เกริ่นนำ
การปฎิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการสร้างสังคมสมัยใหม่ ไม่เพียงแค่เป็นการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมด้วย รายงานนี้ได้มีการเปิดเผยเหตุการณ์สำคัญๆในอดีตและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษ (อ้างอิงจาก “การปฎิวัติอุตสาหกรรม” โดยอ้างอิงในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษศตวรรษที่ 18 กับ 19 ตามที่ได้มีการบันทึกเอาไว้) รายงานนี้หลักๆจะโฟกัสในเรื่องของแรงงานเด็กที่เกี่ยวข้องกับการปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยจะมีการอธิบายเกี่ยวกับแรงงานเด็กดังนี้คือ
• นิยามของแรงงานเด็ก
• ประเภทและความต้องการของแรงงานเด็ก
• เงื่อนไขปัจจัยในการทำงาน
• ขอบเขตการใช้แรงงานเด็ก
• จุดจบของแรงงานเด็ก
อธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษ
ในช่วงเวลานั้นผู้คนก็มีความคิดเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ระบบเกษตรกรรมในประเทศอังกฤษทำให้ชาวนาอังกฤษมีความก้าวหน้าในการผลิตพืชผลต่างๆโดยที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรอะไรมากนัก (Kreis,2006) ผลลัพธ์ก็คือชาวนาหลายคนตอนนี้สามารถดำรงเลี้ยงชีพตามความต้องการได้ พวกเขาตอนนี้ก็อยากที่จะได้อะไรมากกว่านั้น การเพาะปลูกมีการพัฒนาและมีการเคลื่อนไหวของผู้คนในการนำไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรมจากคำกล่าวของ Kreis ความมั่นคั่งที่เพิ่มมากขึ้นก็มาพร้อมกับผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทางด้านการเกษตรที่มีความต้องการสินค้าต่างๆเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขสถิติก็มีความต้องการแรงงานในการผลิตสินค้าต่างๆที่มีความจำเป็นมากขึ้น ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นตัวจุดชนวนให้พ่อค้ากับช่างไม้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการรองรับผลผลิตที่มีความต้องการมากขึ้น
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก็มาถึงจุดสำคัญที่ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ มีการผลิตเครื่องปั่นด้ายโดย James Hargreaves ในช่วงปี 1765 เช่นเดียวกันในปี 1775 James Watt ก็ได้มีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำและในปี 1779 เครื่องจักรไอน้ำก็ได้เข้าสู่โรงงานผลิตด้ายเพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการปั่นด้าย (Landow,2006) มีเครื่องประดิษฐ์อยู่ 2 อันที่ทำให้มีการผลิตด้ายเร็วขึ้นถึง 10 เท่าในปี 1790 เมื่อเทียบกับ 20 ปีก่อนหน้านี้ (Kreis,2006)
การใช้เครื่องจักรไอน้ำในโรงงานทำให้โรงงานสามารถขับเคลื่อนประเทศและตัวเมืองในแต่ละพื้นที่ควบคู่กับเส้นทางน้ำได้ เนื่องจากพวกมันไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แหล่งพลังงานด้วยน้ำอีก (Tuttle,2001) เช่นกัน Tuttle ก็ได้ทำการเชื่อมโยงว่า การผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ทางโรงงานต้องการแรงงานมากขึ้นและมีเจ้าของโรงงานหลายคนก็พร้อมที่จะยอมรับแรงงานเด็กเข้าทำงาน แต่ตอนนี้พวกเขาสามารถเปิดกว้างให้เด็กเล็กเข้ามาทำงานเพิ่มมากขึ้น
นิยามของแรงงานเด็ก
