การรณรงค์ให้คนไทยตรวจเอดส์แต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะป่วยขึ้นมา หรือก่อนที่จะแพร่เชื้อให้คนอื่นๆอีกหลายคนโดยไม่รู้ตัว (Early testing)
และการรณรงค์ให้คนไทยที่ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยเร็ว (Early treatment) เพื่อจะได้ไม่ป่วยและมีอายุยืนยาวเหมือนคนทั่วไป
อีกทั้งยังไม่ส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่น (Treatment as prevention) จะเป็นสิ่งที่คุ้นหูคุ้นตาของคนไทยในช่วงนี้
โดยเฉพาะช่วงที่กำลังเข้าใกล้วันเอดส์โลกในวันที่ 1 ธันวาคมนี้
นโยบายเรื่องเอดส์ตรวจเร็วและรักษาทันที (Test and treat) เป็นนโยบายระดับชาติที่หวังจะยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ภายในปี พศ. 2563 หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า
ซึ่งหลายคนฟังดูแล้วอาจบอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะก็พูดแบบนี้มา 30 ปีแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้นมากนัก แต่รอบนี้ กระทรวงสาธารณสุขเอาจริง เพราะความรู้ปัจจุบันบอกว่าทำได้ มีวิธีทำ และประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำ การทำจะมีประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว
........ คนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประมาณ 6แสนคน
เกือบครึ่งของคนที่ติดเชื้อยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อเพราะไม่เคยไปตรวจ หรือยังไม่ได้ไปตรวจซ้ำ จึงทำให้ส่งต่อเชื้อให้คนอื่นๆโดยไม่ตั้งใจ
ส่วนคนที่รู้ตัวว่าติดเชื้ออยู่แล้ว เมื่อได้รับข้อมูลในการป้องกันที่ดีพอ หรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ก็แทบจะไม่แพร่เชื้อให้ใครเลย
ดังนั้น มาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเอดส์ก็คือทำให้คนที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่รู้สภาพการติดเชื้อของตัวเองให้เร็วที่สุด หรือพูดสั้นๆคือให้ไปรีบตรวจเอดส์
คนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรรีบไปตรวจมากที่สุด เพราะโอกาสจะตรวจเจอว่าติดเชื้อมีมาก ในปัจจุบัน คงไม่ต้องพูดซ้ำๆซากๆอีกแล้วว่าพฤติกรรมเสี่ยงคืออะไร ทุกคนควรเข้าใจถ้าไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอนุมัติให้คนไทยทุกคนทุกสิทธิ์สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนไปตรวจเอดส์ได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐปีละ 2 ครั้ง มาตรการนี้มีประโยชน์มากสำหรับคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จะได้ตรวจเจอแต่เนิ่นๆ
คนที่เสี่ยงบ่อยมากๆอาจต้องตรวจมากกว่าปีละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังจากที่ไปเสี่ยงมา ซึ่งถ้าตรวจเกินปีละ 2 ครั้งก็ต้องออกเงินเอง
สำหรับคนที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงในภาวะปัจจุบันก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เพราะอาจติดเชื้ออยู่ก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ จากพฤติกรรมในอดีตของตัวเองหรือของคู่ของเรา
ดังนั้นประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรจะไปตรวจเอดส์เช่นกัน โดยไปตรวจพร้อมคู่นอนครั้งเดียวในชีวิตก็อาจจะพอ ที่เน้นเรื่องการไปตรวจพร้อมๆกันกับคู่นอนก็เพื่อจะได้รู้ผลพร้อมๆกัน ใครติดหรือไม่ติดก็จะได้รู้พร้อมกัน เพราะการที่ภรรยาตรวจเจอก่อนแล้วจะให้ไปบอกสามีมาตรวจนั้นยากมาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะติดมาจากสามีคนปัจจุบันหรือไม่ ถ้าทั้งคู่ตรวจแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องกลับมาตรวจอีกเลย นอกจากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปทำอะไรเสี่ยงมา จึงค่อยตรวจซ้ำเฉพาะรายนั้น
