องค์การอนามัยโลกออกคำแนะนำใหม่ ให้เริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกรายโดยไม่ต้องดูผลซีดีโฟร์ (CD4+) และให้ใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มเสี่ยง
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 องค์การอนามัยโลกได้ออกแนวทางปฏิบัติเรื่องการเริ่มยาต้านไวรัส และการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยปรับคำแนะนำใหม่ว่า ให้เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่พบการติดเชื้อเอชไอวีทุกราย โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (จากที่ก่อนหน้านี้แนะนำให้เริ่มยาเมื่อระดับซีดีโฟร์ลดต่ำกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม. หรือในกรณีที่มีโรคร่วม มีคู่ครองไม่ติดเชื้อ หรือเป็นหญิงตั้งครรภ์)
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้ปรับคำแนะนำเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยแนะนำว่าควรเสนอให้ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ (tenofovir) ร่วมกับการป้องกันวิธีอื่นๆ ในบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้งหมด จากเดิมที่แนะนำเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
พญาไทไขข่าว:
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกนี้ ปรับใหม่ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งชัดเจนขึ้นมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีหลักฐานระดับสูงจากงานวิจัยแบบทดลองสุ่มในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่หลายงาน บ่งว่าการเริ่มยาเร็วและการใช้ยาเพื่อป้องกันเป็นมาตรการรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ให้ผลดีมากกว่าผลเสีย
ในประเทศไทย กรมควบคุมโรคได้แนะนำให้เริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อทุกรายอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการประยุกต์คำแนะนำเดิมขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่เชื้อให้คู่ครอง ส่วนการใช้ยาเพื่อป้องกันในกลุ่มเสี่ยง ก็ได้ยกตัวอย่างบุคคลที่อาจแนะนำให้พิจารณาใช้ เช่น ผู้ที่มีคู่ครองติดเชื้อ ผู้ที่เคยพบแพทย์เพราะความเสี่ยงสัมผัสเชื้อบ่อยๆ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ และผู้ใช้ยาด้วยวิธีฉีด ทั้งนี้การใช้ยาทีโนโฟเวียร์เพื่อลดโอกาสติดเชื้อยังไม่สามารถเบิกได้ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทางภาครัฐอาจพิจารณาแก้เงื่อนไขเหล่านี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ยานี้เป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย เพราะผู้ติดเชื้อกว่าครึ่งมารู้ตัวเอาก็ตอนที่มีอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ หรือซีดีโฟร์ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. ไปแล้ว โจทย์ทางสาธารณสุขที่สำคัญจึงอยู่ที่การเข้าถึงผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ได้รับการตรวจรักษา หรือคำแนะนำในการป้องกันที่เหมาะสม ทั้งนี้ยังมีอุปสรรคใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือการตีตราและการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งการสำรวจของกรมควบคุมโรคเมื่อกลางปีพบผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่ากลัว รังเกียจ และกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง บ่งถึงการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคเป็นอันมาก ทำให้คนส่วนหนึ่งกลัวการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ความจริงคือแม้การติดเชื้อเอชไอวีจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาก็ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีได้เหมือนคนปกติ ส่วนการติดเชื้อเกิดขึ้นได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือการที่เลือดหรือสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้ป่วย สัมผัสกับบาดแผลหรือเยื่อบุของปาก ดวงตา อวัยวะเพศ หรือทวารหนักโดยตรง และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอดหรือจากการให้นมบุตร
ในส่วนของการป้องกันโรค นโยบายต่างๆ ของทางภาครัฐก็จะมีส่วนช่วยในระดับประชากรโดยรวม แต่สำหรับบุคคลทั่วไป มีหลักพื้นฐานที่ควรยึดปฏิบัติเพียงไม่กี่ข้อ คือ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่ครอง ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.พอ ใจยอดศิลป์-โรงพยาบาลพญาไท
