‘ดีอี’เร่งจัดระเบียบ SMS เข้มลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด ล้างบางแนบลิงก์หลอกลวง-ดูดเงิน
23 ตุลาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดีอี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งมาตรการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะกรณีของ SMS แนบลิงก์หลอกลวง
ทั้งนี้ จากการก่ออาชญากรรมออนไลน์ของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา พบว่า มีการใช้ช่องทางของ SMS หรือข้อความแนบลิงก์ ในโทรศัพท์มือถือของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยลิงก์ดังกล่าว อาจเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ในการติดตั้งระบบดึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือดูดเงินในบัญชีของประชาชน ซึ่งสร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับประชาชน
นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวง ดีอี จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เร่งดำเนินมาตรการป้องกันการส่ง SMS แนบลิงก์หลอกลวง โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
1.การลงทะเบียน Sender Name ใหม่ทั้งระบบ ภายในปี 2567 นี้ และต้องมีการลงทะเบียนทุกๆ ปี เพื่อให้สามารถระบุว่า ผู้ให้บริการ และ ผู้ส่ง SMS คือใคร
2.มาตรการความปลอดภัยสำหรับการส่ง SMS แนบลิงค์ ผู้ส่งข้อความ (Sender Name) SMS แนบลิงก์ จะต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกครั้ง
สำหรับการลงทะเบียนการส่ง SMS แนบลิงก์ จะต้องระบุรายละเอียดของข้อความ และลิงก์ เพื่อให้ ผู้ให้บริการเครือข่าย ตรวจสอบลิงก์ ก่อนที่จะส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการ (End user) หากกรณีที่มีการตรวจพบข้อความแนบลิงก์หลอกลวง, ข้อความแนบลิงก์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน, ข้อความอื่นที่สามารถใช้เป็นช่องทางในการติดต่อถึงบุคคลอื่น เช่น ไอดี Line
นายประเสริฐ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ ตร. ดำเนินการ โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 โดยให้ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายยกเลิกสัญญาบริการกับผู้ส่งข้อความ (Sender Name) และผู้ให้บริการต้องแจ้งข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ส่งข้อความให้กับทาง ตร. เพื่อดำเนินคดีตากฎหมายกับผู้ส่งข้อความต่อไป
“สำหรับมาตรการ Cleansing Sender Name ดังกล่าวจะเป็นการป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพในการส่งข้อความ SMS แนบลิงก์หลอกลวงเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบดูดเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้เป็นจำนวนมาก โดยกำหนดลงทะเบียนให้ผู้ส่งข้อความจบภายในปี 2567 นี้” นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ ระบุว่า กระทรวงดีอี มีความห่วงใยประชาชน โดยขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียด หากมีการส่ง SMS แนบลิงก์ เข้ามาจากผู้ส่งข้อความ (เบอร์โทร) ที่น่าสงสัย หากมีการแอบอ้างในข้อความว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือธนาคาร ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่มีนโยบายในการให้ ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ส่ง SMS ผ่านเบอร์โทรส่วนตัวถึงประชาชน โดยหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผ่านสายด่วน 1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชน ยึด “หลัก 4 ไม่ คือ 1.ไม่กดลิงก์ 2.ไม่เชื่อ 3.ไม่รีบ และ 4.ไม่โอน
Cr.
