สวัสดีครับ สำหรับวันนี้จะพาทุกท่านท่องเวลาย้อนอดีตประวัติศาสตร์ไปกับเรื่องราวของจางเหลียว ยอดกุนซือสมองเพชรในสมัยต้นราชวงศ์ฮั่นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยนะครับ
และหากเพื่อนๆท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ต่างๆ ท่านสามารถติดตามกันได้ที่
https://www.facebook.com/FunFoy/?fref=ts และติดตามบทความทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆได้ก่อนได้ใครได้เลยครับ
ประวัติยอดกุนซือ
จางเหลียง(张良)หรือจางจื่อฝา. ตามประวัติแล้วตระกูลของเขาเป็นเสนาบดีแคว้นหานติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จนกระทั่งแคว้นฉินปราบปรามแคว้นอื่นๆในยุคจั้นกว๋อของจีนได้หมดสิ้น โดยรวบรวมแคว้นต่างๆให้อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นฉินแคว้นเดียวในปี 221 ก่อนคริสตกาล ด้วยความไม่พอใจที่แคว้นของตนเองถูกผนวกจนต้องล่มสลาย ทำให้จางเหลียงแค้นใจมากจนถึงกับทำการลอบสังหารฉินสื่อหวงตี้ที่ป๋อลังซาแต่ไม่สำเร็จ จนทำให้จางเหลียงต้องหลบลี้หนีภัยอยู่ในป่าถึงสิบวัน และต้องปลอมชื่อแซ่เพื่อหลบการจับกุมขณะที่เดินทางอีกด้วย
พบผู้เฒ่าหินเหลือง-หวงซือกุง
ในบันทึก “สื่อจี้”(Records of the Grand Historian-史記)ของซือหม่าเชียนกล่าวถึงเรื่องราวของจางเหลียงที่ถูกกล่าวขานกันอย่างมากนั่นคือการได้พบกับหวงซือกุงหรือผู้เฒ่าหินเหลือง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อจางเหลียงลี้ภัยไปจนถึงเมืองเซี่ยพี้ วันหนึ่งเขาได้เดินไปที่สะพานพบเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่ง เมื่อจางเหลียงเดินไปใกล้ ผู้เฒ่าเจตนาทำรองเท้าตกลงไปเบื้องล่างแล้วจึงกล่าวให้จางเหลียงเก็บรองเท้าให้ตน นอกจากนั้นยังบอกให้ใส่รองเท้ากลับคืนให้ตนอีกด้วย ซึ่งตามธรรมดาแล้ว จางเหลียงอันยังอยู่ในวัยหนุ่มถึงขนาดจ้างคนลอบสังหารฉินสื่อหวงตี้มาแล้ว คงไม่ยอมใครง่ายๆ แต่กับผู้เฒ่าผู้นี้จางเหลียงได้อดกลั้นตัวเองไว้ ผู้เฒ่าจึงนัดให้จางเหลียงมาพบในอีกห้าวัน ครั้งต่อมา จางเหลียงมาช้ากว่า ทำให้ผู้เฒ่าต่อว่าเขาและนัดหมายเขาว่า ในอีกห้าวันให้มาพบกันใหม่ ณ ที่เดิม
คราวนี้จางเหลียงมารอตั้งแต่ค่ำวันก่อนนัด ผู้เฒ่าจึงพึงพอใจและมอบหนังสือให้เขาหนึ่งเล่ม ครั้นแล้วผู้เฒ่าก็บอกกับจางเหลียงว่าตนเองคือ ก้อนหินที่เชิงเขาเมืองกู่เฉิงแล้วจึงได้หายไป ครั้นรุ่งเช้ามา จางเหลียงจึงได้เปิดดูหนังสือที่ผู้เฒ่าหินเหลืองมอบไว้ให้ หนังสือเล่มนั้นคือตำราพิชัยสงครามไท่กง(ไท่กงปิงฝ่า)ของเจียงจื่อหยา มหาเสนาบดีของพระเจ้าโจวอู่หวางในสมัยราชวงศ์โจวนั่นเอง จางเหลียงศึกษาหนังสือเล่มนี้อย่างจริงจังและต่อมาเขาได้เป็นเสนาธิการคนสำคัญของหลิวปังจนสามารถล้มราชวงศ์ฉินลงได้ และนอกจากนี้เขายังช่วยให้หลิวปังสามารถรบชนะซีฉู่ป้าหวางในสมัยสงครามฉู่-ฮั่นอีกด้วย จนแม้แต่ซือหม่าเชียนได้เขียนกล่าวชื่นชมจางเหลียงไว้ว่า “เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นเกาจู่เผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย จางเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้นเสมอ”ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในกรณี“งานเลี้ยงที่หงเหมิน”
