ความขัดแย้งที่ถูกตำหนิ
โดย : ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
อิสลามได้กำชับให้ประชาชาติมุสลิมให้เป็นประชาชาติเดียวกัน และห้ามไม่ให้แตกแยกกัน โดยทั่วไปแล้วความแตกแยกจะเกิดขึ้นจากผลพวงของความเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันจะก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะในอดีตได้ปรากฏความเห็นที่แตกต่างกันมากมายระหว่างบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม แต่การณ์ดังกล่าวก็มิได้เป็นชนวนสู่ความแตกแยกและการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ถูกตำหนิแต่ประการใด ดังนั้น ความแตกต่างด้านความคิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุของความแตกแยกและไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกจึงเป็น สุนนะตุลลอฮฺ หรือธรรมชาติแห่งการสร้างของอัลลอฮฺที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิทั้งหมดเสียทีเดียว ถึงแม้ว่าสิ่งดังกล่าวจะไม่ได้เป็นที่นิยมชมชอบของอิสลามก็ตาม
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
“และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเฉกเช่นบรรดา (ชาวยิวและคริสต์) ที่ได้แตกแยกและขัดแย้งกัน (ในเรื่องศาสนาของพวกเขา)
หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้ง(จากอัลลอฮฺและศาสนทูต) ได้ปรากฏแก่พวกเขา และพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการทรมานอันมหันต์”
(สูเราะฮฺ อาล อิมรอน, อายะฮฺ 105)
นี่คือธาตุแท้ของชาวยิวและคริสต์ที่มักจะขัดแย้งและแตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ในขณะที่คัมภีร์ของพวกเขามีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (เป็นคำอธิบายของ อัล-วาหิดีย์)
ความหมายโดยภาพที่เห็นชัดจากอายะฮฺนี้คือ การที่อัลลอฮฺได้เริ่มด้วยคำว่า “แตกแยก”« تَفَرَّقُو اْ » ซึ่งเป็นต้นเหตุของ “ความขัดแย้ง” « وَٱخۡتَلَفُوا » ในเรื่องศาสนา เพราะความแตกแยกมักจะเป็นบ่อเกิดแห่งความเคียดแค้นที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่แบ่งเป็นพรรคเป็นพวกแม้ว่าประเด็นดังกล่าวไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องขัดแย้งถ้ามองกันในด้านวิชาการ กระนั้น ความแตกแยกดังที่ว่านี้ก็ปรากฏให้เห็นบ่อยในหมู่คนที่ถือว่าเป็นชนผู้มีความรู้ และได้เห็นคำอธิบายต่างๆอย่างชัดแจ้งแล้ว แต่เนื่องจากหัวใจได้แตกและเสียหายไปแล้วจึงทำให้กมลสันดานหรือ ฟิฏเราะฮฺ อันบริสุทธิ์ของเขาเสียหายตามไปด้วย จนกระทั่งไม่สามารถที่จะยอมรับความสัจจริงและยังคงยืนกรานที่จะขัดแย้งกันเช่นเดิม
“พวกเจ้าจงธำรงศาสนา (อิสลาม) ไว้ให้มั่น และจงอย่าได้แตกแยกกันในเรื่องศาสนา”
(สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ, อายะฮฺ 13)
