“ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก” เสียงจากนักวิชาการ ถึงคดีตากใบ ที่ใกล้หมดอายุความลงเรื่อยๆ
https://thematter.co/brief/233262/233262
นับถอยหลังกับช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ที่ ‘คดีตากใบ’ จะครบอายุความ 20 ปี และสิ้นอายุความในเที่ยงคืนของวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ซึ่งสิ่งที่น่าจับตาในคดีนี้คือการทำงานของกระบวนการยุติธรรม และความเชื่อมั่นที่ประชาชน ไม่ใช่แค่เพียงสามจังหวัดชายแดนใต้มีต่อรัฐ
วันนี้ (21 ตุลาคม 2567) ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง ‘20 ปีตากใบ : ความจริง – ความรู้ – ความยุติธรรม ?’ โดยมีวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่
อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย, ศ.ดร.
ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.
ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รศ.ดร.
เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาพูดคุยเกี่ยวกับคดีดังกล่าว
อาดิลัน เริ่มอธิบายถึงภาพรวมคดีความตากใบตั้งแต่ที่มาที่ไปจนมาถึงปัจจุบันที่อายุความใกล้จะหมดอายุในอีกไม่กี่วัน เขายืนยันด้วยว่า คดีนี้ไม่มีวาระทางการเมืองใดๆ สำหรับเหตุการณ์ที่ชาวบ้านฟ้องคดีนี้ ไม่มีวาระเพื่อกลั่นแกล้งผู้ใดทั้งสิ้น แต่เป็นการเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการความยุติธรรมให้กับคนที่เขารักตลอด 20 ปี
“
เราไม่รู้หรอกนะครับว่า ทุกวันที่ 11 ของเดือนรอมฎอนคือเดือนที่ถือศีลอดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เขาก็จะมีการจัดรำลึกถึงของเขา และทุกวันที่ 25 ตุลาคมของทุกปี เขาจะจัดประชุมพูดคุย เสวนา ทำบุญ ละหมาดให้กับผู้ตาย, ครอบครัว”
อาดิลันกล่าว
คดีตากใบไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กระบวนการยุติธรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย
“เราจะเห็นว่ากระบวนการทางกฎหมายในคดีตากใบนี้ยังไม่เสร็จสิ้น แม้ว่าใกล้จะหมดอายุในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก” ผศ.ดร.
ศรีสมภพ กล่าวและอธิบายถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องกฎหมายในประเทศ แต่มันเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงความท้าทายต่อกระบวนการสันติภาพที่เราต่างพยายามกันมาเป็นเวลาหลายปีในชายแดนใต้ด้วย
ด้าน ศ.ดร
.ฉันทนา กล่าวถึงประเด็นสำคัญในหลายเรื่อง เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตากใบเป็นเหมือนโอกาสที่สังคมไทยได้เรียนรู้ ว่าสังคมทั้งสังคมไม่ใช่แค่รัฐบาลต้องช่วยกันขับเคลื่อน พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีในต่างประเทศว่าจัดการกับเรื่องแบบนี้อย่างไร แม้กระทั่งว่าจะหมดอายุความไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะหมดหนทางในการผดุงความยุติธรรมในสังคม การค้นหาความจริงก็ยังคงเป็นสิ่งที่ยังทำได้
ขณะที่ รศ.ดร.
เอกรินทร์ กล่าวถึงการกรณีตากใบและบริบทของสังคมการเมืองตลอดเวลาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งคือความเข้าใจเรื่องการก่อการร้ายสากลและเรื่องความมั่นคงของรัฐ ที่มันผูกโยงในผู้คนคิดและก็เชื่อว่าผู้ที่ชุมนุมหรือคนที่มีส่วนร่วมในตากใบเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ติดอาวุธ ทำให้คนหวาดกลัว
“
สิ่งที่มันเป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ หากรัฐบาลยังเลือกเชื่อความผิดของมิติความมั่นคงแบบเดิมๆ ซึ่งมันเป็นรากฐานที่ทำให้รัฐลอยนวลพ้นผิด และให้รัฐผลิตซ้ำด้วยในอนาคต ซึ่งผมคิดว่ามันทำให้ตากใบไม่ใช่แค่เรื่องของภาคใต้ แต่ตากใบเป็นเรื่องของสังคมไทยทั้งสังคมในอนาคต โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย” รศ.ดร.