หนังสือของจางเหลียง-พิชัยสงครามของไท่กง
หรือพิชัยสงครามของ “ผู้เฒ่าคนหนึ่ง”
เรื่องของจางเหลียงที่ได้พบกับหวงซือกุงนั้น ถูกเล่าผ่านบันทึกสือจี้และผ่านการเล่าขานจนกลายเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจของคนรุ่นต่อๆมาอย่างไรก็ตามในตอนท้ายของเรื่อง ชีวประวัติของหลิวโหว(The House of Marquis of Liu)ที่ปรากฎอยู่ในสือจี้นั้น ซือหม่าเชียนได้เขียนบทวิเคราะห์ไว้ว่า ถึงแม้นักปราชญ์จะไม่เชื่อเรื่องผีสางเทวดาว่าเป็นความจริงนั้น แต่เกี่ยวกับเรื่องของจางเหลียงที่ได้พบหวงซือกุงนั้น เป็นที่น่าประหลาดใจมากที่มีวัตถุหลักฐานหลงเหลือให้เห็นอย่างชัดเจนในยุคของเขา กระนั้นก็ตาม ซูซื่อ (ซูตงพอ)ในยุคราชวงศ์ซ่งได้ให้ความเห็นไว้ว่า "หวงสือกุง เป็นสุภาพชนที่อยู่อย่าง สันโดษในสมัยราชวงศ์ฉิน ผู้คนไม่สังเกตความมีตัวตนอยู่ของหวงสือกุง กลับคิดว่าหวงสือกุง เป็นผีสางเทวดา" ขณะเดียวกันก็มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตำราพิชัยสงครามที่จางเหลียงได้จากหวงซือกุงนี้คือตำราพิชัยสงคราม ซันเลวี่ย(สามยุทธวิธีพิชิตชัย)อันได้รวบรวมสรรพวิทยายุทธจากหลายสำนักทั้งลัทธิหยู ลัทธิเต๋าและตำราพิชัยสงครามจากนักการทหารทั้งหลายมาวิเคราะห์รวบรวมไว้ในหนึ่งเดียวโดยมีหวงซือกุงเป็นผู้แต่งนั่นเอง
กินตำแหน่ง หลิวโหว(Marquis of Liu)
ที่ปรึกษา-สร้างรากฐานราชวงศ์ฮั่น
หลังจากที่พระเจ้าฮั่นเกาตี้ ขึ้นครองราชย์จึงได้แต่งตั้งผู้มีความดีความชอบให้ได้รับตำแหน่งรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามขุนนางค้ำบัลลังก์แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตกคือ เซียวเหอซึ่งเป็นผู้ช่วยหลิวปังในด้านการบริหารตั้งแต่หลิวปังยังเป็นขุนนางตำแหน่งเล็กๆ –กินตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีจวบจนกระทั่งต้นรัชกาลของพระเจ้าฮั่นฮุ่ยตี้ คนต่อมาคือหานซิ่น-ในสมัยสงครามฉู่-ฮั่นหานซิ่นเป็นทหารระดับล่าง เมื่อเห็นว่าหลิวปังไม่ใช้ตนที่มีความสามารถจึงได้หลบหนีไป เซียว เหอจึงไปตามตัวหานซิ่นกลับมา และแนะนำหานซิ่นให้กับหลิวปังจนหลิวปังแต่งตั้งเขาเป็นแม่ทัพใหญ่ นำการรบและสามารถพลิกสถานการณ์ของฝ่ายฮั่นจนชนะฉู่ได้ที่สุด หลิวปังแต่งตั้งให้หานซิ่นเป็น “ฉีหวาง”ตามคำเรียกร้องของหานซิ่นเองเป็นเหตุให้หลิวปังระแวงหานซิ่นอยู่ตลอดเวลาและคนสุดท้ายคือ จางเหลียง ซึ่งตอนแรกหลิวปังเสอนให้เขารับตำแหน่งซานว่านโหว(เจ้าพระยาที่มีสามหมื่นครัวเรือน)แต่จางเหลียง “มักน้อย” จึงขอแค่ให้ตนเองเป็น“หลิวโหว” เพียงเท่านั้น