กล่าวได้ว่า คำสั่งของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ ตลอดจนประชาชาติอิสลามทุกคน คือการยึดมั่นเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันในการธำรงศาสนา ( قِيمُو اْ أ ٱلِّينَ ) เพราะมันเป็นหน้าที่หลักของบรรดาศาสนทูตและบรรดาผู้ตอบรับคำเชิญชวนของพวกเขาในทุกเวลาและทุกสถานที่ และปัญหาหรืออุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการอิกอมะตุดดีน (ธำรงศาสนา) คือความแตกแยกที่ต้องห้าม
“และ (ประชาชาติของบรรดาศาสนทูต) พวกเขามิได้แตกแยกกัน (ในด้านการดำเนินชีวิตตามคำสอนของศาสนา)
เว้นแต่หลังจากคำสอนต่างๆ ที่ชี้แจงถึงข้อเท็จจริงได้ถึงพวกเขาแล้ว ทั้งนี้เพราะความริษยาในหมู่พวกเขากันเอง”
(สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ, อายะฮฺ 14)
ความอิจฉาริษยาที่เกิดขึ้นไม่ว่าในหมู่ผู้นำหรือผู้ตาม ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มพวก คือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความแตกแยกที่ถูกตำหนิ « بَغۡيَاۢ بَيۡنَهُ م » ทั้งๆ ที่มีคำชี้แจงหรือคำสอนที่ชัดเจนจากท่านศาสนทูต ด้วยอัลกุรอานหรือหะดีษต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว
การอิจฉาริษยานั้นมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นกับผลประโยชน์ทางโลกที่มิชอบและน่าตำหนิ
ซึ่งมักจะทำให้คนต้องหน้ามืดตามัว แม้กระทั่งคนที่ถูกเรียกขานว่าเป็นอุละมาอ์ หรือผู้รู้แล้วก็ตาม
ส่วนความแตกต่างที่ไม่ได้มีพื้นฐานอยู่บนความอิจฉาริษยาและผลประโยชน์ใดๆ ทางโลกย่อมมีทางออกเสมอเมื่อได้รับการชี้นำจากคำอธิบายของอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ผ่านการนำเสนอของบรรดา อุละมาอ์ (ผู้รู้) และ หุกะมาอ์ (ผู้มีวิทยปัญญา) ที่บริสุทธิ์ใจ
ท่านนบี ได้กล่าวว่า “ประชาชาตินี้ (ของท่านนบีมุหัมมัด ) จะแตกออกเป็นเจ็ดสิบสามพวก ทุกกลุ่มต้องเข้านรกเว้นแต่พวกเดียว”
(บันทึกโดยอะหมัด เล่ม 4 หน้า 102: หะสัน เศาะฮีหฺ)
มีผู้ถามว่าใครเล่า : โอ้ ท่านศาสนทูต ?
ท่านตอบว่า “คือ อัล-ญะมาอะฮฺ” ในรายงานอื่นระบุว่า “คือคนที่อยู่บนแนวทางเดียวกันกับที่ฉันเดินในวันนี้ และแนวทางเศาะหาบะฮฺของฉัน”
(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 2643)
มีสองทัศนะจากอุละมาอ์ที่ได้ให้ความหมายคำว่า “ประชาชาตินี้” ตามที่ระบุในหะดีษ ว่าใครคือประชาชาติทั้งเจ็ดสิบสองพวกที่นอกเหนือไปจากกลุ่มเดียวที่รอดพ้นนั้น? ดังต่อไปนี้
หนึ่ง อุมมะฮฺ อัล-อิญาบะฮฺ
กล่าวคือ คำว่า “ประชาชาตินี้” ในหะดีษดังกล่าวหมายถึง บรรดาคนที่ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามแล้วเท่านั้น นั่นก็คือว่า ทั้งเจ็ดสิบสามพวกที่ถูกระบุในหะดีษนั้นคือผู้ที่รับอิสลามแล้วทั้งสิ้น และกลุ่มที่รอดพ้น ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ แค่กลุ่มเดียวนั้นก็คือกลุ่มที่ยึดมั่นในสุนนะฮฺของท่านศาสนทูต และแนวทางบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ดังนั้น จึงอาจให้ความหมายได้ว่า กลุ่มอื่นๆ นอกเหนือไปจากนั้นก็เป็นมุสลิมทั้งหมด ไม่ใช่กาฟิรฺ ถึงแม้ว่าพวกเขาต้องเข้านรกก่อนแล้วจึงสามารถจะเข้าสวรรค์ได้ เนื่องมาจากการเดินบนเส้นทางที่ขัดแย้งกับสุนนะฮฺของท่านนบี และแนวทางของเหล่าเคาะลีฟะฮฺ รวมถึงเศาะหาบะฮฺทั้งหลายด้วย เพราะมีรายงานในบางหะดีษที่ได้บอกว่า ผู้ที่กล่าวชะฮาดะฮฺปฏิญาณตนว่าเป็นมุสลิมทุกคนจะได้ออกจากนรกและได้เข้าสวรรค์หลังจากนั้นในที่สุด
