กระแส
"หมุดคณะราษฎร" ที่ถูกถอดออกไป กลายเป็นที่วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
มีทั้งคัดค้าน และ เห็นด้วย ต่างๆนาๆ แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้ที่มาที่ไปของ สัญญลักษณ์
หมุดคณะราษฎร
คณะราษฎร หรือที่เรียกสั้นๆว่า คณะราษฎร์ (เขียนได้ทั้งสองอย่าง)
คือชื่อคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย จากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย โดยทำการสำเร็จในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ 2475
คณะผู้ก่อตั้ง คณะราษฎร ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการ และ พลเรือน ที่มีบทบาทสูงมี 3 ท่านคือ
๑ พันเอกพระยา พหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
๒ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นาย ปรีดี พนมยงค์
๓ พันตรี หลวงพิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในแง่คุณประโยชน์อื่นๆที่คณะราษฎร์มีต่อประเทศไทยนั้นมีมากมาย แต่ในกระทู้นี้จะขอกล่าวแค่ 2 ข้อ
แต่เป็น
2 ข้อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความเห็น จขกท
ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ไทยเราถูกชาติตะวันตกสิบกว่าชาติเอาเปรียบอย่างมาก
สัญญาทุกฉบับที่ชาติเหล่านี้ทำกับ สยาม ถ้ามาศึกษาตอนนี้ ล้วนแล้วแต่ไม่ยุติธรรม
สนธิสัญญาเบอร์นี่ (Burney Treaty ) กับ สนธิสัญญา เบาวริ่ง (Bowring Treaty)
ถูกอังกฤษเอาเปรียบอย่างมาก เมื่อไหร่ที่ สยาม ไม่ยอมหรือคิดสู้ แม้แต่จะคิดแก้ไข
ก็จะถูกชาติพวกนี้ โดยเฉพาะอังกฤษ และ ฝรั่งเศส หาเรื่อง ทำให้เราต้องเสียดินแดนอยู่ร่ำไป
ความขมขื่นนี้ แม้จะถูกเบาบางลง หลังจากที่ไทยร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ และอยู่ฝ่ายผู้ชนะ
มีการแก้สัญญาบางส่วนที่ทำไว้กับชาติตะวันตกและญี่ปุ่น แต่ก็ยังไม่หมด
ที่หลักๆที่สยามต้องการยังมีอีก 2 ข้อ คือ
๑ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คืออะไร ?
คือ สิทธิพิเศษทางกฏหมาย ที่ประเทศนั้นๆสามารถใช้กฏหมายของตัวต่อบุคคล ในดินแดนประเทศนั้นๆได้
ย
กตัวอย่างเช่น คนอังกฤษ มีเรื่องกับ คนไทย ทำร้าย ข่มขืน หรือ มีก่อคดีอะไรก็แล้วแต่
ศาลไทย ไม่สามารถเอาผิดได้ ต้องปล่อยให้ สถานทูตหรือกงศุล ของประเทศนั้นๆ ตัดสินแทน
สุดท้ายก็เป็นระบบ พวกใครพวกมัน คนร้ายก็ลอยนวล เจ้าทุกข์ก็ได้แต่ก้มหน้ารับชะตากรรมไป
การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนี้เอง ถ้าพูดกันง่ายๆก็คือ
"การเสียเอกราชทางศาล" นั่นเอง
๒ ภาษีนำเข้าร้อยชัก 3
คือภาษีศุลกากรนำเข้าในสมัยนี้นั่นเอง
สยาม โดนคนต่างชาติเหล่านี้ บังคับเก็บภาษีขาเข้าแค่ร้อยละ ๓
ทำให้ได้เงินจากภาษีนี้น้อยมาก ไทยขอแก้ไขหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ 2480
อ. ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร์ ในฐานะรัฐมนตรี ต่างประเทศ ได้เจรจากับมหาอำนาจ 13 ประเทศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้13 ชาติมหาอำนาจได้แก่
