ทุกวันนี้มักจะเห็นกันโดยทั่วไปว่า ผู้คนส่วนใหญ่มักจะโต้แย้งกันผ่านข้อความคอมเม้นต์ (ความคิดเห็น) บทเวปไซท์หรือบทความศาสนาบนอินเตอร์เน็ต ขณะที่อ่านความคิดเห็นต่างๆ เหล่านั้น มันก็ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า “บุคคลที่กำลังแสดงความคิดเห็นอยู่นั้น” กำลังโต้แย้งเพื่อ “พิสูจน์ประเด็นของพวกเขาเอง” หรือเพื่อ “อธิบายข้อเท็จจริงให้ผู้คนได้รับรู้”
หากการโต้แย้งนั้นเป็นไปเพื่อการพิสูจน์ ความคิดและประเด็นของเขาเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่หะดีษบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
“
ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาความรู้ด้วยเพราะต้องการใช้ “มัน” เพื่อการแข่งขันประชันกับผู้รู้ หรือเป็นการแสดงซึ่งความสามารถในการโต้แย้งกับบรรดาผู้ที่มีความเขลา หรือเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้คนแล้ว อัลลอฮฺจะทรงนำเขาเข้าสู่นรก” (หะดีษที่น่าเชื่อถือได้ รายงานโดย อัล ติรมิซีย์ ในหะดีษของท่านกะอฺบ์ อิบนุ มาลิก)
หากว่า “การโต้แย้งดังกล่าว” นั้นเป็นไปเพื่อต้องการให้ผู้คนได้รับรู้ข้อเท็จจริง ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า
“ไม่มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน “ความจริง” นั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจาก “ความเท็จ” ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูต (สิ่งชั่วร้าย) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงที่ไม่มีวันจะขาด และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2:256)
“ดังนั้น (ศาสนทูต) จงตักเตือนพวกเขา (ไปสู่หนทางแห่งสัจธรรม) เถิด หน้าที่ของเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา ผู้ใดก็ตามที่ผินหลังและปฏิเสธศรัทธา อัลลอฮฺจะทรงลงโทษเขาด้วยการลงโทษอันเจ็บแสบ แท้จริงแล้ว พวกเขาจำต้องกลับไป และพวกเขาจะถูกเรียกมาเพื่อการคิดบัญชีต่อสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ” (อัลฆอซิยะฮฺ 88:21-26)
จากอายะฮฺข้างบนนั้น เราจึงควรที่จะประกาศซึ่ง “สัจธรรม ข้อเท็จจริง” ให้ผู้คนได้รับรู้ หากแต่ไม่ควรที่จะบังคับหรือยัดเยียดให้ใครคนใดคนหนึ่ง เนื่องด้วยว่า “สัจธรรม หรือข้อเท็จจริง” ย่อมปรากฏให้เห็นได้ชัดด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว ในท้ายที่สุด สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือการขอการอำนวยพร (ดุอาอฺ) ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮู วะตะอาลา) ให้ทรงนำพวกเขาเหล่านั้นสู่หนทางที่ถูกต้อง
เมื่อเราทำการโต้เถียง ทะเลาะกัน แน่นอนว่า “บรรดามารร้าย (ชัยฎอน)” ย่อมเข้ามาร่วมอยู่กับเรา
ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้นั่งอยู่กับบรรดาสหายของท่าน (เศาะฮาบะฮฺ) จากนั้นได้มีบุรุษท่านหนึ่งได้กล่าวด่าทอท่านอบูบักรฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้แก่ท่าน หากแต่ท่านอบูบักรฺก็ยังคงนิ่งเฉยต่อการกระทำดังกล่าว บุรุษท่านนั้นก็ยังคงใช้คำพูดที่หยาบช้าต่อท่านอบูบักรฺ หากแต่ท่านอบูบักรก็ไม่ตอบโต้ใดๆ ต่อเขา และเมื่อบุรุษโง่เขลาท่านนั้นได้กล่าวร้ายต่อท่านอบูบักรเป็นครั้งที่สาม ท่านอบูบักรจึงได้ตอบโต้กลับไป
เมื่อถึงตอนนั้น ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) ได้ลุกขึ้น ท่านอบูบักร (รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ) จึงได้ถามท่านว่า “ท่านไม่พอใจในการกระทำของฉันหรือ ท่านเราะสูล” ท่านศาสนทูตจึงตอบว่า “เปล่าหรอก หากแต่ (เมื่อท่านนิ่งเฉย) มลาอิกะฮฺได้ลงมาจากสวนสวรรค์และโต้แย้งต่อคำพูดของบุรุษท่านนั้นแทนท่าน แต่เมื่อท่านได้เริ่มโต้ตอบกับบุรุษท่านนั้น มลาอิกะฮฺท่านนั้นก็จากไป และมารร้าย (ชัยฎอน) ก็เข้ามานั่งแทนที่ และฉันก็ไม่สามารถที่จะนั่งอยู่ในสถานที่ที่มีชัยฎอนนั่งอยู่ได้” (อบู ดาวูด เลขที่ 4878)
