โศกนาฏกรรม ‘ตากใบ’ นับถอยหลัง 11 วัน ก่อนหมดอายุความ 20 ปี
เหตุการณ์ตากใบ เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 เป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยมีการใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนนำไปสู่การได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือพิการ และเสียชีวิต
ผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่เคยลืมเลือน คดีตากใบที่นับถอยหลังหมดอายุความลงในปีนี้ ชาวบ้านจำนวน 48 คน จึงตัดสินใจรวมตัวฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมตากใบ ถือเป็นการยื่นฟ้องครั้งสุดท้ายก่อนที่คดีตากใบจะหมดอายุความ ขณะเดียวกันอัยการสูงสุดเพิ่งมีคำสั่งฟ้องในสำนวนที่มีมาแล้วกว่า 19 ปี
“เราอยากขอความยุติธรรมเป็นสิ่งแรก” เสียงจากญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ ที่รอมากว่า 19 ปี แม้ตอนนี้จะมีการออกหมายจับผู้ต้องหาแล้ว แต่ยังคงไม่พบตัวใคร ถ้าไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาปรากฏตัวต่อหน้าศาลภายในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ จะถือว่าคดีสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดอายุความคดีอาญา 20 ปี
ย้อนรอยเหตุการณ์ตากใบ และกรณีการยื่นฟ้องจากภาคประชาชนและอัยการสูงสุด มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องรอมาจนใกล้หมดอายุความอัยการสูงสุดถึงเพิ่งมีความเห็นส่งฟ้อง
https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104858
สำหรับการยื่นฟ้องคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นการยื่นฟ้องในนามของประชาชน โดยประชาชนเป็นโจทก์ และอดีตเจ้าหน้าที่รัฐเป็นจำเลย ขั้นตอนกระบวนการเมื่อมีประชาชนเป็นโจทก์จะแตกต่างกับกรณีที่พนักงานอัยการฟ้องดำเนินคดีเอง เพราะการฟ้องดำเนินคดีของพนักงานอัยการจะทำให้คดีนั้นเป็นคดีอาญาทันที โดยไม่ต้องมีขั้นตอนไต่สวนข้อมูลฟ้อง
เมื่อประชาชนเป็นโจทก์ กระบวนการที่ตามมาคือ ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน เพื่อพิจารณาว่าคดีมีมูลฟ้องพอเป็นคดีอาญาหรือไม่ หากศาลประทับรับฟ้องจะเป็นคดีอาญาทันที
ศาลนัดสอบคำให้การรอบใหม่ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ระหว่างการนัดไต่สวนพยาน และหลังศาลรับคำฟ้องแล้วเรียกสอบคำให้การก่อนหน้านี้ยังคงไม่พบการปรากฏตัวของผู้ต้องหาทั้งหมดต่อศาล
อัยการสูงสุดพิจารณาสำนวนและมีคำสั่งฟ้อง 8 ผู้ต้องหาโดยวินิจฉัยว่าจากพยานหลักฐานที่ได้ไต่สวน แม้ผู้ต้องหาทั้ง 8 ซึ่งมีทั้งพลขับและผู้ควบคุมการขนย้ายผู้ชุมนุม จะไม่ประสงค์ผลที่จะให้ถึงแก่ความตายก็ตามแต่การจัดหารถเพียงจำนวน 25 คันในการบรรทุกผู้ชุมนุมประมาณพันกว่าคนเป็นการบรรทุกที่แออัดเกินกว่าจะเป็นวิธีการบรรทุกคนที่เหมาะสม ซึ่งผู้ต้องหาที่ 1 และ 7 รู้อยู่แล้วว่าจำนวนรถกับจำนวนคนไม่เหมาะสม การที่ผู้ต้องหาที่ 2 - 6 และที่ 8 ซึ่งเป็นคนขับรถก็เห็นถึงสภาพการบรรทุกผู้ชุมนุมดังกล่าวอันเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้ง 78 คนขาดอากาศหายใจในระหว่างอยู่ในการควบคุมของพนักงานการกระทำของผู้ต้องหาทั้ง 8 ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นการกระทำของผู้ต้องหาทั้ง 8 จึงเป็น ‘ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น’
คำสั่งฟ้องนี้ระบุผู้ต้องหา 8 คน ได้แก่
ผู้ต้องหาที่ 1 พลเอกเฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 (ผบ.พล.ร. 5) ผู้สั่งสลายการชุมนุม
ผู้ต้องหาที่ 2 ร้อยตรีณัฐวุฒิ เลื่อมใส พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 3 วิษณุ เลิศสงคราม พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 4 เรือโทวิสนุกรณ์ ชัยสาร พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 5 ปิติ ญาณแก้ว พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 6 พันจ่าตรี รัชเดช หรือพิทักษ์ ศรีสุวรรณ พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 7 พันโทประเสริฐ มัทมิฬ ผู้ควบคุมขบวนรถ
ผู้ต้องหาที่ 8 ร้อยโทฤทธิรงค์ พรหมฤทธิ์ พลขับ
ซึ่งผู้ต้องหาชุดนี้ที่อัยการสูงสุดส่งฟ้องนั้น แตกต่างกับกรณีที่ประชาชนยื่นฟ้อง โดยผู้ต้องหาที่อัยการยื่นฟ้องเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้เสียชีวิต ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี จึงมีผู้บัญชาการ พลขับ และผู้ควบคุมการขนย้ายผู้ชุมนุมในเวลานั้น
ทั้งนี้ย้อนไปเมื่อปี 2547 สำนวนวิสามัญฆาตกรรม พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี เคยมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยอ้างว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ก่อนส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพผู้ตาย ที่ถูกควบคุมตัวทั้ง 78 คน ให้พนักงานอัยการปัตตานี
.