รายงานเกี่ยวกับแรงงานเด็กส่วนนี้จะโฟกัสไปที่แรงงานที่ออกนอกบ้าน โดยเฉพาะแรงงานเด็กที่อยู่ในโรงงานด้าย แรงงานเด็กยังกระจายอยู่ตามอุตสาหกรรมต่างๆอย่างเช่นเหมืองแร่ เกษตรกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน แต่พื้นที่บริเวณต่างๆที่รวมอยู่ในรายงานนี้อาจจะมีตัวเลขสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นและไม่สมเหตุสมผลในรายงานนี้อยู่บ้าง มุมมองประเด็นต่างๆส่วนใหญ่ในรายงานนี้จะมีการรายงานถึงข้อเท็จจริงตามพื้นที่บริเวณต่างๆ โดยนิยามของคำว่าเด็กก็จะมีอายุต่ำกว่า 16 ปี อย่างไรก็ตามรายงานนี้ก็จะมีแรงงานที่มีอายุมากกว่า 16 ปีด้วยเช่นกัน
ประเภทและความต้องการของแรงงานเด็ก
แรงงงานเด็กมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันก็คือ “แรงงานเด็กจากผู้คุม” กับ “แรงงานเด็กเสรี” สอดคล้องกับทางด้าน Reed (2001) ที่บอกว่า แรงงานเด็กจากผู้คุมเป็นแรงงานเด็กยุคแรกๆที่เข้ามาในโรงงาน ซึ่งมีเด็กที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาลและมาจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า (Reed,2001) เจ้าของโรงงานก็มีแนวคิดที่จะใช้งานเด็กและทำการเพิ่มผลผลิต ทั้งปัดกวาดเช็ดถูกและทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเด็กตามโรงงานต่างๆ (Tuttle,2001) โดย Tuttle ได้เน้นย้ำว่า เด็กเหล่านี้ไม่ได้รับค่าจ้างจากงานที่พวกเขาได้ทำอยู่ โดยจะมีการจ่ายค่าชดเชยเพียงพอต่อการดำรงชีพและในหลายๆกรณีตัวอย่างก็ได้รับค่าจ้างเพื่ออยู่รอดไปวันๆ เด็กเหล่านี้ต่างก็ทำงานจนเสียสุขภาพ ทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงและถูกลงโทษอย่างหนัก (Tuttle,2001) จึงประเมินได้ว่า แรงงาน 1 ใน 3 คนที่ทำงานในโรงงานต่างๆในช่วง 1784 ก็มาจากแรงงานเด็กจากผู้คุม (Collier,1964)
นี่ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่พบเห็นในตามโรงงานต่างๆบริเวณทางน้ำและส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นเมืองใหญ่ๆ (Tuttle,2001) บ่อยครั้งที่เด็กจะถูกส่งเข้าไปในโรงงานในเมืองใหญ่ๆ Tuttles ยังได้กล่าวถึงด้วยว่า เมื่อเครื่องจักรไอน้ำถูกประดิษฐ์ขึ้นมาและมีโรงงานหลายแห่งได้เข้าสู่เมืองใหญ่ๆพร้อมกับมีโอกาสทางเลือกใช้แรงงานใหม่ๆมากขึ้น เด็กจะถูกจัดเป็นชนชั้นล่าง พวกเขาเหล่านี้จะต้องทำงานหนักและมีความเป็นไปได้ที่พวกเขาได้ค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆ ทางด้านเจ้าของโรงงานก็เริ่มว่าจ้างแรงงานเด็กในอัตราค่าจ้างที่ต่ำ ในบางกรณีตัวอย่างก็ได้เพียงแค่เพนนีเดียวต่อวัน เด็กเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ “แรงงานเด็กเสรี” (Reed,2001)
เงื่อนไขปัจจัยในการทำงาน
เงื่อนไขปัจจัยในการทำงานตามโรงงานต่างๆสำหรับเด็กเล็กก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ รายงานต่างๆก็ได้เขียนเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยของโรงงานต่างๆกับผู้ดูแลโดยจะต้องมาดูปัญหารากเหง้าจริงๆ แม้ว่ารายงานต่างๆจะมีการตั้งคำถาม เนื่องจากผู้เขียนหลายท่านให้ความสนใจการผ่านร่างกฎหมายแรงงานและเชื่อว่ารายงานต่างๆเหล่านี้มีการบิดเบือนในการสนับสนุนการผ่านร่างกฎหมายต่างๆ (Reed,2001) มีความเห็นแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานในโรงเรียนต่างๆ ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายกับแง่ดี โดย Tuttle ได้อธิบายถึงมุมมองเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานในโรงงานต่างๆจากกลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายอย่าง Alfred (1857) Engels (1926) และ Marx (1909)
