ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ได้หารือร่วมกันเพื่อจัดทำแนวปฏิบัติในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ขึ้น เพื่อใช้ในปี 2559 คือ
1.ยืนยันการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ติดเชื้อฯทุกคนโดยไม่สนระดับภูมิคุ้มกัน (CD4) เพราะพบว่าการให้ยาต้านทันทีที่พบว่าติดเชื้อจะช่วยลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลดการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง วัณโรค
2.การปรับปริมาณการให้ยาต้านไวรัสจาก 300 มิลลิกรัมเป็น 200 มิลลิกรัม ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ และประหยัดค่าใช้จ่าย
3.พิจารณาเพิ่มยาต้านไวรัสใหม่
4.เมื่อรักษาตัวเกิน 1 ปีและควบคุมโรคได้แล้วจะให้ตรวจหาเฉพาะ CD4 ไม่ต้องตรวจหาปริมาณเชื้อ ทั้งนี้แนวทางเรื่องการให้ยาต้านไวรัสฯทันทีนั้น ไทยเริ่มดำเนินการแล้ว ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ได้ใน มิ.ย.2559 นี้
ศ.นพ.เกียรติกล่าวต่อว่า ไทยตั้งเป้าจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่จากปีละประมาณ 8,000 คน ให้เหลือ 1,000 คน ให้ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายที่มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆส่วนกลุ่มอื่นๆหากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันก็ต้องมาตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยจะรณรงค์ให้การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเหมือนกับการตรวจโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน เป็นต้น โดยปัญหาของไทยขณะนี้คือมีคนออกมาตรวจรักษาโรคน้อยเพราะมีปัญหาเรื่องการตีตรา.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์
Report by LIV Capsule
เตรียมออกแนวทางใหม่รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี - มิ.ย.59
1.ยืนยันการให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ติดเชื้อฯทุกคนโดยไม่สนระดับภูมิคุ้มกัน (CD4) เพราะพบว่าการให้ยาต้านทันทีที่พบว่าติดเชื้อจะช่วยลดภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ลดการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง วัณโรค
2.การปรับปริมาณการให้ยาต้านไวรัสจาก 300 มิลลิกรัมเป็น 200 มิลลิกรัม ซึ่งจะช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ และประหยัดค่าใช้จ่าย
3.พิจารณาเพิ่มยาต้านไวรัสใหม่
4.เมื่อรักษาตัวเกิน 1 ปีและควบคุมโรคได้แล้วจะให้ตรวจหาเฉพาะ CD4 ไม่ต้องตรวจหาปริมาณเชื้อ ทั้งนี้แนวทางเรื่องการให้ยาต้านไวรัสฯทันทีนั้น ไทยเริ่มดำเนินการแล้ว ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้ได้ใน มิ.ย.2559 นี้
ศ.นพ.เกียรติกล่าวต่อว่า ไทยตั้งเป้าจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่จากปีละประมาณ 8,000 คน ให้เหลือ 1,000 คน ให้ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชายที่มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆส่วนกลุ่มอื่นๆหากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันก็ต้องมาตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต โดยจะรณรงค์ให้การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเหมือนกับการตรวจโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน เป็นต้น โดยปัญหาของไทยขณะนี้คือมีคนออกมาตรวจรักษาโรคน้อยเพราะมีปัญหาเรื่องการตีตรา.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยรัฐออนไลน์
Report by LIV Capsule