ครั้นต่อมาหลิวปังเริ่มหวาดระแวงผู้มีความดีความชอบทั้งหลายโดยเฉพาะหานซิ่น แต่หลิวปังก็ไม่อาจทำอะไรได้เนื่องจากถ้านับกันแล้วการที่หลิวปังชนะเซี่ยงหยี่ได้ต้องยกความดีความชอบให้แม่ทัพผู้นี้ ทว่าสุดท้ายแม่ทัพหานซิ่นผู้ที่ “รุ่งเรืองก็เพราะเซียวเหอ ล่มจมก็เพราะเซียวเหอ รอดตายก็เพราะผู้หญิง ตายก็เพราะผู้หญิง(成敗一蕭何, 生死兩婦人)”ก็ถูกกำจัดออกจากวังวนแห่งอำนาจอย่างเด็ดขาด ทำให้เป็นหนึ่งในข้อพิจารณาของเซียวเหอที่เห็นว่าตนควรออกจากราชการเพื่อรักษาชีวิตของตนไว้ได้แล้ว
จางเหลียงยังได้ช่วยฮั่นเกาจู่แก้ปัญหาภายในราชสำนักอีกหลายๆเรื่อง เช่น เมื่อครั้งตั้งราชวงศ์ฮั่นใหม่ๆ ขุนนางทั้งหลายได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบลดหลั่นกันตามความสำคัญ แต่ขุนนางที่ไม่ได้ตำแหน่งนั้นก็ไม่พอใจและรวมตัวกันคิดก่อการกบฎ ฮั่นเกาจู่รู้เรื่องเข้าก็ทรงไม่สบายพระทัย จางเหลียงจึงแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งขุนนางที่เป็นที่รู้กันว่าไม่ชอบพอพระทัยมากที่สุดอย่าง “ยงฉื่อ” ให้เป็นสือฟางโหวทำให้ขุนนางต่างๆเปลี่ยนใจไม่คิดก่อการกบฎหรือ ปัญหาการตั้งราชธานีใหม่ในต้นราชวงศ์ฮั่นก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขุนนางส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าควรใช้เมืองลั่วหยางเป็นเมืองหลวงตามแบบราชวงศ์โจว มีเพียงแต่หลิวจิ้งเท่านั้นที่เสนอให้ตั้งราชธานีอยู่ในแถบกวนจง จางเหลียงจึงให้ข้อเสนอแนะว่า ลั่วหยางมีดินแดนอุดมสมบูรณ์ก็จริงแต่พื้นที่นั้นมีน้อย อีกทั้งหากข้าศึกบุกมาก็ไม่ใช่ชัยภูมิที่ดีที่จะตั้งรับ ต่างกับแถบกวนจงที่มีทั้งปราการธรรมชาติถึงสามแห่ง มีเนื้อที่นับพันลี้เมื่อเกิดกบฎขึ้นก็สามารถเดินทัพทางน้ำได้อย่างรวดเร็วเมืองเช่นนี้สำหรับจางเหลียงแล้วถือเป็น “เมืองสวรรค์ประทาน”เลยก็ว่าได้ เมื่อได้ฟังคำแนะนำของจางเหลียงแล้วพระเจ้าฮั่นเกาจู่จึงได้ตัดสินใจใช้เมืองฉางอานเป็นราชธานี
หลังจากตั้งราชธานีแล้วจางเหลียงคิดจะลาออกจากราชการอย่างจริงจัง จึงเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ในขณะเดียวกันนั่นเองฮั่นเกาจู่ได้ทรงโปรดปรานพระสนมฌี(ฌีฟูเหยิน)ถึงขนาดคิดจะปลดรัชทายาทหลิวอิ๋งลงจากตำแหน่งแล้วให้โอรสของฌีฟูเหยินขึ้นเป็นรัชทายาทแทน แม้พวกขุนนางจะทูลทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง พระนางหลี่ย์ฮองเฮาร้อนใจมากจึงให้คนไปปรึกษาจางเหลียงซึ่งจางเหลียงได้ให้คำแนะนำว่าเรื่องนี้ “ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันด้วยปากแล้วจะได้ผล” ดังนั้นหากจะทำให้ฮ่องเต้เปลี่ยนพระทัยต้องใช้วิธีทางอ้อม โดยจางเหลียงแนะนำให้รัชทายาทเขียนสานส์ไปเชิญผู้เฒ่าทั้งสี่แห่งเขาชางซานที่แม้แต่ฮั่นเกาจู่ก็ไม่สามารถเชิญพวกเขามาร่วมงานราชกิจได้ แต่ปรากฎว่าผู้เฒ่าทั้งสี่ได้ตอบตกลงจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับรัชทายาทในที่สุด จนกระทั่งครั้งหนึ่งพระเจ้าฮั่นเกาจู่จัดงานเลี้ยงขึ้น เมื่อทรงเห็นผู้เฒ่าทั้งสี่ยืนอยู่เคียงข้างรัชทายาทจึงดำริได้ว่าขนาดตนเองเป็นถึงฮ่องเต้ก็ยังไม่สามารถเชิญผู้เฒ่าเหล่านี้มาช่วยงานได้ แต่รัชทายาทกลับทำสำเร็จ ต่อแต่นั้นมาพระองค์จึงไม่มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรัชทายาทไปเป็นหลิวหยูอี้อีกเลย
จางเหลียงติดตามฮั่นเกาจู่ออกศึกที่เมืองไต้อันซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ เมื่อครั้งฮั่นเกาจู่ยกทัพไปปราบเฉินซี จางเหลียงวางแผนจนสามารถยึดเมืองหม่าอี้จนเฉินซีต้องพ่ายแพ้ไป และการศึกนี้ก็เป็นการวางแผนครั้งสุดท้ายของจางเหลียงในฐานะกุนซือของพระเจ้าฮั่นเกาจู่ จนเมื่อบ้านเมืองสงบ เซียวเหอได้รับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี จางเหลียงจึงได้ถอนตัวออกจากราชการอย่างสมบูรณ์
จุดจบจางเหลียงในสื่อจี้-
นักพรตบำเพ็ญเพียร
ในบันทึกสือจี้ของซือหม่าเชียนนั้นได้เขียนเกี่ยวกับจุดจบของจางเหลียงไว้ว่าหลังจากที่จางเหลียงลาออกจากราชการเต็มตัวแล้วก็ได้ฝึกฝนวิถีทางบำเพ็ญพรตกล่าวคือ ฝึกการควบคุมและอดอาหาร(diet) ฝึกลมหายใจเข้าออก(breath) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกวิชาตัวเบา(levitate)
หลังจากที่พระเจ้าฮั่นเกาจู่สวรรคต รัชทายาทหลิวอิ๋งขี้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮั่นฮุ่ยตี้ หลี่ย์ไทเฮาได้ทรงระลึกถึงจางเหลียงในฐานะที่เคยช่วยรัชทายาทจึงคิดจะตอบแทนเขา จึงได้บอกแก่จางเหลียงว่า “ชีวิตคนเราสั้นประหนึ่งอาชากระโจนข้ามหุบผา ไฉนท่านจึงต้องทรมานตนเองถึงเพียงนี้” ถึงกระนั้นก็ตามจางเหลียงก็มิได้โต้ตอบแต่อย่างใด เพียงแต่หันกลับมาบริโภคอาหารตามแบบธรรมดาเท่านั้น จางเหลียงอยู่มาได้อีกแปดปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ภายหลังมรณกรรมของจางเหลียงนั้น ราชสำนักแต่งตั้งให้เขาเป็น “Civil Accomplishment Marquis”โดยบุตรของเขาคือจางผูอี้(Zhang Buyi)ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา ทว่าในปีที่ห้าแห่งรัชกาลของพระเจ้าฮั่นเหวินตี้-หลิวเหิง จางผูอี้ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจนถูกลงโทษและยึดทรัพย์สมบัติทั้งหมด และตามบันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียนแล้ว เรื่องราวของจางเหลียงที่ถูกบันทึกไว้ในหัวข้อชื่อ The House of Marquis of Liu ก็หมดลงแต่เพียงเท่านี้
สุสานของจางเหลียงตามที่สืบค้นมานั้นมีด้วยกันหลายแห่ง บางแห่งก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่บางแห่งก็ถูกทำลายไปในเหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้จางเหลียงยังได้รับการยกย่องให้เป็นเทพไท่เฉวียนถงจื่อ ซึ่งปัจจุบันมีศาลตั้งอยู่ที่เมืองหลิวป้า มณฑลส่านซีอีกด้วย