https://www.naewna.com/business/837044
จับ‘บัญชีม้า’แก๊งคอลฯ สวมรอยตำรวจหาดใหญ่ลวงเหยื่อ สูญเกือบ 10 ล้าน
‘ตำรวจสอบสวนกลาง’กวาดล้าง‘บัญชีม้า’แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจเมืองหาดใหญ่ พบเหยื่อหลายราย สูญเงินรวมเกือบ 10 ล้าน
23 ตุลาคม 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. , พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. , ว่าที่ พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน ผกก.3 บก.ปอศ. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมนำโดย ว่าที่ พ.ต.ท.วรพจน์ ลลิตจิรกุล สว. กก.3 บก.ปอศ. , ร.ต.อ.ศิการ ไม้คู่ รอง สว.(ป.) กก.3 บก.ปอศ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. ร่วมกันจับกุม น.ส.ปรียานุช อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาลงวันที่ 8 ต.ค.2567 โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น, และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกัน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง” โดยจับกุมได้ที่บริเวณหน้าบ้านในพื้นที่หมู่ 2 ต.ตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการระดมกวาดล้างอาชญากรรม ในรูปแบบต่างๆ ความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทั่วไป และบุคคลตามหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. ได้จับกุมผู้ต้องหาที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับการหลอกลวงประชาชน โดยได้รับแจ้งจากสายลับพบว่า น.ส.ปรียานุช ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ได้หลบหนีมาอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งใน จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. จึงได้เข้าจับกุม น.ส.ปรียานุช
จากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่า ผู้ต้องหามีชื่อเป็นหนึ่งในขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งพฤติกรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้ จะทำการสุ่มโทรศัพท์หาเหยื่อโดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองหาดใหญ่ ใช้กลอุบายสร้างสถานการณ์ข่มขู่ให้ผู้เสียหายกลัว หลอกลวงผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเรื่องต่างๆ จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินที่มี และให้ผู้เสียหายที่หลงเชื่อโอนเงินมาให้ในบัญชีที่กลุ่มคนร้ายเตรียมไว้ โดยอ้างว่าเพื่อทำการตรวจสอบ
เมื่อผู้เสียหายโอนเงินมาให้ก็จะทำการโอนถ่ายเงินของผู้เสียหายต่อไปยังบัญชีผู้อยู่ในขบวนการ ทำให้ผู้เสียหายสูญเสียเงินที่โอนไป เบื้องต้นตรวจสอบทราบว่ามีผู้เสียหายในคดีนี้จำนวนหลายราย มูลค่าความเสียหายรวมเกือบ 10 ล้านบาท
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตามข้อกล่าวหา อ้างว่าตนไม่เคยรับจ้างไปเปิดบัญชีธนาคารให้ใคร แต่ตนเคยสมัครแอปพลิเคชันเงินกู้เถื่อน และเชื่อว่าถูกแอปฯเถื่อนดังกล่าวนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้
Cr.
https://www.naewna.com/local/837136
‘ดีอี’เร่งจัดระเบียบ SMS เข้มลงทะเบียนใหม่ทั้งหมด & แกงค์คอล. ลวงเหยื่อ เกือบ 10 ล้าน
23 ตุลาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า กระทรวงดีอี ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งมาตรการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมออนไลน์ โดยเฉพาะกรณีของ SMS แนบลิงก์หลอกลวง
ทั้งนี้ จากการก่ออาชญากรรมออนไลน์ของมิจฉาชีพ ที่ผ่านมา พบว่า มีการใช้ช่องทางของ SMS หรือข้อความแนบลิงก์ ในโทรศัพท์มือถือของประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยลิงก์ดังกล่าว อาจเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพใช้ในการติดตั้งระบบดึงข้อมูลส่วนบุคคล หรือดูดเงินในบัญชีของประชาชน ซึ่งสร้างผลกระทบและความเสียหายให้กับประชาชน
นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวง ดีอี จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เร่งดำเนินมาตรการป้องกันการส่ง SMS แนบลิงก์หลอกลวง โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
1.การลงทะเบียน Sender Name ใหม่ทั้งระบบ ภายในปี 2567 นี้ และต้องมีการลงทะเบียนทุกๆ ปี เพื่อให้สามารถระบุว่า ผู้ให้บริการ และ ผู้ส่ง SMS คือใคร
2.มาตรการความปลอดภัยสำหรับการส่ง SMS แนบลิงค์ ผู้ส่งข้อความ (Sender Name) SMS แนบลิงก์ จะต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกครั้ง
สำหรับการลงทะเบียนการส่ง SMS แนบลิงก์ จะต้องระบุรายละเอียดของข้อความ และลิงก์ เพื่อให้ ผู้ให้บริการเครือข่าย ตรวจสอบลิงก์ ก่อนที่จะส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการ (End user) หากกรณีที่มีการตรวจพบข้อความแนบลิงก์หลอกลวง, ข้อความแนบลิงก์ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน, ข้อความอื่นที่สามารถใช้เป็นช่องทางในการติดต่อถึงบุคคลอื่น เช่น ไอดี Line
