ถึงแก่อสัญกรรมที่บ้านพักชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ท่านเป็นหนึ่งใน คณะราษฎร์ ได้ทำการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยปราศจากการนองเลือด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วม ขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ส่งผลให้ไทยไม่ตกเป็นประเทศพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านเป็นผู้ประศาสน์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในบั้นปลายชีวิตท่านต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ จีน และย้ายไปฝรั่งเศสกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ต่อมาปี 2543 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้บรรจุชื่อนายปรีดี พนมยงค์ไว้ใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ในช่วงปี 2543-2544 ท่านเป็นสามัญชนคนหนึ่งที่ได้สร้างคุณูปการให้แก่ชาติบ้านเมืองไว้จำนวนมาก แต่สังคมไทยกลับปฏิบัติต่อท่านต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่ไม่ยกย่องเท่านั้น แต่นายปรีดี พนมยงค์ กลับกลายเป็นบุคคลที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกฯ 3 สมัยและรัฐบุรุษอาวุโส
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ท่านเป็นหนึ่งใน คณะราษฎร์ ได้ทำการอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยปราศจากการนองเลือด เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วม ขบวนการเสรีไทย เพื่อต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ส่งผลให้ไทยไม่ตกเป็นประเทศพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของไทย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านเป็นผู้ประศาสน์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในบั้นปลายชีวิตท่านต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ จีน และย้ายไปฝรั่งเศสกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ต่อมาปี 2543 องค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้บรรจุชื่อนายปรีดี พนมยงค์ไว้ใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก ในช่วงปี 2543-2544 ท่านเป็นสามัญชนคนหนึ่งที่ได้สร้างคุณูปการให้แก่ชาติบ้านเมืองไว้จำนวนมาก แต่สังคมไทยกลับปฏิบัติต่อท่านต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่ไม่ยกย่องเท่านั้น แต่นายปรีดี พนมยงค์ กลับกลายเป็นบุคคลที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย