แฉเกมลาก 'ทีโอที' ลงเหว
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ความหวังบริษัท ทีโอที ที่จะหาพันธมิตรเพื่อมาพยุงฐานะดูจะริบหรี่ เลื่อนลอยและถูกลากยาวออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ หนทางรอดหนึ่งของทีโอที หลังไม่มีรายได้จากสัญญาร่วมการงานกับเอกชน ก็คือ การเปลี่ยนคู่สัญญาเดิมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เอาจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายมาเติมเต็มระหว่างกันต่อยอดธุรกิจสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยพันธมิตรที่ทีโอทีเลือกอย่าง 'เอไอเอส' เสนอผลประโยชน์ให้ทีโอทีมากกว่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท
การประชุมบอร์ดทีโอที วาระพิเศษ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงมติบอร์ดเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.โดยยังไม่ให้ทีโอทีลงนามในสัญญาทดสอบการใช้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz กับบริษัท เอดับลิวเอ็น (บริษัทลูกเอไอเอส) และให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนว่าจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ (PPP) หรือไม่ ซึ่งหากกฤษฎีกาตีความแล้วให้สัญญาทดสอบดังกล่าวเป็นลักษณะ PPP ก็เหมือนกระบวนการหาพันธมิตรของทีโอทีที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2557 จะถูกดึงให้ล่าช้าออกไปอีก เพราะต้องผ่านพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
ทั้งๆที่ มติบอร์ดทีโอทีเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ก่อนหน้านี้ สรุปประเด็นเรื่องพันธมิตรกับเอไอเอสคือ 1.รับทราบผลการตรวจสอบร่างสัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ของสำนักอัยการสูงสุด พร้อมข้อสังเกต และการดำเนินการของทีโอที ทั้งในกรณีปรับปรุงสัญญาให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา และการดำเนินการของฝ่ายบริหาร ทีโอที ตามข้อสังเกตทั้งหมดของสำนักงานอัยการสูงสุด 2.รับทราบผลการตอบข้อหารือกรณีการเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ของสคร.และกสทช.
และ 3. เห็นชอบให้ ทีโอที ลงนามในสัญญาทดสอบระบบการให้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ที่ได้ปรับปรุงตามข้อสังเกตและการตรวจร่างสัญญาฯ ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยให้รับความเห็นของที่ประชุมข้อ 1 และ 2 ไปดำเนินการก่อนการลงนามในสัญญาทดสอบฯ อนึ่ง เพื่อความรอบคอบตามข้อสังเกตประการแรกของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ฝ่ายบริหาร ทีโอที ส่งร่างสัญญาฯ ที่ได้ปรับปรุงตามความเห็นของที่ประชุมแล้ว ให้คณะกฎหมายและสัญญาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อนลงนามต่อไป
'คำถามคือผ่านไป 12 วัน เกิดอะไรขึ้นกับบอร์ดทีโอที มีใครมาวิ่งหรือล็อบบี้ จนถึงขนาดต้องประชุมด่วนเปลี่ยนมติบอร์ดกันใหม่'
เส้นทางเลือกพันธมิตร
นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ทีโอที ได้เปิดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อมาร่วมทำธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แบ่งไว้ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ไอดีซี และคลาวด์
