวิทยาเสียส่วนมาก ทำให้ตลอดทางทหารฉินยอมวางอาวุธแต่โดยดี

พอเข้าเมืองได้ องค์ชายจื่ออิง หรือก็คือพระเจ้าจิ๋นซีที่ 3 ก็ขอยอมแพ้แต่โดยดี แทบไม่ต้องเสียเลือดเนื้อมากมาย

เซี่ยงหยี่มาถึงทีหลัง รู้เข้า ก็ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ เล่นบทนักเลงที่ถนัดไล่ หลิวปัง ไปอยู่เสฉวน ตอนแรก

หลังจากนั้น พอ หลิวปัง ไปอยู่เสฉวน เซี่ยงหยี่ก็สำเริงสำราญตามประสา ไม่คิดทำอะไรให้ดีขึ้น สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด. จบรายการเพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด




***เซี่ยงหยี่เลือกที่จะปฎิเสธไม่ยอมรับชัยชนะของหลิวปังในคราแรก ท้ายที่สุดหลิวปังก็คือคนที่ได้ใจและเข้าใจประชาชน และเป็นผู้ชนะที่แท้จริง***.



ประวัติศาสตร์...ผู้ชนะมักเป็นคนเขียนเสมอ อำนาจและผลประโยชน์ ถ้าวันหนึ่ง ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ขัดผลประโยชน์กัน ก็กลายเป็นต้องฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่ง ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ประชาชนก็เป็นเพียงเครื่องมือให้เขาใช้ทุกครั้งไป...”




เรื่องนี้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ อ่านเพื่อความบันเทิงเท่านั้นค้าบบ.

❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️

ขอบคุณ Cri online
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
การรบระหว่าง หลิวปัง 刘邦 กับ ฉู่ป้าหวัง 楚霸王 เกิดสุภาษิตที่นักปกครองควรจำใส่ใจคือ

1 姞息养奸 กู ซี หยั่ง เจียน  แปลง่ายๆคือ ไม่ควรอภัยให้กับคนชั่ว เพราะเท่ากับเลี้ยงให้มันเติบโต

2 放虎归山 ฟั้ง หู่ กุย ซัน  แปลว่า ปล่อยเสือเข้าป่า

3 鸟尽弓藏  兔死狗烹 เหนี่ยว จิ้น กง ฉาง  ทู่ สื่อ โก่ว เพิง  แปลเป็นไทยคล้ายสำนวน เสร็จนาฆ่าโคถึก  เสร็จศึกฆ่าขุนพล

และในการรบของ 2 ทัพนี้ยังเกิด กลยุทธ์ที่ยอดเยี่ยมอันดับ 8 ในสุดยอด 36 กลยุทธ์ตลอดกาลของจีน นั่นคือ

明修栈道 暗渡陈仓  หมิง ซิว จั้น เต้า. อั้นตู้เฉิงชาง แปลง่ายๆว่า หลอกให้ตายใจ (เล่าเป็นเรื่องได้ 1 ตอน )

ป.ล หมากรุกจีนที่ใช้เล่นในปัจจุบัน จำลองรูปแบบการรบของ สองทัพ นี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่