http://www.springnews.co.th/social/294671
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 59 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมได้ให้สัตยาบัน เข้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ และเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย สาระสำคัญคือ กำหนดบทลงโทษหากมีการกระทำความผิดด้วยการทรมานบุคคลที่ถูกจับกุม หรืออุ้มบุคคลให้สูญหาย ทั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ แต่ได้รับการยุยง ยินยอม หรือได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และผู้กระทำความผิดจะกล่าวอ้าง สถานการณ์ฉุกเฉิน สถานการณ์สงคราม และความไม่มั่นคงอื่นใด มาเป็นเหตุแห่งการทรมานและการอุ้มให้หายไปได้ โดยความผิดในการกระทำดังกล่าวมีอายุความ 20 ปี
นอกจากนี้ ยังต้องมีการประกันสิทธิของผู้เสียหาย โดยต้องได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับญาติ ทนายความ และต้องแจ้งสภาพการคุมขังและสถานที่คุมขัง ทั้งนี้กำหนดไม่ให้หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งตัวบุคคลใดออกไปนอกราชอาณาจักร หากเชื่อได้ว่า การส่งบุคคลนั้นไปแล้ว จะทำให้บุคคลเหล่านั้นถูกทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย
อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายดังกล่าวในยุครัฐบาลทหาร ถือได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสังคมและภาคีจากประเทศต่างๆ ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน คาดว่าการลิดรอนสิทธิ์ประชาชนในลักษณะทรมาน หรืออุ้มบุคคลให้สูญหาย จากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจะลดลงอย่างแน่นอน
อุ้มหาย-สาบสูญ มีผลแล้ว อายุความ 20 ปี
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 59 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมได้ให้สัตยาบัน เข้าเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้หายสาบสูญ และเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย สาระสำคัญคือ กำหนดบทลงโทษหากมีการกระทำความผิดด้วยการทรมานบุคคลที่ถูกจับกุม หรืออุ้มบุคคลให้สูญหาย ทั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ แต่ได้รับการยุยง ยินยอม หรือได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และผู้กระทำความผิดจะกล่าวอ้าง สถานการณ์ฉุกเฉิน สถานการณ์สงคราม และความไม่มั่นคงอื่นใด มาเป็นเหตุแห่งการทรมานและการอุ้มให้หายไปได้ โดยความผิดในการกระทำดังกล่าวมีอายุความ 20 ปี
นอกจากนี้ ยังต้องมีการประกันสิทธิของผู้เสียหาย โดยต้องได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับญาติ ทนายความ และต้องแจ้งสภาพการคุมขังและสถานที่คุมขัง ทั้งนี้กำหนดไม่ให้หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งตัวบุคคลใดออกไปนอกราชอาณาจักร หากเชื่อได้ว่า การส่งบุคคลนั้นไปแล้ว จะทำให้บุคคลเหล่านั้นถูกทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย
อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายดังกล่าวในยุครัฐบาลทหาร ถือได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับสังคมและภาคีจากประเทศต่างๆ ว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน คาดว่าการลิดรอนสิทธิ์ประชาชนในลักษณะทรมาน หรืออุ้มบุคคลให้สูญหาย จากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจะลดลงอย่างแน่นอน