โดยในเดือน ธ.ค. 2557 'ชิต เหล่าวัฒนา' กรรมการทีโอที ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ระบุมีบริษัทเอกชนที่สนใจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถึง 5 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด โดยภายในเดือน มี.ค. 2558 ต้องเห็นความชัดเจนของรูปแบบการทำธุรกิจร่วมกัน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ทีโอทีไม่น้อยกว่าปีละ 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาหารือถึงการเป็นพันธมิตรก่อนหน้านั้นในรอบแรกบริษัทดังกล่าวเสนอโครงการเข้ามาไม่ทัน ทีโอที จึงยังเปิดโอกาสให้เข้ามาเสนอโครงการในรอบที่ 2
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2558 'ชิต' ระบุว่าที่ประชุมบอร์ดทีโอทีได้คัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาในการวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว คือ ดีลอยท์ เพราะเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่สำคัญเสนอราคามาถูกที่สุด โดยคาดว่าบริษัทดังกล่าวจะสามารถเจรจาหาพันธมิตรทางธุรกิจให้แก่ทีโอทีได้ สำเร็จภายใน 2-3 เดือนนี้
สำหรับ เงื่อนไขในการเป็นที่ปรึกษานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง เพื่อให้นำตัวเลขดังกล่าวไปต่อรองกับพันธมิตรได้แบบไม่เสียเปรียบ อีกทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของโครงข่าย 3G ให้ได้ ซึ่งเบื้องต้น ตนเองเห็นว่าโครงข่ายของทีโอทีสามารถรองรับลูกค้าได้ถึง 7.2 ล้านราย รวมถึงต้องมีความสามารถในการเจรจาเพื่อให้ได้ออปชันสำหรับทีโอทีให้มากที่สุด
ถัดมาในช่วงเดือน ก.ค. 2558 มีกระแสข่าวระบุว่าเอไอเอส คือ ตัวเต็ง ที่จะเป็นพันธมิตรเพราะเป็นคู่สัญญาสัมปทานเดิมกับทีโอทีในคลื่น 900 MHz ที่ในขณะนั้นทีโอทีต้องรีบเลือกเอไอเอสก่อนที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย. 2558 เพื่อให้ทรัพย์สินเสาโทรคมนาคม 900 MHz ไม่ถูกด้อยค่าและการต่อรองราคาในการเจรจาเป็นพันธมิตรทีโอทีจะมีความได้เปรียบกว่าก่อนที่การประมูลจะเกิดขึ้นซึ่งไม่รู้ว่าตอนนั้นเอไอเอสจะชนะการประมูลหรือไม่
จนกระทั่งเดือน พ.ย.2558 'มนต์ชัย หนูสง' รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ในขณะนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2558 ที่ประชุมบอร์ดมีมติเลือกบริษัท เอไอเอส เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยคาดว่าภายใน 1 เดือน จะร่างสัญญาเสร็จ จากนั้นต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดดูแล้วส่งให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับเอไอเอสได้ภายในสิ้นปี 2558
ขณะที่ 'ชิต' กล่าวถึงแผนในการให้บริการ 3G คลื่น 2100 MHz หลังจากที่เลือก เอไอเอส เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ว่า เอไอเอสต้องลงทุนขยายเครือข่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 10,000 สถานีฐาน จากเดิมที่มีอยู่ 5,320 สถานีฐานโดยต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายและส่วนแบ่งรายได้อย่างน้อยให้ทีโอทีประมาณ 4 พันล้านบาทต่อปี แลกต่อการได้ความจุของระบบ 3G คลื่น2100 MHz ของทีโอที 80% มาทำการตลาด ส่วนกรณีพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมระหว่างทีโอทีกับเอไอเอส ประมาณ 13,000 เสาโทรคมนาคม ก็ได้ข้อยุติแล้ว
ต่อมาในเดือนก.พ.2559 'มนต์ชัย' กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ทีโอทีพลิกฟื้นมีกำไรขึ้นมาได้ คือ การได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับเอไอเอสได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยรายได้ในส่วนโมบายของทีโอทีจะเพิ่มจาก 400 ล้านบาท เป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท จากการเป็นพันธมิตรกับ เอไอเอส โดยทีโอทีคาดว่าจะเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับ เอไอเอส ได้ภายไตรมาสแรกของปี 2559 ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้สุทธิให้ทีโอทีกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ใน 5 ปีแรกจากอายุสัญญา 10 ปีที่คาดว่าจะได้รับรายได้ตลอดอายุสัญญาจำนวนแสนล้านบาท โดยในวันที่ 3 ก.พ.2559 ทีโอที ได้นำตัวสัญญาที่จะลงนามร่วมกับเอไอเอสเข้าสู่กรรมการพิจารณาด้านสัญญาเพื่อจะส่งเข้าสู่สำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป
สำหรับรายได้ที่จะได้จากการ เป็นพันธมิตรกับเอไอเอส ประกอบด้วย 1.การให้เช่าเสาโทรคมนาคมจำนวนประมาณ 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G คลื่น 900 MHz ซึ่งทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละกว่า 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปี ใน 10 ปีหลัง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และ 2.การเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz โดยพันธมิตรจะลงทุนขยายโครงข่ายและเสนอซื้อความจุที่ 80% ซึ่งทีโอที จะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาทต่อปี และพันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าบำรุงรักษาโครงข่ายประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz ความจุที่เหลือ 20% ทีโอที จะทำตลาดเองโดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
'ทั้งนี้ในส่วนของการเช่าเสาโทรคมนาคมอยู่ในขั้นตอนการทำสัญญา ซึ่งเอไอเอสจะถอนข้อพิพาทที่อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเมื่อมีการลง นามในสัญญาแล้ว ดังนั้นจะทำให้รายได้ธุรกิจโมบายของทีโอทีจากเดิมที่มีรายได้ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท'
ต่อมาในวันที่ 29 มี.ค. ทีโอทีได้เซ็นเอ็มโอยูกับเอไอเอส เพื่อนำไปสู่การร่างสัญญา 5 ฉบับ ได้แก่ 1. สัญญาการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ 2.สัญญาทีโอทีเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเอดับบลิวเอ็น 3.สัญญาการใช้โครงข่ายร่วม ระหว่างเอดับบลิวเอ็น กับ ทีโอที 4. สัญญาเอดับบลิวเอ็นขอเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมทีโอทีจำนวน 13,000 แห่ง และ 5.สัญญาเอดับบลิวเอ็นเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เอไอเอสส่งมอบตามสัญญาสัมปทาน
ซึ่งเอ็มโอยูดังกล่าวถูกส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น เมื่อสัญญาจริงเสร็จก็ต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบอีกครั้ง จากนั้นส่งต่อไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่วนประเด็นที่ว่า สัญญาดังกล่าวจะเข้าข่าย พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หรือไม่นั้น ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านบอร์ดทีโอทียังไม่เห็นหนังสือจาก สคร.ว่าเข้าข่ายหรือไม่ คงต้องรอให้ สคร.ตอบมาอย่างเป็นทางการก่อน เนื่องจากเข้าใจว่าสิ่งที่ สคร.เคยให้ความเห็นนั้นเป็นการพูดถึงกรณีของการทำสัญญาของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ว่าไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
ถัดมาในช่วงปลายเดือน เม.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่งหนังสือตอบกลับมาว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ โดยอิงมาตรฐานเดียวกับ สัญญาที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาแล้ว นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนเม.ย.ทีโอทียังได้สอบถามเรื่องดังกล่าวต่อ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งกสทช.ก็ตอบไปในแนวทางเดียวกับ สคร.
