34 ปี นับตั้งแต่การรายงานผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายแรกในปี 1981 มนุษยชาติได้ถูกท้าทายให้มีการพัฒนาการองค์ความรู้ และการรักษาโรคนี้อย่างรวดเร็วกว่าโรคใดๆที่เคย ปรากฏ นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสามารถเปลี่ยนการดำเนินโรคจากการที่ไม่ทราบ เลยว่าโรคเอดส์เกิดจากอะไร มาเป็นการรู้ สาเหตุว่าเกิดจากเชื้อไวรัสเอชไวีในปี 1983 การค้นคว้าหายาต้านไวรัส สามารถเปลี่ยนการพยากรณ์โรคจากที่ต้องถึงแก่กรรม ภายในระยะเวลาอันสั้นหลังเป็นโรคเอดส์เต็มขั้นกลายมาเป็นมีอายุยืนใกล้เคียงผู้ไม่ติดเชื้อ ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีอายุยืนนานขึ้นจนมีกลุ่มผู้ติดเชื้อที่สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเป็นมิติใหม่ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เมื่อใดจึงเรียกว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่สูงอายุ Center Disease Control ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้นิยามผู้สูงอายุในโรคนี้คือผู้ที่มีอายุ 50ปี ขึ้นไปซึ่งจะต่างกับคนทั่วไปที่ใช้เกณฑ์อายุ 60 ปี ด้วยมีข้อมูลจำนวนมากว่า การติดเชื้อเอชไอวีจะก่อให้เกิด Inflammation ในอวัยวะต่างๆ และทำให้ อวัยวะนั้นๆ เสื่อมเร็วขึ้น 10 ปี จริงหรือที่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุจำนวนมากขึ้น สถิติปี 2010 พบว่า 35% ของผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา อายุเกินกว่า 50 ปี และ คาดว่าจะมากขึ้นเป็ น 50% ในปี 2017 ขณะที่ S. Scheer นำเสนอในที่ ประชุมเอดส์นานาชาติที่กรุงโรม 2011 ว่าจากจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี 9,673 ราย ใน นครซานฟรานซิสโก พบว่า มีอายุเกินกว่า 50 ปี อยู่ถึง 53% รายงาน ของ Swiss Cohort ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี 2011 พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีในผู้สูงอายุ 29%
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงการติดเชื้อน้อยกว่าผู้ป่วยทั่วไป เป็นความเข้าใจผิดของเวชปฏิบัติทั่วไป พบว่ามีการละเลยการตรวจหาการติด เชื้อในผู้สูงอายุ เพราะเข้าใจว่า ผู้สูงอายุมักไม่มีความเสี่ยงจากการร่วมเพศ แพทย์ พยาบาลรู้สึกลำบากใจในการให้คำปรึกษาเอดส์ หรือ ขอเจาะตรวจการติดเชื้อใน ผู้สูงอายุ รวมทั้งอาการแสดงของโรคเอดส์ในผู้สูงอายุอาจถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องอื่น ทำให้ผู้สูงอายุมักได้รับการวินิจฉัยช้ากว่าคนทั่วไป การดำเนินโรคของผู้ติดเชื้อสูงอายุต่างกับคนทั่วไปหรือไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าผู้สูงอายุจะมีการดำเนินโรคเร็วกว่าคนทั่วไป และเป็นโรคฉวย โอกาสเร็วขึ้นทำให้มีการกำหนดการเริ่มยาต้านไวรัสในผู้สูงอายุเร็วกว่าคนทั่วไป คือ ควรเริ่มยาต้านไวรัสแม้ ค่า CD4 จะสูงกว่า 350 เซ็ลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งจะต่างกับคนทั่วไป ที่กำหนดให้เริ่มเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 350 เซ็ลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีข้อสนับสนุนที่ควรเริ่มยาต้านเร็วในผู้สูงอายุ 2 ประการคือ การเพิ่ม CD4 หลัง การได้ยาไวรัสของผู้สูงอายุน้อยและช้ากว่าคนทั่วไปและการเริ่มยาต้านจะช่วยลดความ เสี่ยงในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต กระดูก เสื่อมเร็วกว่าปกติ