ท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เล่าจากท่านนบี ท่านกล่าวว่า
“ชาวสวรรค์จะเข้าสวรรค์และชาวนรกก็จะเข้านรก หลังจากนั้นอัลลอฮฺจะตรัส (แก่มลาอิกะฮฺ) ว่า จงนำบรรดาผู้ที่มีศรัทธาในหัวใจแม้จะหนักเท่าผงธุลี (ออกจากไฟนรก)
ดังนั้นชาวนรก (ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว) ก็จะถูกนำออกจากไฟนรกในสภาพที่ดำ (เหมือนตอตะโก เนื่องจากถูกเผาไหม้ด้วยไฟนรก)
แล้วพวกเขาก็ถูกโยนลงในลำธารชีวิต ดังนั้นพวกเขาจึงกลับงอกเงย (มีชีวิตชีวา) ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ดังเมล็ดพืชที่งอกเงยขึ้นตามริมน้ำ...”
(หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 22)
บนพื้นฐานของทัศนะนี้ อุละมาอ์จึงยืนยันชัดว่า ใครก็ตามที่กล่าวหาพี่น้องมุสลิมในกลุ่มอื่นๆนอกเหนือไปจากกลุ่ม “ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ” ทั้งเจ็ดสิบสองพวกว่าเป็นกาฟิรฺ แสดงว่าเขาได้เห็นขัดแย้ง กับคำสอนของอัลกุรอาน สุนนะฮฺ และอิจญ์มาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮฺและตาบิอีน เพราะพวกเขาเหล่านั้นก็คือมุสลิม ต้องไม่ถือว่าพวกเขาเป็นกาฟิรฺตราบใดที่ไม่มีเครื่องหมายแก่กุฟรฺปรากฏชัดเจนวัลลอฮุ อะอฺลัม
ทั้งเจ็ดสิบสามพวกในอิสลามดังที่ได้กล่าวนั้น ล้วนเป็นประชาชาติของท่านนบี มุหัมมัด ซึ่งต้องพยายามหาวิธีเพื่อให้เกิดการรวมตัวเป็นประชาชาติเดียวกันตามที่สามารถจะทำได้ นั่นก็คือด้วยการยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสนทูต ในทุกๆ ด้านของการดำเนินชีวิต และการห่างไกลจากชิริกหรือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺทุกรูปแบบ เพราะบาปของการตั้งภาคีนั้นจะไม่ถูกอภัยเพื่อให้เข้าสวรรค์ได้ และสวรรค์เป็นที่ ที่ไม่คู่ควรสำหรับคนที่มีบาปติดตัว วัลลอฮุอะอฺลัม
สอง อุมมะฮฺ อัด-ดะอฺวะฮฺ
หมายถึง ทัศนะที่สองนี้มองว่าเจ็ดสิบสองพวกที่ถูกระบุในหะดีษดังกล่าวไปแล้วนั้นคือบรรดาผู้ที่ยังไม่ได้รับอิสลาม จึงหมายความว่า มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ก็ล้วนเป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด และมุสลิมทุกคนไม่ว่าจะนับถือมัซฮับหรือแนวทางใดที่ได้กล่าวปฏิญาณตนเป็นมุสลิมก็ล้วนรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันคือกลุ่ม “ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ” ที่รอดพ้น และจะได้เข้าสวรรค์ทั้งสิ้น ส่วนที่เหลืออีกเจ็ดสิบสองพวกนั้นก็คือผู้ที่ยังไม่ได้รับอิสลาม ยังไม่ได้กล่าวปฏิญาณตนเป็นมุสลิม ยังไม่ได้ละหมาดและปฏิบัติภารกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ถือว่าเป็นประชาชาติของนบีมุหัมมัด เช่นเดียวกัน แต่พวกเขาอยู่ในระดับ “อุมมะฮฺ อัด-ดะอฺวะฮฺ” หมายถึง ผู้คนที่มุสลิมมีหน้าที่ต้องเชิญชวนพวกเขาให้มาเดินบนเส้นทางของอิสลาม