เมื่อพูดถึงการตรวจให้เจอเร็วแล้ว มาตรการต่อเนื่องที่สำคัญตามมาคือการรักษาเร็ว หรือรักษาทันทีหลังตรวจพบว่าติดเชื้อ
ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบัน แพทย์จะรอจนภูมิต้านทาน (CD4) ของผู้ติดเชื้อต่ำลงถึงระดับหนึ่ง จึงจะเริ่มให้ยาต้านไวรัสเอดส์
อาจเป็นเพราะว่ายาต้านฯในสมัยนั้นยังมีราคาแพงอยู่ หรือประเทศมีงบประมาณไม่เพียงพอ เลยจำกัดให้ยาในคนที่จำเป็นมากๆก่อนเพื่อช่วยให้มีชีวิตรอด
แต่ในปัจจุบัน ยาต้านฯมีราคาถูกลงมาก ประกอบกับพบว่าประโยชน์ในระยะยาวของการเริ่มให้ยาต้านฯเร็วขึ้น มีมาก เช่น ลดการแพร่ระบาดของเอชไอวีและวัณโรคไปสู่คนอื่น ลดการเป็นโรคของผู้สูงวัย เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ
เลยทำให้แนวทางในการเริ่มยาต้านฯของประเทศต่างๆทั่วโลกเร็วขึ้น เช่น องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าควรเริ่มยาต้านฯเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 500 ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศแนะนำให้เริ่มยาต้านฯเลยไม่ว่าภูมิต้านทานจะสูงเท่าไรก็ตาม
หรือพูดสั้นๆคือรีบรักษา
ประเทศไทยได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียแล้ว มีนโยบายให้เริ่มยาต้านฯได้ที่ทุกระดับของ CD4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 เป็นต้นไป
ด้วยเหตุผลคือผู้ติดเชื้อ ได้ประโยชน์ และไม่หลุดหายไปจากระบบการดูแลรักษาจากการติดตาม CD4ไปนานๆโดยไม่ได้รับยาต้านฯ และที่สำคัญสุดคือการได้รับยาต้านฯตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คนๆนั้นก็จะมีปริมาณเชื้อเหลืออยู่ในตัวน้อยมาก จนไม่แพร่เชื้อให้คนอื่นได้อีกต่อไป
เสริมกลยุทธของการยุติการแพร่เชื้อ อีกทั้งเมื่อรักษาเร็ว ผู้ติดเชื้อก็จะไม่ป่วย และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากเอดส์ เป็นการยุติปัญหาการเสียชีวิตจากเอดส์ได้ด้วย
เมื่อรัฐมีนโยบายเช่นนี้ เราประชาชนตัวเล็กๆจะช่วยรัฐผลักดันยุทธศาตร์นี้ให้สำเร็จได้อย่างไร เริ่มแรกทุกคนในชาติต้องรีบหาเวลาว่างไปตรวจเอดส์ อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต ตรวจเพื่อให้รู้ว่าเรากับคู่ไม่ติดเชื้อ ถ้าตรวจเจอก็ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯโดยไม่ชักช้า และต้องกินยาต่อเนื่องตรงเวลา
บางครั้งเราที่เป็นประชาชนอยากตรวจ อยากเริ่มยา แต่แพทย์ผู้มีหน้าที่สั่งตรวจ สั่งยาอาจยังไม่เข้าใจเหตุผลความต้องการของเราดีพอ เราอาจต้องอธิบายให้แพทย์เข้าใจ เป็นวิทยาทาน
แต่อย่าลืมนะครับ ว่านอกจากตรวจเร็วและรักษาทันทีแล้ว มาตราการการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆที่เราคุ้นเคยอยู่เดิมก็ยังต้องใช้ต่อ เช่น การจำกัดคู่นอน การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การใช้ถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาเสพติดที่สะอาด และแม้กระทั่งการป้องกันการติดเชื้อวิธีใหม่ๆ เช่น การกินยาต้านฯก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องใช้ควบคู่กันไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
18 กันยายน 2557
ที่มา
http://www.redcross.or.th/article/41971