'ขั้นตอนสรรหาพันธมิตรที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้บอร์ดทีโอที มีมติเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ให้ลงนามในสัญญาทดลองบริการได้เป็นเวลา 6 เดือน โดยทีโอทีจะมีรายได้ช่วงนี้เดือนละ 300 ล้านบาท แต่ก็ถูกลากยาวต่อไป ดีไม่ดีกระบวนการสรรหาพันธมิตรเกือบ 2 ปีอาจต้องนับหนึ่งใหม่ สุดท้ายผลกรรมครั้งนี้ก็ตกสู่ทีโอที อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้'
นาทีนี้ การเตะลูกเข้าไปยังกฤษฎีกา เพื่อตีความว่าสัญญาทดสอบบริการระหว่างทีโอทีกับเอดับลิวเอ็น จะเข้าข่าย PPP ต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 56 หรือไม่นั้น ในมุมเอไอเอสอาจไม่เดือดร้อนมากนัก เพราะมีคลื่นความถี่ในมือรวม 40 MHz (ความถี่ 2100 จำนวน 15 Mhz,ความถี่ 1800 จำนวน 15 MHz,ความถี่ 900 จำนวน 10 MHz) ซึ่งเพียงพอในช่วงนี้ แต่รายที่กระอักกับการลากยาวครั้งนี้ หนีไม่พ้น 'ทีโอที' ที่ปีนี้น่าจะขาดทุนแน่นอน เพียงแต่จะมากหรือน้อยแค่ไหน และต้องขาดทุนนานไปอีกกี่ปีเท่านั้น
ที่สำคัญหากตีความเรื่องเอไอเอสว่าเป็น PPP แล้วสัญญาที่ สคร.และกสทช. ต่างรับรองว่าดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556อย่างของทรูกับกสท ที่อิงมาตรฐานเดียวกัน รัฐจะตอบว่าอย่างไรกับ 2 มาตรฐานที่เกิดขึ้น แล้วผลกระทบที่ตามมาจะรุนแรงแค่ไหน เรื่องนี้ยังไม่จบ !!!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 12)
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000062874
แฉเกมลาก 'ทีโอที' ลงเหว
แฉเกมลาก 'ทีโอที' ลงเหว
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ความหวังบริษัท ทีโอที ที่จะหาพันธมิตรเพื่อมาพยุงฐานะดูจะริบหรี่ เลื่อนลอยและถูกลากยาวออกไปเรื่อยๆ ทั้งที่ หนทางรอดหนึ่งของทีโอที หลังไม่มีรายได้จากสัญญาร่วมการงานกับเอกชน ก็คือ การเปลี่ยนคู่สัญญาเดิมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เอาจุดแข็งของทั้ง 2 ฝ่ายมาเติมเต็มระหว่างกันต่อยอดธุรกิจสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยพันธมิตรที่ทีโอทีเลือกอย่าง 'เอไอเอส' เสนอผลประโยชน์ให้ทีโอทีมากกว่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท
การประชุมบอร์ดทีโอที วาระพิเศษ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงมติบอร์ดเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.โดยยังไม่ให้ทีโอทีลงนามในสัญญาทดสอบการใช้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz กับบริษัท เอดับลิวเอ็น (บริษัทลูกเอไอเอส) และให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนว่าจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ (PPP) หรือไม่ ซึ่งหากกฤษฎีกาตีความแล้วให้สัญญาทดสอบดังกล่าวเป็นลักษณะ PPP ก็เหมือนกระบวนการหาพันธมิตรของทีโอทีที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2557 จะถูกดึงให้ล่าช้าออกไปอีก เพราะต้องผ่านพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
ทั้งๆที่ มติบอร์ดทีโอทีเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ก่อนหน้านี้ สรุปประเด็นเรื่องพันธมิตรกับเอไอเอสคือ 1.รับทราบผลการตรวจสอบร่างสัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ของสำนักอัยการสูงสุด พร้อมข้อสังเกต และการดำเนินการของทีโอที ทั้งในกรณีปรับปรุงสัญญาให้เป็นไปตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา และการดำเนินการของฝ่ายบริหาร ทีโอที ตามข้อสังเกตทั้งหมดของสำนักงานอัยการสูงสุด 2.รับทราบผลการตอบข้อหารือกรณีการเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ของสคร.และกสทช.