เพราะประชาชาติของท่านนบี มุหัมมัด ที่รับอิสลาม หรือ อุมมะฮฺ อัล-อิญาบะฮฺ โดยภาพรวมแล้วคือประชาชาติที่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ เช่นที่ท่านนบี ได้กล่าวว่า
“ประชาชาติของฉัน(หมายถึงผู้ศรัทธา)เป็นประชาชาติที่ได้รับพระเมตตา (จากอัลลอฮฺ) พวกเขาจะไม่ถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ
โทษของพวกเขาจะเกิดขึ้นก่อนในโลกนี้ กล่าวคือ การที่พวกเขาโดนบททดสอบ แผ่นดินไหวและการคร่าชีวิต”
(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 4278)
แปลโดย : อุษมาน อิดรีส, ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
ลิงค์อ่างอิง :
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=500328303393752&set=a.165344056892180.38248.165329176893668&type=1&theater
ความขัดแย้งที่ถูกตำหนิ ( บทความสำหรับมุสลิมครับ )
ความขัดแย้งที่ถูกตำหนิ
โดย : ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
อิสลามได้กำชับให้ประชาชาติมุสลิมให้เป็นประชาชาติเดียวกัน และห้ามไม่ให้แตกแยกกัน โดยทั่วไปแล้วความแตกแยกจะเกิดขึ้นจากผลพวงของความเห็นที่ไม่ตรงกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันจะก่อให้เกิดความแตกแยก เพราะในอดีตได้ปรากฏความเห็นที่แตกต่างกันมากมายระหว่างบรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม แต่การณ์ดังกล่าวก็มิได้เป็นชนวนสู่ความแตกแยกและการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ถูกตำหนิแต่ประการใด ดังนั้น ความแตกต่างด้านความคิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากสาเหตุของความแตกแยกและไม่ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกจึงเป็น สุนนะตุลลอฮฺ หรือธรรมชาติแห่งการสร้างของอัลลอฮฺที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกตำหนิทั้งหมดเสียทีเดียว ถึงแม้ว่าสิ่งดังกล่าวจะไม่ได้เป็นที่นิยมชมชอบของอิสลามก็ตาม
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
“และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเฉกเช่นบรรดา (ชาวยิวและคริสต์) ที่ได้แตกแยกและขัดแย้งกัน (ในเรื่องศาสนาของพวกเขา)
หลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้ง(จากอัลลอฮฺและศาสนทูต) ได้ปรากฏแก่พวกเขา และพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการทรมานอันมหันต์”
(สูเราะฮฺ อาล อิมรอน, อายะฮฺ 105)
นี่คือธาตุแท้ของชาวยิวและคริสต์ที่มักจะขัดแย้งและแตกแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ในขณะที่คัมภีร์ของพวกเขามีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (เป็นคำอธิบายของ อัล-วาหิดีย์)