“เด็กมีการทำงานอยู่ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่น่าเวทนาและถูกเอารัดเอาเปรียบโดยนักอุตสาหกรรม มีรูปภาพที่แสดงให้เห็นถึง “โรงงานซาตาน” โดยมีเด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบทำงานเป็นเวลา 12-16 ชั่วโมงต่อวัน ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์โดยที่ไม่มีการหยุดพักให้กินอาหาร ทั้งเจอกับอากาศร้อน ร้อนอบอ้าว ไม่มีแสงสว่าง ผู้คนอยู่กันอย่างแออัดในโรงงานโดยได้รับค่าตอบแทน 4 ชิลลิงต่อสัปดาห์ (Tuttle,2001)
ในทางกลับกันฝ่ายมองโลกในแง่ดีก็มองไปถึงค่าตอบแทนแรงงานของเด็กๆเหล่านี้ ในกรณีตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้งเจ้าของโรงงานกับผู้จัดการต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากแรงงาน พวกเขาได้โต้แย้งว่า แรงงานเด็กเป็นผลดีต่อ “เด็ก ครอบครัวและประเทศชาติ (Tuttle,2001)” Tuttle ได้เน้นย้ำว่า โรงงานไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานเด็กหนักเหมือนกับยุคเกษตรกรรมก่อนหน้านี้
แม้ว่ามุมมองที่สุดขั้วทั้ง 2 มุมมองนี้เกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานของเด็กตามโรงงานต่างๆก็เป็นที่ชัดเจนว่า บ่อยครั้งเด็กมักจะถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ในมุมมองภาพรวมเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในที่อยู่เบื้องหลังแรงงานเด็กนั้น ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า โดยรวมแล้วมีเด็กถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมอย่างไรบ้าง จนถึงทุกวันนี้ข้อบังคับแรงงานเด็กเล็กก็ไม่เป็นที่ยอมรับในส่วนการใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบเข้ามาทำงานตามโรงงานต่างๆทุกยุคทุกสมัย
ขอบเขตการใช้แรงงานเด็ก
ขอบเขตการใช้แรงงานเด็กก็ยังมีข้อมูลที่สับสนต่อการตรวจสอบ ตัวเลขของเด็กที่ทำงานจริงๆในโรงงานฝ้ายก็ยังเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก จากการสำรวจการปฎิวัติอุตสาหกรรมก่อนหน้าส่วนหนึ่งก็ไม่มีประชากรชาวอังกฤษที่เป็นแรงงานเด็กจนถึงการสำรวจในปี 1841 (Tuttle,2001) อย่างที่เห็นในตารางที่ 1 จะเห็นได้ถึงการวิเคราะห์แรงงานเด็กในช่วงอายุต่างๆในโรงงานฝ้ายที่เมือง Manchester กับ Stockport ที่ต่อมาก็ประเมินสืบค้นคนงานที่มีอายุใกล้เคียงตามโรงงานต่างๆทั้งๆที่พวกเขาจะมีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ (BPP 1818 ; BPP 1819) ในรายงานชิ้นเดียวกันก็มีการประเมินว่า 27.9 เปอร์เซ็นต์มีแรงงานอายุระหว่าง 10 ถึง 13 ปี เมื่อเจ้าของโรงงานถูกดำเนินการสืบสวนจากฝ่ายสภาเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก เกี่ยวกับสาเหตุที่ว่าทำไมพวกเขาถึงใช้แรงงานเด็กจำนวนมาก โดยพวกเขาต่างก็ให้คำตอบที่คล้ายๆกันก็คือ “เด็กเล็กเหล่านี้ต่างเป็นแรงงานฝีมือ มีความขยันและประสบความสำเร็จได้ตอนที่พวกเขาโตขึ้นแล้ว และเด็กก็ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆหลังจากนั้น (Galbi,1994)” ในปี 1841 จากรายงานสำรวจประชากรชาวอังกฤษพบว่า มีแรงงานเด็กเกือบ 107,000 คนทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเด็กส่วนหนึ่งก็เป็นลูกจ้างให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Tuttle,2001)