เอกรินทร์ กล่าว
4 วันสุดท้าย เส้นตายคดีตากใบ ทำความเข้าใจ ‘อายุความ’ ทางกฎหมาย พร้อมแนวแก้ไขเทียบกับประชาคมโลก
https://thematter.co/brief/233265/233265
อีก 4 วัน ‘คดีตากใบ’ จะหมดอายุความ หลังเหตุการณ์ผ่านมา 20 ปี และยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐแม้แต่คนเดียวที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย
นับตั้งแต่ศาลนราธิวาส ‘
รับฟ้อง’ คดีตากใบ ที่ชาวบ้านรวมตัวกันฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีผู้ต้องหาปรากฏตัวแม้แต่คนเดียว ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 คดีก็จะหมดอายุความลง
นำมาซึ่งคำถามสำคัญที่ว่า ‘
อายุความ’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญาในกฎหมายไทยนั้น มีไปทำไม และเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความยุติธรรมที่ผู้เสียหายควรได้รับหรือไม่?
วันที่ 20 ตุลาคม 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ’“
คดีอาญาตากใบขาดอายุความ : ความรับผิดชอบใคร จะดำเนินคดีต่อได้หรือไม่?’ ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีการอธิบายถึงเรื่องอายุความ
รศ.ดร.
ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นโดยการกล่าวถึงประเด็นสำคัญในเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการสลายการชุมนุม โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายในการสลายการชุมนุม หรือจับกุมผู้กระทำผิดหากเข้าเกณฑ์แนวปฏิบัติต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานเรื่อง ‘
สิทธิมนุษยชน’
ดังนั้น การจับทรมาน และมีการย่ำยีศักดิ์ศรี จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง แม้จะเป็นการใช้อำนาจผ่านกฎหมายเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมืองก็ตาม ยกตัวอย่างเหตุการณ์ตากใบ ที่มีทั้งการสลายการชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนจริง รวมถึงมีการขนย้ายผู้ชุมนุมที่ไม่เหมาะสม
ในปัจจุบันนี้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าว ในปี 2565 ได้เริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ที่สรุปง่ายๆ ได้ว่า เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรี และการบังคับให้ผู้อื่นเป็นบุคคลสูญหาย หรือที่เรียกกันว่า การอุ้มหาย
อย่างไรก็ดี ตามหลักทางกฎหมาย กฎหมายที่ออกมาใหม่จะไม่สามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับเหตุการณ์หรือคดีที่เกิดไปแล้วได้ เว้นแต่จะเป็นคุณต่อผู้ต้องหา ดังนั้น การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 20 ปีก่อน จึงจะไม่ได้ถูกลงโทษตามกฎหมายนี้
ประเด็นถัดมา คือเรื่องการขาดอายุความในทางกฎหมาย ปกป้องอธิบายว่า ‘
อายุความ’ นั้น ถูกกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ที่ระบุว่า “
ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” โดยกำหนดอายุความไว้ที่สูงสุด 20 ปี รวมถึงคดีตากใบ ที่เป็นคดีฆ่าผู้อื่น
สรุป ได้ว่า สำหรับกฎหมายไทย อายุความจะสิ้นสุดลง หาก ‘
ไม่มีการฟ้อง’ และ ‘
จำเลยไม่มาศาล’ นั่นเอง ซึ่งคดีตากใบในปัจจุบันมีคำสั่งฟ้องแล้ว แต่ไม่พบผู้ต้องหามารายงานตัวแม้แต่รายเดียว
