▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พระไตรปิฎก
ศาสนาพุทธ
ศาสนา
...แสงส่องใจ... จาก หนังสือธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 179 ค่ะ โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก) ค่ะ
โดยสมเด็จพระสังฆราช (สกลมหาสังฆปริณายก)
ความทุกข์ 2 อย่าง
ทุกข์ นั้นมีความหมายเป็น 2 อย่าง คือ
หมายถึง ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ อันเป็นตรงข้ามกับสุข อย่างหนึ่ง
หมายถึง สิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวจเปลี่ยนแปลงไป อย่างหนึ่ง
ทุกข์ตามที่พูดถึงกันนั้น มักหมายถึงทุกข์ คือความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ อันเป็นทุกขเวทนา คือความเสวยอารมณ์เป็นทุกข์ นี้ก็เป็นทุกข์ในลักษณะหนึ่งเหมือนกัน
อีกอย่างหนึ่ง ทุกข์ คือความทรงอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป สิ่งอันใดทนอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป สิ่งอันนั้นเป็นทุกข์ทั้งหมด นี้เป็นทุกข์อีกลักษณะหนึ่ง ในทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์นี้ หมายรวมกันทั้งสองลักษณะคือ
สิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป และที่เป็นความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ในการแสดงทุกขสัจจะ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ไว้ชัดเจนว่า
ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิด เป็นทุกข์
ชราปิ ทุกฺขา ความแก่ เป็นทุกข์
มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตาย เป็นทุกข์
โสกปริเทวทุกฺข- ความแห้งใจ ความคร่ำครวญรำพันอยู่ในใจ หรือรำพันออกมา-
โทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา เป็นทุกข์
สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา- กล่าวโดยย่อแล้ว ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง 5 ประการ-
ทุกฺขา เป็นทุกข์ ดังนี้
ทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงชี้ให้เห็นนี้ เป็นการชี้ลักษณะของทุกข์ทั้งสองอย่างประกอบกัน คือทุกข์ที่เป็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป และทุกข์ที่เป็นตัวทุกขเวทนา คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