ตอนต่อไป พบกับ
จุดจบที่เพิ่มเข้ามา
เมื่อสุสานจางเหลียงไม่มีร่างของจางเหลียง
จางเหลียง :ความเป็นอมตะ และเรื่องราวที่ยังถูกกล่าวขานของประวัติศาสตร์จีน
และหากเพื่อนๆท่านใดสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ต่างๆ ท่านสามารถติดตามกันได้ที่ https://www.facebook.com/FunFoy/?fref=ts และติดตามบทความทางประวัติศาสตร์ใหม่ๆได้ก่อนได้ใครได้เลยครับ
จางเหลียง(张良)หรือจางจื่อฝา. ตามประวัติแล้วตระกูลของเขาเป็นเสนาบดีแคว้นหานติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน จนกระทั่งแคว้นฉินปราบปรามแคว้นอื่นๆในยุคจั้นกว๋อของจีนได้หมดสิ้น โดยรวบรวมแคว้นต่างๆให้อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นฉินแคว้นเดียวในปี 221 ก่อนคริสตกาล ด้วยความไม่พอใจที่แคว้นของตนเองถูกผนวกจนต้องล่มสลาย ทำให้จางเหลียงแค้นใจมากจนถึงกับทำการลอบสังหารฉินสื่อหวงตี้ที่ป๋อลังซาแต่ไม่สำเร็จ จนทำให้จางเหลียงต้องหลบลี้หนีภัยอยู่ในป่าถึงสิบวัน และต้องปลอมชื่อแซ่เพื่อหลบการจับกุมขณะที่เดินทางอีกด้วย
ในบันทึก “สื่อจี้”(Records of the Grand Historian-史記)ของซือหม่าเชียนกล่าวถึงเรื่องราวของจางเหลียงที่ถูกกล่าวขานกันอย่างมากนั่นคือการได้พบกับหวงซือกุงหรือผู้เฒ่าหินเหลือง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อจางเหลียงลี้ภัยไปจนถึงเมืองเซี่ยพี้ วันหนึ่งเขาได้เดินไปที่สะพานพบเห็นผู้เฒ่าคนหนึ่ง เมื่อจางเหลียงเดินไปใกล้ ผู้เฒ่าเจตนาทำรองเท้าตกลงไปเบื้องล่างแล้วจึงกล่าวให้จางเหลียงเก็บรองเท้าให้ตน นอกจากนั้นยังบอกให้ใส่รองเท้ากลับคืนให้ตนอีกด้วย ซึ่งตามธรรมดาแล้ว จางเหลียงอันยังอยู่ในวัยหนุ่มถึงขนาดจ้างคนลอบสังหารฉินสื่อหวงตี้มาแล้ว คงไม่ยอมใครง่ายๆ แต่กับผู้เฒ่าผู้นี้จางเหลียงได้อดกลั้นตัวเองไว้ ผู้เฒ่าจึงนัดให้จางเหลียงมาพบในอีกห้าวัน ครั้งต่อมา จางเหลียงมาช้ากว่า ทำให้ผู้เฒ่าต่อว่าเขาและนัดหมายเขาว่า ในอีกห้าวันให้มาพบกันใหม่ ณ ที่เดิม
คราวนี้จางเหลียงมารอตั้งแต่ค่ำวันก่อนนัด ผู้เฒ่าจึงพึงพอใจและมอบหนังสือให้เขาหนึ่งเล่ม ครั้นแล้วผู้เฒ่าก็บอกกับจางเหลียงว่าตนเองคือ ก้อนหินที่เชิงเขาเมืองกู่เฉิงแล้วจึงได้หายไป ครั้นรุ่งเช้ามา จางเหลียงจึงได้เปิดดูหนังสือที่ผู้เฒ่าหินเหลืองมอบไว้ให้ หนังสือเล่มนั้นคือตำราพิชัยสงครามไท่กง(ไท่กงปิงฝ่า)ของเจียงจื่อหยา มหาเสนาบดีของพระเจ้าโจวอู่หวางในสมัยราชวงศ์โจวนั่นเอง จางเหลียงศึกษาหนังสือเล่มนี้อย่างจริงจังและต่อมาเขาได้เป็นเสนาธิการคนสำคัญของหลิวปังจนสามารถล้มราชวงศ์ฉินลงได้ และนอกจากนี้เขายังช่วยให้หลิวปังสามารถรบชนะซีฉู่ป้าหวางในสมัยสงครามฉู่-ฮั่นอีกด้วย จนแม้แต่ซือหม่าเชียนได้เขียนกล่าวชื่นชมจางเหลียงไว้ว่า “เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นเกาจู่เผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย จางเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้นเสมอ”ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในกรณี“งานเลี้ยงที่หงเหมิน”