และ 3. เห็นชอบให้ ทีโอที ลงนามในสัญญาทดสอบระบบการให้บริการข้ามโครงข่ายเชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2100 MHz ที่ได้ปรับปรุงตามข้อสังเกตและการตรวจร่างสัญญาฯ ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยให้รับความเห็นของที่ประชุมข้อ 1 และ 2 ไปดำเนินการก่อนการลงนามในสัญญาทดสอบฯ อนึ่ง เพื่อความรอบคอบตามข้อสังเกตประการแรกของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ฝ่ายบริหาร ทีโอที ส่งร่างสัญญาฯ ที่ได้ปรับปรุงตามความเห็นของที่ประชุมแล้ว ให้คณะกฎหมายและสัญญาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อนลงนามต่อไป
'คำถามคือผ่านไป 12 วัน เกิดอะไรขึ้นกับบอร์ดทีโอที มีใครมาวิ่งหรือล็อบบี้ จนถึงขนาดต้องประชุมด่วนเปลี่ยนมติบอร์ดกันใหม่'
เส้นทางเลือกพันธมิตร
นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา ทีโอที ได้เปิดหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อมาร่วมทำธุรกิจตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แบ่งไว้ 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.โครงสร้างเสาโทรคมนาคม 3.บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำ 4.ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 5.ธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและโทรศัพท์พื้นฐานประจำที่ และ 6.บริการไอที ไอดีซี และคลาวด์
โดยในเดือน ธ.ค. 2557 'ชิต เหล่าวัฒนา' กรรมการทีโอที ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ระบุมีบริษัทเอกชนที่สนใจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจถึง 5 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด และบริษัท โมบายแอลทีอี จำกัด โดยภายในเดือน มี.ค. 2558 ต้องเห็นความชัดเจนของรูปแบบการทำธุรกิจร่วมกัน และคาดว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ทีโอทีไม่น้อยกว่าปีละ 1.4 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาหารือถึงการเป็นพันธมิตรก่อนหน้านั้นในรอบแรกบริษัทดังกล่าวเสนอโครงการเข้ามาไม่ทัน ทีโอที จึงยังเปิดโอกาสให้เข้ามาเสนอโครงการในรอบที่ 2
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2558 'ชิต' ระบุว่าที่ประชุมบอร์ดทีโอทีได้คัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาในการวิเคราะห์หาพันธมิตรทางธุรกิจแล้ว คือ ดีลอยท์ เพราะเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่สำคัญเสนอราคามาถูกที่สุด โดยคาดว่าบริษัทดังกล่าวจะสามารถเจรจาหาพันธมิตรทางธุรกิจให้แก่ทีโอทีได้ สำเร็จภายใน 2-3 เดือนนี้
สำหรับ เงื่อนไขในการเป็นที่ปรึกษานั้น บริษัทดังกล่าวจะต้องสามารถประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของทีโอทีได้อย่างแท้จริง เพื่อให้นำตัวเลขดังกล่าวไปต่อรองกับพันธมิตรได้แบบไม่เสียเปรียบ อีกทั้งยังต้องสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของโครงข่าย 3G ให้ได้ ซึ่งเบื้องต้น ตนเองเห็นว่าโครงข่ายของทีโอทีสามารถรองรับลูกค้าได้ถึง 7.2 ล้านราย รวมถึงต้องมีความสามารถในการเจรจาเพื่อให้ได้ออปชันสำหรับทีโอทีให้มากที่สุด
ถัดมาในช่วงเดือน ก.ค. 2558 มีกระแสข่าวระบุว่าเอไอเอส คือ ตัวเต็ง ที่จะเป็นพันธมิตรเพราะเป็นคู่สัญญาสัมปทานเดิมกับทีโอทีในคลื่น 900 MHz ที่ในขณะนั้นทีโอทีต้องรีบเลือกเอไอเอสก่อนที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 ก.ย. 2558 เพื่อให้ทรัพย์สินเสาโทรคมนาคม 900 MHz ไม่ถูกด้อยค่าและการต่อรองราคาในการเจรจาเป็นพันธมิตรทีโอทีจะมีความได้เปรียบกว่าก่อนที่การประมูลจะเกิดขึ้นซึ่งไม่รู้ว่าตอนนั้นเอไอเอสจะชนะการประมูลหรือไม่