ตารางที่ 1 : สัดส่วนอายุในโรงงานฝ้ายในเมือง Manchester กับ Stockport ในช่วงปี 1818-1819 (ข้อมูลโดย BPP (1818) กับ BPP (1819))
จุดจบของแรงงานเด็ก
เงื่อนไขปัจจัยส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงของแรงงานเด็กเอง บางคนมีความกังวลทางด้านสังคมและสภาพร่างกายที่ดีของเด็กที่ทำงานในโรงงาน มีประเด็นโต้แย้งเรื่องหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการไม่ยอมรับแรงงานเด็กก็คือ ผู้ใหญ่หลายคนไม่ให้เด็กเล็กทำงาน เนื่องจากโรงงานหลายแห่งไม่ได้ให้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ (Tuttle,2001) โดย Reed ได้อธิบายถึงประเด็นของการไม่ยอมรับแรงงานเด็กตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจดังนี้คือ
“ด้วยเหตุนี้แรงงานเด็กจึงมักจะถูกอ้างว่า สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่มีคำสั่งทางกฎหมาย แต่ยิ่งมีระบบขับเคลื่อนการผลิตมากขึ้นตามหลักทุนนิยมด้วยแล้ว แรงงานเด็กจึงยิ่งต้องถูกกำจัดทิ้งออกไป สำหรับในช่วงแรกนั้น ทางด้านผู้ปกครองที่เป็นแรงงานตลาดเสรีก็ไม่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เท่ากับเด็ก (Reed,2001)”
รัฐบาลอังกฤษได้เดินหน้าในการปกป้องเด็กเล็กจากความรุนแรงโดยผ่านร่างกฎหมายต่างๆจำนวนมาก ในช่วงแรกปี 1819 ได้ผ่านร่างกฎหมายโรงงานด้ายโดยจำกัดอายุอย่างต่ำ 9 ขวบและทำงานมากที่สุดถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน (Tuttle,2001) เช่นกัน Tuttle ยังกล่าวด้วยว่า ร่างกฎหมายแรงงานเด็กปี 1833 จากฝ่ายผู้ตรวจการรัฐบาลก็ได้ตรวจสอบโรงงานต่างๆเพื่อแน่ใจว่า ทำตามกฎหมายแรงงานเด็กอย่างเคร่งครัด ร่างกฎหมายสุดท้ายผ่านโดยรัฐสภาอังกฤษเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานก็คือ Ten Hour Bill ปี 1847 ซึ่งจำกัดเวลาการทำงานทั้งผู้หญิงกับเด็กเล็กที่ 10 ชั่วโมงต่อวัน (Tuttle,2001)
สรุป
การปฎิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษถือเป็นช่วงเวลาที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคการผลิตกับสังคมเศรษฐกิจโลก มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด แต่ความก้าวกระโดดก็นำไปสู่การจัดระเบียบสังคมใหม่ ในช่วงที่มีการปฎิวัติก็มีเด็กเล็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากพวกเขาได้ถูกเรียกให้ทำงานตามโรงงานต่างๆ ทั้งมีความต้องการในการผลิตสินค้าต่างๆเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งขาดแคลนแรงงานหลายคนที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆในการทำโรงงานสิ่งทอ เด็กเล็กจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการให้เข้ามาทำงาน เนื่องจากพวกเขายังเป็นเด็กน้อยและเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการสอนหน้าที่การงานแบบว่านอนสอนง่ายและให้ความเคารพกับผู้มีอำนาจ (Tuttle,2001)