ความหมายโดยภาพที่เห็นชัดจากอายะฮฺนี้คือ การที่อัลลอฮฺได้เริ่มด้วยคำว่า “แตกแยก”« تَفَرَّقُو اْ » ซึ่งเป็นต้นเหตุของ “ความขัดแย้ง” « وَٱخۡتَلَفُوا » ในเรื่องศาสนา เพราะความแตกแยกมักจะเป็นบ่อเกิดแห่งความเคียดแค้นที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่แบ่งเป็นพรรคเป็นพวกแม้ว่าประเด็นดังกล่าวไม่น่าจะเป็นประเด็นที่ต้องขัดแย้งถ้ามองกันในด้านวิชาการ กระนั้น ความแตกแยกดังที่ว่านี้ก็ปรากฏให้เห็นบ่อยในหมู่คนที่ถือว่าเป็นชนผู้มีความรู้ และได้เห็นคำอธิบายต่างๆอย่างชัดแจ้งแล้ว แต่เนื่องจากหัวใจได้แตกและเสียหายไปแล้วจึงทำให้กมลสันดานหรือ ฟิฏเราะฮฺ อันบริสุทธิ์ของเขาเสียหายตามไปด้วย จนกระทั่งไม่สามารถที่จะยอมรับความสัจจริงและยังคงยืนกรานที่จะขัดแย้งกันเช่นเดิม
“พวกเจ้าจงธำรงศาสนา (อิสลาม) ไว้ให้มั่น และจงอย่าได้แตกแยกกันในเรื่องศาสนา”
(สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ, อายะฮฺ 13)
กล่าวได้ว่า คำสั่งของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ ตลอดจนประชาชาติอิสลามทุกคน คือการยึดมั่นเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันในการธำรงศาสนา ( قِيمُو اْ أ ٱلِّينَ ) เพราะมันเป็นหน้าที่หลักของบรรดาศาสนทูตและบรรดาผู้ตอบรับคำเชิญชวนของพวกเขาในทุกเวลาและทุกสถานที่ และปัญหาหรืออุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการอิกอมะตุดดีน (ธำรงศาสนา) คือความแตกแยกที่ต้องห้าม
“และ (ประชาชาติของบรรดาศาสนทูต) พวกเขามิได้แตกแยกกัน (ในด้านการดำเนินชีวิตตามคำสอนของศาสนา)
เว้นแต่หลังจากคำสอนต่างๆ ที่ชี้แจงถึงข้อเท็จจริงได้ถึงพวกเขาแล้ว ทั้งนี้เพราะความริษยาในหมู่พวกเขากันเอง”
(สูเราะฮฺ อัช-ชูรอ, อายะฮฺ 14)
ความอิจฉาริษยาที่เกิดขึ้นไม่ว่าในหมู่ผู้นำหรือผู้ตาม ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มพวก คือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความแตกแยกที่ถูกตำหนิ « بَغۡيَاۢ بَيۡنَهُ م » ทั้งๆ ที่มีคำชี้แจงหรือคำสอนที่ชัดเจนจากท่านศาสนทูต ด้วยอัลกุรอานหรือหะดีษต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว
การอิจฉาริษยานั้นมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นกับผลประโยชน์ทางโลกที่มิชอบและน่าตำหนิ
ซึ่งมักจะทำให้คนต้องหน้ามืดตามัว แม้กระทั่งคนที่ถูกเรียกขานว่าเป็นอุละมาอ์ หรือผู้รู้แล้วก็ตาม
ส่วนความแตกต่างที่ไม่ได้มีพื้นฐานอยู่บนความอิจฉาริษยาและผลประโยชน์ใดๆ ทางโลกย่อมมีทางออกเสมอเมื่อได้รับการชี้นำจากคำอธิบายของอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ผ่านการนำเสนอของบรรดา อุละมาอ์ (ผู้รู้) และ หุกะมาอ์ (ผู้มีวิทยปัญญา) ที่บริสุทธิ์ใจ
ท่านนบี ได้กล่าวว่า “ประชาชาตินี้ (ของท่านนบีมุหัมมัด ) จะแตกออกเป็นเจ็ดสิบสามพวก ทุกกลุ่มต้องเข้านรกเว้นแต่พวกเดียว”
(บันทึกโดยอะหมัด เล่ม 4 หน้า 102: หะสัน เศาะฮีหฺ)
มีผู้ถามว่าใครเล่า : โอ้ ท่านศาสนทูต ?