จนกระทั่งเดือน พ.ย.2558 'มนต์ชัย หนูสง' รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ในขณะนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2558 ที่ประชุมบอร์ดมีมติเลือกบริษัท เอไอเอส เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่น 2100 MHz จำนวน 15 MHz เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยคาดว่าภายใน 1 เดือน จะร่างสัญญาเสร็จ จากนั้นต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดดูแล้วส่งให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับเอไอเอสได้ภายในสิ้นปี 2558
ขณะที่ 'ชิต' กล่าวถึงแผนในการให้บริการ 3G คลื่น 2100 MHz หลังจากที่เลือก เอไอเอส เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ว่า เอไอเอสต้องลงทุนขยายเครือข่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 10,000 สถานีฐาน จากเดิมที่มีอยู่ 5,320 สถานีฐานโดยต้องจ่ายค่าเช่าโครงข่ายและส่วนแบ่งรายได้อย่างน้อยให้ทีโอทีประมาณ 4 พันล้านบาทต่อปี แลกต่อการได้ความจุของระบบ 3G คลื่น2100 MHz ของทีโอที 80% มาทำการตลาด ส่วนกรณีพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคมระหว่างทีโอทีกับเอไอเอส ประมาณ 13,000 เสาโทรคมนาคม ก็ได้ข้อยุติแล้ว
ต่อมาในเดือนก.พ.2559 'มนต์ชัย' กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ทีโอทีพลิกฟื้นมีกำไรขึ้นมาได้ คือ การได้เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับเอไอเอสได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยรายได้ในส่วนโมบายของทีโอทีจะเพิ่มจาก 400 ล้านบาท เป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท จากการเป็นพันธมิตรกับ เอไอเอส โดยทีโอทีคาดว่าจะเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับ เอไอเอส ได้ภายไตรมาสแรกของปี 2559 ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้สุทธิให้ทีโอทีกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ใน 5 ปีแรกจากอายุสัญญา 10 ปีที่คาดว่าจะได้รับรายได้ตลอดอายุสัญญาจำนวนแสนล้านบาท โดยในวันที่ 3 ก.พ.2559 ทีโอที ได้นำตัวสัญญาที่จะลงนามร่วมกับเอไอเอสเข้าสู่กรรมการพิจารณาด้านสัญญาเพื่อจะส่งเข้าสู่สำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป
สำหรับรายได้ที่จะได้จากการ เป็นพันธมิตรกับเอไอเอส ประกอบด้วย 1.การให้เช่าเสาโทรคมนาคมจำนวนประมาณ 12,000 กว่าแห่ง และโครงข่าย 2G คลื่น 900 MHz ซึ่งทีโอทีจะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละกว่า 5,000 ล้านบาทใน 5 ปีแรก และ 3,000 กว่าล้านบาทต่อปี ใน 10 ปีหลัง โดยเอไอเอสจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และ 2.การเป็นพันธมิตรธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz โดยพันธมิตรจะลงทุนขยายโครงข่ายและเสนอซื้อความจุที่ 80% ซึ่งทีโอที จะสามารถสร้างรายได้สุทธิปีละเกือบ 4,000 ล้านบาทต่อปี และพันธมิตรเป็นผู้รับผิดชอบค่าบำรุงรักษาโครงข่ายประมาณ 600 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือคลื่น 2100 MHz ความจุที่เหลือ 20% ทีโอที จะทำตลาดเองโดยคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ปีละกว่า 1,000 ล้านบาท
'ทั้งนี้ในส่วนของการเช่าเสาโทรคมนาคมอยู่ในขั้นตอนการทำสัญญา ซึ่งเอไอเอสจะถอนข้อพิพาทที่อยู่ในการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการเมื่อมีการลง นามในสัญญาแล้ว ดังนั้นจะทำให้รายได้ธุรกิจโมบายของทีโอทีจากเดิมที่มีรายได้ 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นขั้นต่ำ 10,000 ล้านบาท'
