AIS ดับฝัน ทีโอที ปัดเช่าเสาแต่ยึด
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
โพสต์ทูเดย์ - เอไอเอส ปัดคืนและเช่าเสาโทรคมนาคมที่หมดสัมปทานจากทีโอที ยันใช้โมเดลตั้งกิจการร่วมค้าแทน
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า การเจรจาระงับข้อพิพาทกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เรื่องเสาโทรคมนาคมที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม 13,198 ต้น ที่เอไอเอสส่งมอบคืนแก่ทีโอที แลกกับการทำสัญญาเช่าระยะยาว 15 ปี คงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเอไอเอสไม่ยอมรับโมเดลดังกล่าว โดยยกอ้างเหตุผลเรื่องผู้ถือหุ้น ดังนั้นทีโอทีคงต้องยอมรับโมเดลการตั้งกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ร่วมกันเช่นเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำสัญญากับกลุ่มทรู ซึ่งทีโอทีจะนำเรื่องนี้รายงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เดือน ก.ค.นี้
"
โมเดลการให้เอไอเอสเช่าเสาโทรคมนาคม จะสร้างรายได้แก่ทีโอที 3,600 ล้านบาท/ปี แต่หากทำกิจการร่วมค้า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้มากกว่าหรือน้อยกว่าเดิม แต่ในระหว่างเจรจาจัดตั้ง Joint Venture คงต้องดูว่าสามารถเปิดให้เอไอเอสเช่าเสาชั่วคราวได้หรือไม่" นายมนต์ชัย กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นายมนต์ชัย ระบุว่า เอไอเอสได้ส่งหนังสือขอยุติข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคม โดยจะส่งมอบเสา 13,198 ต้น ตลอดจนอุปกรณ์โครงข่ายมือถือ 2จี สำหรับคลื่น 900 MHz ในส่วนที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานคืนแก่ทีโอที แลกกับการทำสัญญาเช่าใช้เสาและอุปกรณ์โครงข่ายในระยะยาว 15 ปี
นายมนต์ชัย กล่าวว่า ในส่วนของการเจรจาให้เอไอเอสเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz ที่รับมอบจากสัญญาสัมปทาน เพื่อการให้บริการลูกค้า 2จี อย่างต่อเนื่องนั้น ทีโอทีคาดว่าจะสร้างรายได้ปีละ 2,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน และต้องจบก่อนวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพราะหลังจากวันดังกล่าวทีโอทีต้องปิดโครงข่ายในส่วนของคลื่นวิทยุ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตให้คลื่น 900 MHz แล้ว
นอกจากนี้ ในส่วนการทำสัญญาเป็นพันธมิตรให้บริการ 3จี บนคลื่น 2100 MHz กับเอไอเอส ขณะนี้ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และหวังว่ากฤษฎีกาจะพิจารณาโดยเร็ว เพราะหากลงนามสัญญายิ่งช้าก็ยิ่งกระทบกับโอกาสในการทำรายได้โดยตรง และจะทำให้ครึ่งปีแรกทีโอทีมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีนิติบุคคล ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย (อีบิตดา) ติดลบ 480 ล้านบาท และทั้งปีจะติดลบ 4,000 ล้านบาท เพราะช่วงครึ่งปีหลังทีโอทีจะมีค่าใช้จ่ายในการเออร์ลี่รีไทร์พนักงาน 1,300 คน 3,000 ล้านบาท
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า B1)
AIS ดับฝัน ทีโอที ปัดเช่าเสาแต่ยึด
AIS ดับฝัน ทีโอที ปัดเช่าเสาแต่ยึด
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
โพสต์ทูเดย์ - เอไอเอส ปัดคืนและเช่าเสาโทรคมนาคมที่หมดสัมปทานจากทีโอที ยันใช้โมเดลตั้งกิจการร่วมค้าแทน
นายมนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที เปิดเผยว่า การเจรจาระงับข้อพิพาทกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) เรื่องเสาโทรคมนาคมที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานเดิม 13,198 ต้น ที่เอไอเอสส่งมอบคืนแก่ทีโอที แลกกับการทำสัญญาเช่าระยะยาว 15 ปี คงไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเอไอเอสไม่ยอมรับโมเดลดังกล่าว โดยยกอ้างเหตุผลเรื่องผู้ถือหุ้น ดังนั้นทีโอทีคงต้องยอมรับโมเดลการตั้งกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ร่วมกันเช่นเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำสัญญากับกลุ่มทรู ซึ่งทีโอทีจะนำเรื่องนี้รายงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เดือน ก.ค.นี้
"โมเดลการให้เอไอเอสเช่าเสาโทรคมนาคม จะสร้างรายได้แก่ทีโอที 3,600 ล้านบาท/ปี แต่หากทำกิจการร่วมค้า ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะทำให้ทีโอทีมีรายได้มากกว่าหรือน้อยกว่าเดิม แต่ในระหว่างเจรจาจัดตั้ง Joint Venture คงต้องดูว่าสามารถเปิดให้เอไอเอสเช่าเสาชั่วคราวได้หรือไม่" นายมนต์ชัย กล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา นายมนต์ชัย ระบุว่า เอไอเอสได้ส่งหนังสือขอยุติข้อพิพาทเรื่องเสาโทรคมนาคม โดยจะส่งมอบเสา 13,198 ต้น ตลอดจนอุปกรณ์โครงข่ายมือถือ 2จี สำหรับคลื่น 900 MHz ในส่วนที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานคืนแก่ทีโอที แลกกับการทำสัญญาเช่าใช้เสาและอุปกรณ์โครงข่ายในระยะยาว 15 ปี
นายมนต์ชัย กล่าวว่า ในส่วนของการเจรจาให้เอไอเอสเช่าอุปกรณ์โครงข่าย 900 MHz ที่รับมอบจากสัญญาสัมปทาน เพื่อการให้บริการลูกค้า 2จี อย่างต่อเนื่องนั้น ทีโอทีคาดว่าจะสร้างรายได้ปีละ 2,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน และต้องจบก่อนวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพราะหลังจากวันดังกล่าวทีโอทีต้องปิดโครงข่ายในส่วนของคลื่นวิทยุ เนื่องจากไม่มีใบอนุญาตให้คลื่น 900 MHz แล้ว
นอกจากนี้ ในส่วนการทำสัญญาเป็นพันธมิตรให้บริการ 3จี บนคลื่น 2100 MHz กับเอไอเอส ขณะนี้ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และหวังว่ากฤษฎีกาจะพิจารณาโดยเร็ว เพราะหากลงนามสัญญายิ่งช้าก็ยิ่งกระทบกับโอกาสในการทำรายได้โดยตรง และจะทำให้ครึ่งปีแรกทีโอทีมีกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีนิติบุคคล ค่าเสื่อม และค่าจัดจำหน่าย (อีบิตดา) ติดลบ 480 ล้านบาท และทั้งปีจะติดลบ 4,000 ล้านบาท เพราะช่วงครึ่งปีหลังทีโอทีจะมีค่าใช้จ่ายในการเออร์ลี่รีไทร์พนักงาน 1,300 คน 3,000 ล้านบาท
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (หน้า B1)