ข้อควรระวังในการให้ยาต้านไวรัสในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการเสื่อมของอวัยวะต่างๆบ้างอยู่แล้ว โดยเฉพาะ การทำงานของไต ตับ การบริหารยาต้านไวรัสจึงต้องเข้มงวดกับขนาดของยา และการปรับ ยา ในผู้สูงอายุที่มีค่า Creatinine Clearance ต่ำกว่า 50 cc/min ควรมีการทบทวน ปรับขนาดของยาต้านไวรัส และติดตามการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไต อย่าง ใกล้ชิด รวมทั้งตรวจติดตามข้อแทรกซ้อนจากยาใกล้ชิดและมากกว่าคนทั่วไป โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เช่น รายที่โรคหัวใจขาดเลือด ผู้มีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานที่ร่วมกับภาวการณ์ทำงานของไตบกพร่อง รายที่มีระดับไขมันในเลือดสูง กำหนดให้มีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางรายการทีมีปฏิกริยาระหว่างยากับยาต้านไวรัส แพทย์ที่จะสั่งยาต้านไวรัสแก่ผู้สูงอายุจึงต้องตรวจสอบข้อแทรกซ้อนและข้อห้ามของยา ต้านไวรัสแต่ละขนานกับยาที่ผู้สูงอายุรับประทานประจำอยู่อย่างถี่ถ้วน ผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสดีเท่าบุคคลทั่วไปหรือไม่ ผู้สูงอายุได้ชื่อว่าเป็ นผู้มีวินัยในการกินยาต้านไวรัสดีกว่าคนทั่วไป พบว่า มีอัตรา ในการกดประมาณไวรัส จนวัดไม่ได้ สูงกว่าคนทั่วไป และวัยรุ่นอย่างชัดเจน จึงเป็ น กลุ่มที่ควรให้การดูแลอย่างยิ่ง ข้อแทรกซ้อนของยาต้านไวรัส พบในผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า คนทั่วไป จริง หรือไม่ แม้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะสามารถกดไวรัสจนตรวจไม่พบระดับไวรัสใน กระแสเลือด แต่เชื่อว่ายังมีไวรัสอยู่ในอวัยวะต่างๆที่ก่อให้ เกิด Inflammation และ Degeneration ของอวัยวะนั้นๆ ทำให้เกิด ข้อแทรกซ้อนที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินโรค เอดส์ ( Non AIDS Events) ในระยะยาวแก่ผู้ป่ วยที่กินยาต้านไวรัส โดยภาวะที่ควรได้รับการติดตามดูแลพิเศษ คือ Cardiovascular effects, dyslipidemia, hypertension, Insulin resistance/ DM, HAND ( HIV associated Neuro cognitive Disorders), hepatotoxicity, neprhotoxicity, thyroid dysfunction, osteonecrosis, osteopenia เหล่านี้เป็ นความท้าทายของการพัฒนายาต้านไวรัส และการดูแลระยะยาวในผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัส ผู้สูงอายุมักมีโอกาสเกิด ข้อแทรกซ้อนนี้มากกว่า คนอายุน้อย
ขอขอบคุณบทความของ : ผศ.พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
Report : LIV Capsule
การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงอายุ
ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงการติดเชื้อน้อยกว่าผู้ป่วยทั่วไป เป็นความเข้าใจผิดของเวชปฏิบัติทั่วไป พบว่ามีการละเลยการตรวจหาการติด เชื้อในผู้สูงอายุ เพราะเข้าใจว่า ผู้สูงอายุมักไม่มีความเสี่ยงจากการร่วมเพศ แพทย์ พยาบาลรู้สึกลำบากใจในการให้คำปรึกษาเอดส์ หรือ ขอเจาะตรวจการติดเชื้อใน ผู้สูงอายุ รวมทั้งอาการแสดงของโรคเอดส์ในผู้สูงอายุอาจถูกเข้าใจว่าเป็นเรื่องอื่น ทำให้ผู้สูงอายุมักได้รับการวินิจฉัยช้ากว่าคนทั่วไป