2 พฤษภาคม 2526 ท่านปรีดี พนมยงค์ สิ้นลมอย่างสงบที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก เคียงข้างท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ขณะนั้น)
และนักศึกษาไทยในประเทศฝรั่งเศส หน้าสุสานแปร์ ลาแชส
*******************************************************************************
ชาวธรรมศาสตร์รับอัฐิท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
นำอัฐิ ท่านปรีดี พนมยงค์ ไปลอยที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สมดังความปรารถนาของท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
ชาวมธ. ในยุคนั้นแปรอักษรบอลประเพณีจุฬา - ธรรมศาสตร์ปี 2522
เวลานั้นไม่มีใครกล้าเอ่ยถึง ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ชื่อนี้เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสังคมไทยมานานกว่า ๓๐ ปี
พวกเราวางแผนกันว่า หากแปรอักษรไปแล้วเกิดมีตำรวจหรือสันติบาลมาถามหาก็นัดแนะกันว่าจะหนีไปทางไหน และจะไม่ซัดทอดกัน หากมีการจับก็ให้มีคนโดนจับน้อยที่สุด
เมื่อโฆษกสนามพูดบทกลอนซ้ำอีกครั้ง ในสนามเงียบก่อนที่เสียงปรบมือจะดังลั่น ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่า ต.มธก. หลายคนยืนขึ้น น้ำตาไหลด้วยความดีใจเพราะเป็นครั้งแรกในรอบ ๓๐ กว่าปีที่มีการพูดถึงอาจารย์ปรีดีชัดเจนในที่สาธารณะ ขณะที่นักศึกษาบนอัฒจันทร์โห่ร้องด้วยความยินดีที่ตนในฐานะลูกแม่โดมได้ทำอะไรบางอย่างเพื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้
พอแปรอักษรรูปนี้เสร็จ พวกเราที่อยู่ด้านล่างทำ หน้าที่ควบคุมสแตนด์เชียร์ต่างสวมกอดกันด้วยความดีใจที่สามารถทำให้อาจารย์ปรีดีออกมาสู่พื้นที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรก ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชุมนุมเชียร์ก็ได้รับจดหมายจากอาจารย์ปรีดีส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส ความว่ามีคนส่งภาพการแปรอักษรครั้งนี้ไปให้ท่านดู จึงเขียนจดหมายมาขอบใจคนที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ยังรำลึกถึงท่าน
Cr. คุณMaysa Nitto , บทความจากบันทึกของ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์
http://thaienews.blogspot.com/2013/02/2522.html
๒ พฤษภาคม ขอรำลึกถึงท่าน "ปรีดี พนมยงค์" คนดีที่ประเทศไทยไม่ต้องการ
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก เคียงข้างท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ขณะนั้น)
และนักศึกษาไทยในประเทศฝรั่งเศส หน้าสุสานแปร์ ลาแชส
*******************************************************************************
ชาวธรรมศาสตร์รับอัฐิท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
นำอัฐิ ท่านปรีดี พนมยงค์ ไปลอยที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สมดังความปรารถนาของท่านปรีดี พนมยงค์
*******************************************************************************
ชาวมธ. ในยุคนั้นแปรอักษรบอลประเพณีจุฬา - ธรรมศาสตร์ปี 2522
เวลานั้นไม่มีใครกล้าเอ่ยถึง ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ชื่อนี้เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสังคมไทยมานานกว่า ๓๐ ปี
พวกเราวางแผนกันว่า หากแปรอักษรไปแล้วเกิดมีตำรวจหรือสันติบาลมาถามหาก็นัดแนะกันว่าจะหนีไปทางไหน และจะไม่ซัดทอดกัน หากมีการจับก็ให้มีคนโดนจับน้อยที่สุด
เมื่อโฆษกสนามพูดบทกลอนซ้ำอีกครั้ง ในสนามเงียบก่อนที่เสียงปรบมือจะดังลั่น ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่า ต.มธก. หลายคนยืนขึ้น น้ำตาไหลด้วยความดีใจเพราะเป็นครั้งแรกในรอบ ๓๐ กว่าปีที่มีการพูดถึงอาจารย์ปรีดีชัดเจนในที่สาธารณะ ขณะที่นักศึกษาบนอัฒจันทร์โห่ร้องด้วยความยินดีที่ตนในฐานะลูกแม่โดมได้ทำอะไรบางอย่างเพื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้
พอแปรอักษรรูปนี้เสร็จ พวกเราที่อยู่ด้านล่างทำ หน้าที่ควบคุมสแตนด์เชียร์ต่างสวมกอดกันด้วยความดีใจที่สามารถทำให้อาจารย์ปรีดีออกมาสู่พื้นที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรก ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชุมนุมเชียร์ก็ได้รับจดหมายจากอาจารย์ปรีดีส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส ความว่ามีคนส่งภาพการแปรอักษรครั้งนี้ไปให้ท่านดู จึงเขียนจดหมายมาขอบใจคนที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ยังรำลึกถึงท่าน
Cr. คุณMaysa Nitto , บทความจากบันทึกของ วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ http://thaienews.blogspot.com/2013/02/2522.html