ทั้งนี้ ปกป้องระบุว่า เรื่องอายุความ ไม่ได้ถือเป็นหลักสากลแต่อย่างใด จากทั้งโลก จะแบ่งประเทศต่างๆ ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเทศที่มีกำหนดอายุความคดีต่างๆ และประเทศที่ไม่มีการกำหนดอายุความ
ประเทศที่มีกำหนดอายุความ ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมถึงไทย มีการกำหนดอายุความในทุกฐานความผิดของคดีอาญา โดยเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้พยานหลักฐานมีความสมบูรณ์แน่นอน ไม่สูญหาย และเพื่อเร่งรัดกระบวนการยุติธรรม
ในขณะที่ประเทศที่ไม่มีกำหนดความอายุความ จะหมายถึงไม่มีอายุความสำหรับคดีที่มีความผิดร้ายแรง เช่น คดีฆาตกรรม ดังนั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรนับจากวันที่ความผิดเกิดขึ้น ถ้าหากรวบรวมหลักฐานได้ ก็สามารถดำเนินคดี และจับผู้ต้องหาได้ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี ยังมีสิ่งที่ทั่วโลกยึดถือร่วมกัน ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า คดีที่จะไม่มีอายุความ คือความผิดคดีอาญาร้ายแรงที่สุด 4 ฐานความผิด อันได้แก่ อาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกราน
ทั้งนี้ แม้จะมีประเทศที่มีการกำหนดอายุความเหมือนกับไทย แต่ในรายละเอียดกลับมีวิธีการนับที่แตกต่างกัน
ในประเทศฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ โดยเมื่อมีการดำเนินคดีในชั้นตำรวจ อัยการ ศาล อายุคววามจะสะดุดหยุดลงทุกครั้ง กล่าวคือ หากพนักงานอัยการสั่งฟ้อง อายุความก็จะสะดุดหยุดลง และเริ่มนับเวลา 20 ปีใหม่ หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่น กำหนดไว้ว่าหากผู้ต้องหาหลบหนี ให้หยุดนับอายุความได้ ในขณะที่ไทยต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างอายุความจึงจะหยุดลงได้ คือต้องทั้งสั่งฟ้อง และจำเลยจะต้องมาศาลด้วย
‘
อายุความ’ จึงกลายมาเป็นประเด็นที่เกิดข้อถกเถียงว่า สมควรหรือไม่ที่ไทยจะใช้กฎหมายบังคับเรื่องอายุความต่อไป โดยมีข้อวิจารณ์ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงคามยุติธรรมได้จริง เนื่องจากหากขาดอายุความเมื่อไร คดีนั้นๆ ก็จะไม่มีการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำผิดอีกต่อไป
ปกป้องเสนอความเห็นว่า เพื่อจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อำนาจฝ่ายต่างๆ จะต้องร่วมมือกัน
สำหรับฝ่ายนิติบัญญัติ หากจะให้ออกกฎหมายแก้ไขเรื่องอายุความภายใน 4 วันนี้ก่อนคดีตากใบจะหมดอายุความ ก็เรียกได้ว่า ‘
เป็นไปไม่ได้’
นอกจากนั้น ในด้านของฝ่ายตุลาการ แนวคำพิพากษาของศาลฎีกาในอดีต ได้ตีความเรื่องอายุความเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายอาญามีหลักการกำหนดไว้ว่า กฎหมายใหม่นั้นจะไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง เว้นแต่จะเป็นคุณกับผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีกฎหมายแก้อายุความให้ทันเวลาได้จริง ก็จะไม่ย้อนกลับไปใช้กับผู้กระทำความผิดก่อนที่กฎหมายนี้จะออกอยู่ดี
ในขณะที่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป มองเรื่องอายุความต่างออกไป โดยเห็นว่าเรื่องอายุความไม่ใช่เรื่องทางกฎหมายอาญา ดังนั้นหากมีการแก้ไขกฎหมายเรื่องอายุความเสียใหม่และตีความเช่นนี้ ก็จะมีผลใช้ได้ทันทีกับคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ เพราะไม่ถือว่ากระทบสิทธิผู้ต้องหา แต่ถ้าหากกฎหมายออกหลังคดีนั้นๆ หมดอายุความไปแล้ว จะไม่มีผลย้อนหลังเช่นเดิม
