วันนี้มาแชร์วิธีให้ลูกชอบกินผัก อยากให้ลูกทานข้าวเยอะ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพ่อแม่และลูกนะคะ
1. ทานเป็นที่ จับลูกนั่งเก้าอี้กินข้าว ถ้าล็อคได้จะดีมากกันลุกเดินวิ่ง ตามไล่ป้อน แบบนี้ฝึกไม่ได้ค่ะ
ซักพักลูกชินแล้วแม้ไปกินข้างนอกไม่มีเก้าอี้เด็ก ลูกจะนิ่งกินจนอิ่มด้วยความเคยชินเป็นระเบียบ ง่ายทั้งเราและลูก
คุณยายน้องพลอยยังแปลกใจตอนที่แม่พากลับไปเยี่ยมบ้านที่ตจว. ว่าน้องนั่งทานดีๆจนหมดแล้วค่อยลุกไปเล่น
ถ้าฝึกแต่เล็กก็ง่ายตอนโตค่ะ
2. ให้ลูกหัดหยิบกินเอง ทำได้ตั้งแต่ลูกหยิบของเข้าปากเป็น วางบนถาดข้าวที่สะอาดหรือจานเด็ก เราป้อนไป ลูกก็หยิบกินไป
เจริญอาหารได้อีก ถ้ากลัวจะเลอะเสื้อผ้าก็ป้อนก่อนอาบน้ำหรือใช้ผ้ากันเปื้อนที่สวมทั้งตัว ถ้ากลัวพื้นเลอะก็หาเสื่อเก่ามารอง
บริเวณน้องนั่งทาน เวลาน้องทำหกก็ไม่เลอะพื้นบ้านและโยนเข้าเครื่องซักผ้าได้หากเปื้อน แถมไม่ขัดขวางความสุขในการกินของลูกอีก
ต้องยอมรับว่าเด็กกินต้องเลอะและเปื้อนนะคะ อย่าไปหงุดหงิดเรื่องแบบนี้ ลูกโตขึ้นหยิบเก่งก็ไม่หกเองค่ะ
3. ใส่ผักลงไปในมื้อข้าวเสมอ บ้านนี้ใส่ทุกมื้อค่ะ สลับๆไป เคล็ดลับคือถ้าผักมีรสขมควรใส่ผักรสหวานลงไปด้วย
ที่เป็นเบสบ้านนี้คือ แครอท หอมใหญ่ ฟักทอง เช่น คะน้ากับฟักทอง บล็อคโคลี่กับหอมใหญ่ ผักก็สลับใส่ทั่วไปค่ะ
พลอยกินได้ทุกอย่างและชอบบล็อคโคลี่เป็นพิเศษ
4. ปรุงให้น้อยที่สุด ก่อนขวบแม่แทบจะไม่ปรุง ใส่แค่เกลือเล็กหน่อยเพื่อเพิ่มไอโอดีน หลังขวบมีใส่ซอสถั่วเหลืองแบบไม่มีสารกันบูด
เล็กน้อยรสอ่อนมากไม่ถึงกับออกเค็ม เครื่องปรุงรสอื่นๆแม่ไม่ใช้ค่ะ ถนอมเครื่องในลูก การปรุงน้อยนอกจากจะดีต่อสุขภาพลูกแล้ว
ยังทำให้ลูกคุ้นเคยรสชาดผัก ทานบ่อยๆยิ่งคุ้นเคย จะทานง่ายทานได้หลากหลายไม่ปฏิเสธผักค่ะ
5. อีกเคล็ดลับคือบ้านเราจะต้มผักให้ลูกหยิบกินทุกวัน ทำแต่น้อยวันต่อวันนะคะไม่ต้องเผื่อเยอะ จะได้สดและรสชาดดี ทำเป็นชิ้นเล็กๆ
ต้มนิ่มๆ วางไว้หน้าลูกตอนเราป้อนข้าว ไม่ต้องบังคับให้ลูกหยิบกินเอง หลักๆบ้านเราต้ม บล็อคโคลี่ แครอท ฟักทอง แตงกวา
และบางมื้อก็เป็นผลไม้บ้าง เช่น กล้วย สตรอเบอรี่ องุ่น แล้วแต่เลยค่ะ หั่นชิ้นเล็ก ลูกชอบหยิบเข้าปากเพลิน ทำให้อ้าปากง่ายด้วยตอนป้อน
6. น้ำซุป บ้านนี้ทำทีละสี่ห้าวันไม่ให้นานกว่านั้น เป็นอย่างเดียวที่ทำฟรีซ กับข้าวน้องพลอยนี่แม่ทำทุกวันเพราะอยากให้ลูกทานสดค่ะ