หรือพิชัยสงครามของ “ผู้เฒ่าคนหนึ่ง”
เรื่องของจางเหลียงที่ได้พบกับหวงซือกุงนั้น ถูกเล่าผ่านบันทึกสือจี้และผ่านการเล่าขานจนกลายเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจของคนรุ่นต่อๆมาอย่างไรก็ตามในตอนท้ายของเรื่อง ชีวประวัติของหลิวโหว(The House of Marquis of Liu)ที่ปรากฎอยู่ในสือจี้นั้น ซือหม่าเชียนได้เขียนบทวิเคราะห์ไว้ว่า ถึงแม้นักปราชญ์จะไม่เชื่อเรื่องผีสางเทวดาว่าเป็นความจริงนั้น แต่เกี่ยวกับเรื่องของจางเหลียงที่ได้พบหวงซือกุงนั้น เป็นที่น่าประหลาดใจมากที่มีวัตถุหลักฐานหลงเหลือให้เห็นอย่างชัดเจนในยุคของเขา กระนั้นก็ตาม ซูซื่อ (ซูตงพอ)ในยุคราชวงศ์ซ่งได้ให้ความเห็นไว้ว่า "หวงสือกุง เป็นสุภาพชนที่อยู่อย่าง สันโดษในสมัยราชวงศ์ฉิน ผู้คนไม่สังเกตความมีตัวตนอยู่ของหวงสือกุง กลับคิดว่าหวงสือกุง เป็นผีสางเทวดา" ขณะเดียวกันก็มีผู้ให้ความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตำราพิชัยสงครามที่จางเหลียงได้จากหวงซือกุงนี้คือตำราพิชัยสงคราม ซันเลวี่ย(สามยุทธวิธีพิชิตชัย)อันได้รวบรวมสรรพวิทยายุทธจากหลายสำนักทั้งลัทธิหยู ลัทธิเต๋าและตำราพิชัยสงครามจากนักการทหารทั้งหลายมาวิเคราะห์รวบรวมไว้ในหนึ่งเดียวโดยมีหวงซือกุงเป็นผู้แต่งนั่นเอง
ที่ปรึกษา-สร้างรากฐานราชวงศ์ฮั่น
หลังจากที่พระเจ้าฮั่นเกาตี้ ขึ้นครองราชย์จึงได้แต่งตั้งผู้มีความดีความชอบให้ได้รับตำแหน่งรางวัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สามขุนนางค้ำบัลลังก์แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตกคือ เซียวเหอซึ่งเป็นผู้ช่วยหลิวปังในด้านการบริหารตั้งแต่หลิวปังยังเป็นขุนนางตำแหน่งเล็กๆ –กินตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีจวบจนกระทั่งต้นรัชกาลของพระเจ้าฮั่นฮุ่ยตี้ คนต่อมาคือหานซิ่น-ในสมัยสงครามฉู่-ฮั่นหานซิ่นเป็นทหารระดับล่าง เมื่อเห็นว่าหลิวปังไม่ใช้ตนที่มีความสามารถจึงได้หลบหนีไป เซียว เหอจึงไปตามตัวหานซิ่นกลับมา และแนะนำหานซิ่นให้กับหลิวปังจนหลิวปังแต่งตั้งเขาเป็นแม่ทัพใหญ่ นำการรบและสามารถพลิกสถานการณ์ของฝ่ายฮั่นจนชนะฉู่ได้ที่สุด หลิวปังแต่งตั้งให้หานซิ่นเป็น “ฉีหวาง”ตามคำเรียกร้องของหานซิ่นเองเป็นเหตุให้หลิวปังระแวงหานซิ่นอยู่ตลอดเวลาและคนสุดท้ายคือ จางเหลียง ซึ่งตอนแรกหลิวปังเสอนให้เขารับตำแหน่งซานว่านโหว(เจ้าพระยาที่มีสามหมื่นครัวเรือน)แต่จางเหลียง “มักน้อย” จึงขอแค่ให้ตนเองเป็น“หลิวโหว” เพียงเท่านั้น