แนวคำพิพากษา และการตีความของศาลฎีกา จึงถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยยืดอายุให้คดีตากใบยังได้ไปต่อ รวมถึงคดีอื่นๆ ที่อายุความยังคงดำเนินไปอยู่ในตอนนี้เช่นกัน
ในโค้งสุดท้ายก่อนถึงเส้นตายคดีตากใบ ก่อนหมดวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จึงจะต้องติดตามต่อไปว่ารัฐบาลจะมีแนวทางการจัดการอย่างไรต่อไป เจ้าหน้าที่จะตามตัวผู้ต้องหามาได้สำเร็จหรือไม่ ซึ่งจะกลายเป็นผลของความยุติธรรมที่ชาวบ้านตากใบจะได้รับในท้ายที่สุด
อ้างอิงจาก
facebook.com
‘ปชน.’ วอน ‘นายกฯ’ ยกเลิกโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน ยุติขบวนการ ฟอกเขียวนายทุน-ปิดประตูค่าไฟแพง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4857076
‘ปชน.’ เรียกร้อง ‘นายกฯ’ ยกเลิกโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เล็งเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนให้เอกชนที่ถูกกีดกันฟ้องศาลปกครอง
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่อาคารอนาคตใหม่ พรรคประชาชน (ปชน.) นำโดย นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน และ นาย
ศุภโชติ ไชยสัจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลง Policy Watch หัวข้อ ขบวนการค่าไฟแพง กำลังจะถูกสานต่อโดยรัฐบาลเพื่อไทย
โดยนาย
ศุภโชติกล่าวย้อนไปถึงปี 65 ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เป็นประธาน และมีมติรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ตามแผนพลังงานชาติฉบับปี 2018 ปรับปรุงครั้งที่ 1 รวมไปถึงกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทขึ้น จากนั้น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็รับลูกด้วยการออกหลักเกณฑ์จัดหาพลังงานสะอาดจำนวน 5,203 MW ซึ่งผลการคัดเลือกของรอบแรก ได้ประกาศออกมาว่า ใคร บริษัทไหน ได้โครงการอะไรบ้าง จำ
JJNY : 5in1 “ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก”│4 วันสุดท้าย│‘ปชน.’วอนยกเลิก│ส.ว.เดือด ข้างน้อยโวย│เกาหลีใต้เรียกทูตรัสเซียเข้าพบ
https://thematter.co/brief/233262/233262
นับถอยหลังกับช่วงเวลาไม่ถึงสัปดาห์ที่ ‘คดีตากใบ’ จะครบอายุความ 20 ปี และสิ้นอายุความในเที่ยงคืนของวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ซึ่งสิ่งที่น่าจับตาในคดีนี้คือการทำงานของกระบวนการยุติธรรม และความเชื่อมั่นที่ประชาชน ไม่ใช่แค่เพียงสามจังหวัดชายแดนใต้มีต่อรัฐ
วันนี้ (21 ตุลาคม 2567) ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง ‘20 ปีตากใบ : ความจริง – ความรู้ – ความยุติธรรม ?’ โดยมีวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่ อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย, ศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รศ.ดร.เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มาพูดคุยเกี่ยวกับคดีดังกล่าว
อาดิลัน เริ่มอธิบายถึงภาพรวมคดีความตากใบตั้งแต่ที่มาที่ไปจนมาถึงปัจจุบันที่อายุความใกล้จะหมดอายุในอีกไม่กี่วัน เขายืนยันด้วยว่า คดีนี้ไม่มีวาระทางการเมืองใดๆ สำหรับเหตุการณ์ที่ชาวบ้านฟ้องคดีนี้ ไม่มีวาระเพื่อกลั่นแกล้งผู้ใดทั้งสิ้น แต่เป็นการเรียกร้องของชาวบ้านที่ต้องการความยุติธรรมให้กับคนที่เขารักตลอด 20 ปี