Report by LIV Capsule
คำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลก-เรื่องการใช้ยาต้านไวรัส HIV
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 องค์การอนามัยโลกได้ออกแนวทางปฏิบัติเรื่องการเริ่มยาต้านไวรัส และการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยปรับคำแนะนำใหม่ว่า ให้เริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่พบการติดเชื้อเอชไอวีทุกราย โดยไม่ต้องคำนึงถึงระดับเม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (จากที่ก่อนหน้านี้แนะนำให้เริ่มยาเมื่อระดับซีดีโฟร์ลดต่ำกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม. หรือในกรณีที่มีโรคร่วม มีคู่ครองไม่ติดเชื้อ หรือเป็นหญิงตั้งครรภ์)
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้ปรับคำแนะนำเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยแนะนำว่าควรเสนอให้ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ (tenofovir) ร่วมกับการป้องกันวิธีอื่นๆ ในบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อทั้งหมด จากเดิมที่แนะนำเฉพาะในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
พญาไทไขข่าว:
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลกนี้ ปรับใหม่ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งชัดเจนขึ้นมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีหลักฐานระดับสูงจากงานวิจัยแบบทดลองสุ่มในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่หลายงาน บ่งว่าการเริ่มยาเร็วและการใช้ยาเพื่อป้องกันเป็นมาตรการรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่ให้ผลดีมากกว่าผลเสีย
ในประเทศไทย กรมควบคุมโรคได้แนะนำให้เริ่มยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อทุกรายอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการประยุกต์คำแนะนำเดิมขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่เชื้อให้คู่ครอง ส่วนการใช้ยาเพื่อป้องกันในกลุ่มเสี่ยง ก็ได้ยกตัวอย่างบุคคลที่อาจแนะนำให้พิจารณาใช้ เช่น ผู้ที่มีคู่ครองติดเชื้อ ผู้ที่เคยพบแพทย์เพราะความเสี่ยงสัมผัสเชื้อบ่อยๆ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผู้ที่ทำงานบริการทางเพศ และผู้ใช้ยาด้วยวิธีฉีด ทั้งนี้การใช้ยาทีโนโฟเวียร์เพื่อลดโอกาสติดเชื้อยังไม่สามารถเบิกได้ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทางภาครัฐอาจพิจารณาแก้เงื่อนไขเหล่านี้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ยานี้เป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย เพราะผู้ติดเชื้อกว่าครึ่งมารู้ตัวเอาก็ตอนที่มีอาการแทรกซ้อนจากโรคเอดส์ หรือซีดีโฟร์ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม. ไปแล้ว โจทย์ทางสาธารณสุขที่สำคัญจึงอยู่ที่การเข้าถึงผู้ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้ได้รับการตรวจรักษา หรือคำแนะนำในการป้องกันที่เหมาะสม ทั้งนี้ยังมีอุปสรรคใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือการตีตราและการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งการสำรวจของกรมควบคุมโรคเมื่อกลางปีพบผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่ากลัว รังเกียจ และกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง บ่งถึงการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคเป็นอันมาก ทำให้คนส่วนหนึ่งกลัวการตรวจหาเชื้อเอชไอวี
ความจริงคือแม้การติดเชื้อเอชไอวีจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การใช้ยาก็ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีได้เหมือนคนปกติ ส่วนการติดเชื้อเกิดขึ้นได้เพียง 2 ทางเท่านั้น คือการที่เลือดหรือสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้ป่วย สัมผัสกับบาดแผลหรือเยื่อบุของปาก ดวงตา อวัยวะเพศ หรือทวารหนักโดยตรง และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอดหรือจากการให้นมบุตร
ในส่วนของการป้องกันโรค นโยบายต่างๆ ของทางภาครัฐก็จะมีส่วนช่วยในระดับประชากรโดยรวม แต่สำหรับบุคคลทั่วไป มีหลักพื้นฐานที่ควรยึดปฏิบัติเพียงไม่กี่ข้อ คือ การใช้ถุงยางอนามัย ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่ครอง ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.พอ ใจยอดศิลป์-โรงพยาบาลพญาไท
Report by LIV Capsule