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : wathatcher.iwed.bsu.edu
แรงงานเด็กประเทศอังกฤษในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรม
เกริ่นนำ
การปฎิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในการสร้างสังคมสมัยใหม่ ไม่เพียงแค่เป็นการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมด้วย รายงานนี้ได้มีการเปิดเผยเหตุการณ์สำคัญๆในอดีตและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษ (อ้างอิงจาก “การปฎิวัติอุตสาหกรรม” โดยอ้างอิงในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษศตวรรษที่ 18 กับ 19 ตามที่ได้มีการบันทึกเอาไว้) รายงานนี้หลักๆจะโฟกัสในเรื่องของแรงงานเด็กที่เกี่ยวข้องกับการปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยจะมีการอธิบายเกี่ยวกับแรงงานเด็กดังนี้คือ
• นิยามของแรงงานเด็ก
• ประเภทและความต้องการของแรงงานเด็ก
• เงื่อนไขปัจจัยในการทำงาน
• ขอบเขตการใช้แรงงานเด็ก
• จุดจบของแรงงานเด็ก
อธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษ
ในช่วงเวลานั้นผู้คนก็มีความคิดเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ระบบเกษตรกรรมในประเทศอังกฤษทำให้ชาวนาอังกฤษมีความก้าวหน้าในการผลิตพืชผลต่างๆโดยที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรอะไรมากนัก (Kreis,2006) ผลลัพธ์ก็คือชาวนาหลายคนตอนนี้สามารถดำรงเลี้ยงชีพตามความต้องการได้ พวกเขาตอนนี้ก็อยากที่จะได้อะไรมากกว่านั้น การเพาะปลูกมีการพัฒนาและมีการเคลื่อนไหวของผู้คนในการนำไปสู่การปฎิวัติอุตสาหกรรมจากคำกล่าวของ Kreis ความมั่นคั่งที่เพิ่มมากขึ้นก็มาพร้อมกับผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทางด้านการเกษตรที่มีความต้องการสินค้าต่างๆเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขสถิติก็มีความต้องการแรงงานในการผลิตสินค้าต่างๆที่มีความจำเป็นมากขึ้น ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นตัวจุดชนวนให้พ่อค้ากับช่างไม้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆในการรองรับผลผลิตที่มีความต้องการมากขึ้น
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก็มาถึงจุดสำคัญที่ทำให้การผลิตอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ มีการผลิตเครื่องปั่นด้ายโดย James Hargreaves ในช่วงปี 1765 เช่นเดียวกันในปี 1775 James Watt ก็ได้มีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำและในปี 1779 เครื่องจักรไอน้ำก็ได้เข้าสู่โรงงานผลิตด้ายเพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการปั่นด้าย (Landow,2006) มีเครื่องประดิษฐ์อยู่ 2 อันที่ทำให้มีการผลิตด้ายเร็วขึ้นถึง 10 เท่าในปี 1790 เมื่อเทียบกับ 20 ปีก่อนหน้านี้ (Kreis,2006)
การใช้เครื่องจักรไอน้ำในโรงงานทำให้โรงงานสามารถขับเคลื่อนประเทศและตัวเมืองในแต่ละพื้นที่ควบคู่กับเส้นทางน้ำได้ เนื่องจากพวกมันไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แหล่งพลังงานด้วยน้ำอีก (Tuttle,2001) เช่นกัน Tuttle ก็ได้ทำการเชื่อมโยงว่า การผลิตที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ทางโรงงานต้องการแรงงานมากขึ้นและมีเจ้าของโรงงานหลายคนก็พร้อมที่จะยอมรับแรงงานเด็กเข้าทำงาน แต่ตอนนี้พวกเขาสามารถเปิดกว้างให้เด็กเล็กเข้ามาทำงานเพิ่มมากขึ้น