การดำเนินโรคของผู้ติดเชื้อสูงอายุต่างกับคนทั่วไปหรือไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าผู้สูงอายุจะมีการดำเนินโรคเร็วกว่าคนทั่วไป และเป็นโรคฉวย โอกาสเร็วขึ้นทำให้มีการกำหนดการเริ่มยาต้านไวรัสในผู้สูงอายุเร็วกว่าคนทั่วไป คือ ควรเริ่มยาต้านไวรัสแม้ ค่า CD4 จะสูงกว่า 350 เซ็ลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งจะต่างกับคนทั่วไป ที่กำหนดให้เริ่มเมื่อ CD4 ต่ำกว่า 350 เซ็ลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีข้อสนับสนุนที่ควรเริ่มยาต้านเร็วในผู้สูงอายุ 2 ประการคือ การเพิ่ม CD4 หลัง การได้ยาไวรัสของผู้สูงอายุน้อยและช้ากว่าคนทั่วไปและการเริ่มยาต้านจะช่วยลดความ เสี่ยงในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต กระดูก เสื่อมเร็วกว่าปกติ
ข้อควรระวังในการให้ยาต้านไวรัสในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการเสื่อมของอวัยวะต่างๆบ้างอยู่แล้ว โดยเฉพาะ การทำงานของไต ตับ การบริหารยาต้านไวรัสจึงต้องเข้มงวดกับขนาดของยา และการปรับ ยา ในผู้สูงอายุที่มีค่า Creatinine Clearance ต่ำกว่า 50 cc/min ควรมีการทบทวน ปรับขนาดของยาต้านไวรัส และติดตามการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไต อย่าง ใกล้ชิด รวมทั้งตรวจติดตามข้อแทรกซ้อนจากยาใกล้ชิดและมากกว่าคนทั่วไป โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เช่น รายที่โรคหัวใจขาดเลือด ผู้มีความดันโลหิตสูง หรือเบาหวานที่ร่วมกับภาวการณ์ทำงานของไตบกพร่อง รายที่มีระดับไขมันในเลือดสูง กำหนดให้มีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางรายการทีมีปฏิกริยาระหว่างยากับยาต้านไวรัส แพทย์ที่จะสั่งยาต้านไวรัสแก่ผู้สูงอายุจึงต้องตรวจสอบข้อแทรกซ้อนและข้อห้ามของยา ต้านไวรัสแต่ละขนานกับยาที่ผู้สูงอายุรับประทานประจำอยู่อย่างถี่ถ้วน ผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสดีเท่าบุคคลทั่วไปหรือไม่ ผู้สูงอายุได้ชื่อว่าเป็ นผู้มีวินัยในการกินยาต้านไวรัสดีกว่าคนทั่วไป พบว่า มีอัตรา ในการกดประมาณไวรัส จนวัดไม่ได้ สูงกว่าคนทั่วไป และวัยรุ่นอย่างชัดเจน จึงเป็ น กลุ่มที่ควรให้การดูแลอย่างยิ่ง ข้อแทรกซ้อนของยาต้านไวรัส พบในผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า คนทั่วไป จริง หรือไม่ แม้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสจะสามารถกดไวรัสจนตรวจไม่พบระดับไวรัสใน กระแสเลือด แต่เชื่อว่ายังมีไวรัสอยู่ในอวัยวะต่างๆที่ก่อให้ เกิด Inflammation และ Degeneration ของอวัยวะนั้นๆ ทำให้เกิด ข้อแทรกซ้อนที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินโรค เอดส์ ( Non AIDS Events) ในระยะยาวแก่ผู้ป่ วยที่กินยาต้านไวรัส โดยภาวะที่ควรได้รับการติดตามดูแลพิเศษ คือ Cardiovascular effects, dyslipidemia, hypertension, Insulin resistance/ DM, HAND ( HIV associated Neuro cognitive Disorders), hepatotoxicity, neprhotoxicity, thyroid dysfunction, osteonecrosis, osteopenia เหล่านี้เป็ นความท้าทายของการพัฒนายาต้านไวรัส และการดูแลระยะยาวในผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัส ผู้สูงอายุมักมีโอกาสเกิด ข้อแทรกซ้อนนี้มากกว่า คนอายุน้อย
ขอขอบคุณบทความของ : ผศ.พญ. จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์
Report : LIV Capsule