ท่านตอบว่า “คือ อัล-ญะมาอะฮฺ” ในรายงานอื่นระบุว่า “คือคนที่อยู่บนแนวทางเดียวกันกับที่ฉันเดินในวันนี้ และแนวทางเศาะหาบะฮฺของฉัน”
(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ หมายเลข 2643)
มีสองทัศนะจากอุละมาอ์ที่ได้ให้ความหมายคำว่า “ประชาชาตินี้” ตามที่ระบุในหะดีษ ว่าใครคือประชาชาติทั้งเจ็ดสิบสองพวกที่นอกเหนือไปจากกลุ่มเดียวที่รอดพ้นนั้น? ดังต่อไปนี้
หนึ่ง อุมมะฮฺ อัล-อิญาบะฮฺ
กล่าวคือ คำว่า “ประชาชาตินี้” ในหะดีษดังกล่าวหมายถึง บรรดาคนที่ได้ยอมรับนับถือศาสนาอิสลามแล้วเท่านั้น นั่นก็คือว่า ทั้งเจ็ดสิบสามพวกที่ถูกระบุในหะดีษนั้นคือผู้ที่รับอิสลามแล้วทั้งสิ้น และกลุ่มที่รอดพ้น ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ แค่กลุ่มเดียวนั้นก็คือกลุ่มที่ยึดมั่นในสุนนะฮฺของท่านศาสนทูต และแนวทางบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม ดังนั้น จึงอาจให้ความหมายได้ว่า กลุ่มอื่นๆ นอกเหนือไปจากนั้นก็เป็นมุสลิมทั้งหมด ไม่ใช่กาฟิรฺ ถึงแม้ว่าพวกเขาต้องเข้านรกก่อนแล้วจึงสามารถจะเข้าสวรรค์ได้ เนื่องมาจากการเดินบนเส้นทางที่ขัดแย้งกับสุนนะฮฺของท่านนบี และแนวทางของเหล่าเคาะลีฟะฮฺ รวมถึงเศาะหาบะฮฺทั้งหลายด้วย เพราะมีรายงานในบางหะดีษที่ได้บอกว่า ผู้ที่กล่าวชะฮาดะฮฺปฏิญาณตนว่าเป็นมุสลิมทุกคนจะได้ออกจากนรกและได้เข้าสวรรค์หลังจากนั้นในที่สุด
ท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เล่าจากท่านนบี ท่านกล่าวว่า
“ชาวสวรรค์จะเข้าสวรรค์และชาวนรกก็จะเข้านรก หลังจากนั้นอัลลอฮฺจะตรัส (แก่มลาอิกะฮฺ) ว่า จงนำบรรดาผู้ที่มีศรัทธาในหัวใจแม้จะหนักเท่าผงธุลี (ออกจากไฟนรก)
ดังนั้นชาวนรก (ที่มีคุณลักษณะดังกล่าว) ก็จะถูกนำออกจากไฟนรกในสภาพที่ดำ (เหมือนตอตะโก เนื่องจากถูกเผาไหม้ด้วยไฟนรก)
แล้วพวกเขาก็ถูกโยนลงในลำธารชีวิต ดังนั้นพวกเขาจึงกลับงอกเงย (มีชีวิตชีวา) ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ดังเมล็ดพืชที่งอกเงยขึ้นตามริมน้ำ...”
(หะดีษบันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 22)
บนพื้นฐานของทัศนะนี้ อุละมาอ์จึงยืนยันชัดว่า ใครก็ตามที่กล่าวหาพี่น้องมุสลิมในกลุ่มอื่นๆนอกเหนือไปจากกลุ่ม “ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ” ทั้งเจ็ดสิบสองพวกว่าเป็นกาฟิรฺ แสดงว่าเขาได้เห็นขัดแย้ง กับคำสอนของอัลกุรอาน สุนนะฮฺ และอิจญ์มาอฺของเหล่าเศาะหาบะฮฺและตาบิอีน เพราะพวกเขาเหล่านั้นก็คือมุสลิม ต้องไม่ถือว่าพวกเขาเป็นกาฟิรฺตราบใดที่ไม่มีเครื่องหมายแก่กุฟรฺปรากฏชัดเจนวัลลอฮุ อะอฺลัม
ทั้งเจ็ดสิบสามพวกในอิสลามดังที่ได้กล่าวนั้น ล้วนเป็นประชาชาติของท่านนบี มุหัมมัด ซึ่งต้องพยายามหาวิธีเพื่อให้เกิดการรวมตัวเป็นประชาชาติเดียวกันตามที่สามารถจะทำได้ นั่นก็คือด้วยการยึดมั่นในแนวทางของท่านศาสนทูต ในทุกๆ ด้านของการดำเนินชีวิต และการห่างไกลจากชิริกหรือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺทุกรูปแบบ เพราะบาปของการตั้งภาคีนั้นจะไม่ถูกอภัยเพื่อให้เข้าสวรรค์ได้ และสวรรค์เป็นที่ ที่ไม่คู่ควรสำหรับคนที่มีบาปติดตัว วัลลอฮุอะอฺลัม
สอง อุมมะฮฺ อัด-ดะอฺวะฮฺ
หมายถึง ทัศนะที่สองนี้มองว่าเจ็ดสิบสองพวกที่ถูกระบุในหะดีษดังกล่าวไปแล้วนั้นคือบรรดาผู้ที่ยังไม่ได้รับอิสลาม จึงหมายความว่า มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ก็ล้วนเป็นประชาชาติของท่านนบีมุหัมมัด และมุสลิมทุกคนไม่ว่าจะนับถือมัซฮับหรือแนวทางใดที่ได้กล่าวปฏิญาณตนเป็นมุสลิมก็ล้วนรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันคือกลุ่ม “ฟิรฺเกาะฮฺ นาญิยะฮฺ” ที่รอดพ้น และจะได้เข้าสวรรค์ทั้งสิ้น ส่วนที่เหลืออีกเจ็ดสิบสองพวกนั้นก็คือผู้ที่ยังไม่ได้รับอิสลาม ยังไม่ได้กล่าวปฏิญาณตนเป็นมุสลิม ยังไม่ได้ละหมาดและปฏิบัติภารกิจอื่นๆ
อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ถือว่าเป็นประชาชาติของนบีมุหัมมัด เช่นเดียวกัน แต่พวกเขาอยู่ในระดับ “อุมมะฮฺ อัด-ดะอฺวะฮฺ” หมายถึง ผู้คนที่มุสลิมมีหน้าที่ต้องเชิญชวนพวกเขาให้มาเดินบนเส้นทางของอิสลาม
เพราะประชาชาติของท่านนบี มุหัมมัด ที่รับอิสลาม หรือ อุมมะฮฺ อัล-อิญาบะฮฺ โดยภาพรวมแล้วคือประชาชาติที่ได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ เช่นที่ท่านนบี ได้กล่าวว่า
“ประชาชาติของฉัน(หมายถึงผู้ศรัทธา)เป็นประชาชาติที่ได้รับพระเมตตา (จากอัลลอฮฺ) พวกเขาจะไม่ถูกลงโทษในวันอาคิเราะฮฺ
โทษของพวกเขาจะเกิดขึ้นก่อนในโลกนี้ กล่าวคือ การที่พวกเขาโดนบททดสอบ แผ่นดินไหวและการคร่าชีวิต”
(บันทึกโดยอบู ดาวูด หมายเลข 4278)
แปลโดย : อุษมาน อิดรีส, ซุฟอัม อุษมาน
ที่มา : มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
ลิงค์อ่างอิง : https://www.facebook.com/photo.php?fbid=500328303393752&set=a.165344056892180.38248.165329176893668&type=1&theater