ต่อไป ใน 5 ปีข้างหน้า ( 2563 ) โรคเอดส์ก็ไม่น่ากลัวอีกเเล้วสิ เพราะยาดี
และการรณรงค์ให้คนไทยที่ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยเร็ว (Early treatment) เพื่อจะได้ไม่ป่วยและมีอายุยืนยาวเหมือนคนทั่วไป
อีกทั้งยังไม่ส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่น (Treatment as prevention) จะเป็นสิ่งที่คุ้นหูคุ้นตาของคนไทยในช่วงนี้
โดยเฉพาะช่วงที่กำลังเข้าใกล้วันเอดส์โลกในวันที่ 1 ธันวาคมนี้
นโยบายเรื่องเอดส์ตรวจเร็วและรักษาทันที (Test and treat) เป็นนโยบายระดับชาติที่หวังจะยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ภายในปี พศ. 2563 หรือในอีก 6 ปีข้างหน้า
ซึ่งหลายคนฟังดูแล้วอาจบอกว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะก็พูดแบบนี้มา 30 ปีแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้นมากนัก แต่รอบนี้ กระทรวงสาธารณสุขเอาจริง เพราะความรู้ปัจจุบันบอกว่าทำได้ มีวิธีทำ และประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำ การทำจะมีประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว
........ คนไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีและยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประมาณ 6แสนคน
เกือบครึ่งของคนที่ติดเชื้อยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อเพราะไม่เคยไปตรวจ หรือยังไม่ได้ไปตรวจซ้ำ จึงทำให้ส่งต่อเชื้อให้คนอื่นๆโดยไม่ตั้งใจ
ส่วนคนที่รู้ตัวว่าติดเชื้ออยู่แล้ว เมื่อได้รับข้อมูลในการป้องกันที่ดีพอ หรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ก็แทบจะไม่แพร่เชื้อให้ใครเลย
ดังนั้น มาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งในการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเอดส์ก็คือทำให้คนที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่รู้สภาพการติดเชื้อของตัวเองให้เร็วที่สุด หรือพูดสั้นๆคือให้ไปรีบตรวจเอดส์
คนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรรีบไปตรวจมากที่สุด เพราะโอกาสจะตรวจเจอว่าติดเชื้อมีมาก ในปัจจุบัน คงไม่ต้องพูดซ้ำๆซากๆอีกแล้วว่าพฤติกรรมเสี่ยงคืออะไร ทุกคนควรเข้าใจถ้าไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอนุมัติให้คนไทยทุกคนทุกสิทธิ์สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนไปตรวจเอดส์ได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐปีละ 2 ครั้ง มาตรการนี้มีประโยชน์มากสำหรับคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง จะได้ตรวจเจอแต่เนิ่นๆ
คนที่เสี่ยงบ่อยมากๆอาจต้องตรวจมากกว่าปีละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังจากที่ไปเสี่ยงมา ซึ่งถ้าตรวจเกินปีละ 2 ครั้งก็ต้องออกเงินเอง
สำหรับคนที่ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงในภาวะปัจจุบันก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เพราะอาจติดเชื้ออยู่ก่อนหน้านี้แล้วก็ได้ จากพฤติกรรมในอดีตของตัวเองหรือของคู่ของเรา
ดังนั้นประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรจะไปตรวจเอดส์เช่นกัน โดยไปตรวจพร้อมคู่นอนครั้งเดียวในชีวิตก็อาจจะพอ ที่เน้นเรื่องการไปตรวจพร้อมๆกันกับคู่นอนก็เพื่อจะได้รู้ผลพร้อมๆกัน ใครติดหรือไม่ติดก็จะได้รู้พร้อมกัน เพราะการที่ภรรยาตรวจเจอก่อนแล้วจะให้ไปบอกสามีมาตรวจนั้นยากมาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะติดมาจากสามีคนปัจจุบันหรือไม่ ถ้าทั้งคู่ตรวจแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องกลับมาตรวจอีกเลย นอกจากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปทำอะไรเสี่ยงมา จึงค่อยตรวจซ้ำเฉพาะรายนั้น