.
.
การสลายการชุมนุมตากใบกลายเป็นคดีความ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันในเดือนนี้คดีจะหมดอายุความ 20 ปี แต่มาในปีที่ 19 ศาลเพิ่งรับฟ้องคดีตากใบ จากการยื่นฟ้องของประชาชน ต่ออดีตเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมของประชาชน และอัยการสูงสุดเพิ่งมีคำสั่งฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำตัวผู้ชุมนุมขึ้นรถบรรทุกไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จนมีผู้เสียชีวิต ก่อนหมดอายุความเพียงไม่กี่เดือน จนในขณะนี้ผ่านมา 19 ปี ยังคงไม่สามารถหาตัวผู้ต้องหาพบ
https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104863
โศกนาฏกรรม ‘ตากใบ’ นับถอยหลัง 11 วัน ก่อนหมดอายุความ 20 ปี
เหตุการณ์ตากใบ เมื่อ 25 ตุลาคม 2547 เป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่รัฐไทยมีการใช้ความรุนแรงกับประชาชนจนนำไปสู่การได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพหรือพิการ และเสียชีวิต
ผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่เคยลืมเลือน คดีตากใบที่นับถอยหลังหมดอายุความลงในปีนี้ ชาวบ้านจำนวน 48 คน จึงตัดสินใจรวมตัวฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมตากใบ ถือเป็นการยื่นฟ้องครั้งสุดท้ายก่อนที่คดีตากใบจะหมดอายุความ ขณะเดียวกันอัยการสูงสุดเพิ่งมีคำสั่งฟ้องในสำนวนที่มีมาแล้วกว่า 19 ปี
“เราอยากขอความยุติธรรมเป็นสิ่งแรก” เสียงจากญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบ ที่รอมากว่า 19 ปี แม้ตอนนี้จะมีการออกหมายจับผู้ต้องหาแล้ว แต่ยังคงไม่พบตัวใคร ถ้าไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาปรากฏตัวต่อหน้าศาลภายในวันที่ 25 ตุลาคมนี้ จะถือว่าคดีสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดอายุความคดีอาญา 20 ปี
ย้อนรอยเหตุการณ์ตากใบ และกรณีการยื่นฟ้องจากภาคประชาชนและอัยการสูงสุด มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วทำไมต้องรอมาจนใกล้หมดอายุความอัยการสูงสุดถึงเพิ่งมีความเห็นส่งฟ้อง
https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104858
สำหรับการยื่นฟ้องคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นการยื่นฟ้องในนามของประชาชน โดยประชาชนเป็นโจทก์ และอดีตเจ้าหน้าที่รัฐเป็นจำเลย ขั้นตอนกระบวนการเมื่อมีประชาชนเป็นโจทก์จะแตกต่างกับกรณีที่พนักงานอัยการฟ้องดำเนินคดีเอง เพราะการฟ้องดำเนินคดีของพนักงานอัยการจะทำให้คดีนั้นเป็นคดีอาญาทันที โดยไม่ต้องมีขั้นตอนไต่สวนข้อมูลฟ้อง
เมื่อประชาชนเป็นโจทก์ กระบวนการที่ตามมาคือ ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน เพื่อพิจารณาว่าคดีมีมูลฟ้องพอเป็นคดีอาญาหรือไม่ หากศาลประทับรับฟ้องจะเป็นคดีอาญาทันที
ศาลนัดสอบคำให้การรอบใหม่ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ระหว่างการนัดไต่สวนพยาน และหลังศาลรับคำฟ้องแล้วเรียกสอบคำให้การก่อนหน้านี้ยังคงไม่พบการปรากฏตัวของผู้ต้องหาทั้งหมดต่อศาล