สหรัฐ ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เดนมาร์ก
อังกฤษ สเปน ปอร์ตุเกส สวีเดน
อิตาลี เบลเยี่ยม นอร์เวย์ เยอรมัน ญี่ปุ่น
แก้ไขสัญญาทั้ง 2 ข้อ คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต กับ ภาษีนำเข้า ร้อยชักสาม จนสำเร็จ
สยามได้เอกราชทางศาลและทางเศรษฐกิจกลับคืนมาจนทุกวันนี้
มาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
จอมพล ป ไปยืนข้างญี่ปุ่น แต่ อ.ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับคณะราษฎรหลายคน เช่น
หลวงอดุลเดชจรัส , น.ต หลวงศุภชลาศัย , นายดิเรก ชัยนาม , นายทวี บุณยเกตุ ฯลฯ
สมทบกับผู้มาใหม่อย่าง อ. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช ฯลฯ
ก่อตั้ง
เสรีไทย ขึ้นมา ภายหลังสงครามโลกยุติลง
ไทย จึงไม่อยู่ฝ่ายแพ้สงคราม
ไม่เช่นนั้น ผลลัพธ์ ที่ตามมา อาจทำให้ไทยเสียหายร้ายแรงกว่าที่คิด
คุณประโยชน์ของคณะราษฎร์ที่ทำให้กับประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้ว 2 ข้อในข้างต้น
ถือเป็นประโยชน์มหาศาลที่ตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ควรที่คนรุ่นหลังจะระลึกถึงตลอดไป
ประเด็นที่ สลิ่ม มักจะแย้งว่า ก็แค่หมุดอันเดียว รื้อออกก็ไม่เห็นเป็นไร
สลิ่ม คิดอย่างนี้ไม่แปลกหรอก เพราะคนพวกนี้ ไม่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของคนเหล่านี้มีแค่ช่วง ทักษิณ เริ่มเล่นการเมืองเท่านั้น ก่อนหน้านั้น ไม่รู้เรื่อง
หรือไม่เคยจะทำความเข้าใจ
อารยะประเทศทั่วโลก ต่างก็หวงแหนโบราณสถาน หรือ โบราณวัตถุ
โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่จารึกถึงความดีหรือความเปลี่ยนแปลงของบุคคลหรือคณะบุคคล
ที่เคยทำผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ไม่มีใครคิดตื้นๆ ที่จะบิดเบือนประวัติศาสตร์
โดยการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมหรอก
ประเด็นที่ว่า เมื่อก่อนเราก็เคยทำลายฝั่งตรงข้าม เป็นเรื่องทีใครทีมัน
การเปรียบเทียบแบบนี้ไม่เป็นการยุติธรรมกับผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ยกตัวอย่างง่ายๆในประเทศไทย
การที่จะเอา ถนอม -ประภาส ไปเปรียบเทียบกับ อ.ปรีดี พนมยงค์
เป็นการยุติธรรมแล้วหรือ ?
ในภาวะที่สังคมมีความแตกแยกสูง ไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่ควรทำสิ่งที่กระทบกระเทือนใจ
หรือเป็นชนวนให้เกิดความร้าวฉานเพิ่มขึ้นอีกเลย
ป.ล มีคดีหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อ่านแล้วสำหรับคนรักชาติ และ รักความเป็นธรรม
จะรู้สึกเจ็บปวดมาก แต่สำหรับพวกรักชาติเป็นพักๆ อาจจะไม่รู้สึกอะไร
ป.ล 2 ในเม้นท์ย่อย ยังมีรายละเอียดมากมาย เช่น รูป ศุลกสถาน ในกระทู้
ป.ล 3 เนื้อหาเป็นการเล่าคร่าวๆ ไม่ได้เจาะลึกรายละเอียด เพราะเป็นการเล่าภาพรวม ไม่งั้นจะยาวเกินไป
ป.ล 4
คุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่คนในชาติควรหวงแหน และรักษามัน เพื่อเป็นมรดก
ถึงลูกหลาน ให้มีสำนึกในความเป็นชาติ เพื่อสืบทอดเผ่าพันธ์ วัฒนธรรม และชาติกำเนิดต่อไปตราบนานเท่านาน