“เราไม่รู้หรอกนะครับว่า ทุกวันที่ 11 ของเดือนรอมฎอนคือเดือนที่ถือศีลอดของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เขาก็จะมีการจัดรำลึกถึงของเขา และทุกวันที่ 25 ตุลาคมของทุกปี เขาจะจัดประชุมพูดคุย เสวนา ทำบุญ ละหมาดให้กับผู้ตาย, ครอบครัว” อาดิลันกล่าว
คดีตากใบไม่ได้เกี่ยวข้องแค่กระบวนการยุติธรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย
“เราจะเห็นว่ากระบวนการทางกฎหมายในคดีตากใบนี้ยังไม่เสร็จสิ้น แม้ว่าใกล้จะหมดอายุในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งค่อนข้างน่าเป็นห่วงมาก” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวและอธิบายถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องกฎหมายในประเทศ แต่มันเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงความท้าทายต่อกระบวนการสันติภาพที่เราต่างพยายามกันมาเป็นเวลาหลายปีในชายแดนใต้ด้วย
ด้าน ศ.ดร.ฉันทนา กล่าวถึงประเด็นสำคัญในหลายเรื่อง เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตากใบเป็นเหมือนโอกาสที่สังคมไทยได้เรียนรู้ ว่าสังคมทั้งสังคมไม่ใช่แค่รัฐบาลต้องช่วยกันขับเคลื่อน พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีในต่างประเทศว่าจัดการกับเรื่องแบบนี้อย่างไร แม้กระทั่งว่าจะหมดอายุความไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะหมดหนทางในการผดุงความยุติธรรมในสังคม การค้นหาความจริงก็ยังคงเป็นสิ่งที่ยังทำได้
ขณะที่ รศ.ดร.เอกรินทร์ กล่าวถึงการกรณีตากใบและบริบทของสังคมการเมืองตลอดเวลาที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งคือความเข้าใจเรื่องการก่อการร้ายสากลและเรื่องความมั่นคงของรัฐ ที่มันผูกโยงในผู้คนคิดและก็เชื่อว่าผู้ที่ชุมนุมหรือคนที่มีส่วนร่วมในตากใบเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการต่อสู้ติดอาวุธ ทำให้คนหวาดกลัว
“สิ่งที่มันเป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ หากรัฐบาลยังเลือกเชื่อความผิดของมิติความมั่นคงแบบเดิมๆ ซึ่งมันเป็นรากฐานที่ทำให้รัฐลอยนวลพ้นผิด และให้รัฐผลิตซ้ำด้วยในอนาคต ซึ่งผมคิดว่ามันทำให้ตากใบไม่ใช่แค่เรื่องของภาคใต้ แต่ตากใบเป็นเรื่องของสังคมไทยทั้งสังคมในอนาคต โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย” รศ.ดร.เอกรินทร์ กล่าว
4 วันสุดท้าย เส้นตายคดีตากใบ ทำความเข้าใจ ‘อายุความ’ ทางกฎหมาย พร้อมแนวแก้ไขเทียบกับประชาคมโลก
https://thematter.co/brief/233265/233265
อีก 4 วัน ‘คดีตากใบ’ จะหมดอายุความ หลังเหตุการณ์ผ่านมา 20 ปี และยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐแม้แต่คนเดียวที่ถูกลงโทษตามกฎหมาย
นับตั้งแต่ศาลนราธิวาส ‘รับฟ้อง’ คดีตากใบ ที่ชาวบ้านรวมตัวกันฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีผู้ต้องหาปรากฏตัวแม้แต่คนเดียว ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 คดีก็จะหมดอายุความลง
นำมาซึ่งคำถามสำคัญที่ว่า ‘อายุความ’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญาในกฎหมายไทยนั้น มีไปทำไม และเป็นปัจจัยที่กระทบต่อความยุติธรรมที่ผู้เสียหายควรได้รับหรือไม่?