ต่อมาในวันที่ 29 มี.ค. ทีโอทีได้เซ็นเอ็มโอยูกับเอไอเอส เพื่อนำไปสู่การร่างสัญญา 5 ฉบับ ได้แก่ 1. สัญญาการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์ 2.สัญญาทีโอทีเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมเอดับบลิวเอ็น 3.สัญญาการใช้โครงข่ายร่วม ระหว่างเอดับบลิวเอ็น กับ ทีโอที 4. สัญญาเอดับบลิวเอ็นขอเช่าโครงข่ายโทรคมนาคมทีโอทีจำนวน 13,000 แห่ง และ 5.สัญญาเอดับบลิวเอ็นเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคมที่เอไอเอสส่งมอบตามสัญญาสัมปทาน
ซึ่งเอ็มโอยูดังกล่าวถูกส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น เมื่อสัญญาจริงเสร็จก็ต้องส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบอีกครั้ง จากนั้นส่งต่อไปที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่วนประเด็นที่ว่า สัญญาดังกล่าวจะเข้าข่าย พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หรือไม่นั้น ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านบอร์ดทีโอทียังไม่เห็นหนังสือจาก สคร.ว่าเข้าข่ายหรือไม่ คงต้องรอให้ สคร.ตอบมาอย่างเป็นทางการก่อน เนื่องจากเข้าใจว่าสิ่งที่ สคร.เคยให้ความเห็นนั้นเป็นการพูดถึงกรณีของการทำสัญญาของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ว่าไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
ถัดมาในช่วงปลายเดือน เม.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ส่งหนังสือตอบกลับมาว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ โดยอิงมาตรฐานเดียวกับ สัญญาที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำร่วมกับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มาแล้ว นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนเม.ย.ทีโอทียังได้สอบถามเรื่องดังกล่าวต่อ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าทำได้หรือไม่ ซึ่งกสทช.ก็ตอบไปในแนวทางเดียวกับ สคร.
'ขั้นตอนสรรหาพันธมิตรที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทำให้บอร์ดทีโอที มีมติเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ให้ลงนามในสัญญาทดลองบริการได้เป็นเวลา 6 เดือน โดยทีโอทีจะมีรายได้ช่วงนี้เดือนละ 300 ล้านบาท แต่ก็ถูกลากยาวต่อไป ดีไม่ดีกระบวนการสรรหาพันธมิตรเกือบ 2 ปีอาจต้องนับหนึ่งใหม่ สุดท้ายผลกรรมครั้งนี้ก็ตกสู่ทีโอที อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้'
นาทีนี้ การเตะลูกเข้าไปยังกฤษฎีกา เพื่อตีความว่าสัญญาทดสอบบริการระหว่างทีโอทีกับเอดับลิวเอ็น จะเข้าข่าย PPP ต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 56 หรือไม่นั้น ในมุมเอไอเอสอาจไม่เดือดร้อนมากนัก เพราะมีคลื่นความถี่ในมือรวม 40 MHz (ความถี่ 2100 จำนวน 15 Mhz,ความถี่ 1800 จำนวน 15 MHz,ความถี่ 900 จำนวน 10 MHz) ซึ่งเพียงพอในช่วงนี้ แต่รายที่กระอักกับการลากยาวครั้งนี้ หนีไม่พ้น 'ทีโอที' ที่ปีนี้น่าจะขาดทุนแน่นอน เพียงแต่จะมากหรือน้อยแค่ไหน และต้องขาดทุนนานไปอีกกี่ปีเท่านั้น
ที่สำคัญหากตีความเรื่องเอไอเอสว่าเป็น PPP แล้วสัญญาที่ สคร.และกสทช. ต่างรับรองว่าดำเนินการได้โดยไม่ต้องผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556อย่างของทรูกับกสท ที่อิงมาตรฐานเดียวกัน รัฐจะตอบว่าอย่างไรกับ 2 มาตรฐานที่เกิดขึ้น แล้วผลกระทบที่ตามมาจะรุนแรงแค่ไหน เรื่องนี้ยังไม่จบ !!!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า 12)
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000062874