ป.ล 5 รูปจาก google เนื้อหาจากหนังสือหลายเล่มประกอบกัน
ป.ล 6
13 ชาติมหาอำนาจในสปอย ถ้าไม่ใส่รายละเอียด นึกว่าเป็นการแข่งขัน ฟุตบอลโลก
หมุดคณะราษฎร.....คุณค่าทางประวัติศาสตร์......ที่ไม่ควรถูกลบเลือน cnck
มีทั้งคัดค้าน และ เห็นด้วย ต่างๆนาๆ แต่จะมีสักกี่คน ที่รู้ที่มาที่ไปของ สัญญลักษณ์ หมุดคณะราษฎร
คณะราษฎร หรือที่เรียกสั้นๆว่า คณะราษฎร์ (เขียนได้ทั้งสองอย่าง)
คือชื่อคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย จากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย โดยทำการสำเร็จในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ 2475
คณะผู้ก่อตั้ง คณะราษฎร ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการ และ พลเรือน ที่มีบทบาทสูงมี 3 ท่านคือ
๑ พันเอกพระยา พหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
๒ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นาย ปรีดี พนมยงค์
๓ พันตรี หลวงพิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในแง่คุณประโยชน์อื่นๆที่คณะราษฎร์มีต่อประเทศไทยนั้นมีมากมาย แต่ในกระทู้นี้จะขอกล่าวแค่ 2 ข้อ
แต่เป็น 2 ข้อที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความเห็น จขกท
ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ไทยเราถูกชาติตะวันตกสิบกว่าชาติเอาเปรียบอย่างมาก
สัญญาทุกฉบับที่ชาติเหล่านี้ทำกับ สยาม ถ้ามาศึกษาตอนนี้ ล้วนแล้วแต่ไม่ยุติธรรม
สนธิสัญญาเบอร์นี่ (Burney Treaty ) กับ สนธิสัญญา เบาวริ่ง (Bowring Treaty)
ถูกอังกฤษเอาเปรียบอย่างมาก เมื่อไหร่ที่ สยาม ไม่ยอมหรือคิดสู้ แม้แต่จะคิดแก้ไข
ก็จะถูกชาติพวกนี้ โดยเฉพาะอังกฤษ และ ฝรั่งเศส หาเรื่อง ทำให้เราต้องเสียดินแดนอยู่ร่ำไป
ความขมขื่นนี้ แม้จะถูกเบาบางลง หลังจากที่ไทยร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ และอยู่ฝ่ายผู้ชนะ
มีการแก้สัญญาบางส่วนที่ทำไว้กับชาติตะวันตกและญี่ปุ่น แต่ก็ยังไม่หมด
ที่หลักๆที่สยามต้องการยังมีอีก 2 ข้อ คือ
๑ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต
สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คืออะไร ?
คือ สิทธิพิเศษทางกฏหมาย ที่ประเทศนั้นๆสามารถใช้กฏหมายของตัวต่อบุคคล ในดินแดนประเทศนั้นๆได้
ยกตัวอย่างเช่น คนอังกฤษ มีเรื่องกับ คนไทย ทำร้าย ข่มขืน หรือ มีก่อคดีอะไรก็แล้วแต่
ศาลไทย ไม่สามารถเอาผิดได้ ต้องปล่อยให้ สถานทูตหรือกงศุล ของประเทศนั้นๆ ตัดสินแทน
สุดท้ายก็เป็นระบบ พวกใครพวกมัน คนร้ายก็ลอยนวล เจ้าทุกข์ก็ได้แต่ก้มหน้ารับชะตากรรมไป
การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนี้เอง ถ้าพูดกันง่ายๆก็คือ
"การเสียเอกราชทางศาล" นั่นเอง
๒ ภาษีนำเข้าร้อยชัก 3
คือภาษีศุลกากรนำเข้าในสมัยนี้นั่นเอง
สยาม โดนคนต่างชาติเหล่านี้ บังคับเก็บภาษีขาเข้าแค่ร้อยละ ๓
ทำให้ได้เงินจากภาษีนี้น้อยมาก ไทยขอแก้ไขหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ
ต่อมาในปี พ.ศ 2480