ครั้นต่อมาหลิวปังเริ่มหวาดระแวงผู้มีความดีความชอบทั้งหลายโดยเฉพาะหานซิ่น แต่หลิวปังก็ไม่อาจทำอะไรได้เนื่องจากถ้านับกันแล้วการที่หลิวปังชนะเซี่ยงหยี่ได้ต้องยกความดีความชอบให้แม่ทัพผู้นี้ ทว่าสุดท้ายแม่ทัพหานซิ่นผู้ที่ “รุ่งเรืองก็เพราะเซียวเหอ ล่มจมก็เพราะเซียวเหอ รอดตายก็เพราะผู้หญิง ตายก็เพราะผู้หญิง(成敗一蕭何, 生死兩婦人)”ก็ถูกกำจัดออกจากวังวนแห่งอำนาจอย่างเด็ดขาด ทำให้เป็นหนึ่งในข้อพิจารณาของเซียวเหอที่เห็นว่าตนควรออกจากราชการเพื่อรักษาชีวิตของตนไว้ได้แล้ว
จางเหลียงยังได้ช่วยฮั่นเกาจู่แก้ปัญหาภายในราชสำนักอีกหลายๆเรื่อง เช่น เมื่อครั้งตั้งราชวงศ์ฮั่นใหม่ๆ ขุนนางทั้งหลายได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบลดหลั่นกันตามความสำคัญ แต่ขุนนางที่ไม่ได้ตำแหน่งนั้นก็ไม่พอใจและรวมตัวกันคิดก่อการกบฎ ฮั่นเกาจู่รู้เรื่องเข้าก็ทรงไม่สบายพระทัย จางเหลียงจึงแนะนำว่าควรแก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งขุนนางที่เป็นที่รู้กันว่าไม่ชอบพอพระทัยมากที่สุดอย่าง “ยงฉื่อ” ให้เป็นสือฟางโหวทำให้ขุนนางต่างๆเปลี่ยนใจไม่คิดก่อการกบฎหรือ ปัญหาการตั้งราชธานีใหม่ในต้นราชวงศ์ฮั่นก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขุนนางส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าควรใช้เมืองลั่วหยางเป็นเมืองหลวงตามแบบราชวงศ์โจว มีเพียงแต่หลิวจิ้งเท่านั้นที่เสนอให้ตั้งราชธานีอยู่ในแถบกวนจง จางเหลียงจึงให้ข้อเสนอแนะว่า ลั่วหยางมีดินแดนอุดมสมบูรณ์ก็จริงแต่พื้นที่นั้นมีน้อย อีกทั้งหากข้าศึกบุกมาก็ไม่ใช่ชัยภูมิที่ดีที่จะตั้งรับ ต่างกับแถบกวนจงที่มีทั้งปราการธรรมชาติถึงสามแห่ง มีเนื้อที่นับพันลี้เมื่อเกิดกบฎขึ้นก็สามารถเดินทัพทางน้ำได้อย่างรวดเร็วเมืองเช่นนี้สำหรับจางเหลียงแล้วถือเป็น “เมืองสวรรค์ประทาน”เลยก็ว่าได้ เมื่อได้ฟังคำแนะนำของจางเหลียงแล้วพระเจ้าฮั่นเกาจู่จึงได้ตัดสินใจใช้เมืองฉางอานเป็นราชธานี
หลังจากตั้งราชธานีแล้วจางเหลียงคิดจะลาออกจากราชการอย่างจริงจัง จึงเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ในขณะเดียวกันนั่นเองฮั่นเกาจู่ได้ทรงโปรดปรานพระสนมฌี(ฌีฟูเหยิน)ถึงขนาดคิดจะปลดรัชทายาทหลิวอิ๋งลงจากตำแหน่งแล้วให้โอรสของฌีฟูเหยินขึ้นเป็นรัชทายาทแทน แม้พวกขุนนางจะทูลทัดทานอย่างไรก็ไม่ฟัง พระนางหลี่ย์ฮองเฮาร้อนใจมากจึงให้คนไปปรึกษาจางเหลียงซึ่งจางเหลียงได้ให้คำแนะนำว่าเรื่องนี้ “ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันด้วยปากแล้วจะได้ผล” ดังนั้นหากจะทำให้ฮ่องเต้เปลี่ยนพระทัยต้องใช้วิธีทางอ้อม โดยจางเหลียงแนะนำให้รัชทายาทเขียนสานส์ไปเชิญผู้เฒ่าทั้งสี่แห่งเขาชางซานที่แม้แต่ฮั่นเกาจู่ก็ไม่สามารถเชิญพวกเขามาร่วมงานราชกิจได้ แต่ปรากฎว่าผู้เฒ่าทั้งสี่ได้ตอบตกลงจะมาเป็นที่ปรึกษาให้กับรัชทายาทในที่สุด จนกระทั่งครั้งหนึ่งพระเจ้าฮั่นเกาจู่จัดงานเลี้ยงขึ้น เมื่อทรงเห็นผู้เฒ่าทั้งสี่ยืนอยู่เคียงข้างรัชทายาทจึงดำริได้ว่าขนาดตนเองเป็นถึงฮ่องเต้ก็ยังไม่สามารถเชิญผู้เฒ่าเหล่านี้มาช่วยงานได้ แต่รัชทายาทกลับทำสำเร็จ ต่อแต่นั้นมาพระองค์จึงไม่มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรัชทายาทไปเป็นหลิวหยูอี้อีกเลย