เมื่อพูดถึงการตรวจให้เจอเร็วแล้ว มาตรการต่อเนื่องที่สำคัญตามมาคือการรักษาเร็ว หรือรักษาทันทีหลังตรวจพบว่าติดเชื้อ
ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบัน แพทย์จะรอจนภูมิต้านทาน (CD4) ของผู้ติดเชื้อต่ำลงถึงระดับหนึ่ง จึงจะเริ่มให้ยาต้านไวรัสเอดส์
อาจเป็นเพราะว่ายาต้านฯในสมัยนั้นยังมีราคาแพงอยู่ หรือประเทศมีงบประมาณไม่เพียงพอ เลยจำกัดให้ยาในคนที่จำเป็นมากๆก่อนเพื่อช่วยให้มีชีวิตรอด
แต่ในปัจจุบัน ยาต้านฯมีราคาถูกลงมาก ประกอบกับพบว่าประโยชน์ในระยะยาวของการเริ่มให้ยาต้านฯเร็วขึ้น มีมาก เช่น ลดการแพร่ระบาดของเอชไอวีและวัณโรคไปสู่คนอื่น ลดการเป็นโรคของผู้สูงวัย เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ
เลยทำให้แนวทางในการเริ่มยาต้านฯของประเทศต่างๆทั่วโลกเร็วขึ้น เช่น องค์การอนามัยโลกกำหนดว่าควรเริ่มยาต้านฯเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 500 ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศแนะนำให้เริ่มยาต้านฯเลยไม่ว่าภูมิต้านทานจะสูงเท่าไรก็ตาม
หรือพูดสั้นๆคือรีบรักษา
ประเทศไทยได้วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียแล้ว มีนโยบายให้เริ่มยาต้านฯได้ที่ทุกระดับของ CD4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 เป็นต้นไป
ด้วยเหตุผลคือผู้ติดเชื้อ ได้ประโยชน์ และไม่หลุดหายไปจากระบบการดูแลรักษาจากการติดตาม CD4ไปนานๆโดยไม่ได้รับยาต้านฯ และที่สำคัญสุดคือการได้รับยาต้านฯตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป คนๆนั้นก็จะมีปริมาณเชื้อเหลืออยู่ในตัวน้อยมาก จนไม่แพร่เชื้อให้คนอื่นได้อีกต่อไป
เสริมกลยุทธของการยุติการแพร่เชื้อ อีกทั้งเมื่อรักษาเร็ว ผู้ติดเชื้อก็จะไม่ป่วย และไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากเอดส์ เป็นการยุติปัญหาการเสียชีวิตจากเอดส์ได้ด้วย
เมื่อรัฐมีนโยบายเช่นนี้ เราประชาชนตัวเล็กๆจะช่วยรัฐผลักดันยุทธศาตร์นี้ให้สำเร็จได้อย่างไร เริ่มแรกทุกคนในชาติต้องรีบหาเวลาว่างไปตรวจเอดส์ อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิต ตรวจเพื่อให้รู้ว่าเรากับคู่ไม่ติดเชื้อ ถ้าตรวจเจอก็ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯโดยไม่ชักช้า และต้องกินยาต่อเนื่องตรงเวลา
บางครั้งเราที่เป็นประชาชนอยากตรวจ อยากเริ่มยา แต่แพทย์ผู้มีหน้าที่สั่งตรวจ สั่งยาอาจยังไม่เข้าใจเหตุผลความต้องการของเราดีพอ เราอาจต้องอธิบายให้แพทย์เข้าใจ เป็นวิทยาทาน
แต่อย่าลืมนะครับ ว่านอกจากตรวจเร็วและรักษาทันทีแล้ว มาตราการการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆที่เราคุ้นเคยอยู่เดิมก็ยังต้องใช้ต่อ เช่น การจำกัดคู่นอน การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การใช้ถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาเสพติดที่สะอาด และแม้กระทั่งการป้องกันการติดเชื้อวิธีใหม่ๆ เช่น การกินยาต้านฯก่อนและหลังสัมผัสเชื้อ ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องใช้ควบคู่กันไป
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย
18 กันยายน 2557
ที่มา http://www.redcross.or.th/article/41971