คุณค่าของ ภาชนะดินเผากับการศึกษาพระเครื่อง เนื้อดินเผาของผม

กระทู้สนทนา


ภาชนะดินเผาชิ้นนี้ เป็นของ ครู ที่ผมเคารพนับถือท่านหนึ่ง ครั้งหนึ่งท่านเคยเขียนบทความให้ความรู้ในนิตยสาร

ภาชนะดินเผาชิ้นนี้ อายุ 600-700 ปี ได้จากการที่ครูผม เจ้าหน้าที่ภาคสนามกรมศิลปากร ซึ่งเวลาค้นขุดพบพระเครื่อง โบราณวัตถุ จะต้องนำส่งเข้าหลวง
แต่เศษชิ้นส่วนภาชนะซึ่งมีอายุเท่าพระเครื่อง มิต้องนำส่ง จึงเป็นของสะสมของครูผม

ผมได้รับความรู้เรื่องศิลปะพระพุทธรูป อันนำมาซึ่งการศึกษาพระเครื่อง อันเป็นสิ่งจำเป็นในการสะสมพิจารณาพระเครื่อง
จากนั้นผมก็เลือกที่จะศึกษาเนื้อดิน เพียงเนื้อเดียวให้ท่องแท้ ก่อนจะศึกษาเนื้อผง เนื้อผงคลุกรัก ในช่วงเวลาต่อมา

ที่นี้เราได้อะไรจาก ภาชนะฯ ดังกล่าวบ้าง
1. เราจะได้รับรู้ด้วยตาของเราเองว่า ความซีด แห้ง  มันเป็นอย่างไร ซีด แห้ง แค่ไหน เมื่อดินเผาอายุ 700 ปี
2. การกร่อนตัว มันกร่อน ยุบ แค่ไหน อย่างไร
3. ราดำ ที่ ภาษา พระเครื่องเรียก รารัก มีลักษณะอย่างไร ขอบของราดำ เป็นอย่างไร
4. เนื้อใน ของดินเผา เป็นอย่างไร มีสีเดียวกับ ภายนอกไหม

ซึ่งภาชนะ ดังกล่าว เราจะสบายใจได้เลยว่า ไม่มีผู้ใดทำปลอมขึ้นมา เราจึงมั่นใจ ในครู ของเราได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่