กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ (ลาป่วยครบ 30 วันและมีการลาเพิ่มตามคำสั่งแพทย์)

กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ (ลาป่วยครบ 30 วันและมีการลาเพิ่มตามคำสั่งแพทย์)


กดไลด์เพจแล้วแชร์ "ได้ความรู้ คู่สิทธิ์ตัวเอง"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สาระอื่นๆ จากเพจประกันสังคม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

          เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก  สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า "เงินทดแทนการขาดรายได้" ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง  ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน   เว้นแต่  เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่   กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด  จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ
ปัจจุบันกำหนดโรคเรื้อรังไว้  6  รายการ ดังนี้
1.  โรคมะเร็ง
2.  โรคไตวายเรื้อรัง
3.  โรคเอดส์
4.  โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง  เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลังอันเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต
5.  ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน
6.  โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกินกว่า  180  วัน  ระหว่างการรักษาทำงานไม่ได้ให้ยื่นเรื่องขอมติคณะกรรมการการแพทย์
เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์  กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
     1.  แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
     2.  ใบรับรองแพทย์
     3.  หนังสือรับรองจากนายจ้าง
     4.  สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
     5.  สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ(หนังสือรับรองจากนายจ้างเพื่อยืนยันว่าจ่ายค่าจ้างให้ครบ 30 วันในวันที่ลาป่วยแล้ว)
     6.  หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
     7.  สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี  11 ธนาคาร  ดังนี้
           1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
           2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)    
           3) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  
           4) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  
           5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
           6) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
           7) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  
           8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  
           9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)  
         10) ธนาคารออมสิน (ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
         11) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)(ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากอยู่ในระหว่างการปรับปรุงโปรแกรม)
หมายเหตุ  หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
สถานที่ยื่นเรื่อง
ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สะดวก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่