นิยามของแรงงานเด็ก
รายงานเกี่ยวกับแรงงานเด็กส่วนนี้จะโฟกัสไปที่แรงงานที่ออกนอกบ้าน โดยเฉพาะแรงงานเด็กที่อยู่ในโรงงานด้าย แรงงานเด็กยังกระจายอยู่ตามอุตสาหกรรมต่างๆอย่างเช่นเหมืองแร่ เกษตรกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน แต่พื้นที่บริเวณต่างๆที่รวมอยู่ในรายงานนี้อาจจะมีตัวเลขสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นและไม่สมเหตุสมผลในรายงานนี้อยู่บ้าง มุมมองประเด็นต่างๆส่วนใหญ่ในรายงานนี้จะมีการรายงานถึงข้อเท็จจริงตามพื้นที่บริเวณต่างๆ โดยนิยามของคำว่าเด็กก็จะมีอายุต่ำกว่า 16 ปี อย่างไรก็ตามรายงานนี้ก็จะมีแรงงานที่มีอายุมากกว่า 16 ปีด้วยเช่นกัน
ประเภทและความต้องการของแรงงานเด็ก
แรงงงานเด็กมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันก็คือ “แรงงานเด็กจากผู้คุม” กับ “แรงงานเด็กเสรี” สอดคล้องกับทางด้าน Reed (2001) ที่บอกว่า แรงงานเด็กจากผู้คุมเป็นแรงงานเด็กยุคแรกๆที่เข้ามาในโรงงาน ซึ่งมีเด็กที่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาลและมาจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า (Reed,2001) เจ้าของโรงงานก็มีแนวคิดที่จะใช้งานเด็กและทำการเพิ่มผลผลิต ทั้งปัดกวาดเช็ดถูกและทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนเด็กตามโรงงานต่างๆ (Tuttle,2001) โดย Tuttle ได้เน้นย้ำว่า เด็กเหล่านี้ไม่ได้รับค่าจ้างจากงานที่พวกเขาได้ทำอยู่ โดยจะมีการจ่ายค่าชดเชยเพียงพอต่อการดำรงชีพและในหลายๆกรณีตัวอย่างก็ได้รับค่าจ้างเพื่ออยู่รอดไปวันๆ เด็กเหล่านี้ต่างก็ทำงานจนเสียสุขภาพ ทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงและถูกลงโทษอย่างหนัก (Tuttle,2001) จึงประเมินได้ว่า แรงงาน 1 ใน 3 คนที่ทำงานในโรงงานต่างๆในช่วง 1784 ก็มาจากแรงงานเด็กจากผู้คุม (Collier,1964)
นี่ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่พบเห็นในตามโรงงานต่างๆบริเวณทางน้ำและส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นเมืองใหญ่ๆ (Tuttle,2001) บ่อยครั้งที่เด็กจะถูกส่งเข้าไปในโรงงานในเมืองใหญ่ๆ Tuttles ยังได้กล่าวถึงด้วยว่า เมื่อเครื่องจักรไอน้ำถูกประดิษฐ์ขึ้นมาและมีโรงงานหลายแห่งได้เข้าสู่เมืองใหญ่ๆพร้อมกับมีโอกาสทางเลือกใช้แรงงานใหม่ๆมากขึ้น เด็กจะถูกจัดเป็นชนชั้นล่าง พวกเขาเหล่านี้จะต้องทำงานหนักและมีความเป็นไปได้ที่พวกเขาได้ค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆ ทางด้านเจ้าของโรงงานก็เริ่มว่าจ้างแรงงานเด็กในอัตราค่าจ้างที่ต่ำ ในบางกรณีตัวอย่างก็ได้เพียงแค่เพนนีเดียวต่อวัน เด็กเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ “แรงงานเด็กเสรี” (Reed,2001)
เงื่อนไขปัจจัยในการทำงาน