อ. ปรีดี พนมยงค์ แกนนำคณะราษฎร์ ในฐานะรัฐมนตรี ต่างประเทศ ได้เจรจากับมหาอำนาจ 13 ประเทศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขสัญญาทั้ง 2 ข้อ คือ สิทธิสภาพนอกอาณาเขต กับ ภาษีนำเข้า ร้อยชักสาม จนสำเร็จ
สยามได้เอกราชทางศาลและทางเศรษฐกิจกลับคืนมาจนทุกวันนี้
มาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
จอมพล ป ไปยืนข้างญี่ปุ่น แต่ อ.ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับคณะราษฎรหลายคน เช่น
หลวงอดุลเดชจรัส , น.ต หลวงศุภชลาศัย , นายดิเรก ชัยนาม , นายทวี บุณยเกตุ ฯลฯ
สมทบกับผู้มาใหม่อย่าง อ. ป๋วย อึ้งภากรณ์ ม.ร.ว เสนีย์ ปราโมช ฯลฯ
ก่อตั้ง เสรีไทย ขึ้นมา ภายหลังสงครามโลกยุติลง ไทย จึงไม่อยู่ฝ่ายแพ้สงคราม
ไม่เช่นนั้น ผลลัพธ์ ที่ตามมา อาจทำให้ไทยเสียหายร้ายแรงกว่าที่คิด
คุณประโยชน์ของคณะราษฎร์ที่ทำให้กับประเทศ ดังที่กล่าวมาแล้ว 2 ข้อในข้างต้น
ถือเป็นประโยชน์มหาศาลที่ตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ควรที่คนรุ่นหลังจะระลึกถึงตลอดไป
ประเด็นที่ สลิ่ม มักจะแย้งว่า ก็แค่หมุดอันเดียว รื้อออกก็ไม่เห็นเป็นไร
สลิ่ม คิดอย่างนี้ไม่แปลกหรอก เพราะคนพวกนี้ ไม่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของคนเหล่านี้มีแค่ช่วง ทักษิณ เริ่มเล่นการเมืองเท่านั้น ก่อนหน้านั้น ไม่รู้เรื่อง
หรือไม่เคยจะทำความเข้าใจ
อารยะประเทศทั่วโลก ต่างก็หวงแหนโบราณสถาน หรือ โบราณวัตถุ
โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่จารึกถึงความดีหรือความเปลี่ยนแปลงของบุคคลหรือคณะบุคคล
ที่เคยทำผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ไม่มีใครคิดตื้นๆ ที่จะบิดเบือนประวัติศาสตร์
โดยการทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมหรอก
ประเด็นที่ว่า เมื่อก่อนเราก็เคยทำลายฝั่งตรงข้าม เป็นเรื่องทีใครทีมัน
การเปรียบเทียบแบบนี้ไม่เป็นการยุติธรรมกับผู้สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ยกตัวอย่างง่ายๆในประเทศไทย
การที่จะเอา ถนอม -ประภาส ไปเปรียบเทียบกับ อ.ปรีดี พนมยงค์
เป็นการยุติธรรมแล้วหรือ ?
ในภาวะที่สังคมมีความแตกแยกสูง ไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่ควรทำสิ่งที่กระทบกระเทือนใจ
หรือเป็นชนวนให้เกิดความร้าวฉานเพิ่มขึ้นอีกเลย
ป.ล มีคดีหนึ่งเกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต อ่านแล้วสำหรับคนรักชาติ และ รักความเป็นธรรม
จะรู้สึกเจ็บปวดมาก แต่สำหรับพวกรักชาติเป็นพักๆ อาจจะไม่รู้สึกอะไร
ป.ล 2 ในเม้นท์ย่อย ยังมีรายละเอียดมากมาย เช่น รูป ศุลกสถาน ในกระทู้
ป.ล 3 เนื้อหาเป็นการเล่าคร่าวๆ ไม่ได้เจาะลึกรายละเอียด เพราะเป็นการเล่าภาพรวม ไม่งั้นจะยาวเกินไป
ป.ล 4 คุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่คนในชาติควรหวงแหน และรักษามัน เพื่อเป็นมรดก
ถึงลูกหลาน ให้มีสำนึกในความเป็นชาติ เพื่อสืบทอดเผ่าพันธ์ วัฒนธรรม และชาติกำเนิดต่อไปตราบนานเท่านาน
ป.ล 5 รูปจาก google เนื้อหาจากหนังสือหลายเล่มประกอบกัน
ป.ล 6 13 ชาติมหาอำนาจในสปอย ถ้าไม่ใส่รายละเอียด นึกว่าเป็นการแข่งขัน ฟุตบอลโลก