JJNY : เศษตะกิดดี๊ดี...ส่งออกส่อติดลบเป็นปีที่4 รับหลายรายถอดใจลดผลิต

กระทู้คำถาม
สรท.ฟันธงส่งออกไตรมาส 2 ยังอยู่ในแดนลบ2% ถึงขยายตัว 0% รอประเมินคาดการณ์ส่งออกใหม่ จี้รัฐเร่งแอกชันแผนงาน นโยบายให้เป็นรูปธรรม ห่วงเอสเอ็มอีไม่มีตลาดส่งออกเหตุลูกค้าลดลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงยังรุมเร้าทั้งค่าเงิน ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจโลก ยอมรับหลายเริ่มลดผลิตทั้งเพื่อขายในประเทศและส่งออก

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.) หรือสภาผู้ส่งออกกล่าวว่า การส่งออกในเดือนเมษายน 2559 ที่กลับมาติดลบ 8% โดยมีมูลค่าส่งออกที่ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือผิดจากที่คาดการณ์ไว้ เพราะเป็นเดือนที่มีการส่งออกน้อยที่สุดในรอบ 6 ปี และเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 17 (ถ้าหักการส่งออกทองและอาวุธออกไป) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีความเสี่ยงว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ได้ อย่างไรก็ดี เบื้องต้นสรท.ยังคาดการณ์ส่งออกทั้งปีไว้ที่ 0-2% โดยจะประเมินการส่งออกอีกครั้งหลังจบไตรมาส 2

“หากมองในแง่ดี แม้ไตรมาส 2 การส่งออกติดลบ 2% หรือโต 0% แต่เชื่อว่าการส่งออกไตรมาส 3 และ4 การส่งออกจะกลับมาเป็นบวก ซึ่งจะทำให้ทั้งปีการส่งออกขยายตัว 0-2% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ แต่จะเป็นไปตามคาดหมายหรือไม่ ต้องดูผลการส่งออกในไตรมาส 2 ก่อน ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจในสหรัฐฯจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานในเดือนมิถุนายน นี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ ปรับตัวสูงขึ้น แต่ต้องขึ้นอยู่ มาตรการภาครัฐในด้านโยบายต่างประเทศ การผลักดันการส่งออก และการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน”นายนพพรกล่าว และว่า

หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวในเดือนมิถุนายน จากปัจจัยเสี่ยงจะกลายเป็นปัจจัยลบที่มากขึ้น เช่น ปัญหาเศรษฐกิจจีน ปัญหาเศรษฐกิจสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และประเทศอื่นทั่วโลก สงครามการค้าและค่าเงิน ราคาน้ำมันดิบ และสินค้าโภคภัณฑ์ การออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปของอังกฤษ ความขัดแย้งทางการเมืองในหลายภูมิภาคการก่อการร้าย ปัญหาผู้ลี้ภัย ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด และหลายประเทศไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจ และร่วมมือแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจัง โลกก็จะเข้าสู่ภาวะถดถอยและเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยส่งออกติดลบเป็นปีที่ 4ดังนั้นภาคเอกชนอยากเห็นความคืบหน้าของแผนงานนโยบาย มาตรการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐรวมถึงแผนการปฏิบัติ โดยเฉพาะโครงการประชารัฐที่ยังไม่มีความคืบหน้า

ซึ่งสรท.ห่วงใน 3 ประเด็นคือ
1.ขณะนี้ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกตลอดห่วงโซ่ เริ่มได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ถดถอยต่อเนื่องกันมาหลายปี หลายรายต้องปิดกิจการหรือปลดคนงานออก จึงขอให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือ เช่นเดียวกับภาคเกษตรกร ผู้ที่มีรายได้ต่ำ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี พร้อมเตรียมรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น
2.การเตรียมการและการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงความร่วมมือทางการค้าและหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับนานาประเทศ เช่น AEC RCEP TPP และFTA ไทย-สหภาพยุโรป และ
3.การยกระดับมาตรฐานการบริหารราชการและรัฐวิสาหกิจ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและธุรกิจ และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลช่วยเหลือต่อไปเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธาน สรท.กล่าวว่า เอกชนหลายรายได้ลดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ รวมถึงการส่งออกมากขึ้น เห็นได้จากมีการนำเข้าสินค้าทุนลดลง สาเหตุเพราะเอกชนยังไม่มีความเชื่อมั่นด้านการลงทุน เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งยังไม่เอื้อต่อการค้า การส่งออก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่