เงื่อนไขปัจจัยในการทำงานตามโรงงานต่างๆสำหรับเด็กเล็กก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ รายงานต่างๆก็ได้เขียนเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยของโรงงานต่างๆกับผู้ดูแลโดยจะต้องมาดูปัญหารากเหง้าจริงๆ แม้ว่ารายงานต่างๆจะมีการตั้งคำถาม เนื่องจากผู้เขียนหลายท่านให้ความสนใจการผ่านร่างกฎหมายแรงงานและเชื่อว่ารายงานต่างๆเหล่านี้มีการบิดเบือนในการสนับสนุนการผ่านร่างกฎหมายต่างๆ (Reed,2001) มีความเห็นแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่มเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานในโรงเรียนต่างๆ ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายกับแง่ดี โดย Tuttle ได้อธิบายถึงมุมมองเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานในโรงงานต่างๆจากกลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายอย่าง Alfred (1857) Engels (1926) และ Marx (1909)
“เด็กมีการทำงานอยู่ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่น่าเวทนาและถูกเอารัดเอาเปรียบโดยนักอุตสาหกรรม มีรูปภาพที่แสดงให้เห็นถึง “โรงงานซาตาน” โดยมีเด็กอายุประมาณ 5-6 ขวบทำงานเป็นเวลา 12-16 ชั่วโมงต่อวัน ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์โดยที่ไม่มีการหยุดพักให้กินอาหาร ทั้งเจอกับอากาศร้อน ร้อนอบอ้าว ไม่มีแสงสว่าง ผู้คนอยู่กันอย่างแออัดในโรงงานโดยได้รับค่าตอบแทน 4 ชิลลิงต่อสัปดาห์ (Tuttle,2001)
ในทางกลับกันฝ่ายมองโลกในแง่ดีก็มองไปถึงค่าตอบแทนแรงงานของเด็กๆเหล่านี้ ในกรณีตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้งเจ้าของโรงงานกับผู้จัดการต่างก็ได้รับผลประโยชน์จากแรงงาน พวกเขาได้โต้แย้งว่า แรงงานเด็กเป็นผลดีต่อ “เด็ก ครอบครัวและประเทศชาติ (Tuttle,2001)” Tuttle ได้เน้นย้ำว่า โรงงานไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้แรงงานเด็กหนักเหมือนกับยุคเกษตรกรรมก่อนหน้านี้
แม้ว่ามุมมองที่สุดขั้วทั้ง 2 มุมมองนี้เกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานของเด็กตามโรงงานต่างๆก็เป็นที่ชัดเจนว่า บ่อยครั้งเด็กมักจะถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ในมุมมองภาพรวมเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในที่อยู่เบื้องหลังแรงงานเด็กนั้น ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า โดยรวมแล้วมีเด็กถูกปฎิบัติอย่างไม่เป็นธรรมอย่างไรบ้าง จนถึงทุกวันนี้ข้อบังคับแรงงานเด็กเล็กก็ไม่เป็นที่ยอมรับในส่วนการใช้แรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบเข้ามาทำงานตามโรงงานต่างๆทุกยุคทุกสมัย
ขอบเขตการใช้แรงงานเด็ก
ขอบเขตการใช้แรงงานเด็กก็ยังมีข้อมูลที่สับสนต่อการตรวจสอบ ตัวเลขของเด็กที่ทำงานจริงๆในโรงงานฝ้ายก็ยังเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก จากการสำรวจการปฎิวัติอุตสาหกรรมก่อนหน้าส่วนหนึ่งก็ไม่มีประชากรชาวอังกฤษที่เป็นแรงงานเด็กจนถึงการสำรวจในปี 1841 (Tuttle,2001) อย่างที่เห็นในตารางที่ 1 จะเห็นได้ถึงการวิเคราะห์แรงงานเด็กในช่วงอายุต่างๆในโรงงานฝ้ายที่เมือง Manchester กับ Stockport ที่ต่อมาก็ประเมินสืบค้นคนงานที่มีอายุใกล้เคียงตามโรงงานต่างๆทั้งๆที่พวกเขาจะมีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ (BPP 1818 ; BPP 1819) ในรายงานชิ้นเดียวกันก็มีการประเมินว่า 27.9 เปอร์เซ็นต์มีแรงงานอายุระหว่าง 10 ถึง 13 ปี เมื่อเจ้าของโรงงานถูกดำเนินการสืบสวนจากฝ่ายสภาเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก เกี่ยวกับสาเหตุที่ว่าทำไมพวกเขาถึงใช้แรงงานเด็กจำนวนมาก โดยพวกเขาต่างก็ให้คำตอบที่คล้ายๆกันก็คือ “เด็กเล็กเหล่านี้ต่างเป็นแรงงานฝีมือ มีความขยันและประสบความสำเร็จได้ตอนที่พวกเขาโตขึ้นแล้ว และเด็กก็ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆหลังจากนั้น (Galbi,1994)” ในปี 1841 จากรายงานสำรวจประชากรชาวอังกฤษพบว่า มีแรงงานเด็กเกือบ 107,000 คนทำงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเด็กส่วนหนึ่งก็เป็นลูกจ้างให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Tuttle,2001)