ยืนหน้าเตาถึงสี่ห้าทุ่มทุกคืน ^^ (แม่ทำงานค่ะ) น้ำซุปก็สลับไปตามที่สะดวกเตรียม ก้างปลา อกไก่ น่องไก่ กระดูกซุปหมู หรือผักล้วน
รสชาดออกหวานเพราะผักเบสที่แม่เลือกจะใช้ ข้าวโพด หอมใหญ่ แครอท ไชเท้า นอกนั้นก็ใส่เท่าที่มีในตู้ค่ะ
ต้มในหม้อหุงข้าวตั้งโปรแกรมทำซุปประมาณ 3 ชม. ออกมาใส หอม หวาน ตักแบ่งใส่ถ้วยเก็บอาหารฟรีซ
ถ้าบ้านไหนไม่มีก็ต้มหม้อธรรมดาให้เดือดแล้วหรี่ไฟลง 2 ชม.ก็ใช้ได้ค่ะ
ถามว่าซุปสำคัญไหม จะบอกว่าสำหรับบ้านนี้คือตัวชงให้ลูกกลืนข้าวค่ะ เวลาลูกอมข้าวหรือมองนั่นนี่ไม่ยอมกลืนซักทีก็ใช้ซุป
กวาดข้าวลงคอ 555 แต่น้องชอบซุปมากค่ะ ทำตลอดป้อนพร้อมข้าวจะทานดีมาก
7. ไม่บังคับลูกกินค่ะ ไม่กินหรือกินน้อยก็แล้วแต่ลูก คือแค่ไหนแค่นั้น ครบครึ่งชม.เลิกป้อน ไม่เสริมนม ไม่ให้กินขนม
มื้อต่อไปลูกหิวจะกินเยอะเอง (หลังขวบนมไม่เกิน 15-20 ออนซ์ ห่างมื้อข้าว 2 ชม.)
แต่การทำแบบนี้ควรป้อนข้าวลูกตรงเวลา เช่น 0830/1200/1630 ซึ่งปกติจะทำให้ลูกรู้เวลากิน หิวอัตโนมัติ ไม่ต้องมาบังคับป้อน
ลองดูกันนะคะ ลูกจะได้กินข้าวดี กินผักเก่ง และสุขภาพแข็งแรงค่ะ
หม่ำๆ บลูเบอรี่แห้งกับน้องพลอยไหมคะ อ่ะอ้ามมมมม
แชร์วิธีฝึกลูกให้กินผัก
1. ทานเป็นที่ จับลูกนั่งเก้าอี้กินข้าว ถ้าล็อคได้จะดีมากกันลุกเดินวิ่ง ตามไล่ป้อน แบบนี้ฝึกไม่ได้ค่ะ
ซักพักลูกชินแล้วแม้ไปกินข้างนอกไม่มีเก้าอี้เด็ก ลูกจะนิ่งกินจนอิ่มด้วยความเคยชินเป็นระเบียบ ง่ายทั้งเราและลูก
คุณยายน้องพลอยยังแปลกใจตอนที่แม่พากลับไปเยี่ยมบ้านที่ตจว. ว่าน้องนั่งทานดีๆจนหมดแล้วค่อยลุกไปเล่น
ถ้าฝึกแต่เล็กก็ง่ายตอนโตค่ะ
2. ให้ลูกหัดหยิบกินเอง ทำได้ตั้งแต่ลูกหยิบของเข้าปากเป็น วางบนถาดข้าวที่สะอาดหรือจานเด็ก เราป้อนไป ลูกก็หยิบกินไป
เจริญอาหารได้อีก ถ้ากลัวจะเลอะเสื้อผ้าก็ป้อนก่อนอาบน้ำหรือใช้ผ้ากันเปื้อนที่สวมทั้งตัว ถ้ากลัวพื้นเลอะก็หาเสื่อเก่ามารอง
บริเวณน้องนั่งทาน เวลาน้องทำหกก็ไม่เลอะพื้นบ้านและโยนเข้าเครื่องซักผ้าได้หากเปื้อน แถมไม่ขัดขวางความสุขในการกินของลูกอีก
ต้องยอมรับว่าเด็กกินต้องเลอะและเปื้อนนะคะ อย่าไปหงุดหงิดเรื่องแบบนี้ ลูกโตขึ้นหยิบเก่งก็ไม่หกเองค่ะ
3. ใส่ผักลงไปในมื้อข้าวเสมอ บ้านนี้ใส่ทุกมื้อค่ะ สลับๆไป เคล็ดลับคือถ้าผักมีรสขมควรใส่ผักรสหวานลงไปด้วย