จางเหลียงติดตามฮั่นเกาจู่ออกศึกที่เมืองไต้อันซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ เมื่อครั้งฮั่นเกาจู่ยกทัพไปปราบเฉินซี จางเหลียงวางแผนจนสามารถยึดเมืองหม่าอี้จนเฉินซีต้องพ่ายแพ้ไป และการศึกนี้ก็เป็นการวางแผนครั้งสุดท้ายของจางเหลียงในฐานะกุนซือของพระเจ้าฮั่นเกาจู่ จนเมื่อบ้านเมืองสงบ เซียวเหอได้รับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี จางเหลียงจึงได้ถอนตัวออกจากราชการอย่างสมบูรณ์
นักพรตบำเพ็ญเพียร
ในบันทึกสือจี้ของซือหม่าเชียนนั้นได้เขียนเกี่ยวกับจุดจบของจางเหลียงไว้ว่าหลังจากที่จางเหลียงลาออกจากราชการเต็มตัวแล้วก็ได้ฝึกฝนวิถีทางบำเพ็ญพรตกล่าวคือ ฝึกการควบคุมและอดอาหาร(diet) ฝึกลมหายใจเข้าออก(breath) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกวิชาตัวเบา(levitate)
หลังจากที่พระเจ้าฮั่นเกาจู่สวรรคต รัชทายาทหลิวอิ๋งขี้นครองราชย์เป็นพระเจ้าฮั่นฮุ่ยตี้ หลี่ย์ไทเฮาได้ทรงระลึกถึงจางเหลียงในฐานะที่เคยช่วยรัชทายาทจึงคิดจะตอบแทนเขา จึงได้บอกแก่จางเหลียงว่า “ชีวิตคนเราสั้นประหนึ่งอาชากระโจนข้ามหุบผา ไฉนท่านจึงต้องทรมานตนเองถึงเพียงนี้” ถึงกระนั้นก็ตามจางเหลียงก็มิได้โต้ตอบแต่อย่างใด เพียงแต่หันกลับมาบริโภคอาหารตามแบบธรรมดาเท่านั้น จางเหลียงอยู่มาได้อีกแปดปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ภายหลังมรณกรรมของจางเหลียงนั้น ราชสำนักแต่งตั้งให้เขาเป็น “Civil Accomplishment Marquis”โดยบุตรของเขาคือจางผูอี้(Zhang Buyi)ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา ทว่าในปีที่ห้าแห่งรัชกาลของพระเจ้าฮั่นเหวินตี้-หลิวเหิง จางผูอี้ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจนถูกลงโทษและยึดทรัพย์สมบัติทั้งหมด และตามบันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียนแล้ว เรื่องราวของจางเหลียงที่ถูกบันทึกไว้ในหัวข้อชื่อ The House of Marquis of Liu ก็หมดลงแต่เพียงเท่านี้
สุสานของจางเหลียงตามที่สืบค้นมานั้นมีด้วยกันหลายแห่ง บางแห่งก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่บางแห่งก็ถูกทำลายไปในเหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้จางเหลียงยังได้รับการยกย่องให้เป็นเทพไท่เฉวียนถงจื่อ ซึ่งปัจจุบันมีศาลตั้งอยู่ที่เมืองหลิวป้า มณฑลส่านซีอีกด้วย
จุดจบที่เพิ่มเข้ามา
เมื่อสุสานจางเหลียงไม่มีร่างของจางเหลียง