นายประเสริฐ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ ตร. ดำเนินการ โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566 โดยให้ดำเนินการแจ้งผู้ให้บริการเครือข่ายยกเลิกสัญญาบริการกับผู้ส่งข้อความ (Sender Name) และผู้ให้บริการต้องแจ้งข้อมูลการลงทะเบียนของผู้ส่งข้อความให้กับทาง ตร. เพื่อดำเนินคดีตากฎหมายกับผู้ส่งข้อความต่อไป
“สำหรับมาตรการ Cleansing Sender Name ดังกล่าวจะเป็นการป้องกันและปราบปรามมิจฉาชีพในการส่งข้อความ SMS แนบลิงก์หลอกลวงเพื่อใช้ในการติดตั้งระบบดูดเงิน หรือข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนได้เป็นจำนวนมาก โดยกำหนดลงทะเบียนให้ผู้ส่งข้อความจบภายในปี 2567 นี้” นายประเสริฐ กล่าว
นายประเสริฐ ระบุว่า กระทรวงดีอี มีความห่วงใยประชาชน โดยขอให้ตรวจสอบอย่างละเอียด หากมีการส่ง SMS แนบลิงก์ เข้ามาจากผู้ส่งข้อความ (เบอร์โทร) ที่น่าสงสัย หากมีการแอบอ้างในข้อความว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือธนาคาร ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่าหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่มีนโยบายในการให้ ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ส่ง SMS ผ่านเบอร์โทรส่วนตัวถึงประชาชน โดยหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผ่านสายด่วน 1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชน ยึด “หลัก 4 ไม่ คือ 1.ไม่กดลิงก์ 2.ไม่เชื่อ 3.ไม่รีบ และ 4.ไม่โอน
Cr. https://www.naewna.com/business/837044
จับ‘บัญชีม้า’แก๊งคอลฯ สวมรอยตำรวจหาดใหญ่ลวงเหยื่อ สูญเกือบ 10 ล้าน
‘ตำรวจสอบสวนกลาง’กวาดล้าง‘บัญชีม้า’แก๊งคอลเซ็นเตอร์ อ้างเป็นตำรวจเมืองหาดใหญ่ พบเหยื่อหลายราย สูญเงินรวมเกือบ 10 ล้าน
23 ตุลาคม 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. , พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. , ว่าที่ พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน ผกก.3 บก.ปอศ. เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมนำโดย ว่าที่ พ.ต.ท.วรพจน์ ลลิตจิรกุล สว. กก.3 บก.ปอศ. , ร.ต.อ.ศิการ ไม้คู่ รอง สว.(ป.) กก.3 บก.ปอศ. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. ร่วมกันจับกุม น.ส.ปรียานุช อายุ 28 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาลงวันที่ 8 ต.ค.2567 โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น, และโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงร่วมกัน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง” โดยจับกุมได้ที่บริเวณหน้าบ้านในพื้นที่หมู่ 2 ต.ตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการระดมกวาดล้างอาชญากรรม ในรูปแบบต่างๆ ความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทั่วไป และบุคคลตามหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. ได้จับกุมผู้ต้องหาที่มีพฤติการณ์เกี่ยวกับการหลอกลวงประชาชน โดยได้รับแจ้งจากสายลับพบว่า น.ส.ปรียานุช ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ได้หลบหนีมาอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งใน จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. จึงได้เข้าจับกุม น.ส.ปรียานุช
จากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่า ผู้ต้องหามีชื่อเป็นหนึ่งในขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการหลอกลวงผู้เสียหาย ซึ่งพฤติกรรมของแก๊งคอลเซ็นเตอร์กลุ่มนี้ จะทำการสุ่มโทรศัพท์หาเหยื่อโดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองหาดใหญ่ ใช้กลอุบายสร้างสถานการณ์ข่มขู่ให้ผู้เสียหายกลัว หลอกลวงผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดในเรื่องต่างๆ จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินที่มี และให้ผู้เสียหายที่หลงเชื่อโอนเงินมาให้ในบัญชีที่กลุ่มคนร้ายเตรียมไว้ โดยอ้างว่าเพื่อทำการตรวจสอบ
เมื่อผู้เสียหายโอนเงินมาให้ก็จะทำการโอนถ่ายเงินของผู้เสียหายต่อไปยังบัญชีผู้อยู่ในขบวนการ ทำให้ผู้เสียหายสูญเสียเงินที่โอนไป เบื้องต้นตรวจสอบทราบว่ามีผู้เสียหายในคดีนี้จำนวนหลายราย มูลค่าความเสียหายรวมเกือบ 10 ล้านบาท
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตามข้อกล่าวหา อ้างว่าตนไม่เคยรับจ้างไปเปิดบัญชีธนาคารให้ใคร แต่ตนเคยสมัครแอปพลิเคชันเงินกู้เถื่อน และเชื่อว่าถูกแอปฯเถื่อนดังกล่าวนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้
Cr. https://www.naewna.com/local/837136