สิ่งที่ “ควรทำ” และ “ไม่ควรทำ” ในการแสดงความคิดเห็น (โต้แย้ง) ตามกระดานเสวนาศาสนาในมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม
หากการโต้แย้งนั้นเป็นไปเพื่อการพิสูจน์ ความคิดและประเด็นของเขาเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่หะดีษบทหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดก็ตามที่แสวงหาความรู้ด้วยเพราะต้องการใช้ “มัน” เพื่อการแข่งขันประชันกับผู้รู้ หรือเป็นการแสดงซึ่งความสามารถในการโต้แย้งกับบรรดาผู้ที่มีความเขลา หรือเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจจากผู้คนแล้ว อัลลอฮฺจะทรงนำเขาเข้าสู่นรก” (หะดีษที่น่าเชื่อถือได้ รายงานโดย อัล ติรมิซีย์ ในหะดีษของท่านกะอฺบ์ อิบนุ มาลิก)
หากว่า “การโต้แย้งดังกล่าว” นั้นเป็นไปเพื่อต้องการให้ผู้คนได้รับรู้ข้อเท็จจริง ดังนั้นสิ่งที่เขากระทำอยู่ก็เปรียบกับสิ่งที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า
“ไม่มีการบังคับใด (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน “ความจริง” นั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจาก “ความเท็จ” ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่อ อัฎ-ฎอฆูต (สิ่งชั่วร้าย) และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงที่ไม่มีวันจะขาด และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้ (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2:256)
“ดังนั้น (ศาสนทูต) จงตักเตือนพวกเขา (ไปสู่หนทางแห่งสัจธรรม) เถิด หน้าที่ของเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา ผู้ใดก็ตามที่ผินหลังและปฏิเสธศรัทธา อัลลอฮฺจะทรงลงโทษเขาด้วยการลงโทษอันเจ็บแสบ แท้จริงแล้ว พวกเขาจำต้องกลับไป และพวกเขาจะถูกเรียกมาเพื่อการคิดบัญชีต่อสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ” (อัลฆอซิยะฮฺ 88:21-26)
จากอายะฮฺข้างบนนั้น เราจึงควรที่จะประกาศซึ่ง “สัจธรรม ข้อเท็จจริง” ให้ผู้คนได้รับรู้ หากแต่ไม่ควรที่จะบังคับหรือยัดเยียดให้ใครคนใดคนหนึ่ง เนื่องด้วยว่า “สัจธรรม หรือข้อเท็จจริง” ย่อมปรากฏให้เห็นได้ชัดด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว ในท้ายที่สุด สิ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือการขอการอำนวยพร (ดุอาอฺ) ต่ออัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮู วะตะอาลา) ให้ทรงนำพวกเขาเหล่านั้นสู่หนทางที่ถูกต้อง
เมื่อเราทำการโต้เถียง ทะเลาะกัน แน่นอนว่า “บรรดามารร้าย (ชัยฎอน)” ย่อมเข้ามาร่วมอยู่กับเรา
ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม) ได้นั่งอยู่กับบรรดาสหายของท่าน (เศาะฮาบะฮฺ) จากนั้นได้มีบุรุษท่านหนึ่งได้กล่าวด่าทอท่านอบูบักรฺ (เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ) ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้แก่ท่าน หากแต่ท่านอบูบักรฺก็ยังคงนิ่งเฉยต่อการกระทำดังกล่าว บุรุษท่านนั้นก็ยังคงใช้คำพูดที่หยาบช้าต่อท่านอบูบักรฺ หากแต่ท่านอบูบักรก็ไม่ตอบโต้ใดๆ ต่อเขา และเมื่อบุรุษโง่เขลาท่านนั้นได้กล่าวร้ายต่อท่านอบูบักรเป็นครั้งที่สาม ท่านอบูบักรจึงได้ตอบโต้กลับไป
เมื่อถึงตอนนั้น ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม) ได้ลุกขึ้น ท่านอบูบักร (รอฎิยัลลอฮุ อันฮุ) จึงได้ถามท่านว่า “ท่านไม่พอใจในการกระทำของฉันหรือ ท่านเราะสูล” ท่านศาสนทูตจึงตอบว่า “เปล่าหรอก หากแต่ (เมื่อท่านนิ่งเฉย) มลาอิกะฮฺได้ลงมาจากสวนสวรรค์และโต้แย้งต่อคำพูดของบุรุษท่านนั้นแทนท่าน แต่เมื่อท่านได้เริ่มโต้ตอบกับบุรุษท่านนั้น มลาอิกะฮฺท่านนั้นก็จากไป และมารร้าย (ชัยฎอน) ก็เข้ามานั่งแทนที่ และฉันก็ไม่สามารถที่จะนั่งอยู่ในสถานที่ที่มีชัยฎอนนั่งอยู่ได้” (อบู ดาวูด เลขที่ 4878)