ที่เป็นเบสบ้านนี้คือ แครอท หอมใหญ่ ฟักทอง เช่น คะน้ากับฟักทอง บล็อคโคลี่กับหอมใหญ่ ผักก็สลับใส่ทั่วไปค่ะ
พลอยกินได้ทุกอย่างและชอบบล็อคโคลี่เป็นพิเศษ
4. ปรุงให้น้อยที่สุด ก่อนขวบแม่แทบจะไม่ปรุง ใส่แค่เกลือเล็กหน่อยเพื่อเพิ่มไอโอดีน หลังขวบมีใส่ซอสถั่วเหลืองแบบไม่มีสารกันบูด
เล็กน้อยรสอ่อนมากไม่ถึงกับออกเค็ม เครื่องปรุงรสอื่นๆแม่ไม่ใช้ค่ะ ถนอมเครื่องในลูก การปรุงน้อยนอกจากจะดีต่อสุขภาพลูกแล้ว
ยังทำให้ลูกคุ้นเคยรสชาดผัก ทานบ่อยๆยิ่งคุ้นเคย จะทานง่ายทานได้หลากหลายไม่ปฏิเสธผักค่ะ
5. อีกเคล็ดลับคือบ้านเราจะต้มผักให้ลูกหยิบกินทุกวัน ทำแต่น้อยวันต่อวันนะคะไม่ต้องเผื่อเยอะ จะได้สดและรสชาดดี ทำเป็นชิ้นเล็กๆ
ต้มนิ่มๆ วางไว้หน้าลูกตอนเราป้อนข้าว ไม่ต้องบังคับให้ลูกหยิบกินเอง หลักๆบ้านเราต้ม บล็อคโคลี่ แครอท ฟักทอง แตงกวา
และบางมื้อก็เป็นผลไม้บ้าง เช่น กล้วย สตรอเบอรี่ องุ่น แล้วแต่เลยค่ะ หั่นชิ้นเล็ก ลูกชอบหยิบเข้าปากเพลิน ทำให้อ้าปากง่ายด้วยตอนป้อน
6. น้ำซุป บ้านนี้ทำทีละสี่ห้าวันไม่ให้นานกว่านั้น เป็นอย่างเดียวที่ทำฟรีซ กับข้าวน้องพลอยนี่แม่ทำทุกวันเพราะอยากให้ลูกทานสดค่ะ
ยืนหน้าเตาถึงสี่ห้าทุ่มทุกคืน ^^ (แม่ทำงานค่ะ) น้ำซุปก็สลับไปตามที่สะดวกเตรียม ก้างปลา อกไก่ น่องไก่ กระดูกซุปหมู หรือผักล้วน
รสชาดออกหวานเพราะผักเบสที่แม่เลือกจะใช้ ข้าวโพด หอมใหญ่ แครอท ไชเท้า นอกนั้นก็ใส่เท่าที่มีในตู้ค่ะ
ต้มในหม้อหุงข้าวตั้งโปรแกรมทำซุปประมาณ 3 ชม. ออกมาใส หอม หวาน ตักแบ่งใส่ถ้วยเก็บอาหารฟรีซ
ถ้าบ้านไหนไม่มีก็ต้มหม้อธรรมดาให้เดือดแล้วหรี่ไฟลง 2 ชม.ก็ใช้ได้ค่ะ
ถามว่าซุปสำคัญไหม จะบอกว่าสำหรับบ้านนี้คือตัวชงให้ลูกกลืนข้าวค่ะ เวลาลูกอมข้าวหรือมองนั่นนี่ไม่ยอมกลืนซักทีก็ใช้ซุป
กวาดข้าวลงคอ 555 แต่น้องชอบซุปมากค่ะ ทำตลอดป้อนพร้อมข้าวจะทานดีมาก
7. ไม่บังคับลูกกินค่ะ ไม่กินหรือกินน้อยก็แล้วแต่ลูก คือแค่ไหนแค่นั้น ครบครึ่งชม.เลิกป้อน ไม่เสริมนม ไม่ให้กินขนม
มื้อต่อไปลูกหิวจะกินเยอะเอง (หลังขวบนมไม่เกิน 15-20 ออนซ์ ห่างมื้อข้าว 2 ชม.)
แต่การทำแบบนี้ควรป้อนข้าวลูกตรงเวลา เช่น 0830/1200/1630 ซึ่งปกติจะทำให้ลูกรู้เวลากิน หิวอัตโนมัติ ไม่ต้องมาบังคับป้อน
ลองดูกันนะคะ ลูกจะได้กินข้าวดี กินผักเก่ง และสุขภาพแข็งแรงค่ะ
หม่ำๆ บลูเบอรี่แห้งกับน้องพลอยไหมคะ อ่ะอ้ามมมมม