จุดจบของแรงงานเด็ก
เงื่อนไขปัจจัยส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงของแรงงานเด็กเอง บางคนมีความกังวลทางด้านสังคมและสภาพร่างกายที่ดีของเด็กที่ทำงานในโรงงาน มีประเด็นโต้แย้งเรื่องหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการไม่ยอมรับแรงงานเด็กก็คือ ผู้ใหญ่หลายคนไม่ให้เด็กเล็กทำงาน เนื่องจากโรงงานหลายแห่งไม่ได้ให้ค่าตอบแทนเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ (Tuttle,2001) โดย Reed ได้อธิบายถึงประเด็นของการไม่ยอมรับแรงงานเด็กตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจดังนี้คือ
“ด้วยเหตุนี้แรงงานเด็กจึงมักจะถูกอ้างว่า สามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายโดยที่ไม่มีคำสั่งทางกฎหมาย แต่ยิ่งมีระบบขับเคลื่อนการผลิตมากขึ้นตามหลักทุนนิยมด้วยแล้ว แรงงานเด็กจึงยิ่งต้องถูกกำจัดทิ้งออกไป สำหรับในช่วงแรกนั้น ทางด้านผู้ปกครองที่เป็นแรงงานตลาดเสรีก็ไม่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เท่ากับเด็ก (Reed,2001)”
รัฐบาลอังกฤษได้เดินหน้าในการปกป้องเด็กเล็กจากความรุนแรงโดยผ่านร่างกฎหมายต่างๆจำนวนมาก ในช่วงแรกปี 1819 ได้ผ่านร่างกฎหมายโรงงานด้ายโดยจำกัดอายุอย่างต่ำ 9 ขวบและทำงานมากที่สุดถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน (Tuttle,2001) เช่นกัน Tuttle ยังกล่าวด้วยว่า ร่างกฎหมายแรงงานเด็กปี 1833 จากฝ่ายผู้ตรวจการรัฐบาลก็ได้ตรวจสอบโรงงานต่างๆเพื่อแน่ใจว่า ทำตามกฎหมายแรงงานเด็กอย่างเคร่งครัด ร่างกฎหมายสุดท้ายผ่านโดยรัฐสภาอังกฤษเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการทำงานก็คือ Ten Hour Bill ปี 1847 ซึ่งจำกัดเวลาการทำงานทั้งผู้หญิงกับเด็กเล็กที่ 10 ชั่วโมงต่อวัน (Tuttle,2001)
สรุป
การปฎิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษถือเป็นช่วงเวลาที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในภาคการผลิตกับสังคมเศรษฐกิจโลก มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด แต่ความก้าวกระโดดก็นำไปสู่การจัดระเบียบสังคมใหม่ ในช่วงที่มีการปฎิวัติก็มีเด็กเล็กกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เนื่องจากพวกเขาได้ถูกเรียกให้ทำงานตามโรงงานต่างๆ ทั้งมีความต้องการในการผลิตสินค้าต่างๆเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งขาดแคลนแรงงานหลายคนที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆในการทำโรงงานสิ่งทอ เด็กเล็กจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการให้เข้ามาทำงาน เนื่องจากพวกเขายังเป็นเด็กน้อยและเป็นเรื่องง่ายที่จะทำการสอนหน้าที่การงานแบบว่านอนสอนง่ายและให้ความเคารพกับผู้มีอำนาจ (Tuttle,2001)
ผู้แปล : Mr.lawrence10
ที่มา : wathatcher.iwed.bsu.edu