อัยการสูงสุดพิจารณาสำนวนและมีคำสั่งฟ้อง 8 ผู้ต้องหาโดยวินิจฉัยว่าจากพยานหลักฐานที่ได้ไต่สวน แม้ผู้ต้องหาทั้ง 8 ซึ่งมีทั้งพลขับและผู้ควบคุมการขนย้ายผู้ชุมนุม จะไม่ประสงค์ผลที่จะให้ถึงแก่ความตายก็ตามแต่การจัดหารถเพียงจำนวน 25 คันในการบรรทุกผู้ชุมนุมประมาณพันกว่าคนเป็นการบรรทุกที่แออัดเกินกว่าจะเป็นวิธีการบรรทุกคนที่เหมาะสม ซึ่งผู้ต้องหาที่ 1 และ 7 รู้อยู่แล้วว่าจำนวนรถกับจำนวนคนไม่เหมาะสม การที่ผู้ต้องหาที่ 2 - 6 และที่ 8 ซึ่งเป็นคนขับรถก็เห็นถึงสภาพการบรรทุกผู้ชุมนุมดังกล่าวอันเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้ง 78 คนขาดอากาศหายใจในระหว่างอยู่ในการควบคุมของพนักงานการกระทำของผู้ต้องหาทั้ง 8 ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ผู้ตายขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นการกระทำของผู้ต้องหาทั้ง 8 จึงเป็น ‘ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่น’
คำสั่งฟ้องนี้ระบุผู้ต้องหา 8 คน ได้แก่
ผู้ต้องหาที่ 1 พลเอกเฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 (ผบ.พล.ร. 5) ผู้สั่งสลายการชุมนุม
ผู้ต้องหาที่ 2 ร้อยตรีณัฐวุฒิ เลื่อมใส พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 3 วิษณุ เลิศสงคราม พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 4 เรือโทวิสนุกรณ์ ชัยสาร พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 5 ปิติ ญาณแก้ว พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 6 พันจ่าตรี รัชเดช หรือพิทักษ์ ศรีสุวรรณ พลขับ
ผู้ต้องหาที่ 7 พันโทประเสริฐ มัทมิฬ ผู้ควบคุมขบวนรถ
ผู้ต้องหาที่ 8 ร้อยโทฤทธิรงค์ พรหมฤทธิ์ พลขับ
ซึ่งผู้ต้องหาชุดนี้ที่อัยการสูงสุดส่งฟ้องนั้น แตกต่างกับกรณีที่ประชาชนยื่นฟ้อง โดยผู้ต้องหาที่อัยการยื่นฟ้องเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้เสียชีวิต ไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี จึงมีผู้บัญชาการ พลขับ และผู้ควบคุมการขนย้ายผู้ชุมนุมในเวลานั้น
ทั้งนี้ย้อนไปเมื่อปี 2547 สำนวนวิสามัญฆาตกรรม พนักงานสอบสวน สภ.หนองจิก จ.ปัตตานี เคยมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง โดยอ้างว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ก่อนส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพผู้ตาย ที่ถูกควบคุมตัวทั้ง 78 คน ให้พนักงานอัยการปัตตานี
.
.
.
การสลายการชุมนุมตากใบกลายเป็นคดีความ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันในเดือนนี้คดีจะหมดอายุความ 20 ปี แต่มาในปีที่ 19 ศาลเพิ่งรับฟ้องคดีตากใบ จากการยื่นฟ้องของประชาชน ต่ออดีตเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมของประชาชน และอัยการสูงสุดเพิ่งมีคำสั่งฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำตัวผู้ชุมนุมขึ้นรถบรรทุกไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จนมีผู้เสียชีวิต ก่อนหมดอายุความเพียงไม่กี่เดือน จนในขณะนี้ผ่านมา 19 ปี ยังคงไม่สามารถหาตัวผู้ต้องหาพบ
https://plus.thairath.co.th/topic/politics&society/104863