วันที่ 20 ตุลาคม 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ’“คดีอาญาตากใบขาดอายุความ : ความรับผิดชอบใคร จะดำเนินคดีต่อได้หรือไม่?’ ณ ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีการอธิบายถึงเรื่องอายุความ
รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นโดยการกล่าวถึงประเด็นสำคัญในเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการสลายการชุมนุม โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายในการสลายการชุมนุม หรือจับกุมผู้กระทำผิดหากเข้าเกณฑ์แนวปฏิบัติต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องคำนึงถึงพื้นฐานเรื่อง ‘สิทธิมนุษยชน’
ดังนั้น การจับทรมาน และมีการย่ำยีศักดิ์ศรี จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง แม้จะเป็นการใช้อำนาจผ่านกฎหมายเพื่อรักษาความสงบของบ้านเมืองก็ตาม ยกตัวอย่างเหตุการณ์ตากใบ ที่มีทั้งการสลายการชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตา ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนจริง รวมถึงมีการขนย้ายผู้ชุมนุมที่ไม่เหมาะสม
ในปัจจุบันนี้ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะดังกล่าว ในปี 2565 ได้เริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ที่สรุปง่ายๆ ได้ว่า เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ย่ำยีศักดิ์ศรี และการบังคับให้ผู้อื่นเป็นบุคคลสูญหาย หรือที่เรียกกันว่า การอุ้มหาย
อย่างไรก็ดี ตามหลักทางกฎหมาย กฎหมายที่ออกมาใหม่จะไม่สามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับเหตุการณ์หรือคดีที่เกิดไปแล้วได้ เว้นแต่จะเป็นคุณต่อผู้ต้องหา ดังนั้น การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเหตุการณ์ตากใบเมื่อ 20 ปีก่อน จึงจะไม่ได้ถูกลงโทษตามกฎหมายนี้
ประเด็นถัดมา คือเรื่องการขาดอายุความในทางกฎหมาย ปกป้องอธิบายว่า ‘อายุความ’ นั้น ถูกกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ที่ระบุว่า “ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” โดยกำหนดอายุความไว้ที่สูงสุด 20 ปี รวมถึงคดีตากใบ ที่เป็นคดีฆ่าผู้อื่น
สรุป ได้ว่า สำหรับกฎหมายไทย อายุความจะสิ้นสุดลง หาก ‘ไม่มีการฟ้อง’ และ ‘จำเลยไม่มาศาล’ นั่นเอง ซึ่งคดีตากใบในปัจจุบันมีคำสั่งฟ้องแล้ว แต่ไม่พบผู้ต้องหามารายงานตัวแม้แต่รายเดียว
ทั้งนี้ ปกป้องระบุว่า เรื่องอายุความ ไม่ได้ถือเป็นหลักสากลแต่อย่างใด จากทั้งโลก จะแบ่งประเทศต่างๆ ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเทศที่มีกำหนดอายุความคดีต่างๆ และประเทศที่ไม่มีการกำหนดอายุความ
ประเทศที่มีกำหนดอายุความ ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมถึงไทย มีการกำหนดอายุความในทุกฐานความผิดของคดีอาญา โดยเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้พยานหลักฐานมีความสมบูรณ์แน่นอน ไม่สูญหาย และเพื่อเร่งรัดกระบวนการยุติธรรม
ในขณะที่ประเทศที่ไม่มีกำหนดความอายุความ จะหมายถึงไม่มีอายุความสำหรับคดีที่มีความผิดร้ายแรง เช่น คดีฆาตกรรม ดังนั้น ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรนับจากวันที่ความผิดเกิดขึ้น ถ้าหากรวบรวมหลักฐานได้ ก็สามารถดำเนินคดี และจับผู้ต้องหาได้ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี ยังมีสิ่งที่ทั่วโลกยึดถือร่วมกัน ตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่ระบุว่า คดีที่จะไม่มีอายุความ คือความผิดคดีอาญาร้ายแรงที่สุด 4 ฐานความผิด อันได้แก่ อาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกราน
ทั้งนี้ แม้จะมีประเทศที่มีการกำหนดอายุความเหมือนกับไทย แต่ในรายละเอียดกลับมีวิธีการนับที่แตกต่างกัน
ในประเทศฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ โดยเมื่อมีการดำเนินคดีในชั้นตำรวจ อัยการ ศาล อายุคววามจะสะดุดหยุดลงทุกครั้ง กล่าวคือ หากพนักงานอัยการสั่งฟ้อง อายุความก็จะสะดุดหยุดลง และเริ่มนับเวลา 20 ปีใหม่ หรืออย่างในประเทศญี่ปุ่น กำหนดไว้ว่าหากผู้ต้องหาหลบหนี ให้หยุดนับอายุความได้ ในขณะที่ไทยต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างอายุความจึงจะหยุดลงได้ คือต้องทั้งสั่งฟ้อง และจำเลยจะต้องมาศาลด้วย
‘อายุความ’ จึงกลายมาเป็นประเด็นที่เกิดข้อถกเถียงว่า สมควรหรือไม่ที่ไทยจะใช้กฎหมายบังคับเรื่องอายุความต่อไป โดยมีข้อวิจารณ์ว่าเป็นการทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงคามยุติธรรมได้จริง เนื่องจากหากขาดอายุความเมื่อไร คดีนั้นๆ ก็จะไม่มีการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำผิดอีกต่อไป
ปกป้องเสนอความเห็นว่า เพื่อจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อำนาจฝ่ายต่างๆ จะต้องร่วมมือกัน
สำหรับฝ่ายนิติบัญญัติ หากจะให้ออกกฎหมายแก้ไขเรื่องอายุความภายใน 4 วันนี้ก่อนคดีตากใบจะหมดอายุความ ก็เรียกได้ว่า ‘ เป็นไปไม่ได้’
นอกจากนั้น ในด้านของฝ่ายตุลาการ แนวคำพิพากษาของศาลฎีกาในอดีต ได้ตีความเรื่องอายุความเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายอาญามีหลักการกำหนดไว้ว่า กฎหมายใหม่นั้นจะไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง เว้นแต่จะเป็นคุณกับผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีกฎหมายแก้อายุความให้ทันเวลาได้จริง ก็จะไม่ย้อนกลับไปใช้กับผู้กระทำความผิดก่อนที่กฎหมายนี้จะออกอยู่ดี
ในขณะที่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป มองเรื่องอายุความต่างออกไป โดยเห็นว่าเรื่องอายุความไม่ใช่เรื่องทางกฎหมายอาญา ดังนั้นหากมีการแก้ไขกฎหมายเรื่องอายุความเสียใหม่และตีความเช่นนี้ ก็จะมีผลใช้ได้ทันทีกับคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ เพราะไม่ถือว่ากระทบสิทธิผู้ต้องหา แต่ถ้าหากกฎหมายออกหลังคดีนั้นๆ หมดอายุความไปแล้ว จะไม่มีผลย้อนหลังเช่นเดิม
แนวคำพิพากษา และการตีความของศาลฎีกา จึงถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยยืดอายุให้คดีตากใบยังได้ไปต่อ รวมถึงคดีอื่นๆ ที่อายุความยังคงดำเนินไปอยู่ในตอนนี้เช่นกัน
ในโค้งสุดท้ายก่อนถึงเส้นตายคดีตากใบ ก่อนหมดวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จึงจะต้องติดตามต่อไปว่ารัฐบาลจะมีแนวทางการจัดการอย่างไรต่อไป เจ้าหน้าที่จะตามตัวผู้ต้องหามาได้สำเร็จหรือไม่ ซึ่งจะกลายเป็นผลของความยุติธรรมที่ชาวบ้านตากใบจะได้รับในท้ายที่สุด
อ้างอิงจาก
facebook.com
‘ปชน.’ วอน ‘นายกฯ’ ยกเลิกโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน ยุติขบวนการ ฟอกเขียวนายทุน-ปิดประตูค่าไฟแพง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4857076
‘ปชน.’ เรียกร้อง ‘นายกฯ’ ยกเลิกโครงการซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เล็งเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนให้เอกชนที่ถูกกีดกันฟ้องศาลปกครอง
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่อาคารอนาคตใหม่ พรรคประชาชน (ปชน.) นำโดย นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน และ นายศุภโชติ ไชยสัจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน แถลง Policy Watch หัวข้อ ขบวนการค่าไฟแพง กำลังจะถูกสานต่อโดยรัฐบาลเพื่อไทย
โดยนายศุภโชติกล่าวย้อนไปถึงปี 65 ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น เป็นประธาน และมีมติรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาด สำหรับปี 2565-2573 ตามแผนพลังงานชาติฉบับปี 2018 ปรับปรุงครั้งที่ 1 รวมไปถึงกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทขึ้น จากนั้น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็รับลูกด้วยการออกหลักเกณฑ์จัดหาพลังงานสะอาดจำนวน 5,203 MW ซึ่งผลการคัดเลือกของรอบแรก ได้ประกาศออกมาว่า ใคร บริษัทไหน ได้โครงการอะไรบ้าง จำ